“ศศิธารา” เตรียมปูพรม ผุดโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืนทั่วประเทศ หลังประเดิมร่วมกับ UNWTO และรัฐเยอรมัน ทำโมเดลต้นแบบใน 2 พื้นที่ประสบภัยสึนามิ จ.พังงา สำเร็จ ส่วน ททท.รับลูก ทำสินค้าออกโปรโมต
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า จะเร่งศึกษารูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน บนพื้นที่ที่มีความหลายหลากทางชีวภาพ โดยจะใช้ตัวอย่างจากโมเดลของโครงการความช่วยเหลือในการพัฒนาพื้นที่ที่มีความหลายหลากทางชีวภาพให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่ กระทรวงการท่องเที่ยวฯร่วมกับรัฐบาลประเทศเยอรมนีจัดทำจนเป็นผลสำเร็จ ใน 2 พื้นที่ที่ จ.พังงา คือ เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า และ พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปี – หาดท้ายเหมือง ตามโครงการพัฒนาร่วมกันในเรื่องแผนการจัดการการท่องเที่ยว ส่งผลให้ปัจจุบันใน 2 พื้นที่ดังกล่าวมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่า 20% สร้างรายได้เข้าชุมชนจำนวนมาก
“โครงการที่เราทำสำเร็จแล้วนั้น เลือกจากพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติสึนามิ จนไม่เหลืออะไรเลย เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2549-2552 เป็นข้อตกลงขององค์การการท่องเที่ยวโลก โดยรัฐบาลเยอรมันให้งบ 5 ล้านบาท กระทรวงออกเองอีก 5 ล้านบาท เป้าหมายคือฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน เน้นพื้นที่ที่มีความหลายหลากทางชีวภาพและต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา”
ผลสำเร็จของโครงการที่ร่วมกับรัฐบาลเยอรมันในการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว คณะทำงานได้ลงพื้นเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวจำนวน 10 อย่าง ได้แก่ ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว เกาะคอเขา ,พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึก ,พัฒนาศูนย์กิจกรรมการท่องเที่ยว เกาะคอเขา ,ฟื้นฟูระบำรองเง็งของชาวมอแกน บ้านเกาะนก,พัฒนาศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวบ้านน้ำใส, ทัวร์ประมงบ้านทับละมุ, ศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนและการพายเรือคายัค บ้านเกาะนก, เส้นทางการพายเรือคายัค บ้านท่าดินแดง และ เส้นทางขี่จักรยานเพื่อการท่องเที่ยว บ้านทับยาง
ผลของความร่วมมือ ไทยได้มากกว่าเงินช่วยเหลือ เพราะเกิดการบอกต่อจากผู้จัดทำโครงการคือรัฐบาลเยอรมัน ซึ่งเขาจะต้องนำไปเผยแพร่ให้กับประเทศในกลุ่มยุโรปรับทราบ ชักชวนกันมาเที่ยว ไทยก็ได้เป็นแหล่งที่ตระหนักและตื่นตัวเรื่องการพัฒนาท่องเที่ยวแบบยั่งยืนซึ่งกำลังอยู่ในกระแสนิยม นอกจากนั้นความร่วมมือครั้งนี้ยังเป็นการดำเนินงานผ่านองค์การการท่องเที่ยวโลก(UNWTO) ดังนั้นในเวทีการประชุมสหประชาชาติในปีหน้า โครงการนี้จะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดให้กับสมาชิกจากทั่วโลกได้รับฟัง เพราะปีหน้าจะประกาศเป็นปี ความหลายหลากทางชีวภาพ
“เมื่อกระแสตอบรับดี และเป็นไปตามหลักสากลเช่นนี้ เป็นไปได้ที่จะบรรจุอยู่ในวาระแห่งชาติ เพราะหากเราพัฒนาพื้นที่อื่นๆในประเทศได้โดยใช้โมเดลนี้ จะเป็นประโยชน์กับการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยกระทรวงฯจะทำหน้าที่พัฒนาส่วน ททท.จะเป็นผู้นำสินค้าที่ทำเสร็จแล้วไปนำเสนอกับนักท่องเที่ยวในต่างประเทศ”
อย่างไรก็ตามล่าสุด UNWTO โดยรัฐบาลเยอรมัน ยังให้งบประมาณประเทศไทยจัดทำโครงการ ประหยัดพลังงานเพื่อลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน กำลังเลือกพื้นที่ คาดว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแถบอันดามันเช่นกัน
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า จะเร่งศึกษารูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน บนพื้นที่ที่มีความหลายหลากทางชีวภาพ โดยจะใช้ตัวอย่างจากโมเดลของโครงการความช่วยเหลือในการพัฒนาพื้นที่ที่มีความหลายหลากทางชีวภาพให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่ กระทรวงการท่องเที่ยวฯร่วมกับรัฐบาลประเทศเยอรมนีจัดทำจนเป็นผลสำเร็จ ใน 2 พื้นที่ที่ จ.พังงา คือ เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า และ พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปี – หาดท้ายเหมือง ตามโครงการพัฒนาร่วมกันในเรื่องแผนการจัดการการท่องเที่ยว ส่งผลให้ปัจจุบันใน 2 พื้นที่ดังกล่าวมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่า 20% สร้างรายได้เข้าชุมชนจำนวนมาก
“โครงการที่เราทำสำเร็จแล้วนั้น เลือกจากพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติสึนามิ จนไม่เหลืออะไรเลย เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2549-2552 เป็นข้อตกลงขององค์การการท่องเที่ยวโลก โดยรัฐบาลเยอรมันให้งบ 5 ล้านบาท กระทรวงออกเองอีก 5 ล้านบาท เป้าหมายคือฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน เน้นพื้นที่ที่มีความหลายหลากทางชีวภาพและต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา”
ผลสำเร็จของโครงการที่ร่วมกับรัฐบาลเยอรมันในการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว คณะทำงานได้ลงพื้นเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวจำนวน 10 อย่าง ได้แก่ ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว เกาะคอเขา ,พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึก ,พัฒนาศูนย์กิจกรรมการท่องเที่ยว เกาะคอเขา ,ฟื้นฟูระบำรองเง็งของชาวมอแกน บ้านเกาะนก,พัฒนาศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวบ้านน้ำใส, ทัวร์ประมงบ้านทับละมุ, ศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนและการพายเรือคายัค บ้านเกาะนก, เส้นทางการพายเรือคายัค บ้านท่าดินแดง และ เส้นทางขี่จักรยานเพื่อการท่องเที่ยว บ้านทับยาง
ผลของความร่วมมือ ไทยได้มากกว่าเงินช่วยเหลือ เพราะเกิดการบอกต่อจากผู้จัดทำโครงการคือรัฐบาลเยอรมัน ซึ่งเขาจะต้องนำไปเผยแพร่ให้กับประเทศในกลุ่มยุโรปรับทราบ ชักชวนกันมาเที่ยว ไทยก็ได้เป็นแหล่งที่ตระหนักและตื่นตัวเรื่องการพัฒนาท่องเที่ยวแบบยั่งยืนซึ่งกำลังอยู่ในกระแสนิยม นอกจากนั้นความร่วมมือครั้งนี้ยังเป็นการดำเนินงานผ่านองค์การการท่องเที่ยวโลก(UNWTO) ดังนั้นในเวทีการประชุมสหประชาชาติในปีหน้า โครงการนี้จะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดให้กับสมาชิกจากทั่วโลกได้รับฟัง เพราะปีหน้าจะประกาศเป็นปี ความหลายหลากทางชีวภาพ
“เมื่อกระแสตอบรับดี และเป็นไปตามหลักสากลเช่นนี้ เป็นไปได้ที่จะบรรจุอยู่ในวาระแห่งชาติ เพราะหากเราพัฒนาพื้นที่อื่นๆในประเทศได้โดยใช้โมเดลนี้ จะเป็นประโยชน์กับการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยกระทรวงฯจะทำหน้าที่พัฒนาส่วน ททท.จะเป็นผู้นำสินค้าที่ทำเสร็จแล้วไปนำเสนอกับนักท่องเที่ยวในต่างประเทศ”
อย่างไรก็ตามล่าสุด UNWTO โดยรัฐบาลเยอรมัน ยังให้งบประมาณประเทศไทยจัดทำโครงการ ประหยัดพลังงานเพื่อลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน กำลังเลือกพื้นที่ คาดว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแถบอันดามันเช่นกัน