ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมสภาฯ วานนี้ (5 พ.ย.) นพ. แวมาฮาดี แวดาโอะ ส.ส.นราธิวาส พรรคเพื่อแผ่นดิน กระทู้ถามสดเรื่องการกระจายอำนาจบริหารโดยการจัดตั้งนครปัตตานี ได้สอบถามนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีว่า ในช่วงที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศจำนวนมากได้สนอข่าวว่าระหว่างการประชุมสุดผู้นำอาเซียน ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีของไทยเห็นด้วยกับแนวคิดให้มีการตั้ง Autonomy (เขตปกครองตนเอง) เพื่อแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของนายนาจีฟ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซียที่การระบุถึง Autonomy เช่นกัน ต่อมาพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีการเสนอ นครรัฐปัตตานีขึ้นมา ทำให้เกิดความสับสนแสดงว่ารัฐบาลไทยสนับสนุนกับการตั้งเขตปกครองพิเศษในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่นเดียวที่เกิดขึ้นกับซินเจียงของจีน และฮ่องกงใช่หรือไม่
นพ.วามาฮาดี ถามว่า หากมีการตั้งเขตปกครองดังกล่าวขึ้นมาจริงจะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ และในเมื่อรัฐบาลมีความพยายามที่จะปรับปรุงการบริหาร ราชการแผ่นดินในพื้นที่ดังกล่าวแล้วจะมีความเป็นไปได้หรือไม่หากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงเหมือนกับกรุงเทพฯ
นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงว่า เรื่องคำว่า Autonomy ส่วนตัวได้มีการย้ำกับสื่อแล้วว่าจะมีปัญหาในการตีความเมื่อมีการเผยแพร่ไป ซึ่งคำว่า Autonomy ไม่ได้มีความหมายถึง โครงสร้างการบริหารแต่จะเป็นเพียงการสร้างการมีส่วนร่วม ของประชาชนในพื้นที่ ให้เข้ามาร่วมกันแก้ปัญหามากกว่า
อย่างไรก็ตามส่วนตัวไม่ทราบแนวคิดของพล.อ.ชวลิตในเรื่องดังกล่าวนั้นมีโครงสร้างในการบริหารอย่างไร แต่สำหรับนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหานี้ต้องเป็นไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยตอนนี้เราได้มีนโยบายกาปรับปรุงระบบการบริหาราชการแผ่นดินในพื้นที่ด้วยระบบกฎหมาย ผ่านการเสนอ ร่างพ.ร.บ.เพื่อยกฐานะของ ศอ.บต. ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะสามารถเสนอให้สภาฯพิจารณาได้ในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ
รัฐบาลยังไม่มีแนวคิดที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงเพราะจะเอาพื้นที่ที่มีการเลือกตั้งผู้ว่าโดยตรงอย่างกรุงเทพฯมาเปรียบเทียบไม่ได้ เพราะในกรุงเทพฯก็มีการบริหารในลักษณะนี้มานานแตกต่างจากจังหวัดอื่น และกรุงเทพฯ เองก็มีปัญหาการบริหารที่ไม่ทั่วถึงระหว่างกรุงเทพฯชั้นนอกและชั้นใน จนมีการเสนอ เปลี่ยนระบบเป็นระบบเทศบาลย่อยแทน จึงคิดว่ากรณี 3 จังหวัดภาคใต้เป็นคนละกรณีกับกรุงเทพฯ
นอกจากนี้รัฐบาลไทยได้มีความร่วมมือในการแก้ไขปัญหากับรัฐบาลมาเลเซีย แล้ว โดยการประชุมเอเปคที่สิงคโปร์จะได้มีการหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ถึงการเตรียมความพร้อมในระหว่างที่ท่านเองจะเดินทางมาเยือนประเทศไทย อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีการเดินทางพร้อมกันลงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย และเท่าที่ได้หารือกันท่านเองก็เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาลไทยและถือว่า เป็นกิจการภายในของประเทศไทยที่จะไม่เข้าไปแทรกแซงแต่ก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือระหว่างกัน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกลุ่มพูโล ต้องการเจรจากับรัฐบาลไทยโดยให้นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นตัวกลางแก้ปัญหาว่า ตนไม่สนใจเรื่องเจรจา เดี๋ยวหน้าแตก และไม่ได้นำไปสู่การแก้ปัญหา
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ข้อเสนอนครรัฐปัตตานีของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย มีเสียง วิจารณ์อย่างกว้างขวาง และล่าสุดได้มีการอ้างทฤษฎีดอกไม้หลากสี ที่มีการปกครองแบบเขตการปกครองพิเศษ ของประเทศสาธารณะรัฐประชาชนจีน ซึ่ง พล.อ. ชวลิต คงจะเข้าใจผิด เพราะประเทศจีนใช้นโยบายในการปกครองแบบ 1 ประเทศ 2 ระบบ ต่างจากประเทศไทยที่เป็นการปกครองแบบรัฐเดี่ยว ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเกรงว่าการอ้างทฤษฎีดังกล่าว จะไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
ผมคิดว่าพล.อ.ชวลิต คงจะพูดเลอะเทอะไปเรื่อย และการเสนอแนวคิด นิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำผิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดความปรองดอง และสมานฉันท์นั้น ผมอยากจะทราบว่าพล.อ.ชวลิตมีเป้าหมายอะไร หรือเพียงต้องการ ให้ฆาตกร และจำเลยคดีฆ่าตัดตอน คดีกรือเซะ และคดีตากใบ พ้นความผิดใช่หรือไม่
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี กล่าวหลังเปิดโครงการสานใจไทยสู่ใจใต้ รุ่นที่ 13 ว่าสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เป็นห่วงอะไร แต่ขณะนี้เราจะสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจ มีความรัก ความสามัคคี เพราะถือว่าจะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองของเรา เมื่อถามว่า เห็นด้วยกับแนวคิดที่จะให้มีการนิรโทษกรรมกลุ่มโจรก่อการร้ายหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนคงไม่พูด ในเรื่องปัจจุบัน แต่จะพูดถึงเรื่องในอนาคต โดยเฉพาะอยากเห็นเยาวชนที่มีความเข้าใจ และช่วยกันที่จะสร้างชาติบ้านเมืองของเราต่อไป
ส่วนที่ พล.อ.ชวลิต เสนอจัดตั้งนครรัฐปัตตานี เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า อย่างที่บอกว่า พูดเรื่องเยาวชน และอนาคต เรื่องปัจจุบันไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ รวมถึงประเด็นการแบ่งแยกดิน เพราะว่าสิ่งที่ทำก็หวังผลในอนาคต เมื่อถามย้ำว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล และกองทัพ ถูกทางหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์ เพราะค่อนข้างลำบากที่จะไปให้ข้อคิดเห็นทางการเมือง และทำหน้าที่ตรงนี้มีหน้าที่รับฟัง จะไม่มีหน้าที่พูด
ผู้สื่อข่าวถามว่ามองสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้เป็นอย่างไร พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า มีหน้าที่รับฟัง แต่ไม่มีหน้าที่พูด ทั้งนี้เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองยังไม่จบไม่สิ้นก็จะต้องช่วยกันแก้ไข ตนคิดว่ามันไม่มีอะไรสมบูรณ์ 100 % ดังนั้นจะต้องช่วยกันหาทางแก้ไขในทุกๆ เรื่อง
ผู้สื่อข่าวถามว่าสถานการณ์บ้านเมืองภายในประเทศก็ยังไม่จบสิ้น แต่สถานการณ์ภายนอกอย่างประเทศเพื่อนบ้านก็รุมเร้าซ้ำเติมอีก พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ก็อย่างที่บอกจะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อถามว่า สมเด็จ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้แต่งตั้งให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ จะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ต้องไปถามรัฐบาลว่าจะกระทบหรือไม่
ขณะที่ นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าได้พูดคุยกับ พล.อ.ชวลิตแล้วท่านไม่น้อยใจที่ถูกโจมตี เพราะเป็นการแกล้งไม่เข้าใจ ซึ่ง 3 ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาภาคใต้นั้น มีทั้งยุทธศาสตร์ดอกไม้หลากสี ยุทธศาสตร์ถอยกันคนละ 3 ก้าว และที่สำคัญคือการตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หลักสำคัญคือการดูแลความเป็นอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ ที่เราจะต้องดูแลรักษาให้เขา นอกจากนี้ในเรื่องของการต่างประเทศ เรื่องความมั่นคง และเรื่องการเก็บภาษีที่สำคัญๆ รวมทั้งเรื่องโครงการขนาดใหญ่นั้นต้องเป็นเรื่องการบริหารของส่วนกลาง
นายชวลิต กล่าวว่า ภายหลังจากที่พล.อ.ชวลิตไปร่วมงานประชุมประชาสังคมฯ เมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา ท่านทราบในภายหลังว่ามีข้าราชการฝ่ายรัฐบาลไปสั่งห้ามผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้านไม่ให้เข้าร่วมงานดังกล่าวด้วย แต่เขาไม่รู้ว่าพล.อ.ชวลิต ประสานผ่านกลุ่มประชาสังคมฯ จึงทำให้การประชุมมีคนมาฟังเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตามพรรคเพื่อไทยเตรียมทำวีซีดีคำอภิปรายของ พล.อ.ชวลิต เป็นภาษีไทยและ ภาษายาวีแจกจ่ายให้ประชาชนในพื้นที่ให้ทราบถึงแนวทางการแก้ปัญหาภาคใต้
นพ.วามาฮาดี ถามว่า หากมีการตั้งเขตปกครองดังกล่าวขึ้นมาจริงจะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ และในเมื่อรัฐบาลมีความพยายามที่จะปรับปรุงการบริหาร ราชการแผ่นดินในพื้นที่ดังกล่าวแล้วจะมีความเป็นไปได้หรือไม่หากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงเหมือนกับกรุงเทพฯ
นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงว่า เรื่องคำว่า Autonomy ส่วนตัวได้มีการย้ำกับสื่อแล้วว่าจะมีปัญหาในการตีความเมื่อมีการเผยแพร่ไป ซึ่งคำว่า Autonomy ไม่ได้มีความหมายถึง โครงสร้างการบริหารแต่จะเป็นเพียงการสร้างการมีส่วนร่วม ของประชาชนในพื้นที่ ให้เข้ามาร่วมกันแก้ปัญหามากกว่า
อย่างไรก็ตามส่วนตัวไม่ทราบแนวคิดของพล.อ.ชวลิตในเรื่องดังกล่าวนั้นมีโครงสร้างในการบริหารอย่างไร แต่สำหรับนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหานี้ต้องเป็นไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยตอนนี้เราได้มีนโยบายกาปรับปรุงระบบการบริหาราชการแผ่นดินในพื้นที่ด้วยระบบกฎหมาย ผ่านการเสนอ ร่างพ.ร.บ.เพื่อยกฐานะของ ศอ.บต. ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะสามารถเสนอให้สภาฯพิจารณาได้ในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ
รัฐบาลยังไม่มีแนวคิดที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงเพราะจะเอาพื้นที่ที่มีการเลือกตั้งผู้ว่าโดยตรงอย่างกรุงเทพฯมาเปรียบเทียบไม่ได้ เพราะในกรุงเทพฯก็มีการบริหารในลักษณะนี้มานานแตกต่างจากจังหวัดอื่น และกรุงเทพฯ เองก็มีปัญหาการบริหารที่ไม่ทั่วถึงระหว่างกรุงเทพฯชั้นนอกและชั้นใน จนมีการเสนอ เปลี่ยนระบบเป็นระบบเทศบาลย่อยแทน จึงคิดว่ากรณี 3 จังหวัดภาคใต้เป็นคนละกรณีกับกรุงเทพฯ
นอกจากนี้รัฐบาลไทยได้มีความร่วมมือในการแก้ไขปัญหากับรัฐบาลมาเลเซีย แล้ว โดยการประชุมเอเปคที่สิงคโปร์จะได้มีการหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ถึงการเตรียมความพร้อมในระหว่างที่ท่านเองจะเดินทางมาเยือนประเทศไทย อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีการเดินทางพร้อมกันลงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย และเท่าที่ได้หารือกันท่านเองก็เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาลไทยและถือว่า เป็นกิจการภายในของประเทศไทยที่จะไม่เข้าไปแทรกแซงแต่ก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือระหว่างกัน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกลุ่มพูโล ต้องการเจรจากับรัฐบาลไทยโดยให้นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นตัวกลางแก้ปัญหาว่า ตนไม่สนใจเรื่องเจรจา เดี๋ยวหน้าแตก และไม่ได้นำไปสู่การแก้ปัญหา
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ข้อเสนอนครรัฐปัตตานีของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย มีเสียง วิจารณ์อย่างกว้างขวาง และล่าสุดได้มีการอ้างทฤษฎีดอกไม้หลากสี ที่มีการปกครองแบบเขตการปกครองพิเศษ ของประเทศสาธารณะรัฐประชาชนจีน ซึ่ง พล.อ. ชวลิต คงจะเข้าใจผิด เพราะประเทศจีนใช้นโยบายในการปกครองแบบ 1 ประเทศ 2 ระบบ ต่างจากประเทศไทยที่เป็นการปกครองแบบรัฐเดี่ยว ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเกรงว่าการอ้างทฤษฎีดังกล่าว จะไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
ผมคิดว่าพล.อ.ชวลิต คงจะพูดเลอะเทอะไปเรื่อย และการเสนอแนวคิด นิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำผิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดความปรองดอง และสมานฉันท์นั้น ผมอยากจะทราบว่าพล.อ.ชวลิตมีเป้าหมายอะไร หรือเพียงต้องการ ให้ฆาตกร และจำเลยคดีฆ่าตัดตอน คดีกรือเซะ และคดีตากใบ พ้นความผิดใช่หรือไม่
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี กล่าวหลังเปิดโครงการสานใจไทยสู่ใจใต้ รุ่นที่ 13 ว่าสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เป็นห่วงอะไร แต่ขณะนี้เราจะสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจ มีความรัก ความสามัคคี เพราะถือว่าจะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองของเรา เมื่อถามว่า เห็นด้วยกับแนวคิดที่จะให้มีการนิรโทษกรรมกลุ่มโจรก่อการร้ายหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนคงไม่พูด ในเรื่องปัจจุบัน แต่จะพูดถึงเรื่องในอนาคต โดยเฉพาะอยากเห็นเยาวชนที่มีความเข้าใจ และช่วยกันที่จะสร้างชาติบ้านเมืองของเราต่อไป
ส่วนที่ พล.อ.ชวลิต เสนอจัดตั้งนครรัฐปัตตานี เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า อย่างที่บอกว่า พูดเรื่องเยาวชน และอนาคต เรื่องปัจจุบันไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ รวมถึงประเด็นการแบ่งแยกดิน เพราะว่าสิ่งที่ทำก็หวังผลในอนาคต เมื่อถามย้ำว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล และกองทัพ ถูกทางหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์ เพราะค่อนข้างลำบากที่จะไปให้ข้อคิดเห็นทางการเมือง และทำหน้าที่ตรงนี้มีหน้าที่รับฟัง จะไม่มีหน้าที่พูด
ผู้สื่อข่าวถามว่ามองสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้เป็นอย่างไร พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า มีหน้าที่รับฟัง แต่ไม่มีหน้าที่พูด ทั้งนี้เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองยังไม่จบไม่สิ้นก็จะต้องช่วยกันแก้ไข ตนคิดว่ามันไม่มีอะไรสมบูรณ์ 100 % ดังนั้นจะต้องช่วยกันหาทางแก้ไขในทุกๆ เรื่อง
ผู้สื่อข่าวถามว่าสถานการณ์บ้านเมืองภายในประเทศก็ยังไม่จบสิ้น แต่สถานการณ์ภายนอกอย่างประเทศเพื่อนบ้านก็รุมเร้าซ้ำเติมอีก พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ก็อย่างที่บอกจะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อถามว่า สมเด็จ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้แต่งตั้งให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ จะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ต้องไปถามรัฐบาลว่าจะกระทบหรือไม่
ขณะที่ นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าได้พูดคุยกับ พล.อ.ชวลิตแล้วท่านไม่น้อยใจที่ถูกโจมตี เพราะเป็นการแกล้งไม่เข้าใจ ซึ่ง 3 ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาภาคใต้นั้น มีทั้งยุทธศาสตร์ดอกไม้หลากสี ยุทธศาสตร์ถอยกันคนละ 3 ก้าว และที่สำคัญคือการตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หลักสำคัญคือการดูแลความเป็นอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ ที่เราจะต้องดูแลรักษาให้เขา นอกจากนี้ในเรื่องของการต่างประเทศ เรื่องความมั่นคง และเรื่องการเก็บภาษีที่สำคัญๆ รวมทั้งเรื่องโครงการขนาดใหญ่นั้นต้องเป็นเรื่องการบริหารของส่วนกลาง
นายชวลิต กล่าวว่า ภายหลังจากที่พล.อ.ชวลิตไปร่วมงานประชุมประชาสังคมฯ เมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา ท่านทราบในภายหลังว่ามีข้าราชการฝ่ายรัฐบาลไปสั่งห้ามผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้านไม่ให้เข้าร่วมงานดังกล่าวด้วย แต่เขาไม่รู้ว่าพล.อ.ชวลิต ประสานผ่านกลุ่มประชาสังคมฯ จึงทำให้การประชุมมีคนมาฟังเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตามพรรคเพื่อไทยเตรียมทำวีซีดีคำอภิปรายของ พล.อ.ชวลิต เป็นภาษีไทยและ ภาษายาวีแจกจ่ายให้ประชาชนในพื้นที่ให้ทราบถึงแนวทางการแก้ปัญหาภาคใต้