ที่รัฐสภา น.ส.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ และในฐานะรองโฆษกกรรมาธิการการต่างประเทศ กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมาธิการ ต่อการที่ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก สมัยวาระปี 2552-2556 ต่อบทบาทในการคุ้มครองมรดกโลก โดยเฉพาะกรณีปราสาทพระวิหาร ซึ่งการประชุมได้มีการเชิญนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งคณะผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม ร่วมชี้แจง หลังจากที่ได้มีการประชุมร่วมกับ 21 ประเทศ เมื่อต้นปี 52 ที่ผ่านมา ซึ่งข้อสรุปในการประชุมกรรมาธิการครั้งนี้ ทางประเทศไทยได้มีการเตรียมตัวโดยการรวบรวมข้อมูล เพื่อเจรจาและลอบบี้คณะกรรมการของประเทศอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะมีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 34 ในต้นปี 53 ที่ประเทศบราซิล
น.ส.รัชดา กล่าวว่า ประเทศไทยได้มีการเตรียมข้อมูล ติดต่อ และทำความเข้าใจกับคณะกรรมการทั้ง 21 ประเทศ อย่างต่อเนื่องและจะมีการยื่นเรื่องประท้วงยูเนสโก กับคณะกรรมการมรดกโลกในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งเป็นการตัดสินใจไม่ถูกต้องของยูเนสโก เพราะปราสาทพระวิหารไม่สอดคล้องต่ออนุสัญญาที่ว่าด้วยการปกป้องและดูแลมรดกโลก ข้อที่ 11.3 ที่ระบุว่า การที่สถานที่ใดจะขึ้นบัญชีเป็นรายชื่อมรดกโลก จะต้องตั้งอยู่ในอาณาเขตอธิปไตยที่ไม่มีปัญหา แต่กรณีปราสาทพระวิหาร เป็นกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา ซึ่งผิดตั้งแต่ต้น ที่ยูเนสโกประกาศให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร
รองโฆษกกรรมาธิการ กล่าวว่า แนวทางในการดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลก ซึ่งทางประเทศกัมพูชา จะต้องยื่นรายงานฉบับสมบูรณ์ให้กับยูเนสโก ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ แต่ทำไม่สำเร็จ จนต้องมายื่นในครั้งหน้า แต่แนวทางที่กำหนดไว้ในย่อหน้า 132 ที่กำหนดว่า ประเทศที่เสนอขอขึ้นทะเบียน จะต้องชี้ให้เห็นชัดเจนถึงเขตแดนของพื้นที่ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และต้องระบุให้ชัดเจนว่า ตรงไหนเป็นพื้นที่กันชน ซึ่งปัจจุบันประเทศกัมพูชายังไม่สามารถสร้างความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวได้ เพราะพื้นที่กันชนยังเป็นกรณีพิพาทกับประเทศไทยอยู่
ส่วนในเรื่องแผนการบริหารจัดการพื้นที่เขาพระวิหารที่จะต้องเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ และมาตราการในการบูรณะพัฒนา ซึ่งทางประเทศกัมพูชาก็ยังไม่สามารถทำรายงานให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งทางประเทศไทยจะทำการประท้วงกับยูเนสโก ต่อการตัดสินใจ ที่ผ่านมาไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ทางยูเนสโกได้กำหนด ซึ่งประเทศไทยขอยืนยันว่า จะไม่มีการประท้วงประเทศกัมพูชาอย่างแน่นอน
ส่วนจุดยืนของประเทศไทยต่อไป จะเป็นอย่างไรนั้น น.ส.รัชดา กล่าวว่า ประเด็นไม่อยู่ที่ว่าจะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกันหรือไม่ สมมุติยูเนสโกถอดปราสาทพระวิหารออกจากการเป็นมรดกโลก ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดขึ้นในเร็ววัน ถ้าตราบใดเรื่องพรมแดนไม่สารมารถคลี่คลายได้ การขึ้นทะเบียนร่วมกันคงจะต้องชะลอออกไปก่อน
นอกจากนี้ ที่ประชุมกรรมาธิการต่างประเทศ และคณะกรรมการมรดกโลกของประเทศไทย มีมติเห็นร่วมกันที่ต้องการยุติความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศ และต้องการเปิดเขาพระวิหารเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนที่อยู่ระแวกพื้นที่ดังกล่าว และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งลดการเผชิญหน้าทางการทหารด้วย
**ยันไม่มีปัญหาทางด้านการทหาร
พล.อ.เตีย บันห์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กัมพูชาให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหารว่า ขณะนี้ทหารของทั้งฝ่ายก็ยังคงตรึงกำลังเพื่อดูแลความเรียบร้อย ซึ่งทหารของทั้งสองประเทศเข้าใจสถานการณ์เป็นอย่างดี ไม่มีปัญหาอะไรต่อกัน ตนกับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหมของไทย พูดจากันรู้เรื่องอยู่แล้ว ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องเจจาผ่านช่องทางของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาของทั้งสองฝ่าย
เมื่อถามว่า ในการประชุม รมว.กลาโหมอาเซียนที่ผ่านมาได้มีการหยิบประเด็นดังกล่าวมาพูดคุยกับพล.อ.ประวิตร หรือไม่ พล.อ.เตีย บันห์ กล่าวว่าไม่ได้มีการพูดคุยกัน แต่ปัญหาบริเวณดังกล่าวได้มีการพูดคุยกันก่อนอยู่แล้ว ทั้งนี้ได้พูดคุยกันพล.อ.ประวิตร ในเรื่องทั่วไปและปัญหากว้างๆ ไม่ได้เจาะจงปัญหาเฉพาะพื้นที่ปราสาทพระวิหาร
เมื่อถามว่า สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นห่วงเรื่องการเผชิญหน้าของทั้งสองฝ่าย โดยอยากจะให้มีการถอนกำลังทหารเพื่อลดความตรึงเครียด พล.อ.เตีย บันห์ กล่าวว่าไม่มีอะไร สมเด็จฮุนเซนไม่ได้สั่งการอะไรมาเป็นพิเศษ ตอนนี้คิดมากกันไปเอง ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ทางทหารนั้น ไม่มีปัญหา เรายังแน่นปึ๊กกันอยู่ และยังสามารถพูดคุยตกลงกันได้ ไม่มีปัญหาอะไร
เมื่อถามว่ามีข่าวว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางเข้าประเทศกัมพูชาเพื่อร่วมงานลอยกระทงกับสมเด็จฮุนเซน จริงหรือไม่ พล.อ.เตียบันห์ กล่าวว่าไม่มีหรอก พ.ต.ท.ทักษิณ คงไม่ได้เดินทางมา อีกทั้งตนได้เดินทางมาประชุมรมว.กลาโหมอาเซียน ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา จึงไม่ทราบในรายละเอียดเรื่องนี้
เมื่อถามย้ำว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางเข้าประเทศกัมพูชา เพื่อมาดูบ้านพักที่สมเด็จฮุนเซน สร้างไว้ให้ พล.อ. เตีย บันห์ กล่าวว่า “ผมจะไปรู้ได้อย่างไรว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางเข้าในประเทศกัมพูชาเมื่อไร ทางที่ดีจะต้องไปถามพ.ต.ท.ทักษิณเอาเองว่าจะมากัมพูชาเมื่อไร แต่ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่ได้เดินทางเข้ามา
น.ส.รัชดา กล่าวว่า ประเทศไทยได้มีการเตรียมข้อมูล ติดต่อ และทำความเข้าใจกับคณะกรรมการทั้ง 21 ประเทศ อย่างต่อเนื่องและจะมีการยื่นเรื่องประท้วงยูเนสโก กับคณะกรรมการมรดกโลกในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งเป็นการตัดสินใจไม่ถูกต้องของยูเนสโก เพราะปราสาทพระวิหารไม่สอดคล้องต่ออนุสัญญาที่ว่าด้วยการปกป้องและดูแลมรดกโลก ข้อที่ 11.3 ที่ระบุว่า การที่สถานที่ใดจะขึ้นบัญชีเป็นรายชื่อมรดกโลก จะต้องตั้งอยู่ในอาณาเขตอธิปไตยที่ไม่มีปัญหา แต่กรณีปราสาทพระวิหาร เป็นกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา ซึ่งผิดตั้งแต่ต้น ที่ยูเนสโกประกาศให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร
รองโฆษกกรรมาธิการ กล่าวว่า แนวทางในการดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลก ซึ่งทางประเทศกัมพูชา จะต้องยื่นรายงานฉบับสมบูรณ์ให้กับยูเนสโก ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ แต่ทำไม่สำเร็จ จนต้องมายื่นในครั้งหน้า แต่แนวทางที่กำหนดไว้ในย่อหน้า 132 ที่กำหนดว่า ประเทศที่เสนอขอขึ้นทะเบียน จะต้องชี้ให้เห็นชัดเจนถึงเขตแดนของพื้นที่ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และต้องระบุให้ชัดเจนว่า ตรงไหนเป็นพื้นที่กันชน ซึ่งปัจจุบันประเทศกัมพูชายังไม่สามารถสร้างความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวได้ เพราะพื้นที่กันชนยังเป็นกรณีพิพาทกับประเทศไทยอยู่
ส่วนในเรื่องแผนการบริหารจัดการพื้นที่เขาพระวิหารที่จะต้องเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ และมาตราการในการบูรณะพัฒนา ซึ่งทางประเทศกัมพูชาก็ยังไม่สามารถทำรายงานให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งทางประเทศไทยจะทำการประท้วงกับยูเนสโก ต่อการตัดสินใจ ที่ผ่านมาไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ทางยูเนสโกได้กำหนด ซึ่งประเทศไทยขอยืนยันว่า จะไม่มีการประท้วงประเทศกัมพูชาอย่างแน่นอน
ส่วนจุดยืนของประเทศไทยต่อไป จะเป็นอย่างไรนั้น น.ส.รัชดา กล่าวว่า ประเด็นไม่อยู่ที่ว่าจะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกันหรือไม่ สมมุติยูเนสโกถอดปราสาทพระวิหารออกจากการเป็นมรดกโลก ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดขึ้นในเร็ววัน ถ้าตราบใดเรื่องพรมแดนไม่สารมารถคลี่คลายได้ การขึ้นทะเบียนร่วมกันคงจะต้องชะลอออกไปก่อน
นอกจากนี้ ที่ประชุมกรรมาธิการต่างประเทศ และคณะกรรมการมรดกโลกของประเทศไทย มีมติเห็นร่วมกันที่ต้องการยุติความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศ และต้องการเปิดเขาพระวิหารเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนที่อยู่ระแวกพื้นที่ดังกล่าว และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งลดการเผชิญหน้าทางการทหารด้วย
**ยันไม่มีปัญหาทางด้านการทหาร
พล.อ.เตีย บันห์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กัมพูชาให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหารว่า ขณะนี้ทหารของทั้งฝ่ายก็ยังคงตรึงกำลังเพื่อดูแลความเรียบร้อย ซึ่งทหารของทั้งสองประเทศเข้าใจสถานการณ์เป็นอย่างดี ไม่มีปัญหาอะไรต่อกัน ตนกับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหมของไทย พูดจากันรู้เรื่องอยู่แล้ว ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องเจจาผ่านช่องทางของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาของทั้งสองฝ่าย
เมื่อถามว่า ในการประชุม รมว.กลาโหมอาเซียนที่ผ่านมาได้มีการหยิบประเด็นดังกล่าวมาพูดคุยกับพล.อ.ประวิตร หรือไม่ พล.อ.เตีย บันห์ กล่าวว่าไม่ได้มีการพูดคุยกัน แต่ปัญหาบริเวณดังกล่าวได้มีการพูดคุยกันก่อนอยู่แล้ว ทั้งนี้ได้พูดคุยกันพล.อ.ประวิตร ในเรื่องทั่วไปและปัญหากว้างๆ ไม่ได้เจาะจงปัญหาเฉพาะพื้นที่ปราสาทพระวิหาร
เมื่อถามว่า สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นห่วงเรื่องการเผชิญหน้าของทั้งสองฝ่าย โดยอยากจะให้มีการถอนกำลังทหารเพื่อลดความตรึงเครียด พล.อ.เตีย บันห์ กล่าวว่าไม่มีอะไร สมเด็จฮุนเซนไม่ได้สั่งการอะไรมาเป็นพิเศษ ตอนนี้คิดมากกันไปเอง ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ทางทหารนั้น ไม่มีปัญหา เรายังแน่นปึ๊กกันอยู่ และยังสามารถพูดคุยตกลงกันได้ ไม่มีปัญหาอะไร
เมื่อถามว่ามีข่าวว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางเข้าประเทศกัมพูชาเพื่อร่วมงานลอยกระทงกับสมเด็จฮุนเซน จริงหรือไม่ พล.อ.เตียบันห์ กล่าวว่าไม่มีหรอก พ.ต.ท.ทักษิณ คงไม่ได้เดินทางมา อีกทั้งตนได้เดินทางมาประชุมรมว.กลาโหมอาเซียน ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา จึงไม่ทราบในรายละเอียดเรื่องนี้
เมื่อถามย้ำว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางเข้าประเทศกัมพูชา เพื่อมาดูบ้านพักที่สมเด็จฮุนเซน สร้างไว้ให้ พล.อ. เตีย บันห์ กล่าวว่า “ผมจะไปรู้ได้อย่างไรว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางเข้าในประเทศกัมพูชาเมื่อไร ทางที่ดีจะต้องไปถามพ.ต.ท.ทักษิณเอาเองว่าจะมากัมพูชาเมื่อไร แต่ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่ได้เดินทางเข้ามา