นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึง การลงมติ ให้นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจาก ถือครองหุ้นต้องห้ามในสื่อ และบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานของรัฐว่า ที่ประชุมมีมติด้วยเสียงข้างมาก 4 ต่อ 1 ซึ่งกกต.ใช้มาตรฐานเดียวกัน กับการลงมติ ส.ส. และ ส.ว.โดยเสียงข้างมากเห็นว่า รัฐธรรมนูญ ม.48 ประกอบ ม.265(2) (4) เขียนระบุไว้ชัดเจนว่า ห้ามถือหุ้นในสื่อ และบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานของรัฐ ดังนั้นถือหุ้นต้องห้ามไม่ว่าจะก่อนหรือหลังเข้ารับตำแหน่ง ก็ถือว่า เข้าข่ายความผิดแล้ว และความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดแล้ว
ส่วนตนที่เป็นเสียงข้างน้อยเห็นว่า นายมานิต ได้ถือหุ้นมาก่อน ที่จะดำรง ตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี และหุ้นที่ถือก็มีไม่มากไม่ถึง 5 % ไม่สามารถเข้าไปครอบงำ แทรกแซงกิจการได้ ประกอบกับเมื่อดูตามเจตนาแล้ว พบว่านายมานิตได้ทยอยขายหุ้น ก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง และขายจนหมดหลังเข้าดำรงตำแหน่งเพียง 3 วัน ส่วนกรณีที่ นายมานิต อ้างว่า ทำใบสัญญาขายหุ้นหายนั้น เป็นเรื่องที่ นายมานิตต้องนำไปเป็นข้อต่อสู้ในศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเป็นเสียงข้างน้อย จะเป็นการช่วยเหลือ พรรคการเมืองใด หรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า ไม่ได้ช่วยเหลือ ตนพิจารณาไปตามข้อเท็จจริง ใช้มาตรฐานเดียวกับการพิจารณากรณีของ ส.ส.และส.ว. เมื่อถามว่า ถือเป็นช่องโหว่ ของข้อกฎหมายหรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า ก็แล้วแต่คนจะมอง เพราะการตีความแตกต่างกัน และต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย
ด้านนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่าจะนำเรื่องที่นายมานิต ถูก กกต.วินิจฉัยให้พ้นตำแหน่งรัฐมนตรี เพราะถือครองหุ้นขัดรัฐธรรมนูญเข้าที่ประชุมพรรคภูมิใจไทย ในวันอังคารที่ 11 พ.ย.นี้ โดยฝ่ายกฎหมายจะชี้แจงคำวินิจฉัยของ กกต. อย่างไรก็ตาม นายมานิต บอกแล้วว่ายินดีปฏิบัติตามคำตัดสินหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอย่างไรก็ตามเป็นไปตามนั้น
ส่วนหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายมานิต กระทำผิดรัฐธรรมนูญ ในการถือครองหุ้นจะเสนอใครขึ้นเป็นรัฐมนตรีนั้น นายชวรัตน์ กล่าวว่า ต้องอยู่ที่ ความจำเป็น อย่างไรก็ตามสำหรับตนนั้นเห็นว่าที่ผ่านมานายมาตินก็ทำงานดี แต่จะเสนอนายมานิต ขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีใหม่หรือไม่ คงต้องอยู่ที่คณะกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทยด้วย ขณะนี้ยังตอบไม่ได้
นายชวรัตน์ กล่าวว่า เรื่องการขาดคุณสมบัติเพราะถือหุ้นนั้น กฎหมายระบุว่า ขาดคุณสมบัติในเรื่องการเป็น ส.ส. แต่ด้านการเป็นรัฐมนตรียังไม่ใช่
ผมโดนฝ่ายค้านร้องเรื่องครอบครัว บริษัท ซิโนทัย ได้ประโยชน์จากการที่ผม เป็นรัฐมนตรี ขณะนี้ผมยังไม่ได้จดหมายติดต่อมาในเรื่องนี้ มีเพียงได้ยินจากสื่อว่า ฝ่ายค้านร้องเรียน แต่ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้นไม้ใหญ่ต้องรับลม ส่วนตัวก็ไม่มีความกังวล เพราะกฎหมายไม่มีการยกเว้นหากบกพร่องเพียงถือ 100-200 หุ้นที่จะอนุโลมให้ได้ แต่ผมอยากจะเห็นกฎหมายอนุโลมการถือหุ้นไว้ในบางมาตรา ถ้าแก้ไขในรัฐธรรมนูญได้ก็ดี เพราะดูเจตนาแล้วมันไม่ใช่การทุจริต แต่ในเมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 เขียนไว้อย่างนั้นก็ต้องปฏิบัติตาม เพราะเราบริหารราชการภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550
ส่วนตนที่เป็นเสียงข้างน้อยเห็นว่า นายมานิต ได้ถือหุ้นมาก่อน ที่จะดำรง ตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี และหุ้นที่ถือก็มีไม่มากไม่ถึง 5 % ไม่สามารถเข้าไปครอบงำ แทรกแซงกิจการได้ ประกอบกับเมื่อดูตามเจตนาแล้ว พบว่านายมานิตได้ทยอยขายหุ้น ก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง และขายจนหมดหลังเข้าดำรงตำแหน่งเพียง 3 วัน ส่วนกรณีที่ นายมานิต อ้างว่า ทำใบสัญญาขายหุ้นหายนั้น เป็นเรื่องที่ นายมานิตต้องนำไปเป็นข้อต่อสู้ในศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเป็นเสียงข้างน้อย จะเป็นการช่วยเหลือ พรรคการเมืองใด หรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า ไม่ได้ช่วยเหลือ ตนพิจารณาไปตามข้อเท็จจริง ใช้มาตรฐานเดียวกับการพิจารณากรณีของ ส.ส.และส.ว. เมื่อถามว่า ถือเป็นช่องโหว่ ของข้อกฎหมายหรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า ก็แล้วแต่คนจะมอง เพราะการตีความแตกต่างกัน และต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย
ด้านนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่าจะนำเรื่องที่นายมานิต ถูก กกต.วินิจฉัยให้พ้นตำแหน่งรัฐมนตรี เพราะถือครองหุ้นขัดรัฐธรรมนูญเข้าที่ประชุมพรรคภูมิใจไทย ในวันอังคารที่ 11 พ.ย.นี้ โดยฝ่ายกฎหมายจะชี้แจงคำวินิจฉัยของ กกต. อย่างไรก็ตาม นายมานิต บอกแล้วว่ายินดีปฏิบัติตามคำตัดสินหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอย่างไรก็ตามเป็นไปตามนั้น
ส่วนหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายมานิต กระทำผิดรัฐธรรมนูญ ในการถือครองหุ้นจะเสนอใครขึ้นเป็นรัฐมนตรีนั้น นายชวรัตน์ กล่าวว่า ต้องอยู่ที่ ความจำเป็น อย่างไรก็ตามสำหรับตนนั้นเห็นว่าที่ผ่านมานายมาตินก็ทำงานดี แต่จะเสนอนายมานิต ขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีใหม่หรือไม่ คงต้องอยู่ที่คณะกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทยด้วย ขณะนี้ยังตอบไม่ได้
นายชวรัตน์ กล่าวว่า เรื่องการขาดคุณสมบัติเพราะถือหุ้นนั้น กฎหมายระบุว่า ขาดคุณสมบัติในเรื่องการเป็น ส.ส. แต่ด้านการเป็นรัฐมนตรียังไม่ใช่
ผมโดนฝ่ายค้านร้องเรื่องครอบครัว บริษัท ซิโนทัย ได้ประโยชน์จากการที่ผม เป็นรัฐมนตรี ขณะนี้ผมยังไม่ได้จดหมายติดต่อมาในเรื่องนี้ มีเพียงได้ยินจากสื่อว่า ฝ่ายค้านร้องเรียน แต่ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้นไม้ใหญ่ต้องรับลม ส่วนตัวก็ไม่มีความกังวล เพราะกฎหมายไม่มีการยกเว้นหากบกพร่องเพียงถือ 100-200 หุ้นที่จะอนุโลมให้ได้ แต่ผมอยากจะเห็นกฎหมายอนุโลมการถือหุ้นไว้ในบางมาตรา ถ้าแก้ไขในรัฐธรรมนูญได้ก็ดี เพราะดูเจตนาแล้วมันไม่ใช่การทุจริต แต่ในเมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 เขียนไว้อย่างนั้นก็ต้องปฏิบัติตาม เพราะเราบริหารราชการภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550