“จุรินทร์” เผย ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์วิทยฐานะ-เลื่อนวิทยฐานะใหม่ มีผลบังคับใช้ 1 ตุลานี้ ให้ผลตอบแทนต่อเดือน ครูชำนาญการ 3,500 บาท ครูชำนาญการพิเศษ 11,200 บาท ครูเชี่ยวชาญ 18,000 บาท ครูเชี่ยวชาญพิเศษ 26,000 บาท หาก พ.ร.บ.ปรับเงินเดือนครู มีผลบังคับใช้ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ได้เพิ่มเป็น 31,000 บาท/เดือน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะใหม่ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป โดยที่ประชุมเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ส่วนผู้ที่ขอรับการประเมินจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ ครูชำนาญการ ดำรงตำแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี 4 ปี 2 ปี สำหรับวุฒิปริญญาตรี โท และเอกตามลำดับ และมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
สำหรับครูชำนาญการพิเศษ ดำรงตำแหน่งครูชำนาญการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบจากการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน และมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
ครูเชี่ยวชาญ ดำรงตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือครูชำนาญการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบจากการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน และมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ดำรงตำแหน่งครูเชี่ยวชาญมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี และได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบจากการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน และมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ส่วนองค์ประกอบในการประเมินจะมี 3 ด้าน ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถของครู และด้านที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สำหรับวิทยฐานะครูชำนาญการ พิจารณาผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และหรือผลการทดสอบจากหน่วยงานที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้และพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยคำนึงถึงปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานด้วย และอาจพิจารณาจากการปฏิบัติจริงด้วยก็ได้
ส่วนวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ จะพิจารณาจาก 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และหรือผลการทดสอบจากหน่วยงานที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้และพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยคำนึงถึงปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานด้วย และอาจพิจารณาจากการปฏิบัติจริงด้วยก็ได้ ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาค้นคว้าหรือผลการวิจัยในชั้นเรียนที่มีจุดหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนของผู้เรียน มีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนไม่น้อยกว่า 1 รายการ
ขณะที่วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จะพิจารณาจาก 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และหรือผลการทดสอบจากหน่วยงานที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้และพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยคำนึงถึงปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานด้วย และอาจพิจารณาจากการปฏิบัติจริงด้วยก็ได้ ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาค้นคว้าหรือผลการวิจัยในชั้นเรียนที่มีจุดหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนของผู้เรียน มีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนไม่น้อยกว่า 2 รายการ ซึ่งต้องเป็นงานวิจัยอย่างน้อย 1 รายการ
ส่วนวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ จะพิจารณาจาก 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และหรือผลการทดสอบจากหน่วยงานที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้และพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยคำนึงถึงปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานด้วย และอาจพิจารณาจากการปฏิบัติจริงด้วยก็ได้ ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาค้นคว้าหรือผลการวิจัยในชั้นเรียนที่มีจุดหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนของผู้เรียน มีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนไม่น้อยกว่า 2 รายการ ซึ่งต้องเป็นงานวิจัยและพัฒนาอย่างน้อย 1 รายการ
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ครูที่จะขอเลื่อนวิทยฐานะสามารถขอยื่นได้ปีละ 1 ครั้ง เมื่อยื่นผลงานมาแล้ว กรณีที่ ก.ค.ศ.เห็นสมควรให้ปรับปรุงผลงานทางวิชาการ ให้ปรับปรุงได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ไม่เกิน 6 เดือน ครั้งที่ 2 ไม่เกิน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ สพท.ได้รับหนังสือแจ้งมติจากสำนักงาน ก.ค.ศ.โดยส่งให้คณะกรรมการชุดเดิมพิจารณา หากไม่ส่งภายในกำหนดถือว่าสละสิทธิ์
ส่วนเกณฑ์การประเมิน ระดับ ชำนาญการ ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 65 ระดับชำนาญการพิเศษ ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ระดับเชี่ยวชาญ ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ถ้าผ่านการประเมินจะได้รับค่าตอบแทน ดังนี้ ระดับครูชำนาญการ 3,500 บาทต่อเดือน ครูชำนาญการพิเศษ 11,200 บาทต่อเดือน ครูเชี่ยวชาญ 18,000 บาทต่อเดือน และ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ 26,000 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตาม ถ้า พ.ร.บ.ปรับเงินเดือนครู มีผลบังคับใช้ ผู้ที่ได้รับวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ จะเพิ่มเป็น 31,000 บาทต่อเดือน
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ในระหว่างนี้ ก.ค.ศ.ได้มอบให้นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาจัดทำคู่มือ เกณฑ์ เครื่องมือในการประเมินต่างๆ ภายในเดือนกันยายนนี้
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะใหม่ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป โดยที่ประชุมเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ส่วนผู้ที่ขอรับการประเมินจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ ครูชำนาญการ ดำรงตำแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี 4 ปี 2 ปี สำหรับวุฒิปริญญาตรี โท และเอกตามลำดับ และมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
สำหรับครูชำนาญการพิเศษ ดำรงตำแหน่งครูชำนาญการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบจากการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน และมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
ครูเชี่ยวชาญ ดำรงตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือครูชำนาญการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบจากการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน และมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ดำรงตำแหน่งครูเชี่ยวชาญมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี และได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบจากการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน และมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ส่วนองค์ประกอบในการประเมินจะมี 3 ด้าน ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถของครู และด้านที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สำหรับวิทยฐานะครูชำนาญการ พิจารณาผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และหรือผลการทดสอบจากหน่วยงานที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้และพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยคำนึงถึงปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานด้วย และอาจพิจารณาจากการปฏิบัติจริงด้วยก็ได้
ส่วนวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ จะพิจารณาจาก 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และหรือผลการทดสอบจากหน่วยงานที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้และพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยคำนึงถึงปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานด้วย และอาจพิจารณาจากการปฏิบัติจริงด้วยก็ได้ ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาค้นคว้าหรือผลการวิจัยในชั้นเรียนที่มีจุดหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนของผู้เรียน มีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนไม่น้อยกว่า 1 รายการ
ขณะที่วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จะพิจารณาจาก 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และหรือผลการทดสอบจากหน่วยงานที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้และพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยคำนึงถึงปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานด้วย และอาจพิจารณาจากการปฏิบัติจริงด้วยก็ได้ ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาค้นคว้าหรือผลการวิจัยในชั้นเรียนที่มีจุดหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนของผู้เรียน มีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนไม่น้อยกว่า 2 รายการ ซึ่งต้องเป็นงานวิจัยอย่างน้อย 1 รายการ
ส่วนวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ จะพิจารณาจาก 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และหรือผลการทดสอบจากหน่วยงานที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้และพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยคำนึงถึงปริมาณ คุณภาพ และสภาพของงานด้วย และอาจพิจารณาจากการปฏิบัติจริงด้วยก็ได้ ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาค้นคว้าหรือผลการวิจัยในชั้นเรียนที่มีจุดหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนของผู้เรียน มีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนไม่น้อยกว่า 2 รายการ ซึ่งต้องเป็นงานวิจัยและพัฒนาอย่างน้อย 1 รายการ
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ครูที่จะขอเลื่อนวิทยฐานะสามารถขอยื่นได้ปีละ 1 ครั้ง เมื่อยื่นผลงานมาแล้ว กรณีที่ ก.ค.ศ.เห็นสมควรให้ปรับปรุงผลงานทางวิชาการ ให้ปรับปรุงได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ไม่เกิน 6 เดือน ครั้งที่ 2 ไม่เกิน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ สพท.ได้รับหนังสือแจ้งมติจากสำนักงาน ก.ค.ศ.โดยส่งให้คณะกรรมการชุดเดิมพิจารณา หากไม่ส่งภายในกำหนดถือว่าสละสิทธิ์
ส่วนเกณฑ์การประเมิน ระดับ ชำนาญการ ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 65 ระดับชำนาญการพิเศษ ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ระดับเชี่ยวชาญ ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ถ้าผ่านการประเมินจะได้รับค่าตอบแทน ดังนี้ ระดับครูชำนาญการ 3,500 บาทต่อเดือน ครูชำนาญการพิเศษ 11,200 บาทต่อเดือน ครูเชี่ยวชาญ 18,000 บาทต่อเดือน และ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ 26,000 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตาม ถ้า พ.ร.บ.ปรับเงินเดือนครู มีผลบังคับใช้ ผู้ที่ได้รับวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ จะเพิ่มเป็น 31,000 บาทต่อเดือน
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ในระหว่างนี้ ก.ค.ศ.ได้มอบให้นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาจัดทำคู่มือ เกณฑ์ เครื่องมือในการประเมินต่างๆ ภายในเดือนกันยายนนี้