น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวภายหลังการปิดโครงการการพัฒนาพื้นที่ประสบภัยจากอุบัติภัยสึนามิ จ.พังงา ว่า โครงการพัฒนาพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากสึนามิ จ.พังงา เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและองค์การท่องเที่ยวโลก หรือรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลเยอรมัน 100,000 ยูโร หรือประมาณ 5 ล้านบาท หรือเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2546 ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 - 2552
ซึ่งโครงการดังกล่าวจะทำในประเทศที่ประสบภัยสึนามิ 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย และอินโดนีเซีย เพื่อให้เป็นพื้นที่ต้นแบบของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ
ในส่วนของประเทศไทยได้เลือก จ.พังงา ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติร้ายแรงกว่าพื้นที่อื่นพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบ ได้แก่ พื้นที่ต้นแบบเกาะคอเขา และพื้นที่ต้นแบบท้ายเหมืองลำแก่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ประกอบสำคัญของการท่องเที่ยวขึ้นใหม่ โดยปรับปรุงความรู้ความสามารถและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากความร่วมมือในกรอบพหุภาคีการท่องเที่ยวโลก ทำให้พื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาในปัจจุบันนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20
ซึ่งโครงการดังกล่าวจะทำในประเทศที่ประสบภัยสึนามิ 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย และอินโดนีเซีย เพื่อให้เป็นพื้นที่ต้นแบบของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ
ในส่วนของประเทศไทยได้เลือก จ.พังงา ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติร้ายแรงกว่าพื้นที่อื่นพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบ ได้แก่ พื้นที่ต้นแบบเกาะคอเขา และพื้นที่ต้นแบบท้ายเหมืองลำแก่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ประกอบสำคัญของการท่องเที่ยวขึ้นใหม่ โดยปรับปรุงความรู้ความสามารถและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากความร่วมมือในกรอบพหุภาคีการท่องเที่ยวโลก ทำให้พื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาในปัจจุบันนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20