ASTVผู้จัดการรายวัน - นายกสมาคมพัฒนาผู้ประกอบการค้าปลีกทุนไทย เผยการทำประชาพิจารณ์ร่างพรบ.ค้าปลีก ทั้ง 9 ครั้งคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยชึ้เป็นการจำกัดสิทธิผู้บริโภคทำให้ต้องซื้อของแพง ชี้รัฐมีแต่มาตรการควบคุมผู้ประกอบการแต่ไม่มีการส่งเสริม คาดหากมีการประกาศใช้กลุ่มเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคไทยจ่อร้องศาลปกครอง
นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกทุนไทย เปิดเผย ถึงการจัดเวทีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ของกระทรวงพาณิชย์ ที่จัดขึ้นวานนี้ (4 พ.ย.) ซึ่งเป็นประชาพิจารณ์ครั้งที่ 9 นับเป็นครั้งสุด โดยจัดขึ้นที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งพบว่าคนส่วนใหญ่ที่มาแสดงความคิดเห็นนั้นไม่เห็นด้วยกับร่างพรบ.ค้าปลีกฯ เพราะหาดใหญ่เป็นศูนย์กลางของธุรกิจในภาคใต้ เป็นศูนย์กลางการค้าขาย มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจำนวนมาก ดังนั้นการที่กระทรวงพาณิชย์จะออกกฎหมายมาบังคับผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งทั้งรายเล็กรายใหญ่จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุผล ที่สำคัญจะเป็นไปจำกัดสิทธิของผู้ค้าที่เป็นนักลงทุนทั้งในและต่างชาติรวมถึงผู้บริโภค
"หาดใหญ่เป็นเมืองท่องเที่ยว มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ หากมีกฎหมายออกมาควบคุมในธุรกิจค้าปลีกค้าส่งก็จะไปกระทบนักท่องเที่ยวและผู้ใช้บริการโดยตรง แถมไม่จูงใจให้คนต่างถิ่นเข้ามาท่องเที่ยว"นายสุวิทย์ กล่าว
นอกจากนี้ในการประชาพิจารณ์ยังมีการตั้งข้อสังเกตุในร่างพรบ.ด้าปลีกในเรื่องอำนาจของคณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่งว่าเป็นการรวมอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งพรบ.ค้าปลีกยังไม่มีแผนที่ชัดเจนว่าจะช่วยแก้ปัญหาโชวห่วยของไทยได้อย่างไร มีแต่มาตรการที่จะออกมาควบคุมผู้ประกอบการ แต่ไม่มีมาตรการส่งเสริมผู้ค้าปลีกแต่อย่างไรซึ่งควรให้ความสำคัญในด้านนี้ด้วย
นายสุวิทย์กล่าวต่อไปว่า ผลจากการประชาพิจารณ์มาแล้วทั้ง 9 ครั้งคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับพรบ.ค้าปลีกฯ เพราะไม่จำกัดสิทธิของผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่ต้องซื้อของแพง ซึ่งการไปกำหนดเวลาเปิดปิดนั้นจะส่งผลให้ผู้บริโภคบางกลุ่มที่มีเวลาเลิกงานไม่ตรงกับเวลาราชการจะไม่สามารถไปเลือกซื้อสินค้าได้ ทำให้ต้องไปซื้อสินค้าในราคาแพง ซึ่งมีกลุ่มตัวแทนผู้บริโภคบางกลุ่มเช่น เครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทย เตรียมที่จะฟ้องร้องศาลปกครองหากมีการประกาศใช้พรบ.ค้าปลีกฯ ดังกล่าวเพราะไปกระทบสิทธิผู้บริโภคโดยตรง
"ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วย กับกม.ค้าปลีก ซึ่งบางคนคิดว่าจะมีผลต่อผู้ประกอบการค้าปลีกรายเล็กและรายใหญ่เท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงจะมีผลต่อผู้บริโภคอีก 60 ล้านคนที่ต้องซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในราคาที่แพงขึ้น "นายสุวิทย์ กล่าว
นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกทุนไทย เปิดเผย ถึงการจัดเวทีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ของกระทรวงพาณิชย์ ที่จัดขึ้นวานนี้ (4 พ.ย.) ซึ่งเป็นประชาพิจารณ์ครั้งที่ 9 นับเป็นครั้งสุด โดยจัดขึ้นที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งพบว่าคนส่วนใหญ่ที่มาแสดงความคิดเห็นนั้นไม่เห็นด้วยกับร่างพรบ.ค้าปลีกฯ เพราะหาดใหญ่เป็นศูนย์กลางของธุรกิจในภาคใต้ เป็นศูนย์กลางการค้าขาย มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจำนวนมาก ดังนั้นการที่กระทรวงพาณิชย์จะออกกฎหมายมาบังคับผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งทั้งรายเล็กรายใหญ่จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุผล ที่สำคัญจะเป็นไปจำกัดสิทธิของผู้ค้าที่เป็นนักลงทุนทั้งในและต่างชาติรวมถึงผู้บริโภค
"หาดใหญ่เป็นเมืองท่องเที่ยว มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ หากมีกฎหมายออกมาควบคุมในธุรกิจค้าปลีกค้าส่งก็จะไปกระทบนักท่องเที่ยวและผู้ใช้บริการโดยตรง แถมไม่จูงใจให้คนต่างถิ่นเข้ามาท่องเที่ยว"นายสุวิทย์ กล่าว
นอกจากนี้ในการประชาพิจารณ์ยังมีการตั้งข้อสังเกตุในร่างพรบ.ด้าปลีกในเรื่องอำนาจของคณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่งว่าเป็นการรวมอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งพรบ.ค้าปลีกยังไม่มีแผนที่ชัดเจนว่าจะช่วยแก้ปัญหาโชวห่วยของไทยได้อย่างไร มีแต่มาตรการที่จะออกมาควบคุมผู้ประกอบการ แต่ไม่มีมาตรการส่งเสริมผู้ค้าปลีกแต่อย่างไรซึ่งควรให้ความสำคัญในด้านนี้ด้วย
นายสุวิทย์กล่าวต่อไปว่า ผลจากการประชาพิจารณ์มาแล้วทั้ง 9 ครั้งคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับพรบ.ค้าปลีกฯ เพราะไม่จำกัดสิทธิของผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่ต้องซื้อของแพง ซึ่งการไปกำหนดเวลาเปิดปิดนั้นจะส่งผลให้ผู้บริโภคบางกลุ่มที่มีเวลาเลิกงานไม่ตรงกับเวลาราชการจะไม่สามารถไปเลือกซื้อสินค้าได้ ทำให้ต้องไปซื้อสินค้าในราคาแพง ซึ่งมีกลุ่มตัวแทนผู้บริโภคบางกลุ่มเช่น เครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทย เตรียมที่จะฟ้องร้องศาลปกครองหากมีการประกาศใช้พรบ.ค้าปลีกฯ ดังกล่าวเพราะไปกระทบสิทธิผู้บริโภคโดยตรง
"ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วย กับกม.ค้าปลีก ซึ่งบางคนคิดว่าจะมีผลต่อผู้ประกอบการค้าปลีกรายเล็กและรายใหญ่เท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงจะมีผลต่อผู้บริโภคอีก 60 ล้านคนที่ต้องซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในราคาที่แพงขึ้น "นายสุวิทย์ กล่าว