รอยเตอร์ – เจเนอรัล มอเตอร์ (จีเอ็ม) ประกาศเปรี้ยงในวันอังคาร (3) ยกเลิกแผนการขายกิจการ“โอเปิล” ในยุโรปของตน ให้กับกลุ่มชิ้นส่วนรถยนต์ “แม็กนา” แห่งแคนาดา แม้ว่าจะเจรจาเรื่องนี้กันมานานนับปีท่ามกลางแรงผลักดันให้ตกลงยินยอมจากรัฐบาลเยอรมัน ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารบริษัทรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯแห่งนี้ระบุ ตัดสินใจเลือกที่จะปรับโครงสร้างกิจการโอเปิลและปรับยุทธศาสตร์ทางธุรกิจเสียใหม่ด้วยตนเอง
คณะกรรมการบริหาร 13 คนของจีเอ็มที่ได้รับแต่งตั้งในตอนที่บริษัทต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลายในสหรัฐฯเมื่อ 4 เดือนก่อน แถลงว่า สืบเนื่องเงื่อนไขทางธุรกิจที่กระเตื้องดีขึ้น และการที่โอเปิลนั้นมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์มากต่อจีเอ็ม จึงทำให้บริษัทต้องตัดสินใจใหม่ในคราวนี้
การตัดสินใจเช่นนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทิศทางอย่างน่าตื่นตระหนกของจีเอ็ม เพราะเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วนี้เอง ฟริตซ์ เฮนเดอร์สัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของจีเอ็มเพิ่งกล่าวว่า การขายกิจการของจีเอ็มในยุโรป ซึ่งมีทั้งแบรนด์รถโอเปิลที่ตั้งฐานหลักอยู่ในเยอรมนี และแบรนด์รถว็อกซ์ฮอล ในอังกฤษ กำลังจะบรรลุข้อตกลงในไม่ช้านี้
นอกจากนั้น การตัดสินใจครั้งนี้ยังเท่ากับความปราชัยของ อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี และอาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งกับสหภาพแรงงานของกิจการโอเปิลในยุโรป รวมทั้งก่อให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า จีเอ็มจะระดมเงินจากไหนมาใช้ในแผนเดินหน้าปรับโครงสร้างโอเปิลไปโดยลำพังคราวนี้
รัฐบาลเยอรมันนั้นได้ล็อบบี้อย่างหนักมาหลายเดือนแล้ว เพื่อให้จีเอ็มยอมขายกิจการแก่กลุ่มร่วมทุนของแม็กนา ซึ่งนอกจากแม็กนาแล้ว ยังประกอบด้วยธนาคารสเบอร์แบงก์ ของรัสเซีย และภายหลังทราบผลการตัดสินใจล่าสุดของจีเอ็ม รัฐมนตรีเศรษฐกิจ ไรเนอร์ บรือเดอร์เล แห่งเยอรมนี กล่าวว่า พฤติการณ์เช่นนี้ของจีเอ็ม “เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้โดยสิ้นเชิง”
ขณะที่ อุลริช วิลเฮล์ม โฆษกรัฐบาลเยอรมนีแถลงว่า “รัฐบาลเสียใจกับการตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารของจีเอ็มที่จะปรับโครงสร้างกิจการโอเปิลด้วยตนเอง และเก็บธุรกิจนี้เอาไว้เองต่อไป”
จีเอ็มคาดว่าการปรับโครงสร้างครั้งนี้ต้องใช้เงินในราว 3,000 ล้านดอลลาร์ยูโร (4,410 ล้านดอลลาร์) ซึ่งครอบคลุมทั้งการตัดลดพนักงานลงและปิดโรงงานบางส่วน
ซีอีโอ เฮนเดอร์สัน ซึ่งเคยให้คำมั่นว่าจะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรของกิจการที่มีอายุ 101 ปีนี้ ที่ถูกตำหนิว่าดำเนินการต่างๆ ด้วยความเชื่องช้า ก็ได้เคยออกมาแถลงว่าข้อตกลงกับแม็กนานั้นเป็นทางเลือกดีที่สุดที่จีเอ็มมีอยู่ หลังจากที่ใช้เวลาถึง 7 เดือนเจรจากับผู้เสนอซื้อกิจการหลายรายด้วยกัน
การตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารบริษัทจีเอ็มที่จะเก็บโอเปิลไว้ บังเกิดขึ้นหลังจากที่เจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรป (อียู) ตั้งคำถามเกี่ยวกับเงื่อนไขการให้เงินสนับสนุนซึ่งรัฐบาลเยอรมนีระบุว่าจะเข้าช่วยเหลือในการขายกิจการโอเปิลให้กับแม็กนาด้วย
ทั้งนี้ รัฐบาลเยอรมนีได้สัญญาว่าจะให้เงินช่วยเหลือจำนวน 4,500 ล้านยูโร (6,580 ล้านดอลลาร์) ในการซื้อขายกิจการดังกล่าว โดยที่ทำเสมือนกับกดดันให้จีเอ็มต้องรับข้อเสนอของกลุ่มแม็กนาเท่านั้น มิฉะนั้นก็จะถอนความช่วยเหลือนี้
ท่าทีเช่นนี้จึงทำให้รัฐบาลและพนักงานของประเทศอื่นๆ ในยุโรปซึ่งมีโรงงานของโอเปิลตั้งอยู่เช่นกัน พากันแสดงความกังขาว่า เยอรมนีมีการตกลงเป็นพิเศษกับแม็กนา เพื่อให้ปลดคนงานและปิดโรงงานในเยอรมนีให้น้อยที่สุด และไปกระทำกับคนงานและโรงงานที่ตั้งในประเทศอื่น
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมรถยนต์กล่าวว่า การที่จีเอ็มจะเก็บโอเปิลเอสไว้ ก็มีผลดีต่อธุรกิจตรงที่ทำให้จีเอ็มยังควบคุมเรื่องการวิจัยพัฒนารถเอาไว้ได้ รวมทั้งสามารถใช้ชิ้นส่วนประกอบร่วมกับกิจการในเครือได้ทั่วโลก แบบเดียวกับวิธีการที่ฟอร์ด มอเตอร์ใช้อยู่
ทั้งนี้โรงงานของโอเปิลในเมืองรุสเซลไฮม์ในเยอรมนีเป็นศูนย์กลางการวิจัยพัฒนารถที่สำคัญของจีเอ็ม และมีส่วนช่วยเพิ่มยอดขายรถยนต์ประหยัดเชื้อเพลิงอีกด้วย
คณะกรรมการบริหาร 13 คนของจีเอ็มที่ได้รับแต่งตั้งในตอนที่บริษัทต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลายในสหรัฐฯเมื่อ 4 เดือนก่อน แถลงว่า สืบเนื่องเงื่อนไขทางธุรกิจที่กระเตื้องดีขึ้น และการที่โอเปิลนั้นมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์มากต่อจีเอ็ม จึงทำให้บริษัทต้องตัดสินใจใหม่ในคราวนี้
การตัดสินใจเช่นนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทิศทางอย่างน่าตื่นตระหนกของจีเอ็ม เพราะเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วนี้เอง ฟริตซ์ เฮนเดอร์สัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของจีเอ็มเพิ่งกล่าวว่า การขายกิจการของจีเอ็มในยุโรป ซึ่งมีทั้งแบรนด์รถโอเปิลที่ตั้งฐานหลักอยู่ในเยอรมนี และแบรนด์รถว็อกซ์ฮอล ในอังกฤษ กำลังจะบรรลุข้อตกลงในไม่ช้านี้
นอกจากนั้น การตัดสินใจครั้งนี้ยังเท่ากับความปราชัยของ อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี และอาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งกับสหภาพแรงงานของกิจการโอเปิลในยุโรป รวมทั้งก่อให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า จีเอ็มจะระดมเงินจากไหนมาใช้ในแผนเดินหน้าปรับโครงสร้างโอเปิลไปโดยลำพังคราวนี้
รัฐบาลเยอรมันนั้นได้ล็อบบี้อย่างหนักมาหลายเดือนแล้ว เพื่อให้จีเอ็มยอมขายกิจการแก่กลุ่มร่วมทุนของแม็กนา ซึ่งนอกจากแม็กนาแล้ว ยังประกอบด้วยธนาคารสเบอร์แบงก์ ของรัสเซีย และภายหลังทราบผลการตัดสินใจล่าสุดของจีเอ็ม รัฐมนตรีเศรษฐกิจ ไรเนอร์ บรือเดอร์เล แห่งเยอรมนี กล่าวว่า พฤติการณ์เช่นนี้ของจีเอ็ม “เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้โดยสิ้นเชิง”
ขณะที่ อุลริช วิลเฮล์ม โฆษกรัฐบาลเยอรมนีแถลงว่า “รัฐบาลเสียใจกับการตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารของจีเอ็มที่จะปรับโครงสร้างกิจการโอเปิลด้วยตนเอง และเก็บธุรกิจนี้เอาไว้เองต่อไป”
จีเอ็มคาดว่าการปรับโครงสร้างครั้งนี้ต้องใช้เงินในราว 3,000 ล้านดอลลาร์ยูโร (4,410 ล้านดอลลาร์) ซึ่งครอบคลุมทั้งการตัดลดพนักงานลงและปิดโรงงานบางส่วน
ซีอีโอ เฮนเดอร์สัน ซึ่งเคยให้คำมั่นว่าจะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรของกิจการที่มีอายุ 101 ปีนี้ ที่ถูกตำหนิว่าดำเนินการต่างๆ ด้วยความเชื่องช้า ก็ได้เคยออกมาแถลงว่าข้อตกลงกับแม็กนานั้นเป็นทางเลือกดีที่สุดที่จีเอ็มมีอยู่ หลังจากที่ใช้เวลาถึง 7 เดือนเจรจากับผู้เสนอซื้อกิจการหลายรายด้วยกัน
การตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารบริษัทจีเอ็มที่จะเก็บโอเปิลไว้ บังเกิดขึ้นหลังจากที่เจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรป (อียู) ตั้งคำถามเกี่ยวกับเงื่อนไขการให้เงินสนับสนุนซึ่งรัฐบาลเยอรมนีระบุว่าจะเข้าช่วยเหลือในการขายกิจการโอเปิลให้กับแม็กนาด้วย
ทั้งนี้ รัฐบาลเยอรมนีได้สัญญาว่าจะให้เงินช่วยเหลือจำนวน 4,500 ล้านยูโร (6,580 ล้านดอลลาร์) ในการซื้อขายกิจการดังกล่าว โดยที่ทำเสมือนกับกดดันให้จีเอ็มต้องรับข้อเสนอของกลุ่มแม็กนาเท่านั้น มิฉะนั้นก็จะถอนความช่วยเหลือนี้
ท่าทีเช่นนี้จึงทำให้รัฐบาลและพนักงานของประเทศอื่นๆ ในยุโรปซึ่งมีโรงงานของโอเปิลตั้งอยู่เช่นกัน พากันแสดงความกังขาว่า เยอรมนีมีการตกลงเป็นพิเศษกับแม็กนา เพื่อให้ปลดคนงานและปิดโรงงานในเยอรมนีให้น้อยที่สุด และไปกระทำกับคนงานและโรงงานที่ตั้งในประเทศอื่น
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมรถยนต์กล่าวว่า การที่จีเอ็มจะเก็บโอเปิลเอสไว้ ก็มีผลดีต่อธุรกิจตรงที่ทำให้จีเอ็มยังควบคุมเรื่องการวิจัยพัฒนารถเอาไว้ได้ รวมทั้งสามารถใช้ชิ้นส่วนประกอบร่วมกับกิจการในเครือได้ทั่วโลก แบบเดียวกับวิธีการที่ฟอร์ด มอเตอร์ใช้อยู่
ทั้งนี้โรงงานของโอเปิลในเมืองรุสเซลไฮม์ในเยอรมนีเป็นศูนย์กลางการวิจัยพัฒนารถที่สำคัญของจีเอ็ม และมีส่วนช่วยเพิ่มยอดขายรถยนต์ประหยัดเชื้อเพลิงอีกด้วย