โดย...ไสว บุญมา
ผมไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านศาสนา แต่ผมมองว่าปัญหาของสังคมไทยในขณะนี้มีที่มาหลังจากบาปสั่งสมที่สมาชิกของสังคมร่วมกันก่อ บ่อเกิดของบาปได้แก่การกระทำผิดกฎเกณฑ์ของสังคม จรรยาบรรณและศีลธรรม บวกกับความดูดาย บาปจากการกระทำผิดดังกล่าวนั้นคงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้ว ส่วนบาปจากความดูดายอาจยังไม่มีผู้เคยได้ยินมาก่อน บาปจะล้างได้หรือไม่ยังถกเถียงกันไม่จบ
บางคนบอกว่าล้างไม่ได้ บางคนบอกว่าล้างได้ ส่วนจะล้างอย่างไรเป็นอีกประเด็นหนึ่ง วันนี้ผมจะเสนอการล้างบาปของสังคมไทยโดยใช้วิธีขายตรงซึ่งกำลังนิยมทำกันอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน ก่อนพูดถึงเรื่องนั้นขอปูฐานการมองการกระทำผิดและบาปของผมสักเล็กน้อย
ผมมองว่าการกระทำผิดมีหลากหลาย บางอย่างมองเห็นได้ง่าย บางอย่างมองไม่ค่อยเห็น บางครั้งการกระทำผิดก็ก่อให้เกิดบาปที่มีผลออกมาทันตาเห็นจนเป็นที่ประจักษ์ แต่บางครั้งก็มองเห็นยากว่าผลของมันคืออะไรจนมีผู้สงสัยว่ามันเป็นการกระทำผิดจริงหรือ สิ่งที่มองเห็นง่ายคงไม่มีใครโต้แย้ง เช่น การทำร้ายคนยังผลให้ผู้ถูกทำร้ายตายและผู้ทำร้ายติดคุก ส่วนสิ่งที่มองไม่ค่อยเห็นอาจเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันแบบไม่รู้จบ อาทิ การขับรถยนต์เร็วเกินระดับที่กฎหมายกำหนดไว้ซึ่งใครๆ ก็ดูจะทำกัน แต่นานๆ ผู้ขับเร็วจึงจะประสบอุบัติเหตุสักคน ยังผลให้ผู้ขับรถยนต์โดยทั่วไปมองว่าการฝ่าฝืนกฎหมายนั้นไม่เป็นบาป
การกระทำผิดอีกอย่างหนึ่งซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ไม่คิดว่าผิดได้แก่ความฉ้อฉลของนักการเมือง เรื่องนี้มีการยืนยันจากการสำรวจความเห็นของประชาชนที่มีผลออกมาเสมอว่า คนไทยกว่าครึ่งรับนักการเมืองฉ้อฉลได้หากพวกเขาให้ประโยชน์แก่ตน และการสำรวจล่าสุดของสำนักเอแบคโพลล์สรุปว่า 77.5% ของคนไทยรับความฉ้อฉลได้ ปัจจัยที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่คิดเช่นนั้นอาจเป็นเพราะมีความโกงฝังอยู่ในกมลสันดาน หรือไม่ก็มองไม่เห็นว่าความฉ้อฉลที่ตนมีส่วนได้รับประโยชน์นั้นเป็นบาป ร้ายยิ่งกว่านั้น การกระทำผิดบางอย่างมีกฎหมายรองรับยังผลให้ผู้ทำคิดว่าไม่บาป เช่น การสูบบุหรี่และการเล่นพนันผ่านการซื้อลอตเตอรี่ เป็นต้น
โดยตัวของมันเอง การกระทำผิดแต่ละอย่างในบรรดาการกระทำผิดทั้งหลายอาจไม่มีผลร้ายให้เป็นที่ประจักษ์ แต่ผมมองว่ามันร่วมกันสั่งสมขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งถึงจุดหนึ่งปัญหาจึงจะปรากฏออกมาให้เห็น
สำหรับเรื่องบาปที่เกิดจากความดูดายนั้น ขอเล่าความเป็นมาคร่าวๆ ว่าเกิดจากการศึกษาเรื่องราวของนายแพทย์อเมริกันชื่อ พอล ฟาร์เมอร์ หมอฟาร์เมอร์เกิดในครอบครัวยากจนมาก เนื่องจากเขามีความปราดเปรื่องและความมานะเป็นเลิศ เขาจึงได้ทุนไปเรียนมหาวิทยาลัย หลังเรียนจบปริญญาตรีด้วยคะแนนดีเยี่ยมก็ได้ทุนไปเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขาไม่ได้เรียนแพทย์เพียงอย่างเดียว หากยังเรียนปริญญาเอกทางด้านมานุษยวิทยาควบคู่กันไปอีกด้วย ทั้งที่มีภาระอันหนักอึ้งในด้านการเรียน แต่เขาใช้เวลาส่วนหนึ่งไปทำงานในย่านทุรกันดารของเฮติอันเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดของโลกตะวันตก
หลังจากเรียนจบ หมอฟาร์เมอร์ได้งานเป็นอาจารย์แพทย์ในมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดพร้อมกับงานในโรงพยาบาลใกล้ๆ อีกแห่งหนึ่ง แต่เขาก็ยังใช้เวลาไปรักษาคนไข้ในถิ่นทุรกันดารของเฮติ บางครั้งเขาต้องเดินขึ้นเขาลงห้วยด้วยเท้าเป็นเวลาหลายชั่วโมงเพื่อไปเยี่ยมคนไข้ในหมู่บ้านห่างไกลที่ถนนไปไม่ถึง ต่อมาเรื่องราวของเขาได้รับความสนใจจากนักเขียนคนหนึ่งซึ่งนำไปเล่าไว้ในหนังสือชื่อ Mountains Beyond Mountains หรือ “หลังภูเขาลูกนี้ยังมีภูเขา” ซึ่งมีที่มาจากคำพังเพยของชาวเฮติ หนังสือเล่มนี้มีผลให้ผู้เขียนได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ (ผมมีบทคัดย่อซึ่งคุณหมอนภาพร ลิมป์ปิยากร ทำไว้ หากมีผู้สนใจผมจะขอมาใส่ในเว็บไซต์ www.sawaiboonma.com เพื่อปันกันอ่าน)
นอกจากงานเหล่านั้นแล้ว หมอฟาร์เมอร์ยังทำวิจัยเกี่ยวกับโรคร้ายในหลายประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเกี่ยวกับวัณโรค เอดส์และมาลาเรียดื้อยาในแอฟริกาและละตินอเมริกา ตอนนี้เขาอายุ 50 ปีและอาศัยอยู่ในประเทศรวันดาในแถบแอฟริกาตะวันออก เขายังทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำพร้อมกับพยายามชักชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมความเคลื่อนไหวในด้านการช่วยเหลือคนยากจน ทั้งที่เขามีโอกาสทำงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีความสะดวกสบาย แต่เขาไม่ทำ
หลังจากศึกษาชีวิตและความคิดของเขา ผมจึงเข้าใจว่าที่หมอฟาร์เมอร์ทำเช่นนั้นเพราะเขามองว่าเขาได้รับพรสวรรค์ในรูปของมันสมองชั้นเลิศจากเบื้องบน พระผู้เป็นเจ้าให้มันสมองเขามาเพราะท่านหวังว่าเขาจะไปรักษาและเยียวยาผู้อื่น ฉะนั้น ถ้าเขาดูดายในสิ่งที่เขาเห็นว่าน่าจะทำ เขาย่อมขัดความคาดหวังของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งมีค่าเท่ากับการทำบาป จากวิถีชีวิตและความคิดของเขาที่ผมเล่ามานั้น ผมสรุปเอาสั้นๆ ว่า “ความดูดายเป็นบาป”
ผมมองว่าเท่าที่ผ่านมา คนไทยส่วนใหญ่ยึดความดูดายเป็นฐานของการดำเนินชีวิต ถ้อยคำจำพวก “อย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยน” “รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี” และ “ธุระไม่ใช่” จึงเป็นแนวคิดที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง เฉกเช่นการกระทำผิดต่างๆ ดังที่กล่าวถึง ความดูดายก็มีผลในหลายรูปแบบ บางอย่างอาจมีผลทันตาเห็น เช่น มีตะปูตกอยู่กลางทางเท้าและผู้ที่เดินผ่านมาผ่านไปก็ไม่สนใจที่จะเก็บไปทิ้งถังขยะ วันดีคืนดีมีขี้เหล้าเดินเท้าเปล่าผ่านมาแล้วถูกตะปูตำเท้า เป็นต้น ความดูดายส่วนใหญ่จะไม่มีผลให้เห็นทันตา ฉะนั้น ผมยอมรับว่าในสายตาของคนส่วนใหญ่ ความดูดายจึงไม่เป็นบาปดังที่ผมคิด อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่านักเคลื่อนไหวในแนวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับผม
ดังที่ผมเสนอไว้ในบทความที่พิมพ์เมื่อกลางเดือนตุลาคม ผมมองว่าความเคลื่อนไหวของคนไทยในรูปต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเพื่อต่อต้านการกระทำความชั่วร้ายของคนไทยด้วยกันเองคือความหวังครั้งสุดท้ายของสังคมไทย ผมเชื่อว่าการเคลื่อนไหวเช่นนี้จะมีส่วนล้างบาปสั่งสมที่สังคมของเราก่อขึ้นมาเป็นเวลาช้านาน รวมทั้งการทำผิดกฎเกณฑ์ของระบบเศรษฐกิจแนวตลาดเสรีและการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การละเมิดจรรยาบรรณของผู้ทำงานหลายสาขายอาชีพ การฝ่าฝืนศีลธรรมและความดูดาย ดังที่ผมเสนอไว้ในบทความดังกล่าว ความเคลื่อนไหวในลำดับต่อไปจะต้องขยายทั้งเครือข่ายและเนื้องาน การเคลื่อนไหวไม่จำกัดอยู่ที่กลุ่ม พธม. เท่านั้น หากจะต้องครอบคลุมถึงกลุ่มอื่นด้วย เท่าที่ผ่านมาผมมีความประทับใจว่าสมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่ม พธม. เข้าใจแนวทางขยายเครือข่ายและเนื้องานค่อนข้างดีและมีการใช้วิธีขายตรงเพื่อสร้างเครือข่ายไปบ้างแล้ว
อย่างไรก็ตาม ผมยังมองว่าสมาชิกของกลุ่ม พธม. ทุกคนจะต้องเพิ่มความเข้มข้นของการขยายเครือข่ายแบบขายตรงยิ่งขึ้น ส่วนการเคลื่อนไหวอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปองค์กรเอกชนและองค์กรเพื่อการกุศลต่างๆ ผมยังไม่เห็นการใช้วิธีขายตรงยกเว้นของกลุ่มศาสนาบางกลุ่มเท่านั้น
ผมคงไม่ต้องอธิบายว่าการขายตรงทำอย่างไร เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่เคยถูกชักชวนให้ร่วมเครือข่ายเพื่อขายนั่นซื้อนี่กันเป็นประจำ จากยาสีฟันไปจนถึงน้ำมันเครื่อง อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้กลุ่มที่กระทำความชั่วร้ายก็ใช้วิธีขายตรงเพื่อขยายเครือข่ายของความชั่วร้ายเช่นกัน ฉะนั้น นักเคลื่อนไหวในด้านต่อต้านความชั่วร้ายจะต้องเร่งขยายเครือข่ายอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น
ตอนนี้สังคมไทยกำลังตกอยู่ในสภาพผู้ทำบาปต่อสู้กับผู้พยายามล้างบาป ฝ่ายไหนสามารถชักชวนผู้ที่ดูดายให้เข้าเครือข่ายได้มากกว่าย่อมเป็นฝ่ายชนะ ผู้อ่านจะเลือกฝ่ายไหนและจะเข้าร่วมขบวนการขายตรงอย่างไรย่อมมีผลต่ออนาคตของเมืองไทยโดยตรง
ผมไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านศาสนา แต่ผมมองว่าปัญหาของสังคมไทยในขณะนี้มีที่มาหลังจากบาปสั่งสมที่สมาชิกของสังคมร่วมกันก่อ บ่อเกิดของบาปได้แก่การกระทำผิดกฎเกณฑ์ของสังคม จรรยาบรรณและศีลธรรม บวกกับความดูดาย บาปจากการกระทำผิดดังกล่าวนั้นคงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้ว ส่วนบาปจากความดูดายอาจยังไม่มีผู้เคยได้ยินมาก่อน บาปจะล้างได้หรือไม่ยังถกเถียงกันไม่จบ
บางคนบอกว่าล้างไม่ได้ บางคนบอกว่าล้างได้ ส่วนจะล้างอย่างไรเป็นอีกประเด็นหนึ่ง วันนี้ผมจะเสนอการล้างบาปของสังคมไทยโดยใช้วิธีขายตรงซึ่งกำลังนิยมทำกันอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน ก่อนพูดถึงเรื่องนั้นขอปูฐานการมองการกระทำผิดและบาปของผมสักเล็กน้อย
ผมมองว่าการกระทำผิดมีหลากหลาย บางอย่างมองเห็นได้ง่าย บางอย่างมองไม่ค่อยเห็น บางครั้งการกระทำผิดก็ก่อให้เกิดบาปที่มีผลออกมาทันตาเห็นจนเป็นที่ประจักษ์ แต่บางครั้งก็มองเห็นยากว่าผลของมันคืออะไรจนมีผู้สงสัยว่ามันเป็นการกระทำผิดจริงหรือ สิ่งที่มองเห็นง่ายคงไม่มีใครโต้แย้ง เช่น การทำร้ายคนยังผลให้ผู้ถูกทำร้ายตายและผู้ทำร้ายติดคุก ส่วนสิ่งที่มองไม่ค่อยเห็นอาจเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันแบบไม่รู้จบ อาทิ การขับรถยนต์เร็วเกินระดับที่กฎหมายกำหนดไว้ซึ่งใครๆ ก็ดูจะทำกัน แต่นานๆ ผู้ขับเร็วจึงจะประสบอุบัติเหตุสักคน ยังผลให้ผู้ขับรถยนต์โดยทั่วไปมองว่าการฝ่าฝืนกฎหมายนั้นไม่เป็นบาป
การกระทำผิดอีกอย่างหนึ่งซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ไม่คิดว่าผิดได้แก่ความฉ้อฉลของนักการเมือง เรื่องนี้มีการยืนยันจากการสำรวจความเห็นของประชาชนที่มีผลออกมาเสมอว่า คนไทยกว่าครึ่งรับนักการเมืองฉ้อฉลได้หากพวกเขาให้ประโยชน์แก่ตน และการสำรวจล่าสุดของสำนักเอแบคโพลล์สรุปว่า 77.5% ของคนไทยรับความฉ้อฉลได้ ปัจจัยที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่คิดเช่นนั้นอาจเป็นเพราะมีความโกงฝังอยู่ในกมลสันดาน หรือไม่ก็มองไม่เห็นว่าความฉ้อฉลที่ตนมีส่วนได้รับประโยชน์นั้นเป็นบาป ร้ายยิ่งกว่านั้น การกระทำผิดบางอย่างมีกฎหมายรองรับยังผลให้ผู้ทำคิดว่าไม่บาป เช่น การสูบบุหรี่และการเล่นพนันผ่านการซื้อลอตเตอรี่ เป็นต้น
โดยตัวของมันเอง การกระทำผิดแต่ละอย่างในบรรดาการกระทำผิดทั้งหลายอาจไม่มีผลร้ายให้เป็นที่ประจักษ์ แต่ผมมองว่ามันร่วมกันสั่งสมขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งถึงจุดหนึ่งปัญหาจึงจะปรากฏออกมาให้เห็น
สำหรับเรื่องบาปที่เกิดจากความดูดายนั้น ขอเล่าความเป็นมาคร่าวๆ ว่าเกิดจากการศึกษาเรื่องราวของนายแพทย์อเมริกันชื่อ พอล ฟาร์เมอร์ หมอฟาร์เมอร์เกิดในครอบครัวยากจนมาก เนื่องจากเขามีความปราดเปรื่องและความมานะเป็นเลิศ เขาจึงได้ทุนไปเรียนมหาวิทยาลัย หลังเรียนจบปริญญาตรีด้วยคะแนนดีเยี่ยมก็ได้ทุนไปเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขาไม่ได้เรียนแพทย์เพียงอย่างเดียว หากยังเรียนปริญญาเอกทางด้านมานุษยวิทยาควบคู่กันไปอีกด้วย ทั้งที่มีภาระอันหนักอึ้งในด้านการเรียน แต่เขาใช้เวลาส่วนหนึ่งไปทำงานในย่านทุรกันดารของเฮติอันเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดของโลกตะวันตก
หลังจากเรียนจบ หมอฟาร์เมอร์ได้งานเป็นอาจารย์แพทย์ในมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดพร้อมกับงานในโรงพยาบาลใกล้ๆ อีกแห่งหนึ่ง แต่เขาก็ยังใช้เวลาไปรักษาคนไข้ในถิ่นทุรกันดารของเฮติ บางครั้งเขาต้องเดินขึ้นเขาลงห้วยด้วยเท้าเป็นเวลาหลายชั่วโมงเพื่อไปเยี่ยมคนไข้ในหมู่บ้านห่างไกลที่ถนนไปไม่ถึง ต่อมาเรื่องราวของเขาได้รับความสนใจจากนักเขียนคนหนึ่งซึ่งนำไปเล่าไว้ในหนังสือชื่อ Mountains Beyond Mountains หรือ “หลังภูเขาลูกนี้ยังมีภูเขา” ซึ่งมีที่มาจากคำพังเพยของชาวเฮติ หนังสือเล่มนี้มีผลให้ผู้เขียนได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ (ผมมีบทคัดย่อซึ่งคุณหมอนภาพร ลิมป์ปิยากร ทำไว้ หากมีผู้สนใจผมจะขอมาใส่ในเว็บไซต์ www.sawaiboonma.com เพื่อปันกันอ่าน)
นอกจากงานเหล่านั้นแล้ว หมอฟาร์เมอร์ยังทำวิจัยเกี่ยวกับโรคร้ายในหลายประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเกี่ยวกับวัณโรค เอดส์และมาลาเรียดื้อยาในแอฟริกาและละตินอเมริกา ตอนนี้เขาอายุ 50 ปีและอาศัยอยู่ในประเทศรวันดาในแถบแอฟริกาตะวันออก เขายังทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำพร้อมกับพยายามชักชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมความเคลื่อนไหวในด้านการช่วยเหลือคนยากจน ทั้งที่เขามีโอกาสทำงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีความสะดวกสบาย แต่เขาไม่ทำ
หลังจากศึกษาชีวิตและความคิดของเขา ผมจึงเข้าใจว่าที่หมอฟาร์เมอร์ทำเช่นนั้นเพราะเขามองว่าเขาได้รับพรสวรรค์ในรูปของมันสมองชั้นเลิศจากเบื้องบน พระผู้เป็นเจ้าให้มันสมองเขามาเพราะท่านหวังว่าเขาจะไปรักษาและเยียวยาผู้อื่น ฉะนั้น ถ้าเขาดูดายในสิ่งที่เขาเห็นว่าน่าจะทำ เขาย่อมขัดความคาดหวังของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งมีค่าเท่ากับการทำบาป จากวิถีชีวิตและความคิดของเขาที่ผมเล่ามานั้น ผมสรุปเอาสั้นๆ ว่า “ความดูดายเป็นบาป”
ผมมองว่าเท่าที่ผ่านมา คนไทยส่วนใหญ่ยึดความดูดายเป็นฐานของการดำเนินชีวิต ถ้อยคำจำพวก “อย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยน” “รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี” และ “ธุระไม่ใช่” จึงเป็นแนวคิดที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง เฉกเช่นการกระทำผิดต่างๆ ดังที่กล่าวถึง ความดูดายก็มีผลในหลายรูปแบบ บางอย่างอาจมีผลทันตาเห็น เช่น มีตะปูตกอยู่กลางทางเท้าและผู้ที่เดินผ่านมาผ่านไปก็ไม่สนใจที่จะเก็บไปทิ้งถังขยะ วันดีคืนดีมีขี้เหล้าเดินเท้าเปล่าผ่านมาแล้วถูกตะปูตำเท้า เป็นต้น ความดูดายส่วนใหญ่จะไม่มีผลให้เห็นทันตา ฉะนั้น ผมยอมรับว่าในสายตาของคนส่วนใหญ่ ความดูดายจึงไม่เป็นบาปดังที่ผมคิด อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่านักเคลื่อนไหวในแนวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับผม
ดังที่ผมเสนอไว้ในบทความที่พิมพ์เมื่อกลางเดือนตุลาคม ผมมองว่าความเคลื่อนไหวของคนไทยในรูปต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเพื่อต่อต้านการกระทำความชั่วร้ายของคนไทยด้วยกันเองคือความหวังครั้งสุดท้ายของสังคมไทย ผมเชื่อว่าการเคลื่อนไหวเช่นนี้จะมีส่วนล้างบาปสั่งสมที่สังคมของเราก่อขึ้นมาเป็นเวลาช้านาน รวมทั้งการทำผิดกฎเกณฑ์ของระบบเศรษฐกิจแนวตลาดเสรีและการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การละเมิดจรรยาบรรณของผู้ทำงานหลายสาขายอาชีพ การฝ่าฝืนศีลธรรมและความดูดาย ดังที่ผมเสนอไว้ในบทความดังกล่าว ความเคลื่อนไหวในลำดับต่อไปจะต้องขยายทั้งเครือข่ายและเนื้องาน การเคลื่อนไหวไม่จำกัดอยู่ที่กลุ่ม พธม. เท่านั้น หากจะต้องครอบคลุมถึงกลุ่มอื่นด้วย เท่าที่ผ่านมาผมมีความประทับใจว่าสมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่ม พธม. เข้าใจแนวทางขยายเครือข่ายและเนื้องานค่อนข้างดีและมีการใช้วิธีขายตรงเพื่อสร้างเครือข่ายไปบ้างแล้ว
อย่างไรก็ตาม ผมยังมองว่าสมาชิกของกลุ่ม พธม. ทุกคนจะต้องเพิ่มความเข้มข้นของการขยายเครือข่ายแบบขายตรงยิ่งขึ้น ส่วนการเคลื่อนไหวอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปองค์กรเอกชนและองค์กรเพื่อการกุศลต่างๆ ผมยังไม่เห็นการใช้วิธีขายตรงยกเว้นของกลุ่มศาสนาบางกลุ่มเท่านั้น
ผมคงไม่ต้องอธิบายว่าการขายตรงทำอย่างไร เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่เคยถูกชักชวนให้ร่วมเครือข่ายเพื่อขายนั่นซื้อนี่กันเป็นประจำ จากยาสีฟันไปจนถึงน้ำมันเครื่อง อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้กลุ่มที่กระทำความชั่วร้ายก็ใช้วิธีขายตรงเพื่อขยายเครือข่ายของความชั่วร้ายเช่นกัน ฉะนั้น นักเคลื่อนไหวในด้านต่อต้านความชั่วร้ายจะต้องเร่งขยายเครือข่ายอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น
ตอนนี้สังคมไทยกำลังตกอยู่ในสภาพผู้ทำบาปต่อสู้กับผู้พยายามล้างบาป ฝ่ายไหนสามารถชักชวนผู้ที่ดูดายให้เข้าเครือข่ายได้มากกว่าย่อมเป็นฝ่ายชนะ ผู้อ่านจะเลือกฝ่ายไหนและจะเข้าร่วมขบวนการขายตรงอย่างไรย่อมมีผลต่ออนาคตของเมืองไทยโดยตรง