นางเบญจวรรณ สร่างนิทร เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) แถลง ถึง การประเมินผลการปฏิบัติราชการรูปแบบใหม่กำหนดให้ส่วนราชการและจังหวัดว่า ต้องประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลให้ข้าราชการได้รับทราบตั้งแต่ต้นรอบการประเมิน ซึ่งกำหนดไว้ปีละ 2 รอบ นับตั้งแต่ 1 ต.ค. 2552-31 ม.ค. 2553 เป็นต้นไป ซึ่งการประเมินผลจะดำเนินการภายใต้ข้อตกลงการมอบหมายงาน การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ตามหลักความโปร่งใส ชัดเจน ทั้งนี้ ส่วนราชการสามารถกำหนดเครื่องมือการประเมินผลงานและพฤติกรรมในการปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสมกับลักษณะงานของส่วนราชการ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น คล่องตัว สอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากขึ้น
ก.พ.เตรียมชุดเคลื่อนที่ชี้แจงการปรับเงินเดือนข้าราชการแบบใหม่ไปยังส่วนราชการ 147 หน่วยใน 19 กระทรวง ตั้งแต่ 9 พ.ย. นี้ เปลี่ยนจากขั้นมาเป็น เปอร์เซ็น เริ่มใช้ 1 เม.ย. 2553 เชื่อว่าจะสามารถให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ส่วนการคิดอัตราเงินเดือนรูปแบบใหม่กระทรวงการคลังจะจัดสรรงบประมาณ ให้แต่ละหน่วยงานปีละ 6 % เพื่อให้แต่ละ องค์กรประเมินผล ซึ่งการขึ้นเงินเดือนจะแบ่งเป็น 2 รอบๆ ละ3 % ในแต่ละครึ่งปี สำหรับเฉลี่ยในการขึ้นเงินเดือนจะมีตั้งแต่ 0- 6 % พิจารณาตามผลงานที่ผู้บังคับบัญชาจะประเมิน
นางเบญจวรรณ กล่าวว่า ระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการแบบใหม่ จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนที่กำหนดเป็นร้อยละแทนการเลื่อนเงินเดือนเป็นขั้นตามแบบเดิม ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการวงเงินที่ใช้เลื่อนเงินเดือนได้คล่องตัว หลากหลาย สะท้อนผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเป็นรายบุคคลได้มากกว่า และเป็นเครื่องมือช่วยผู้บริหาร ในการผลักดันให้ผู้ปฏิบัติงานเร่งสร้างผลงาน มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยผลการประเมินจะเป็นข้อมูลบุคคลที่สั่งสมในระยะยาว ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการแต่งตั้ง โยกย้าย และการสร้างความก้าวหน้าในงานที่เป็นรูปธรรม รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลอื่น ๆ
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดแผนการดำเนินการเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่ส่วนราชการและจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการปรับใช้หลักเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวทางที่กำหนดใหม่ดังกล่าว ซึ่งนอกจากจะตั้งทีม ที่ปรึกษาเพื่อรับผิดชอบรายกระทรวงแล้ว หลังจากนี้ เลขาธิการ ก.พ. จะนำทีมผู้บริหาร เข้าพบหารือกับผู้บริหารของส่วนราชการทั้ง 19 กระทรวง ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อรับฟังความเห็นและร่วมมือกับผลักดันให้การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการแบบใหม่เป็นไปอย่างราบรื่น
เรื่องนี้นอกจากเป็นการปรับเปลี่ยนระบบบริหารงานของราชการให้คำนึงถึง ผลสัมฤทธิ์ของงานแล้ว ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของข้าราชการ ให้ผู้ที่มีผลงานดีได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผล และตอกย้ำคำกล่าวที่ว่า ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ส่วนราชการต้องให้ความสำคัญ
ก.พ.เตรียมชุดเคลื่อนที่ชี้แจงการปรับเงินเดือนข้าราชการแบบใหม่ไปยังส่วนราชการ 147 หน่วยใน 19 กระทรวง ตั้งแต่ 9 พ.ย. นี้ เปลี่ยนจากขั้นมาเป็น เปอร์เซ็น เริ่มใช้ 1 เม.ย. 2553 เชื่อว่าจะสามารถให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ส่วนการคิดอัตราเงินเดือนรูปแบบใหม่กระทรวงการคลังจะจัดสรรงบประมาณ ให้แต่ละหน่วยงานปีละ 6 % เพื่อให้แต่ละ องค์กรประเมินผล ซึ่งการขึ้นเงินเดือนจะแบ่งเป็น 2 รอบๆ ละ3 % ในแต่ละครึ่งปี สำหรับเฉลี่ยในการขึ้นเงินเดือนจะมีตั้งแต่ 0- 6 % พิจารณาตามผลงานที่ผู้บังคับบัญชาจะประเมิน
นางเบญจวรรณ กล่าวว่า ระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการแบบใหม่ จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนที่กำหนดเป็นร้อยละแทนการเลื่อนเงินเดือนเป็นขั้นตามแบบเดิม ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการวงเงินที่ใช้เลื่อนเงินเดือนได้คล่องตัว หลากหลาย สะท้อนผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเป็นรายบุคคลได้มากกว่า และเป็นเครื่องมือช่วยผู้บริหาร ในการผลักดันให้ผู้ปฏิบัติงานเร่งสร้างผลงาน มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยผลการประเมินจะเป็นข้อมูลบุคคลที่สั่งสมในระยะยาว ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการแต่งตั้ง โยกย้าย และการสร้างความก้าวหน้าในงานที่เป็นรูปธรรม รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลอื่น ๆ
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดแผนการดำเนินการเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่ส่วนราชการและจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการปรับใช้หลักเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวทางที่กำหนดใหม่ดังกล่าว ซึ่งนอกจากจะตั้งทีม ที่ปรึกษาเพื่อรับผิดชอบรายกระทรวงแล้ว หลังจากนี้ เลขาธิการ ก.พ. จะนำทีมผู้บริหาร เข้าพบหารือกับผู้บริหารของส่วนราชการทั้ง 19 กระทรวง ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อรับฟังความเห็นและร่วมมือกับผลักดันให้การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการแบบใหม่เป็นไปอย่างราบรื่น
เรื่องนี้นอกจากเป็นการปรับเปลี่ยนระบบบริหารงานของราชการให้คำนึงถึง ผลสัมฤทธิ์ของงานแล้ว ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของข้าราชการ ให้ผู้ที่มีผลงานดีได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผล และตอกย้ำคำกล่าวที่ว่า ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ส่วนราชการต้องให้ความสำคัญ