สัญชาติคางคก ยางหัวไม่ตกไม่รู้สำนึก "ฮุนเซน" เมินรัฐบาลไทย แถลงเชิญ "นช.แม้ว" ให้คำปรึกษาเศรษฐกิจ ที่พนมเปญ 12 พ.ย.นี้ กร้าว!หากปิดด่านไทยจะเสียหายมากกว่า "มาร์ค" ลั่น "เหลี่ยม" เข้าเขมรเมื่อไร ทำเรื่องขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนทันที สั่งกต.นำข้อมูล-กฎหมายเข้าครม. ด้านอัยการหนักใจ“เขมร”ไม่ให้ความร่วมมือแถมยอมถูกตัดความสัมพันธ์ ระบุนักโทษชายอาศัยช่องโหว่กฎหมาย
วานนี้ (8 พ.ย.) สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา แถลงข่าวอีกครั้งหลังจากหลังเดินทางกลับจากไปร่วมประชุมผู้นำกลุ่มอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงกับรัฐบาลญี่ปุ่น พร้อมๆกับการเปิดเผยถึงปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศไทยอันเนื่องมาจากการตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา และที่ปรึกษาส่วนตัวนายกรัฐมนตรีกัมพูชาว่า ไม่หวั่นถ้าหากฝ่ายไทยจะปิดพรมแดน ตัดขาดการค้าขายระหว่างสองฝ่าย เนื่องจากไทยจะเป็นฝ่ายสูญเสียประโยชน์มากกว่า
ฮุนเซน ยังกล่าวว่าได้สั่งให้ถอนทหารกองพลน้อยที่ 911 ทั้งกองพลออกจากชายแดนด้านปราสาทพระวิหาร ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า "กัมพูชาต้องการสันติภาพ ไม่ต้องการสงคราม" สำนักข่าวดืมอัลปึล ของกัมพูชารายงานเมื่อวันอาทิตย์ (8 พ.ย.)
อย่างไรก็ตาม รายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี ระบุว่า ฮุนเซน ได้เชิญ พ.ต.ท.ทักษิณไปประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของกัมพูชาในฐานะที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ
"ทักษิณจะไปที่กระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง วันที่ 12 พ.ย. เพื่อบรรยายสรุปกับผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจของกัมพูชากว่า 300 คน" ฮุนเซน กล่าวระหว่างการแถลงข่าวที่ท่าอากาศยานโปเจินตง
รายงานยังระบุด้วยว่า การเดินทางเขากัมพูชากำลังจะทำให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับไทย ทั้งนี้นับตั้งแต่ฝ่ายกัมพูชาประกาศแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษา เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ซึ่งหลายฝ่ายวิตกว่าอาจจะนำไปสู่การปิดพรมแดนของสองประเทศ
" ถ้าหากคุณต้องการปิด ก็ให้ปิดไป ความสูญเสียจะตกแก่ทั้งสองฝ่าย" ฮุนเซนประกาศ ทั้งยังกล่าวสำทับอีกว่า ไทยจะเป็นฝ่ายสูญเสียมากกว่าฝ่ายกัมพูชาในด้านผลประโยชน์ทางการค้า
"ถ้าหากไทยปิดพรมแดน กัมพูชาก็จะปิดเช่นเดียวกัน การค้าระหว่างไทยกับกัมพูชาก็จะถูกตัดขาด" ฮุนเซน กล่าว
"ขอให้ทักษิณได้ช่วยแบ่งเบาภาระ ช่วยผมในการเสริมขยายทางด้านเศรษฐกิจด้วย" ฮุนเซน กล่าว
นายกฯกัมพูชายังได้ใช้เวทีแถลงข่าวประกาศถอนทหารกองพลน้อยดังกล่าวโดยอ้างว่า ประเมินสถานการณ์ชายแดนดูแล้วไม่น่าจะมีอะไร
"หลังจากตรวจสถานการณ์ที่ชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาแล้ว สถานการณ์สงบเงียบ" ฮุนเซนกล่าว
"ดังนั้นผมก็เลยประกาศถอนกองกำลังพิเศษหมายเลข 911 จากบริเวณปราสาทพระวิหาร และกลับสู่กองบัญชาการ การดำเนินการนี้จะแล้วเสร็จในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์" ฮุนเซนกล่าว
เข้าเขมรเมื่อไรขอผู้ร้ายข้ามแดนทันที
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ถึงกรณีที่ ฮุนเซน ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะเข้าทำงานที่กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังของกัมพูชา ในวันที่ 12 พ.ย.นี้ เพื่อร่วมประชุมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของกัมพูชากว่า 300 คนว่า เห็นข่าวดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ทราบว่าจะเดินทางมาจริงหรือไม่ ซึ่งจะต้องติดตามดูก่อนว่ามีสัญญาณชัดเจนว่าพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางเข้ากัมพูชาในช่วงดังกล่าวหรือไม่ และหากเข้าไปจริง ทางรัฐบาลก็ต้องทำเรื่องขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนตามขั้นตอน ส่วนจะส่งตัวมาหรือไม่เป็นเรื่องของกัมพูชาที่จะพิจารณา
"มาร์ค"สั่งเดินหน้ายกเลิกเอ็มโอยู
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อเวลา 10.15 น. ที่รัฐสภา ถึงกรณีการยกเลิกข้อตกลงร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ไทยจะพิจารณาทบทวนยกเลิกซึ่งอาจจะไม่สามารถดำเนินการได้เพราะต้องผ่านสภาว่า ขณะนี้เป็นเรื่องที่ทางกระทรวงการต่างประเทศต้องไปดูข้อกฎหมายทั้งหมด โดยกรมสนธิสัญญา แต่หลักไม่ยาก ในการดำเนินการเชิงบริหาร คือขณะนี้ถ้าจะมีการเร่งรัดเรื่องการเจรจาคงจะทำไม่ได้ เพราะเรื่องการเดินหน้าเจรจา กรอบเจรจายังไม่ได้เข้าสภา เดิมตั้งใจว่าจะไปทำกรอบการเจรจา แต่ขณะนี้คงต้องหยุดก่อน เพราะถ้าเป็นการเดินหน้าทำกรอบเจรจาภายใต้บันทึกความเข้าใจ ซึ่งขณะนี้มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างที่ว่าเราก็ต้องทบทวน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตัวบันทึกความเข้าใจนี้ จะมีการนำเข้าที่ประชุม ครม.ในวันอังคารที่ 10 พ.ย.นี้ เพื่อยกเลิกเลยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ข้อกฎหมายและข้อมูลทั้งหมดจะเสนอต่อครม.อังคารนี้ (10 พ.ย.) นี้ เพื่อดูว่ามีธีการที่จะเดินต่อเป็นอย่างไร แต่ที่แน่นอนในชั้นนี้เราไม่พร้อมที่จะไปเดินหน้าเจรจาต่อในเรื่องนี้อย่างแน่นอน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของเราไม่ให้เสียเปรียบ
ย้ำเป็นสิทธิ์ของไทยที่จะยกเลิก
ส่วนที่ทางกัมพูชาอ้างว่าไทยไม่มีสิทธิ์ยกเลิกข้อตกลงนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เขาก็ไม่สามารถบังคับให้เราเจรจาได้อยู่แล้ว และถึงอย่างไรขณะนี้ก็ยังไม่สามารถเดินหน้าได้ แต่เราจะทบทวนเพื่อที่จะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ฝ่ายไทยจะพิจารณาต่อไป เพราะมันมีความเปลี่ยนแปลงเรื่องการดำเนินการของฝ่ายกัมพูชา
เมื่อถามว่า มีการห่วงกันว่าปัญหาจะบานปลาย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีบานปลาย ตนได้อธิบายไปแล้วว่า หลักของเราทำอะไรอย่างไร เรามีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประเทศและเชิญชวนทุกคนว่า เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาแตกแยก ต้องสมัครสามานสามัคคีกัน เรามีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประชาชนคนไทย ของประเทศไทย
เมื่อถามว่า ทางเลขาธิการอาเซียนมีความเป็นห่วง และเรียกร้องให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จริงๆ แล้วตนอยู่ที่ญี่ปุ่นทางนายกฯ ญี่ปุ่นก็สอบถาม เราได้ยืนยันไปตลอดว่าเป็นเรื่องสองฝ่ายก็น่าจะรู้เรื่อง เพราะปัญหามันเกิดขึ้นจากการกระทำเมื่อสองอาทิตย์นี้ ถ้ากลับไปอยู่ที่เดิมมันก็จบ เพราะก่อนหน้านี้ทกุอย่างก็เดินหน้าไปได้ด้วยดี
เมื่อถามว่ากลับไปที่เดิมในความหมายคืออะไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กลับไปอยู่ที่เดิมก็เหมือนกับว่าสองอาทิตย์ที่ผ่านมา ไม่เกิดขึ้น เมื่อถามว่าหมายถึงไม่มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาก็จบหรือเพราะยังมีการพาดพิงกระบวนการยุติธรรมของไทย นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ เขาต้องมีท่าทีที่เหมือนเดิม ต้องมีความเคารพและมีความจริงใจต่อกันในการดำเนินความสัมพันธ์ โดยยึดหลักเรื่องของสนธิสัญญา ข้อกฎหมาย ข้อผูกพันต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็เป็นเรื่องที่ทางกัมพูชาเขาต้องตัดสินใจ
วอนเลิกแตกแยกเพื่อชาติ
เมื่อถามว่าแต่มันผ่านเหตุการณ์มาขนาดนี้จะกลับไปมีความสัมพันธ์ที่เหมือนเดิมมันมีความเป็นไปได้หรือ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนมองว่าที่มันเกิดมาสองอาทิตย์นี้เป็นการไปได้รับข้อมูลที่คาดเคลื่อน เช่น ไปเข้าใจเรื่องขบวนการยุติธรรมเราผิด ทำไมไม่มองบ้างว่า ศาลตัดสินไม่ใช่คดีนี้คดีเดียว ทั้งจากฝ่ายเสื้อสีไหน ใครสนับสนุน ใครคัดค้าน ศาลตัดสินให้มีทั้งผิด ทั้งถูกด้วยกัน อยู่ที่ข้อเท็จจริงของคดี และไม่ใช่เป็นการตัดสินในช่วงที่เป็นรัฐบาลในระหว่างการรัฐประหารด้วย เป็นการตัดสินในช่วงที่รัฐบาลเป็นพรรคการเมืองที่สนับสนุนอดีตนายกฯ ด้วยซ้ำ ไม่นับว่าอดีตนายกฯ เองก็ใช้กระบวนการศาลฟ้องร้องคนอื่น และร่วมเข้าต่อสู้คดีจนกระทั่งแนวโน้มว่าจะแพ้เลยหนีไป
เมื่อถามว่าจะส่งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ไปชี้แจงหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จริงๆ ขณะนี้เราได้ส่งสัญญาณชัด อยู่ที่ฝ่ายกัมพูชามากกว่าที่จะแสดงออกว่าจะทบทวนท่าทีหรือไม่อย่างไร เมื่อถามว่าเราสามารถที่จะเอาผิดกับผู้ที่ไปให้ข้อมูลผิดพลาดตรงนี้ได้หรือไม่ นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงต้องขึ้นอยู่กับการยืนยันหลักฐานต่างๆ และเป็นการกระทำที่ผิดหรือไม่
"ขณะนี้ทุกคนน่าจะต้องยึดประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ และอย่าทำให้ประเทศของเรามีความเสียเปรียบ และอย่าทำให้เกิดความแตกแยก เพราะความแตกแยกจะนำมาซึ่งความอ่อนแอ วันนี้คือทุกคนจะต้องรวมตัวกันรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ถ้าคนสองคนจะคิดถึงประโยชน์ของตัวเองก็ต้องปล่อยเขา แต่คนส่วนใหญ่ต้องเดินหน้ารักษาผลประโยชน์ของประเทศ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่าตอนนี้มีความพยายามที่จะทำให้เกิดความสับสนภายในประเทศ ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งของคนในชาติด้วย นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าทำอย่างนั้นจะเป็นการไปช่วยประเทศอื่น อย่างที่ตนย้ำ ใครทำให้เกิดความแตกแยกก็จะทำให้เกิดความอ่อนแอ วันนี้ต้องยึดผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ เราจะไปเจรจาจะต้องอยู่ในสถานะที่ไม่เสียเปรียบใคร และเราจะไปดำรงความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ เราต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเราเอง ต้องมีการเคารพในกระบวนการของเราเอง จะให้คนอื่นมาลดความน่าเชื่อถือต่างๆไม่ได้ อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องเชิญชวนคนไทยทุกคน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ตนมีกำลังใจจากการที่พี่น้องประชาชนจำนวนมากในช่วงหลายวันที่ผ่านมานี้ แสดงออกชัดเจนว่ามีความเข้มแข็ง และให้กำลังใจรัฐบาลในการที่จะเดินหน้าทำเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ตนเชื่อว่าพลังอันนี้สำคัญที่สุด บางคนมีผลประโยชน์ส่วนตัวต้องปล่อยเขาไป แต่คนไทยทุกคนต้องมาร่วมตัวกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม
40 ส.ว.หนุนเลิกเอ็มโอยูทั้งบก-ทะเล
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวถึงการตอบโต้ของรัฐบาลไทย กัมพูชาว่า การดำเนินการทางการทูตถูกต้องแล้ว แต่ขั้นตอนต่อไปรัฐบาลควรยกเลิกเอ็มโอยู ระหว่างประเทศ ซึ่งตนและกลุ่ม40 ส.ว.จะสนับสนุนให้ยกเลิกเอ็มโอยู ด้วย เพราะมีความไม่ชอบมาพากล จู่ๆกัมพูชาก็มาประกาศให้เป็นเขตทับซ้อนทางทะเล เพราะเขตทับซ้อนเป็นบ่อแก๊ส บ่อน้ำมัน จึงคิดว่าน่าจะมีผลประโยชน์กันในพื้นที่ดังกล่าว ระหว่างรัฐบาลไทยสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลกัมพูชา รวมถึงทบทวนเอ็มโอยู อื่นที่มีปัญหาทางบกด้วย
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการวุฒิสภา จะตั้งกรรมาธิการสอบสวนเรื่องดังกล่าวว่าการลงนามเอ็มโอยู รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ว่าเสียเปรียบอย่างไร ถ้ากรรมาธิการวุฒิสภาตรวจสอบว่าพบว่ามีความผิด ก็จะส่งให้คณะกรรมการป้องกันการปราบปรามทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ถ้า ป.ป.ช. พบว่าไทยกับกัมพูชา มีผลประโยชน์กัน ก็ให้ดำเนินคดีรัฐบาลทักษิณได้เลย เพราะผิด มาตรา157 และอย่าลืมว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาให้ประเทศกัมพูชา ถือว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ เพราะอย่าลืมว่าอดีตนายกฯทุกคนในโลก จะมีข้อมูลการเงินของประเทศ และเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ของประเทศ
นายประสาร มฤคพิทักษ์ กล่าวว่า ตนสนับสนุน รมว.ต่างประเทศ ที่จะนำเรื่องข้อตกลง MOU ปี 44 เข้าสู่ครม. พิจารณาในวันอังคารที่ 10 พ.ย. ทั้งนี้รัฐบาลควรทบทวนพันธะกรณี 2 ฝ่ายที่มีอยู่เกือบร้อยฉบับ เฉพาะที่ทำขึ้นในสมัยรัฐบาลทักษิณ มีถึง 17 ฉบับ อะไรที่ยกเลิกได้ควรยกเลิก รวมทั้งที่ไทยให้เงินกู้กัมพูชาทำถนนเส้น เกาะกง-กำปงโสม-พนมเปญ ระยะทาง 352 กม. มูลค่า 1,200 ล้านบาท ก็ควรทบทวนด้วย
"อยากให้รัฐบาลพิจารณาใช้มาตรการทางเศรษฐกิจควบคู่กันไปด้วย อย่าลืมว่าบ่อนการพนันชายแดนไทย-กัมพูชา 19 แห่ง ทำเงินให้กัมพูชาถึงวันละ 500 ล้านบาท เพียงธุรกิจนี้อย่างเดียวมีมูลค่าปีละ 1.8 แสนล้านบาทที่ไทยควรใช้เป็นอำนาจต่อรองได้" นายประสาร กล่าว
เพื่อไทย-เสื้อแดงควรตาสว่างเสียที
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เรียกร้องในฐานะคนไทยด้วยกันให้พรรคเพื่อไทย (พท.) และกลุ่มคนเสื้อแดง ยุติการเข้าข้างเขมร เพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่เขมรเข้ามาแทรกแซงกิจการในไทย แนวทางการตอบโต้ของรัฐบาลเพื่อรักษาประโยชน์และต่อต้านการแทรกแซงของเขมร ก็ถูกต้อง และเป็นไปด้วยความระมัดระวัง จึงอยากให้พรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดงหันมาสนับสนุนการทำหน้าที่ของรัฐบาล และอยากเรียกร้องให้ยุติการดำเนินการ 3 ข้อ คือ 1. เห็นประโยชน์ของคนๆเดียวมากกว่าประเทศ 2. คัดค้านรัฐบาลทุกเรื่องว่าทำอะไรก็ผิดหมด ทั้งที่เรื่องที่เป็นประโยชน์ของประเทศก็น่าจะสนับสนุน และ 3.หยุดการยื่นเรื่องที่ไม่มีสาระไปยังองค์กรอิสระ หรือศาล
"การยื่นคำร้องต่อองค์กรอิสระ หรือศาลของเพื่อไทย ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มักจะลงท้ายด้วยการยกคำร้องเพราะข้อหาไม่มีมูล การที่ฝ่ายค้าน บอกว่าเตรียมจะยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง ว่าการสั่งให้ทูตไทยเดินทางกลับเป็นการกระทำมิชอบ เพราะไม่ได้ทำตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ทั้งที่เรื่องดังกล่าวก็ไม่ต่างกับการโยกย้ายข้าราชการธรรมดา จึงอยากให้ยุติความพยายามดังกล่าว"
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม. รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การแสดงความเห็นของทุกฝ่ายต่อกรณีดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง นักวิชาการ กระทั่งสื่อมวลชน เป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงอยากให้ทุกคนยืนอยู่ข้างเดียวกัน คือยืนอยู่ข้างผลประโยชน์ของชาติ เพราะเราทุกคนเป็นคนไทยต้องคำนึงถึงประเทศชาติเป็นหลัก
"ผมอยากให้คนใกล้ชิดพ.ต.ท.ทักษิณ พิจารณาว่าปัญหาเกิดขึ้นจากอะไร เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวนายกฯกัมพูชาและที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลกัมพูชา ดังนั้นปัญหาทุกอย่างจะยุติได้ หากมีคนไปกระซิบขอให้พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่รับ หรือลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว ปัญหาต่างๆ ก็จะยุติ เพราะเรื่องดังกล่าวทำให้คนไทยไม่สบายใจ" นายบุญยอดกล่าว
"นพเหล่"อ้างเอ็มโอยูทำในยุค ปชป.
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวถึงกรณีรัฐบาลจะยกเลิกบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) เขตปักปันทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.44 พร้อมนำเอกสารบันทึกความเข้าใจไทยเมื่อปี 44 มาประกอบการแถลงข่าว
นายนพดล กล่าวว่า เอ็มโอยูดังกล่าวริเริ่มมาจากรัฐบาลปชป. มีการเซ็นสัญญาเมื่อ 5 ต.ค.43 ซึ่งขณะนั้นนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นรมว.ต่างประเทศ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นรมช.ต่างปรเทศ ส่วนพ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่ได้เป็นนายกฯ เพราะพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งเมื่อปี 44 ดังนั้นเอ็มโอยูนี้ พรรคประชาธิปัตย์เป็นคนเจรจาดำเนินการมาก่อนแล้ว และรู้รายละเอียดดีกว่าใคร ดังนั้นหากจะยกเลิกคิดว่าไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะไม่เกี่ยวข้องกับพ.ต.ท.ทักษิณ และที่ระบุว่าพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้เจรจา ก็เป็นความเท็จโดยสิ้นเชิง นายอภิสิทธิ์ได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน จงใจใส่ร้าบิดเบือน เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น ยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีทั้งความลับ และความเลว ที่จะทำเช่นนั้น
"เอ็มโอยู ดังกล่าวได้ทำมา 8 ปีแล้ว แต่ที่ผ่านมาไม่มีความคืบหน้าใดๆ หากพ.ต.ท.ทักษิณ จะหาประโยชน์จากสัมปทานน้ำมัน หรือแก๊สธรรมชาติ ก็ต้องมีการเซ็นสัญญาอะไรไปบ้าง และที่น่าประหลาด คณะกรรมการปักปันเขตแดนเพิ่งตั้งเมื่อปี 49 ก็เป็นในช่วงที่พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นตำแหน่งไปแล้วหากรัฐบาลจะยกเลิกก็อยากให้คิดให้ดี " นายนพดล กล่าว
สำหรับเอ็มโอยู ฉบับดังกล่าวไม่ใช่กรอบการเจรจา เป็นเพียงกลไกลในการเจรจาที่ให้กรรมการเทคนิคมาพิจารณาปักปันพื้นที่แบ่งผลประโยชน์ ซึ่งยังไม่มีใครได้รับความเสียหาย ใครยังไม่เห็นด้วยก็ไม่ต้องตกลงกันก็ได้ เจรจาอีก 100 ปี 1000 ปีก็ได้ เมื่อปี 49 ประเทศกัมพูชาเสนอให้แบ่งเป็น 14 แปลง เป็นตาหมากรุก ซึ่งเราไม่ยอม จึงไม่ได้ตกลงอะไรต่อกัน สรุปคือยังไม่มีการทำข้อตกลงอะไรกันเลย เรื่องนี้จึงเป็นการใส่ร้าย บิดเบือนของพรรคประชาธิปัตย์ พยายามจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณ มีความลับ มีเลศนัยเท่านั้น
นายนพดล กล่าวอีกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะฟ้องร้องนายอภิสิทธิ์ ที่ออกมากล่าวหาหรือไม่นั้น กำลังให้ทีมกฎหมายพิจารณาอยู่ เบื้องต้นยังไม่เข้าข่ายผิดข้อกฎหมายอะไร อย่างไรก็ดี ขณะนี้พ.ต.ท.ทักษิณ ยังอยู่ที่ดูไบ ยังไม่มีกำหนดการเดินทางไปไหน และใช้พาสปอร์ตมอนเตเนโกรในการเดินทาง
"เหล่"โบ้ย"มาร์ค"อคติหวังปลุกชาตินิยม
นายนพดล กล่าวด้วยว่า การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชา ถือเป็นเจตนาดี ไม่ได้ต้องการไปเปิดเผยข้อมูลลับอันใด หรือถึงมีก็ไม่ทำอยู่แล้ว เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องกับสัมปทานใดๆทั้งสิ้น คนเป็นนายกฯ มา 6 ปี ไม่คิดร้ายต่อประเทศแน่นอน ดังนั้นนายอภิสิทธิ์ ต้องมีจิตใจเป็นธรรมบ้าง อย่ากล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นพวกกัมพูชา แล้วมาปลุกกระแสชาตินิยม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การแถลงข่าวของนายนพดล ครั้งนี้ ได้รับการร้องขอจากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวพ.ต.ท.ทักษิณ ให้มาช่วยแถลงข่าวให้ด้วย
วธ.รอดูท่าทีรัฐบาล
นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ในส่วนของ วธ.ซึ่งมีการทำความตกลงกับกัมพูชาหลายด้าน ทั้งเรื่องการส่งมอบโบราณวัตถุที่เคยส่งคืนให้กัมพูชาแล้ว 7 รายการ และความร่วมมือทางวัฒนธรรมอีกหลายด้านนั้น ขณะนี้ยังไม่มีทีท่าที่แน่ชัดว่าจะลดความสัมพันธ์เช่นเดียวกับ กต.หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ยังมีการดำเนินการด้านวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศยังเป็นปกติ
รมว.วัฒนธรรม กล่าวอีกว่า ตนไม่อยากให้นำเรื่องวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของคนทั้งสองประเทศโยงเข้ากับประเด็นทางการเมือง เนื่องจากเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์กับประเทศ อีกทั้งขณะนี้ก็ยังอยู่ในขั้นเจรจา การปฏิบัติของรัฐบาลไทยต่อรัฐบาลกัมพูชาก็ยังไม่เป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามการดำเนินการของ วธ.ในลำดับต่อไปจะต้องดูท่าทีของรัฐบาลเป็นหลัก แต่เชี่อว่าจะไม่เกิดผลกระทบอะไรมาก และประชาชนทั้งสองประเทศจะสามารถทำการติดต่อค้าขายกันได้ตามปกติ
เผาหรีดหน้าลานย่าโม
วันเดียวกัน ที่บริเวณด้านหน้าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) ถ.ราชดำเนิน อ.เมือง จ.นครราชสีมา กลุ่มนักรบเมืองย่า การ์ดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กว่า 50 คน นำโดยนายปทีป ณ นคร ได้รวมตัวกันชุมนุมแสดงพลังถือป้ายประท้วงการกระทำของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีไทย และ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พร้อมพวงหรีดไว้อาลัยจำนวน 2 พวง เขียนข้อความว่า “แด่ฮุนเซน ... ไอ้คนเลวข้ามชาติ” และ “แด่ทิดจิ๋ว ...ไอ้คนทรยศ ไอ้คนขายชาติ”
จากนั้นแกนนำได้อ่านแถลงการณ์ประณามทั้ง 2 คน ต่อหน้าอนุสาวรีย์ย่าโมร่วมกัน โดยเนื้อหาตอนหนึ่งระบุ ว่า ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างไทยกับกัมพูชาจนนำมาสู่การเรียกเอกอักครราชทูตกลับประเทศ นั้น เริ่มต้นจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ของไทย ทำตัวเป็นขี้ข้ารับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นนักโทษหนีคดีอาญาแผ่นดิน ด้วยการชักศึกษาเข้าบ้านทรยศต่อประเทศชาติ เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตน ไม่ได้สำนึกในบุญคุณของแผ่นดินเกิด
ทหารไทยเข้มทางขึ้นเขาวิหาร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างเทศไทย–กัมพูชามีปัญหาถึงขั้นมีการเรียกเอกอัครราชทูตกลับประเทศนั้น วานนี้ (8พ.ย.) ปรากฏว่า ที่บริเวณหน้าสถานีควบคุมไฟป่า จ.ศรีสะเกษ ด้านหน้าด่านเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ได้มีทหารไทยจากกรมทหาราบที่ 6 จ.อุบลราชธานี นำกำลังจำนวนหนึ่งพร้อมอาวุธปืนครบมือมาตั้งด่านตรวจอยู่ห่างจากด่านเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารประมาณ 150 เมตร และทำการตรวจเข้มรถทุกคันที่จะขึ้นไปบริเวณเขาพระวิหารชายแดนไทย-กัมพูชา โดยไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องผ่านขึ้นไปอย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้ จะอนุญาตให้เพียงชาวบ้านที่ไปทำไร่ทำนาบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น ที่ผ่านเข้า-ออกไปได้ โดยทางฝ่ายทหารอ้างเหตุผลเพื่อความปลอดภัย และยังพบว่า มีรถปิกอัพบรรทุกกำลังทหารและเสบียงอาหารขึ้นไปบนอุทยานแห่งเขาพระวิหารอย่างคึกคัก
ทหารเขมรโอดไม่อยากสู้รบ
ขณะที่ด้านฝั่งประเทศกัมพูชา ก็มีทหารกัมพูชาแต่งเครื่องแบบทหาร พร้อมอาวุธสงคราม เข้ามาปักหลักเข้าเวรรักษาการณ์พื้นที่ชายแดนห่างจากทางบริเวณขึ้นปราสาทตาเมือนธมออกไปราว 30 เมตร ซึ่งเมื่อทหารกัมพูชา เห็นผู้สื่อข่าวกำลังบันทึกภาพ ได้วางอาวุธสงครามไว้ในเขต กัมพูชา แล้วเดินเข้ามาสอบถามทักทายผู้สื่อข่าวไทยว่า มาจากไหน มาทำอะไร
จ.ส.อ.กุหลาบ เม็ด อายุ 35 ปี ทหารสังกัดกองกำลังรักษาชายแดนที่ 402 กัมพูชา ซึ่งเป็นชาว อ.บันเตียมีชัย จ.บันเตียอำปึล กัมพูชา บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ขณะนี้ทหารกัมพูชาและทหารไทยในพื้นที่ไม่มีปัญหาอะไรกัน เจรจากันด้วยดี เข้าใจกันดี ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาล 2 ประเทศ ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องแก้ปัญหาให้ได้เพราะหากสู้รบกันทหารก็ลำบากหนีไม่พ้นต้องเกิดการสูญเสีย จึงไม่อยากให้เกิดความรุนแรงขึ้น ขอยืนยันว่าทหารไทยและกัมพูชาอยู่ด้วยกันเข้าใจกันดีไม่มีปัญหาอะไรเลย ความสัมพันธ์ในพื้นที่ดีมาก
“อยากให้รัฐบาลไทยและกัมพูชา แก้ไขปัญหาด้วยความสันติ ประชาชนและทหารชายแดนทั้ง 2 ประเทศจะได้ไม่เดือดร้อน เพราะหากสู้รบกันขึ้น ทั้งทหารกัมพูชาและประชาชนชาวกัมพูชาจะเดือดร้อนมากกว่าคนไทย ” จ.ส.อ.กุหลาบ กล่าว
วานนี้ (8 พ.ย.) สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา แถลงข่าวอีกครั้งหลังจากหลังเดินทางกลับจากไปร่วมประชุมผู้นำกลุ่มอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงกับรัฐบาลญี่ปุ่น พร้อมๆกับการเปิดเผยถึงปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศไทยอันเนื่องมาจากการตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา และที่ปรึกษาส่วนตัวนายกรัฐมนตรีกัมพูชาว่า ไม่หวั่นถ้าหากฝ่ายไทยจะปิดพรมแดน ตัดขาดการค้าขายระหว่างสองฝ่าย เนื่องจากไทยจะเป็นฝ่ายสูญเสียประโยชน์มากกว่า
ฮุนเซน ยังกล่าวว่าได้สั่งให้ถอนทหารกองพลน้อยที่ 911 ทั้งกองพลออกจากชายแดนด้านปราสาทพระวิหาร ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า "กัมพูชาต้องการสันติภาพ ไม่ต้องการสงคราม" สำนักข่าวดืมอัลปึล ของกัมพูชารายงานเมื่อวันอาทิตย์ (8 พ.ย.)
อย่างไรก็ตาม รายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี ระบุว่า ฮุนเซน ได้เชิญ พ.ต.ท.ทักษิณไปประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของกัมพูชาในฐานะที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ
"ทักษิณจะไปที่กระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง วันที่ 12 พ.ย. เพื่อบรรยายสรุปกับผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจของกัมพูชากว่า 300 คน" ฮุนเซน กล่าวระหว่างการแถลงข่าวที่ท่าอากาศยานโปเจินตง
รายงานยังระบุด้วยว่า การเดินทางเขากัมพูชากำลังจะทำให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับไทย ทั้งนี้นับตั้งแต่ฝ่ายกัมพูชาประกาศแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษา เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ซึ่งหลายฝ่ายวิตกว่าอาจจะนำไปสู่การปิดพรมแดนของสองประเทศ
" ถ้าหากคุณต้องการปิด ก็ให้ปิดไป ความสูญเสียจะตกแก่ทั้งสองฝ่าย" ฮุนเซนประกาศ ทั้งยังกล่าวสำทับอีกว่า ไทยจะเป็นฝ่ายสูญเสียมากกว่าฝ่ายกัมพูชาในด้านผลประโยชน์ทางการค้า
"ถ้าหากไทยปิดพรมแดน กัมพูชาก็จะปิดเช่นเดียวกัน การค้าระหว่างไทยกับกัมพูชาก็จะถูกตัดขาด" ฮุนเซน กล่าว
"ขอให้ทักษิณได้ช่วยแบ่งเบาภาระ ช่วยผมในการเสริมขยายทางด้านเศรษฐกิจด้วย" ฮุนเซน กล่าว
นายกฯกัมพูชายังได้ใช้เวทีแถลงข่าวประกาศถอนทหารกองพลน้อยดังกล่าวโดยอ้างว่า ประเมินสถานการณ์ชายแดนดูแล้วไม่น่าจะมีอะไร
"หลังจากตรวจสถานการณ์ที่ชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาแล้ว สถานการณ์สงบเงียบ" ฮุนเซนกล่าว
"ดังนั้นผมก็เลยประกาศถอนกองกำลังพิเศษหมายเลข 911 จากบริเวณปราสาทพระวิหาร และกลับสู่กองบัญชาการ การดำเนินการนี้จะแล้วเสร็จในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์" ฮุนเซนกล่าว
เข้าเขมรเมื่อไรขอผู้ร้ายข้ามแดนทันที
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ถึงกรณีที่ ฮุนเซน ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะเข้าทำงานที่กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังของกัมพูชา ในวันที่ 12 พ.ย.นี้ เพื่อร่วมประชุมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของกัมพูชากว่า 300 คนว่า เห็นข่าวดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ทราบว่าจะเดินทางมาจริงหรือไม่ ซึ่งจะต้องติดตามดูก่อนว่ามีสัญญาณชัดเจนว่าพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางเข้ากัมพูชาในช่วงดังกล่าวหรือไม่ และหากเข้าไปจริง ทางรัฐบาลก็ต้องทำเรื่องขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนตามขั้นตอน ส่วนจะส่งตัวมาหรือไม่เป็นเรื่องของกัมพูชาที่จะพิจารณา
"มาร์ค"สั่งเดินหน้ายกเลิกเอ็มโอยู
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อเวลา 10.15 น. ที่รัฐสภา ถึงกรณีการยกเลิกข้อตกลงร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ไทยจะพิจารณาทบทวนยกเลิกซึ่งอาจจะไม่สามารถดำเนินการได้เพราะต้องผ่านสภาว่า ขณะนี้เป็นเรื่องที่ทางกระทรวงการต่างประเทศต้องไปดูข้อกฎหมายทั้งหมด โดยกรมสนธิสัญญา แต่หลักไม่ยาก ในการดำเนินการเชิงบริหาร คือขณะนี้ถ้าจะมีการเร่งรัดเรื่องการเจรจาคงจะทำไม่ได้ เพราะเรื่องการเดินหน้าเจรจา กรอบเจรจายังไม่ได้เข้าสภา เดิมตั้งใจว่าจะไปทำกรอบการเจรจา แต่ขณะนี้คงต้องหยุดก่อน เพราะถ้าเป็นการเดินหน้าทำกรอบเจรจาภายใต้บันทึกความเข้าใจ ซึ่งขณะนี้มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างที่ว่าเราก็ต้องทบทวน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตัวบันทึกความเข้าใจนี้ จะมีการนำเข้าที่ประชุม ครม.ในวันอังคารที่ 10 พ.ย.นี้ เพื่อยกเลิกเลยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ข้อกฎหมายและข้อมูลทั้งหมดจะเสนอต่อครม.อังคารนี้ (10 พ.ย.) นี้ เพื่อดูว่ามีธีการที่จะเดินต่อเป็นอย่างไร แต่ที่แน่นอนในชั้นนี้เราไม่พร้อมที่จะไปเดินหน้าเจรจาต่อในเรื่องนี้อย่างแน่นอน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของเราไม่ให้เสียเปรียบ
ย้ำเป็นสิทธิ์ของไทยที่จะยกเลิก
ส่วนที่ทางกัมพูชาอ้างว่าไทยไม่มีสิทธิ์ยกเลิกข้อตกลงนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เขาก็ไม่สามารถบังคับให้เราเจรจาได้อยู่แล้ว และถึงอย่างไรขณะนี้ก็ยังไม่สามารถเดินหน้าได้ แต่เราจะทบทวนเพื่อที่จะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ฝ่ายไทยจะพิจารณาต่อไป เพราะมันมีความเปลี่ยนแปลงเรื่องการดำเนินการของฝ่ายกัมพูชา
เมื่อถามว่า มีการห่วงกันว่าปัญหาจะบานปลาย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีบานปลาย ตนได้อธิบายไปแล้วว่า หลักของเราทำอะไรอย่างไร เรามีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประเทศและเชิญชวนทุกคนว่า เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาแตกแยก ต้องสมัครสามานสามัคคีกัน เรามีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประชาชนคนไทย ของประเทศไทย
เมื่อถามว่า ทางเลขาธิการอาเซียนมีความเป็นห่วง และเรียกร้องให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จริงๆ แล้วตนอยู่ที่ญี่ปุ่นทางนายกฯ ญี่ปุ่นก็สอบถาม เราได้ยืนยันไปตลอดว่าเป็นเรื่องสองฝ่ายก็น่าจะรู้เรื่อง เพราะปัญหามันเกิดขึ้นจากการกระทำเมื่อสองอาทิตย์นี้ ถ้ากลับไปอยู่ที่เดิมมันก็จบ เพราะก่อนหน้านี้ทกุอย่างก็เดินหน้าไปได้ด้วยดี
เมื่อถามว่ากลับไปที่เดิมในความหมายคืออะไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กลับไปอยู่ที่เดิมก็เหมือนกับว่าสองอาทิตย์ที่ผ่านมา ไม่เกิดขึ้น เมื่อถามว่าหมายถึงไม่มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาก็จบหรือเพราะยังมีการพาดพิงกระบวนการยุติธรรมของไทย นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ เขาต้องมีท่าทีที่เหมือนเดิม ต้องมีความเคารพและมีความจริงใจต่อกันในการดำเนินความสัมพันธ์ โดยยึดหลักเรื่องของสนธิสัญญา ข้อกฎหมาย ข้อผูกพันต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็เป็นเรื่องที่ทางกัมพูชาเขาต้องตัดสินใจ
วอนเลิกแตกแยกเพื่อชาติ
เมื่อถามว่าแต่มันผ่านเหตุการณ์มาขนาดนี้จะกลับไปมีความสัมพันธ์ที่เหมือนเดิมมันมีความเป็นไปได้หรือ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนมองว่าที่มันเกิดมาสองอาทิตย์นี้เป็นการไปได้รับข้อมูลที่คาดเคลื่อน เช่น ไปเข้าใจเรื่องขบวนการยุติธรรมเราผิด ทำไมไม่มองบ้างว่า ศาลตัดสินไม่ใช่คดีนี้คดีเดียว ทั้งจากฝ่ายเสื้อสีไหน ใครสนับสนุน ใครคัดค้าน ศาลตัดสินให้มีทั้งผิด ทั้งถูกด้วยกัน อยู่ที่ข้อเท็จจริงของคดี และไม่ใช่เป็นการตัดสินในช่วงที่เป็นรัฐบาลในระหว่างการรัฐประหารด้วย เป็นการตัดสินในช่วงที่รัฐบาลเป็นพรรคการเมืองที่สนับสนุนอดีตนายกฯ ด้วยซ้ำ ไม่นับว่าอดีตนายกฯ เองก็ใช้กระบวนการศาลฟ้องร้องคนอื่น และร่วมเข้าต่อสู้คดีจนกระทั่งแนวโน้มว่าจะแพ้เลยหนีไป
เมื่อถามว่าจะส่งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ไปชี้แจงหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จริงๆ ขณะนี้เราได้ส่งสัญญาณชัด อยู่ที่ฝ่ายกัมพูชามากกว่าที่จะแสดงออกว่าจะทบทวนท่าทีหรือไม่อย่างไร เมื่อถามว่าเราสามารถที่จะเอาผิดกับผู้ที่ไปให้ข้อมูลผิดพลาดตรงนี้ได้หรือไม่ นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงต้องขึ้นอยู่กับการยืนยันหลักฐานต่างๆ และเป็นการกระทำที่ผิดหรือไม่
"ขณะนี้ทุกคนน่าจะต้องยึดประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ และอย่าทำให้ประเทศของเรามีความเสียเปรียบ และอย่าทำให้เกิดความแตกแยก เพราะความแตกแยกจะนำมาซึ่งความอ่อนแอ วันนี้คือทุกคนจะต้องรวมตัวกันรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ถ้าคนสองคนจะคิดถึงประโยชน์ของตัวเองก็ต้องปล่อยเขา แต่คนส่วนใหญ่ต้องเดินหน้ารักษาผลประโยชน์ของประเทศ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่าตอนนี้มีความพยายามที่จะทำให้เกิดความสับสนภายในประเทศ ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งของคนในชาติด้วย นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าทำอย่างนั้นจะเป็นการไปช่วยประเทศอื่น อย่างที่ตนย้ำ ใครทำให้เกิดความแตกแยกก็จะทำให้เกิดความอ่อนแอ วันนี้ต้องยึดผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ เราจะไปเจรจาจะต้องอยู่ในสถานะที่ไม่เสียเปรียบใคร และเราจะไปดำรงความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ เราต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเราเอง ต้องมีการเคารพในกระบวนการของเราเอง จะให้คนอื่นมาลดความน่าเชื่อถือต่างๆไม่ได้ อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องเชิญชวนคนไทยทุกคน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ตนมีกำลังใจจากการที่พี่น้องประชาชนจำนวนมากในช่วงหลายวันที่ผ่านมานี้ แสดงออกชัดเจนว่ามีความเข้มแข็ง และให้กำลังใจรัฐบาลในการที่จะเดินหน้าทำเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ตนเชื่อว่าพลังอันนี้สำคัญที่สุด บางคนมีผลประโยชน์ส่วนตัวต้องปล่อยเขาไป แต่คนไทยทุกคนต้องมาร่วมตัวกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม
40 ส.ว.หนุนเลิกเอ็มโอยูทั้งบก-ทะเล
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวถึงการตอบโต้ของรัฐบาลไทย กัมพูชาว่า การดำเนินการทางการทูตถูกต้องแล้ว แต่ขั้นตอนต่อไปรัฐบาลควรยกเลิกเอ็มโอยู ระหว่างประเทศ ซึ่งตนและกลุ่ม40 ส.ว.จะสนับสนุนให้ยกเลิกเอ็มโอยู ด้วย เพราะมีความไม่ชอบมาพากล จู่ๆกัมพูชาก็มาประกาศให้เป็นเขตทับซ้อนทางทะเล เพราะเขตทับซ้อนเป็นบ่อแก๊ส บ่อน้ำมัน จึงคิดว่าน่าจะมีผลประโยชน์กันในพื้นที่ดังกล่าว ระหว่างรัฐบาลไทยสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลกัมพูชา รวมถึงทบทวนเอ็มโอยู อื่นที่มีปัญหาทางบกด้วย
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการวุฒิสภา จะตั้งกรรมาธิการสอบสวนเรื่องดังกล่าวว่าการลงนามเอ็มโอยู รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ว่าเสียเปรียบอย่างไร ถ้ากรรมาธิการวุฒิสภาตรวจสอบว่าพบว่ามีความผิด ก็จะส่งให้คณะกรรมการป้องกันการปราบปรามทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ถ้า ป.ป.ช. พบว่าไทยกับกัมพูชา มีผลประโยชน์กัน ก็ให้ดำเนินคดีรัฐบาลทักษิณได้เลย เพราะผิด มาตรา157 และอย่าลืมว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาให้ประเทศกัมพูชา ถือว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ เพราะอย่าลืมว่าอดีตนายกฯทุกคนในโลก จะมีข้อมูลการเงินของประเทศ และเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ของประเทศ
นายประสาร มฤคพิทักษ์ กล่าวว่า ตนสนับสนุน รมว.ต่างประเทศ ที่จะนำเรื่องข้อตกลง MOU ปี 44 เข้าสู่ครม. พิจารณาในวันอังคารที่ 10 พ.ย. ทั้งนี้รัฐบาลควรทบทวนพันธะกรณี 2 ฝ่ายที่มีอยู่เกือบร้อยฉบับ เฉพาะที่ทำขึ้นในสมัยรัฐบาลทักษิณ มีถึง 17 ฉบับ อะไรที่ยกเลิกได้ควรยกเลิก รวมทั้งที่ไทยให้เงินกู้กัมพูชาทำถนนเส้น เกาะกง-กำปงโสม-พนมเปญ ระยะทาง 352 กม. มูลค่า 1,200 ล้านบาท ก็ควรทบทวนด้วย
"อยากให้รัฐบาลพิจารณาใช้มาตรการทางเศรษฐกิจควบคู่กันไปด้วย อย่าลืมว่าบ่อนการพนันชายแดนไทย-กัมพูชา 19 แห่ง ทำเงินให้กัมพูชาถึงวันละ 500 ล้านบาท เพียงธุรกิจนี้อย่างเดียวมีมูลค่าปีละ 1.8 แสนล้านบาทที่ไทยควรใช้เป็นอำนาจต่อรองได้" นายประสาร กล่าว
เพื่อไทย-เสื้อแดงควรตาสว่างเสียที
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เรียกร้องในฐานะคนไทยด้วยกันให้พรรคเพื่อไทย (พท.) และกลุ่มคนเสื้อแดง ยุติการเข้าข้างเขมร เพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่เขมรเข้ามาแทรกแซงกิจการในไทย แนวทางการตอบโต้ของรัฐบาลเพื่อรักษาประโยชน์และต่อต้านการแทรกแซงของเขมร ก็ถูกต้อง และเป็นไปด้วยความระมัดระวัง จึงอยากให้พรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดงหันมาสนับสนุนการทำหน้าที่ของรัฐบาล และอยากเรียกร้องให้ยุติการดำเนินการ 3 ข้อ คือ 1. เห็นประโยชน์ของคนๆเดียวมากกว่าประเทศ 2. คัดค้านรัฐบาลทุกเรื่องว่าทำอะไรก็ผิดหมด ทั้งที่เรื่องที่เป็นประโยชน์ของประเทศก็น่าจะสนับสนุน และ 3.หยุดการยื่นเรื่องที่ไม่มีสาระไปยังองค์กรอิสระ หรือศาล
"การยื่นคำร้องต่อองค์กรอิสระ หรือศาลของเพื่อไทย ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มักจะลงท้ายด้วยการยกคำร้องเพราะข้อหาไม่มีมูล การที่ฝ่ายค้าน บอกว่าเตรียมจะยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง ว่าการสั่งให้ทูตไทยเดินทางกลับเป็นการกระทำมิชอบ เพราะไม่ได้ทำตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ทั้งที่เรื่องดังกล่าวก็ไม่ต่างกับการโยกย้ายข้าราชการธรรมดา จึงอยากให้ยุติความพยายามดังกล่าว"
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม. รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การแสดงความเห็นของทุกฝ่ายต่อกรณีดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง นักวิชาการ กระทั่งสื่อมวลชน เป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงอยากให้ทุกคนยืนอยู่ข้างเดียวกัน คือยืนอยู่ข้างผลประโยชน์ของชาติ เพราะเราทุกคนเป็นคนไทยต้องคำนึงถึงประเทศชาติเป็นหลัก
"ผมอยากให้คนใกล้ชิดพ.ต.ท.ทักษิณ พิจารณาว่าปัญหาเกิดขึ้นจากอะไร เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวนายกฯกัมพูชาและที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลกัมพูชา ดังนั้นปัญหาทุกอย่างจะยุติได้ หากมีคนไปกระซิบขอให้พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่รับ หรือลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว ปัญหาต่างๆ ก็จะยุติ เพราะเรื่องดังกล่าวทำให้คนไทยไม่สบายใจ" นายบุญยอดกล่าว
"นพเหล่"อ้างเอ็มโอยูทำในยุค ปชป.
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวถึงกรณีรัฐบาลจะยกเลิกบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) เขตปักปันทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.44 พร้อมนำเอกสารบันทึกความเข้าใจไทยเมื่อปี 44 มาประกอบการแถลงข่าว
นายนพดล กล่าวว่า เอ็มโอยูดังกล่าวริเริ่มมาจากรัฐบาลปชป. มีการเซ็นสัญญาเมื่อ 5 ต.ค.43 ซึ่งขณะนั้นนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นรมว.ต่างประเทศ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นรมช.ต่างปรเทศ ส่วนพ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่ได้เป็นนายกฯ เพราะพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งเมื่อปี 44 ดังนั้นเอ็มโอยูนี้ พรรคประชาธิปัตย์เป็นคนเจรจาดำเนินการมาก่อนแล้ว และรู้รายละเอียดดีกว่าใคร ดังนั้นหากจะยกเลิกคิดว่าไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะไม่เกี่ยวข้องกับพ.ต.ท.ทักษิณ และที่ระบุว่าพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้เจรจา ก็เป็นความเท็จโดยสิ้นเชิง นายอภิสิทธิ์ได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน จงใจใส่ร้าบิดเบือน เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น ยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีทั้งความลับ และความเลว ที่จะทำเช่นนั้น
"เอ็มโอยู ดังกล่าวได้ทำมา 8 ปีแล้ว แต่ที่ผ่านมาไม่มีความคืบหน้าใดๆ หากพ.ต.ท.ทักษิณ จะหาประโยชน์จากสัมปทานน้ำมัน หรือแก๊สธรรมชาติ ก็ต้องมีการเซ็นสัญญาอะไรไปบ้าง และที่น่าประหลาด คณะกรรมการปักปันเขตแดนเพิ่งตั้งเมื่อปี 49 ก็เป็นในช่วงที่พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นตำแหน่งไปแล้วหากรัฐบาลจะยกเลิกก็อยากให้คิดให้ดี " นายนพดล กล่าว
สำหรับเอ็มโอยู ฉบับดังกล่าวไม่ใช่กรอบการเจรจา เป็นเพียงกลไกลในการเจรจาที่ให้กรรมการเทคนิคมาพิจารณาปักปันพื้นที่แบ่งผลประโยชน์ ซึ่งยังไม่มีใครได้รับความเสียหาย ใครยังไม่เห็นด้วยก็ไม่ต้องตกลงกันก็ได้ เจรจาอีก 100 ปี 1000 ปีก็ได้ เมื่อปี 49 ประเทศกัมพูชาเสนอให้แบ่งเป็น 14 แปลง เป็นตาหมากรุก ซึ่งเราไม่ยอม จึงไม่ได้ตกลงอะไรต่อกัน สรุปคือยังไม่มีการทำข้อตกลงอะไรกันเลย เรื่องนี้จึงเป็นการใส่ร้าย บิดเบือนของพรรคประชาธิปัตย์ พยายามจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณ มีความลับ มีเลศนัยเท่านั้น
นายนพดล กล่าวอีกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะฟ้องร้องนายอภิสิทธิ์ ที่ออกมากล่าวหาหรือไม่นั้น กำลังให้ทีมกฎหมายพิจารณาอยู่ เบื้องต้นยังไม่เข้าข่ายผิดข้อกฎหมายอะไร อย่างไรก็ดี ขณะนี้พ.ต.ท.ทักษิณ ยังอยู่ที่ดูไบ ยังไม่มีกำหนดการเดินทางไปไหน และใช้พาสปอร์ตมอนเตเนโกรในการเดินทาง
"เหล่"โบ้ย"มาร์ค"อคติหวังปลุกชาตินิยม
นายนพดล กล่าวด้วยว่า การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชา ถือเป็นเจตนาดี ไม่ได้ต้องการไปเปิดเผยข้อมูลลับอันใด หรือถึงมีก็ไม่ทำอยู่แล้ว เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องกับสัมปทานใดๆทั้งสิ้น คนเป็นนายกฯ มา 6 ปี ไม่คิดร้ายต่อประเทศแน่นอน ดังนั้นนายอภิสิทธิ์ ต้องมีจิตใจเป็นธรรมบ้าง อย่ากล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นพวกกัมพูชา แล้วมาปลุกกระแสชาตินิยม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การแถลงข่าวของนายนพดล ครั้งนี้ ได้รับการร้องขอจากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวพ.ต.ท.ทักษิณ ให้มาช่วยแถลงข่าวให้ด้วย
วธ.รอดูท่าทีรัฐบาล
นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ในส่วนของ วธ.ซึ่งมีการทำความตกลงกับกัมพูชาหลายด้าน ทั้งเรื่องการส่งมอบโบราณวัตถุที่เคยส่งคืนให้กัมพูชาแล้ว 7 รายการ และความร่วมมือทางวัฒนธรรมอีกหลายด้านนั้น ขณะนี้ยังไม่มีทีท่าที่แน่ชัดว่าจะลดความสัมพันธ์เช่นเดียวกับ กต.หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ยังมีการดำเนินการด้านวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศยังเป็นปกติ
รมว.วัฒนธรรม กล่าวอีกว่า ตนไม่อยากให้นำเรื่องวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของคนทั้งสองประเทศโยงเข้ากับประเด็นทางการเมือง เนื่องจากเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์กับประเทศ อีกทั้งขณะนี้ก็ยังอยู่ในขั้นเจรจา การปฏิบัติของรัฐบาลไทยต่อรัฐบาลกัมพูชาก็ยังไม่เป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามการดำเนินการของ วธ.ในลำดับต่อไปจะต้องดูท่าทีของรัฐบาลเป็นหลัก แต่เชี่อว่าจะไม่เกิดผลกระทบอะไรมาก และประชาชนทั้งสองประเทศจะสามารถทำการติดต่อค้าขายกันได้ตามปกติ
เผาหรีดหน้าลานย่าโม
วันเดียวกัน ที่บริเวณด้านหน้าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) ถ.ราชดำเนิน อ.เมือง จ.นครราชสีมา กลุ่มนักรบเมืองย่า การ์ดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กว่า 50 คน นำโดยนายปทีป ณ นคร ได้รวมตัวกันชุมนุมแสดงพลังถือป้ายประท้วงการกระทำของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีไทย และ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พร้อมพวงหรีดไว้อาลัยจำนวน 2 พวง เขียนข้อความว่า “แด่ฮุนเซน ... ไอ้คนเลวข้ามชาติ” และ “แด่ทิดจิ๋ว ...ไอ้คนทรยศ ไอ้คนขายชาติ”
จากนั้นแกนนำได้อ่านแถลงการณ์ประณามทั้ง 2 คน ต่อหน้าอนุสาวรีย์ย่าโมร่วมกัน โดยเนื้อหาตอนหนึ่งระบุ ว่า ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างไทยกับกัมพูชาจนนำมาสู่การเรียกเอกอักครราชทูตกลับประเทศ นั้น เริ่มต้นจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ของไทย ทำตัวเป็นขี้ข้ารับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นนักโทษหนีคดีอาญาแผ่นดิน ด้วยการชักศึกษาเข้าบ้านทรยศต่อประเทศชาติ เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตน ไม่ได้สำนึกในบุญคุณของแผ่นดินเกิด
ทหารไทยเข้มทางขึ้นเขาวิหาร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างเทศไทย–กัมพูชามีปัญหาถึงขั้นมีการเรียกเอกอัครราชทูตกลับประเทศนั้น วานนี้ (8พ.ย.) ปรากฏว่า ที่บริเวณหน้าสถานีควบคุมไฟป่า จ.ศรีสะเกษ ด้านหน้าด่านเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ได้มีทหารไทยจากกรมทหาราบที่ 6 จ.อุบลราชธานี นำกำลังจำนวนหนึ่งพร้อมอาวุธปืนครบมือมาตั้งด่านตรวจอยู่ห่างจากด่านเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารประมาณ 150 เมตร และทำการตรวจเข้มรถทุกคันที่จะขึ้นไปบริเวณเขาพระวิหารชายแดนไทย-กัมพูชา โดยไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องผ่านขึ้นไปอย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้ จะอนุญาตให้เพียงชาวบ้านที่ไปทำไร่ทำนาบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น ที่ผ่านเข้า-ออกไปได้ โดยทางฝ่ายทหารอ้างเหตุผลเพื่อความปลอดภัย และยังพบว่า มีรถปิกอัพบรรทุกกำลังทหารและเสบียงอาหารขึ้นไปบนอุทยานแห่งเขาพระวิหารอย่างคึกคัก
ทหารเขมรโอดไม่อยากสู้รบ
ขณะที่ด้านฝั่งประเทศกัมพูชา ก็มีทหารกัมพูชาแต่งเครื่องแบบทหาร พร้อมอาวุธสงคราม เข้ามาปักหลักเข้าเวรรักษาการณ์พื้นที่ชายแดนห่างจากทางบริเวณขึ้นปราสาทตาเมือนธมออกไปราว 30 เมตร ซึ่งเมื่อทหารกัมพูชา เห็นผู้สื่อข่าวกำลังบันทึกภาพ ได้วางอาวุธสงครามไว้ในเขต กัมพูชา แล้วเดินเข้ามาสอบถามทักทายผู้สื่อข่าวไทยว่า มาจากไหน มาทำอะไร
จ.ส.อ.กุหลาบ เม็ด อายุ 35 ปี ทหารสังกัดกองกำลังรักษาชายแดนที่ 402 กัมพูชา ซึ่งเป็นชาว อ.บันเตียมีชัย จ.บันเตียอำปึล กัมพูชา บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ขณะนี้ทหารกัมพูชาและทหารไทยในพื้นที่ไม่มีปัญหาอะไรกัน เจรจากันด้วยดี เข้าใจกันดี ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาล 2 ประเทศ ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องแก้ปัญหาให้ได้เพราะหากสู้รบกันทหารก็ลำบากหนีไม่พ้นต้องเกิดการสูญเสีย จึงไม่อยากให้เกิดความรุนแรงขึ้น ขอยืนยันว่าทหารไทยและกัมพูชาอยู่ด้วยกันเข้าใจกันดีไม่มีปัญหาอะไรเลย ความสัมพันธ์ในพื้นที่ดีมาก
“อยากให้รัฐบาลไทยและกัมพูชา แก้ไขปัญหาด้วยความสันติ ประชาชนและทหารชายแดนทั้ง 2 ประเทศจะได้ไม่เดือดร้อน เพราะหากสู้รบกันขึ้น ทั้งทหารกัมพูชาและประชาชนชาวกัมพูชาจะเดือดร้อนมากกว่าคนไทย ” จ.ส.อ.กุหลาบ กล่าว