ศูนย์ข่าวศรีราชา - ม็อบชาวประมงผู้เลี้ยงหอยในอ่าวเมืองชลฯสลายแล้ว ผู้ว่าฯชลบุรีเข้าเคลียร์ พร้อมตั้งคณะกรรมการเข้าตรวจสอบหาสาเหตุหอยตาย ระบุถ้าพบเป็นผลพวงมาจากโรงงานมักง่ายทิ้งสารปนเปื้อนลงแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลก็จะส่งเรื่องให้กระทรวงต้นสังกัดดำเนินการทันที ขณะที่ผู้เลี้ยงหอยครวจได้รับผลกระทบหนักร่วมมููลค่าเสียหายร่วม 1 พันล้านบาท
วานนี้ (2 ต.ค.) เวลา 14.00 น. นายประมวล เอมเปีย ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ พาตัวแทนผู้เลี้ยงหอยแครงหอยแมลงภู่ 9 คนของทั้ง 8 ตำบลในอ่าวเมืองชลบุรี ที่หอยตายเรียบกว่า 4, 000 ไร่ทะเลที่ได้รับความเสียหายนับ 1,000 ล้านบาทเข้าพบนายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีที่ศาลากลางจังหวัดฯ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ประมงจังหวัดชลบุรี สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา นายอำเภอเมืองชลบุรี สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เข้าร่วมประชุม พร้อมกับมีการหารือถึงแนวทางแก้ปัญหา โดยเฉพาะเรื่องที่เหี่ยวกับโรงงานต่างๆ ในเขต จ.สมุทรปราการ และ จ.ฉะเชิงเทรา ปล่อยสารพิษลงสู่ทะเลอ่าวไทย แล้วไหลมาทางทะเลอ่าวเมืองชลบุรี ส่งผลให้หอยกว่า 4,000 ไร่ทะเลตายทั้งหมด
โดยนายเสนีย์ ได้ให้ตัวแทนชาวประมงและผู้ประกอบการเลี้ยงหอยตั้งกรรมการขึ้นมา 5 คนเพื่อร่วมกับทางจังหวัดชลบุรี สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา และกรมประมงจังหวัดชลบุรี เป็นผู้ตรวจสอบหาสาเหตุของหอยตายในครั้งนี้ พร้อมกับระบุว่า ถ้าหากมีการตรวจสอบพบว่าเกิดจากน้ำเสียก็จะให้ชลประทานจังหวัดชลบุรีไปตรวจสอบว่าโรงงานใดที่ปล่อยสารปนเปื้อนลงสู่แม่น้ำ แต่ถ้าพบว่าเป็นโรงงานจากจังหวัดใกล้เคียง ตนก็จะส่งเรื่องไปให้ทางกระทรวงที่รับผิดชอบไปดำเนินการแก้ไข
จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี และผู้ร่วมประชุมทั้งหมดเดินทางไปยังบริเวณสะพานใหม่เลียบชายทะเล ปากซอยเกรียงไกรยุค ต.มะขามหย่ง อ.เมือง จ.ชลบุรี ที่ชาวประมงผู้เลี้ยงหอยที่นำหอยตายที่เก็บขึ้นมาจากทะเลมากองปิดถนนทั้ง 2 ฟากถนน โดยมีนายสำเภา วงษ์บุปผา ประธานชุมชนไกรเกรียงยุคผู้เลี้ยงหอย เป็นตัวแทนยื่นหนังสือให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เพื่อให้ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา
ทั้งนี้ นายเสนีย์ ได้รับปากว่าจะเร่งตรวจสอบและแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ ทำให้ผู้เลี้ยงหอยพอใจ จึงยอมเปิดทางด้วยนำรถแบ็คโฮตักเอาหอยที่มาวางกองออกแล้วเปิดทางตามปกติ และแยกย้ายกันกลับ เพื่อรอผลการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
ดร.แววตา ทองระอา หัวหน้าฝ่ายวิจัย สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา กล่าวว่า กรณีหลังจากที่ตนและคณะมาตรวจสอบนำทะเลเมื่อวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา พบว่าอ๊อกซิเจนในน้ำมีปริมาณน้อยต่ำกว่าปกติ ทำให้สัตว์ทะเล กุ้งหอยปูปลาตามชายฝั่งทะเล ไม่สามารถจะดำรงชีพอยู่ได้ จึงล้มตาย ตามปรากฎการณ์ธรรมชาติ หรือปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ เนื่องมาจากช่วงปลายฤดูฝน ฝนจะตกลงมามาก ทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลองสายใหญ่ๆ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง จะเอ่อล้นตลิ่ง ปริมาณน้ำมาก ทำให้น้ำไหลบ่าชะล้างเอาสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งของดีและของเสียลงสู่แม่น้ำ แล้วน้ำก็จะไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทย ไหลมาทางอ่าวเมืองชลบุรี ซึ่งจะกลายเป็นอาหารชั้นดีของแพลงก์ตอนและสาหร่ายใต้ทะเล ทำให้แพลงตอนและสาหร่ายเจริญเติบโตรวดเร็วกว่าปกติ แล้วก็แย่งใช้ออกซิเจนในทะเล
“โดยเฉพาะช่วงกลางคืน แพลงตอนและสาหร่ายจะไม่ผลิตออกซิเจนออกมา ทำให้อ๊อกซิเจนต่ำกว่า มาตรฐานปกติ ทำให้สัตว์ทะเล กุ้งหอยปูปลา ตามชายฝั่งทะเลตายหมดมากกว่าอย่างไรก็ตาม เรื่องปัญหาน้ำเสียก็ยังไม่ทิ้งจะการเร่งตรวจสอบโดยเร็วที่สุดต่อไป”
นายปัญญา วงศ์บุปผา ชาวประมงผู้เลี้ยงหอยรายหนึ่ง กล่าวว่า ปีนี้หอยของชาวประมงพื้นบ้านล้มตายเหมือนถูกนิวเคลียร์ ฮิโรชิม่าไม่เหลือแม้แต่ตัวเดียว ต้องสิ้นเนื้อประดาตัว หมดเนื้อหมดตัวรวมกว่า 1,000 ล้านบาท เชื่อว่าสาเหตุมาจากสารพิษที่ถูกปล่อยมาจากโรงงานต่าง ๆ จนมีปริมาณมากเกินไปและเมื่อสารลอยมากับทะเลอ่าวเมืองชลบุรีก็จะตกตะกอนอยู่บนผิวดินในทะเล รวมกันจนกระทั่งทำให้สัตว์ทะเล กุ้งหอยปูปลา ห่างจากฝั่ง 4 ไมล์ทะเลต้องล้มตายเป็นเบือ จึงอยากขอร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ช่วยมารับฟังปัญหาความเดือดร้อนและช่วยส่งปัญหาความเดือดร้อนต่อไปให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รับทราบและเข้ามาแก้ไขปัญหาให้.
วานนี้ (2 ต.ค.) เวลา 14.00 น. นายประมวล เอมเปีย ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ พาตัวแทนผู้เลี้ยงหอยแครงหอยแมลงภู่ 9 คนของทั้ง 8 ตำบลในอ่าวเมืองชลบุรี ที่หอยตายเรียบกว่า 4, 000 ไร่ทะเลที่ได้รับความเสียหายนับ 1,000 ล้านบาทเข้าพบนายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีที่ศาลากลางจังหวัดฯ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ประมงจังหวัดชลบุรี สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา นายอำเภอเมืองชลบุรี สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เข้าร่วมประชุม พร้อมกับมีการหารือถึงแนวทางแก้ปัญหา โดยเฉพาะเรื่องที่เหี่ยวกับโรงงานต่างๆ ในเขต จ.สมุทรปราการ และ จ.ฉะเชิงเทรา ปล่อยสารพิษลงสู่ทะเลอ่าวไทย แล้วไหลมาทางทะเลอ่าวเมืองชลบุรี ส่งผลให้หอยกว่า 4,000 ไร่ทะเลตายทั้งหมด
โดยนายเสนีย์ ได้ให้ตัวแทนชาวประมงและผู้ประกอบการเลี้ยงหอยตั้งกรรมการขึ้นมา 5 คนเพื่อร่วมกับทางจังหวัดชลบุรี สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา และกรมประมงจังหวัดชลบุรี เป็นผู้ตรวจสอบหาสาเหตุของหอยตายในครั้งนี้ พร้อมกับระบุว่า ถ้าหากมีการตรวจสอบพบว่าเกิดจากน้ำเสียก็จะให้ชลประทานจังหวัดชลบุรีไปตรวจสอบว่าโรงงานใดที่ปล่อยสารปนเปื้อนลงสู่แม่น้ำ แต่ถ้าพบว่าเป็นโรงงานจากจังหวัดใกล้เคียง ตนก็จะส่งเรื่องไปให้ทางกระทรวงที่รับผิดชอบไปดำเนินการแก้ไข
จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี และผู้ร่วมประชุมทั้งหมดเดินทางไปยังบริเวณสะพานใหม่เลียบชายทะเล ปากซอยเกรียงไกรยุค ต.มะขามหย่ง อ.เมือง จ.ชลบุรี ที่ชาวประมงผู้เลี้ยงหอยที่นำหอยตายที่เก็บขึ้นมาจากทะเลมากองปิดถนนทั้ง 2 ฟากถนน โดยมีนายสำเภา วงษ์บุปผา ประธานชุมชนไกรเกรียงยุคผู้เลี้ยงหอย เป็นตัวแทนยื่นหนังสือให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เพื่อให้ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา
ทั้งนี้ นายเสนีย์ ได้รับปากว่าจะเร่งตรวจสอบและแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ ทำให้ผู้เลี้ยงหอยพอใจ จึงยอมเปิดทางด้วยนำรถแบ็คโฮตักเอาหอยที่มาวางกองออกแล้วเปิดทางตามปกติ และแยกย้ายกันกลับ เพื่อรอผลการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
ดร.แววตา ทองระอา หัวหน้าฝ่ายวิจัย สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา กล่าวว่า กรณีหลังจากที่ตนและคณะมาตรวจสอบนำทะเลเมื่อวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา พบว่าอ๊อกซิเจนในน้ำมีปริมาณน้อยต่ำกว่าปกติ ทำให้สัตว์ทะเล กุ้งหอยปูปลาตามชายฝั่งทะเล ไม่สามารถจะดำรงชีพอยู่ได้ จึงล้มตาย ตามปรากฎการณ์ธรรมชาติ หรือปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ เนื่องมาจากช่วงปลายฤดูฝน ฝนจะตกลงมามาก ทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลองสายใหญ่ๆ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง จะเอ่อล้นตลิ่ง ปริมาณน้ำมาก ทำให้น้ำไหลบ่าชะล้างเอาสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งของดีและของเสียลงสู่แม่น้ำ แล้วน้ำก็จะไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทย ไหลมาทางอ่าวเมืองชลบุรี ซึ่งจะกลายเป็นอาหารชั้นดีของแพลงก์ตอนและสาหร่ายใต้ทะเล ทำให้แพลงตอนและสาหร่ายเจริญเติบโตรวดเร็วกว่าปกติ แล้วก็แย่งใช้ออกซิเจนในทะเล
“โดยเฉพาะช่วงกลางคืน แพลงตอนและสาหร่ายจะไม่ผลิตออกซิเจนออกมา ทำให้อ๊อกซิเจนต่ำกว่า มาตรฐานปกติ ทำให้สัตว์ทะเล กุ้งหอยปูปลา ตามชายฝั่งทะเลตายหมดมากกว่าอย่างไรก็ตาม เรื่องปัญหาน้ำเสียก็ยังไม่ทิ้งจะการเร่งตรวจสอบโดยเร็วที่สุดต่อไป”
นายปัญญา วงศ์บุปผา ชาวประมงผู้เลี้ยงหอยรายหนึ่ง กล่าวว่า ปีนี้หอยของชาวประมงพื้นบ้านล้มตายเหมือนถูกนิวเคลียร์ ฮิโรชิม่าไม่เหลือแม้แต่ตัวเดียว ต้องสิ้นเนื้อประดาตัว หมดเนื้อหมดตัวรวมกว่า 1,000 ล้านบาท เชื่อว่าสาเหตุมาจากสารพิษที่ถูกปล่อยมาจากโรงงานต่าง ๆ จนมีปริมาณมากเกินไปและเมื่อสารลอยมากับทะเลอ่าวเมืองชลบุรีก็จะตกตะกอนอยู่บนผิวดินในทะเล รวมกันจนกระทั่งทำให้สัตว์ทะเล กุ้งหอยปูปลา ห่างจากฝั่ง 4 ไมล์ทะเลต้องล้มตายเป็นเบือ จึงอยากขอร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ช่วยมารับฟังปัญหาความเดือดร้อนและช่วยส่งปัญหาความเดือดร้อนต่อไปให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รับทราบและเข้ามาแก้ไขปัญหาให้.