“คำนึงว่า บ้านเมืองวันนี้ต้องการมีในหลวงเป็นสัญลักษณ์ไหม ถ้าเราไม่ต้องการมีก็พูดกันตรงไปตรงมานะ ทำลายน่ะไม่ยากเลย รักษาไว้นี่ยากกว่า ผมอยากจะถามพวกเสื้อแดง หลายฝ่ายในนั้นต้องการทำลาย ผมก็ถามพวกเสื้อแดง ถ้าคุณไปคิดทำลายล้างคุณก็เกิดอคติ เมื่อคุณมีอคติแล้วปัญญาไม่เกิด ผมถามคุณ ถ้าทำลายล้างคุณจะเอาอะไรมาแทนที่ จะดีเท่าเก่าไหม จะดีกว่าเก่าไหม ...”
ข้างต้นเป็นคำให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งของ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ แทบลอยด์ฉบับสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (1-7 พ.ย. 2552) ซึ่งในภาพรวมถือเป็นบทสัมภาษณ์ที่แม้จะฟังดูรุนแรง แต่แหลมคมและช่วยกระตุ้นเตือนให้พวกเราได้ฉุกคิด ในห้วงเวลาที่บ้านเมืองกำลังตกอยู่ในภาวะเฉียดโกลาหล จากกรณีการปล่อยข่าวอัปมงคลเกี่ยวกับสถาบันเบื้องสูง ซึ่งนำมาสู่การดำเนินการจับกุมสมาชิกเว็บบอร์ดของ “เว็บไซต์ประชาไท” และ “เว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน” ที่โพสต์ข้อความหมิ่นเหม่ว่าจะผิดกฎหมาย อันก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและความมั่นคงอย่างชัดเจน
สัญญาณของความโกลาหล ไม่นับรวมกับการประกาศเคลื่อนไหวใหญ่ทั้งในและนอกระบบเครือข่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ชักใยผ่าน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ แก๊งสามเกลอ รวมไปถึงการขยายเครือข่ายสื่อของนักโทษชายผู้นี้ เพื่อหวังจะยึดคืนอำนาจรัฐกลับมาให้ได้ด้วย
หลังการจับกุม น.ส.ธีรนันต์ วิภูชนิน และ นายคธา ปาจริยพงษ์ 2 มือโพสต์ข้อมูลเท็จซึ่งกระทบต่อความมั่นคงของประเทศอย่างรุนแรง การจับจ้องต่อเว็บไซต์ประชาไทและฟ้าเดียวกันก็กลายมาเป็นกระแสสูงอีกครั้ง ภายหลังจากที่เว็บไซต์ทั้งสองแห่งตกเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง
เท่าที่ผมจำได้ ครั้งหลังสุดที่ประชาไทตกเป็นข่าวใหญ่ในหน้าหนังสือพิมพ์ก็คือเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองปราบปรามได้เข้าจับกุม น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท ถึงสำนักงานในย่านห้วยขวาง จากกรณีปล่อยให้มีการโพสต์ข้อความจำนวนมากที่หมิ่นเหม่ต่อการผิดกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
การจับกุม ผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท ครั้งนั้นได้ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มเอ็นจีโอและนักวิชาการในเครือข่ายประชาไท ที่เข้าร้องเรียนและยื่นจดหมายต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยกลุ่มเอ็นจีโอ (ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ คุณสุภิญญา กลางณรงค์) อ้างว่าการจับกุมดังกล่าวนั้นเป็นการคุกคามสื่อ และจะยิ่งสร้างบรรยากาศของความกดดัน ให้เกิดกระแสการต่อต้านในโลกอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น
ทว่า หลังจากนั้นเป็นต้นมาข่าวคราวเกี่ยวกับการจัดการ หรือจัดระเบียบเว็บไซต์หมิ่นฯ ก็เงียบหายไปกับสายลม และคุณอภิสิทธิ์ก็แทบจะไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้อีก โดยผมเพียงได้ข่าวแว่วๆ มาว่า มีความพยายามจากเครือข่ายของประชาไทและเครือข่ายพลเมืองเน็ตในการผลักดันให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือในชื่อเต็มคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นไปเพื่อจุดประสงค์อันใด ผมก็มิอาจทราบได้
โดยความเห็นส่วนตัว การจับกุม 2 มือโพสต์ในเว็บบอร์ดของเว็บไซต์ประชาไท และฟ้าเดียวกันเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา หากเป็นขั้นตอนที่ต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงไปถึง “ตัวการใหญ่” ที่มีจุดมุ่งหมายในการปล่อยข่าวเพื่อให้เกิดความโกลาหล และการล้มล้างสถาบันจริง ผมก็ขอแสดงความเห็นด้วยและชื่นชม
ทว่า หากการจับกุมดังกล่าวรัฐบาลสั่งเจ้าหน้าที่ให้ทำเพียงเพื่อ “ขายผ้าเอาหน้ารอด” เพื่อลดทอนแรงกดดันของสังคมก็ถือว่าน่าผิดหวัง และน่าประณามเป็นอย่างยิ่ง เพราะการกระทำดังกล่าวของรัฐบาลจะยิ่งก่อให้เกิดกระแสต่อต้านและจะยิ่งส่งผลเสียต่อสถาบันอันเป็นที่เคารพรักของคนไทยทั้งปวง กล่าวคือ
หนึ่ง การจับกุมปลาซิวปลาสร้อยที่เพียงแปลและโพสต์ข้อความอย่างคึกคะนอง-ไร้สติ เอาเข้าจริงจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้ เพราะตัวการใหญ่ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศและมีอิทธิพลต่อสื่อต่างประเทศก็จะยังคงสามารถบัญชาการแขน-ขา ของเขาในการปล่อยข่าวเช่นนี้ต่อไปได้เรื่อยๆ
สอง การจับกุมอย่างมั่วซั่ว รังแต่จะยิ่งก่อให้เกิดกระแสต่อต้านในหมู่คนรุ่นใหม่บางกลุ่มที่รับไม่ได้กับการปิดกั้นข่าวสารและจะยิ่งทำให้พวกเขาเกิดทัศนะเชิงลบต่อสถาบันฯ มากยิ่งขึ้นไปอีก
ปัญหาของเว็บไซต์ประชาไท ฟ้าเดียวกัน และเว็บหมิ่นอื่นๆ นั้น ผมคิดว่าในท้ายที่สุดแล้วความรับผิดชอบย่อมตกอยู่กับ “รัฐบาลอภิสิทธิ์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวันเข้ารับตำแหน่ง 17 ธันวาคม 2551 คุณอภิสิทธิ์เป็นผู้ลั่นวาจาลูกผู้ชายไว้เองว่า
“ผมยืนตรงนี้ในฐานะนายกรัฐมนตรี ผมขอยืนยันว่า รัฐบาลที่ผมเป็นผู้นำนั้น จะปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และจะเทิดทูนสถาบันนี้ มิให้ผู้ใดทำให้สถาบันนี้ไม่อยู่เหนือความขัดแย้งในทางการเมือง ด้วยประการทั้งปวง ...”
ข่าวเท็จ ข่าวลวง ข่าวปล่อย เว็บไซต์หมิ่นฯ หรือเว็บไซต์ที่ปล่อยข่าวเพื่อล้มล้างสถาบันมิใช่เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นวันนี้ วานนี้ หรือเมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แต่มันเกิดขึ้นมานานนับปีแล้ว และวิธีการจัดการนั้นก็มีทั้ง การใช้ไม้แข็งและไม้อ่อน การใช้ยุทธวิธีทางเปิดและทางลับ การแก้ไขเพื่อให้ได้ผลในระยะยาวและระยะสั้น
เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์ที่บ่งชี้ให้เราว่าตลอดระยะเวลา 10 เดือนที่เข้ามานอกเหนือจากการล้างผลาญงบประมาณในการประชาสัมพันธ์อย่างไร้จุดมุ่งหมายผ่านกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ยังไม่ได้ทำอะไรเลยเพื่อปกป้องสถาบันอย่างจริงๆ จังๆ
ซึ่งนั่นทำให้ผมยิ่งรู้สึกสงสัยว่า สิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นเพราะรัฐบาลไม่ใส่ใจในการจัดการ เป็นเพราะไม่เข้าใจปัญหา หรือเป็นเพราะคนของรัฐบาลไม่มีความสามารถกันแน่
คุณอภิสิทธิ์ครับ สุภาษิตฝรั่งเขาว่าไว้ว่า “Fool me once, shame on you; fool me twice, shame on me.”
ผมเพียงอยากกล่าวเตือนให้ทราบไว้ว่า ถ้ามีปล่อยให้ Fool กันอีกครั้งแม้คุณอภิสิทธิ์และรัฐบาลจะไม่ “อับอาย” แต่ผมและประชาชนชาวไทย ทั้ง “อับอาย” และทั้ง “โกรธแค้น” ครับ
ข้างต้นเป็นคำให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งของ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ แทบลอยด์ฉบับสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (1-7 พ.ย. 2552) ซึ่งในภาพรวมถือเป็นบทสัมภาษณ์ที่แม้จะฟังดูรุนแรง แต่แหลมคมและช่วยกระตุ้นเตือนให้พวกเราได้ฉุกคิด ในห้วงเวลาที่บ้านเมืองกำลังตกอยู่ในภาวะเฉียดโกลาหล จากกรณีการปล่อยข่าวอัปมงคลเกี่ยวกับสถาบันเบื้องสูง ซึ่งนำมาสู่การดำเนินการจับกุมสมาชิกเว็บบอร์ดของ “เว็บไซต์ประชาไท” และ “เว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน” ที่โพสต์ข้อความหมิ่นเหม่ว่าจะผิดกฎหมาย อันก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและความมั่นคงอย่างชัดเจน
สัญญาณของความโกลาหล ไม่นับรวมกับการประกาศเคลื่อนไหวใหญ่ทั้งในและนอกระบบเครือข่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ชักใยผ่าน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ แก๊งสามเกลอ รวมไปถึงการขยายเครือข่ายสื่อของนักโทษชายผู้นี้ เพื่อหวังจะยึดคืนอำนาจรัฐกลับมาให้ได้ด้วย
หลังการจับกุม น.ส.ธีรนันต์ วิภูชนิน และ นายคธา ปาจริยพงษ์ 2 มือโพสต์ข้อมูลเท็จซึ่งกระทบต่อความมั่นคงของประเทศอย่างรุนแรง การจับจ้องต่อเว็บไซต์ประชาไทและฟ้าเดียวกันก็กลายมาเป็นกระแสสูงอีกครั้ง ภายหลังจากที่เว็บไซต์ทั้งสองแห่งตกเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง
เท่าที่ผมจำได้ ครั้งหลังสุดที่ประชาไทตกเป็นข่าวใหญ่ในหน้าหนังสือพิมพ์ก็คือเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองปราบปรามได้เข้าจับกุม น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท ถึงสำนักงานในย่านห้วยขวาง จากกรณีปล่อยให้มีการโพสต์ข้อความจำนวนมากที่หมิ่นเหม่ต่อการผิดกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
การจับกุม ผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท ครั้งนั้นได้ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มเอ็นจีโอและนักวิชาการในเครือข่ายประชาไท ที่เข้าร้องเรียนและยื่นจดหมายต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยกลุ่มเอ็นจีโอ (ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ คุณสุภิญญา กลางณรงค์) อ้างว่าการจับกุมดังกล่าวนั้นเป็นการคุกคามสื่อ และจะยิ่งสร้างบรรยากาศของความกดดัน ให้เกิดกระแสการต่อต้านในโลกอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น
ทว่า หลังจากนั้นเป็นต้นมาข่าวคราวเกี่ยวกับการจัดการ หรือจัดระเบียบเว็บไซต์หมิ่นฯ ก็เงียบหายไปกับสายลม และคุณอภิสิทธิ์ก็แทบจะไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้อีก โดยผมเพียงได้ข่าวแว่วๆ มาว่า มีความพยายามจากเครือข่ายของประชาไทและเครือข่ายพลเมืองเน็ตในการผลักดันให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือในชื่อเต็มคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นไปเพื่อจุดประสงค์อันใด ผมก็มิอาจทราบได้
โดยความเห็นส่วนตัว การจับกุม 2 มือโพสต์ในเว็บบอร์ดของเว็บไซต์ประชาไท และฟ้าเดียวกันเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา หากเป็นขั้นตอนที่ต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงไปถึง “ตัวการใหญ่” ที่มีจุดมุ่งหมายในการปล่อยข่าวเพื่อให้เกิดความโกลาหล และการล้มล้างสถาบันจริง ผมก็ขอแสดงความเห็นด้วยและชื่นชม
ทว่า หากการจับกุมดังกล่าวรัฐบาลสั่งเจ้าหน้าที่ให้ทำเพียงเพื่อ “ขายผ้าเอาหน้ารอด” เพื่อลดทอนแรงกดดันของสังคมก็ถือว่าน่าผิดหวัง และน่าประณามเป็นอย่างยิ่ง เพราะการกระทำดังกล่าวของรัฐบาลจะยิ่งก่อให้เกิดกระแสต่อต้านและจะยิ่งส่งผลเสียต่อสถาบันอันเป็นที่เคารพรักของคนไทยทั้งปวง กล่าวคือ
หนึ่ง การจับกุมปลาซิวปลาสร้อยที่เพียงแปลและโพสต์ข้อความอย่างคึกคะนอง-ไร้สติ เอาเข้าจริงจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้ เพราะตัวการใหญ่ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศและมีอิทธิพลต่อสื่อต่างประเทศก็จะยังคงสามารถบัญชาการแขน-ขา ของเขาในการปล่อยข่าวเช่นนี้ต่อไปได้เรื่อยๆ
สอง การจับกุมอย่างมั่วซั่ว รังแต่จะยิ่งก่อให้เกิดกระแสต่อต้านในหมู่คนรุ่นใหม่บางกลุ่มที่รับไม่ได้กับการปิดกั้นข่าวสารและจะยิ่งทำให้พวกเขาเกิดทัศนะเชิงลบต่อสถาบันฯ มากยิ่งขึ้นไปอีก
ปัญหาของเว็บไซต์ประชาไท ฟ้าเดียวกัน และเว็บหมิ่นอื่นๆ นั้น ผมคิดว่าในท้ายที่สุดแล้วความรับผิดชอบย่อมตกอยู่กับ “รัฐบาลอภิสิทธิ์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวันเข้ารับตำแหน่ง 17 ธันวาคม 2551 คุณอภิสิทธิ์เป็นผู้ลั่นวาจาลูกผู้ชายไว้เองว่า
“ผมยืนตรงนี้ในฐานะนายกรัฐมนตรี ผมขอยืนยันว่า รัฐบาลที่ผมเป็นผู้นำนั้น จะปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และจะเทิดทูนสถาบันนี้ มิให้ผู้ใดทำให้สถาบันนี้ไม่อยู่เหนือความขัดแย้งในทางการเมือง ด้วยประการทั้งปวง ...”
ข่าวเท็จ ข่าวลวง ข่าวปล่อย เว็บไซต์หมิ่นฯ หรือเว็บไซต์ที่ปล่อยข่าวเพื่อล้มล้างสถาบันมิใช่เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นวันนี้ วานนี้ หรือเมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แต่มันเกิดขึ้นมานานนับปีแล้ว และวิธีการจัดการนั้นก็มีทั้ง การใช้ไม้แข็งและไม้อ่อน การใช้ยุทธวิธีทางเปิดและทางลับ การแก้ไขเพื่อให้ได้ผลในระยะยาวและระยะสั้น
เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์ที่บ่งชี้ให้เราว่าตลอดระยะเวลา 10 เดือนที่เข้ามานอกเหนือจากการล้างผลาญงบประมาณในการประชาสัมพันธ์อย่างไร้จุดมุ่งหมายผ่านกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ยังไม่ได้ทำอะไรเลยเพื่อปกป้องสถาบันอย่างจริงๆ จังๆ
ซึ่งนั่นทำให้ผมยิ่งรู้สึกสงสัยว่า สิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นเพราะรัฐบาลไม่ใส่ใจในการจัดการ เป็นเพราะไม่เข้าใจปัญหา หรือเป็นเพราะคนของรัฐบาลไม่มีความสามารถกันแน่
คุณอภิสิทธิ์ครับ สุภาษิตฝรั่งเขาว่าไว้ว่า “Fool me once, shame on you; fool me twice, shame on me.”
ผมเพียงอยากกล่าวเตือนให้ทราบไว้ว่า ถ้ามีปล่อยให้ Fool กันอีกครั้งแม้คุณอภิสิทธิ์และรัฐบาลจะไม่ “อับอาย” แต่ผมและประชาชนชาวไทย ทั้ง “อับอาย” และทั้ง “โกรธแค้น” ครับ