ASTVผู้จัดการรายวัน-"มาร์ค"ปัญหาไทย-เขมร ไม่บานปลาย เพราะให้"เทือก" คุยทำความเข้าใจ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว เชื่อ"ฮุนเซน"จะใช้สมองพิจารณาได้ว่าจะเลือกผลประโยชน์ชาติหรือเป็นทาสแม้ว ส่วนที่ปชป.แจกเอกสาร แฉ"ฮุนเซน-แม้ว"เอื้อธุรกิจในเขมร นักวิชาการเตือนหากลดความสัมพันธ์ทางการทูตจะเข้าทาง"แม้ว" จวก"ออกญาจิ๋ว"ไส้ศึก ขายชาติ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวถึงกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังดำเนินแผนเอาการเมืองรอบประเทศ มากดดันการเมืองภายในประเทศ ว่า หน้าที่เราคือการทำความเข้าใจกับผู้นำประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในการประชุมอาเซียนที่ผ่านมาก็ได้มีโอกาสคุยกับผู้นำประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ก็อยู่บนพื้นฐานความเข้าใจที่ดี ท่าทีที่มีการแสดงออก เช่น ที่นายกฯมาเลเซียให้สัมภาษณ์สื่อเกี่ยวกับเรื่องการแก้ไขปัญหาทางภาคใต้ดูเป็นพื้นฐานความเข้าใจที่ดี โดยเดือนธ.ค.นี้ นายกรัฐมนตรี มาเลเซีย จะเดินทางมาเยือนไทย ในลักษณะปรึกษาหารือประจำปีและมีกำหนดการที่จะไป 3 จังหวัดภาคใต้ด้วยกัน
ในส่วนของพม่า ท่าทีทุกประเทศก็สนับสนุนที่จะให้พม่าเดินตามแผนงานของเขาได้ ก็เป็นพื้นฐานความเข้าใจที่ดี นายกฯของลาว ตนได้มีการพูดคุยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของปัญหาม้ง ก็มีความเข้าใจที่ดีต่อกัน ฉะนี้นโดยพื้นฐานก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ส่วนกรณีของสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชานั้น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้ไปให้ความเข้าใจเพิ่มเติมแล้ว ซึ่งก็น่าจะดีขึ้น
"คิดว่าทางกัมพูชาก็เข้าใจความรู้สึกของเรา คืออย่างน้อยรับทราบความรู้สึกของเราแล้ว เราคงจะต้องใจเย็นๆ และรอดูต่อไปว่ามันจะมีปัญหาอะไรหรือไม่ ผมยังมีความเชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรที่ลุกลาม เพราะมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมไปแล้ว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่า หมายความว่านายกฯ เชื่อว่ากัมพูชาจะไม่ให้ที่พักพิงแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนได้พูดชัดแล้วว่า ทางกัมพูชาคงต้องคิดให้ดี เขาก็คงไปคิด
**"เทือก"อ้างแจง"ฮุนเซน"เข้าใจแล้ว
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงกรณีที่มีการเสนอว่าไทยควรจะตัดความสัมพันธ์กับกัมพูชาว่า เรื่องนี้จะใช้อารมณ์ไม่ได้ ควรใช้วิธีการพูดคุยกันดีกว่า ซึ่งจริงๆแล้วเป็นเรื่องของคนไม่กี่คน ประชาชนทั้งสองประเทศยังมีไมตรีที่ดีต่อกัน และรัฐบาลก็มีนโยบายชัดเจนว่าจะแก้ปัญหากับเพื่อนบ้านด้วยสันติวิธี เน้นการพูดคุย ส่วนเรื่องการพูดตอบโต้กันควรจะพอได้แล้ว
นายสุเทพกล่าวว่านายกฯ ได้มอบหมายให้ตนดูแลปัญหาเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในส่วนของกัมพูชานั้น เรื่องที่ยังค้างคากันอยู่คือการพัฒนาร่วมกันในทะเล เพื่อสำรวจหาแก๊สธรรมชาติและน้ำมัน ก็คุยกันมาหลายรัฐบาลและจะต้องคุยกันต่อไป ความจริงเรื่องนี้เคยมีคณะกรรมการทำงาน แต่หยุดไปหลายปีแล้ว ตนก็จะบอกไปว่าให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพูดคุยกันหาข้อสรุปกันใหม่
นายสุเทพกล่าวด้วยว่า ได้อธิบายให้สมเด็จฮุนเซนเข้าใจว่า ที่บอกว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้น มันไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่การข่มเหงรังแกพ.ต.ท.ทักษิณ แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ทำผิดกฎหมาย และผ่านกระบวนการต่างๆ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย รวมถึงการตัดสินจำคุกก็เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
ส่วนที่สมเด็จฮุนเซน เข้าใจว่าที่พ.ต.ท.ทักษิณต้องไปอยู่ต่างประเทศ เพราะผลจากการปฎิวัตินั้น ก็ได้ชี้แจงไปว่าการปฎิวัติจบไปนานแล้ว รัฐบาลปฎิวัติอยู่แค่ 1 ปี จากนั้นก็จัดทำรัฐธรรมนูญ มีการทำประชามติ คนส่วนใหญ่ในประเทศเห็นชอบให้ประเทศใช้ ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณ และบริวารก็เห็นชอบ เพราะได้ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐ ธรรมนูญฉบับนี้ และชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล มีนายกฯ 2 คน และที่นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกฯ ก็เพราะทำผิดกฎหมาย
"มันสายไปแล้วครับที่จะบอกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ถ้าอ้างเรื่องนี้มาตั้งแต่ปฎิวัติ ไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งนายกฯฮุนเซน เข้าใจดี ผมได้แจ้งนายกฯฮุนเซนว่า ที่ได้รับทราบข่าวพ.ต.ท.ทักษิณ ยังมีอิทธิพลมากในประเทศไทย บางทีอาจจะไม่ใช่ภาพจริง เรื่องของประเทศไทยเป็นไปไม่ได้ที่จะให้นานาชาติมาตัดสิน เพราะคนไทยรู้ และเข้าใจดี จะเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาของเราเอง" นายสุเทพกล่าว
**ยัน"ฮุนเซน"ไม่ก้าวก่ายไทย
เมื่อถามว่าได้พูดคุยเรื่องการสร้างบ้านพักให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และการส่งผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่าตนไม่ได้ไปโต้วาทีกับเขา แต่ตนมาคุยกับเขา ให้เขาได้เข้าใจสถานการณ์ในประเทศ และย้ำให้เข้าใจว่าคนไทยอยากอยู่อย่างสันติกับเพื่อนบ้าน เคารพในอธิปไตยของแต่ละฝ่ายไม่แทรกแซงก้าวก่ายกัน ท่านฮุนเซน จะรักชอบพ.ต.ท.ทักษิณอย่างไร เป็นเพื่อนกันมาก่อนก็เชิญเป็นเพื่อนกันต่อไปไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นเรื่องระหว่างประเทศก็ต้องปฎิบัติกฎหมายระหว่างประเทศ ถ้านายกฯฮุนเซน ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ อาศัยอยู่ในกัมพูชา เราก็ต้องใช้กฎหมายระหว่างประเทศขอตัวมา ซึ่งทางนายกฯฮุนเซน ได้นำกฎหมายมาให้ดู โดยยืนยันว่า จะส่งตัวหรือไม่เป็น ดุลพินิจของเจ้าของเขา ตนก็บอกว่าไม่มีปัญหา เพราะกฎหมายไม่ได้ตีความกันแค่ตนกับสมเด็จฮุนเซน มันก็มีกระบวนการอยู่ ในที่สุดอาจจะไปถึงศาล ก็ต้องว่ากันไป
เมื่อถามว่า นายกฯฮุนเซน ถามหรือไม่ว่า ไทยจะเลือกตั้งเมื่อไร นายสุเทพ กล่าวว่า "นา ยกฯฮุนเซนบอกกับผมว่า ท่านไม่ได้มีความปรารถนาที่จะเข้ามาก้าวก่ายแทรกแซง เรื่องการเมืองในประเทศไทย แต่ประการใดๆทั้งสิ้น ท่านถือว่าเป็นเรื่องของคนไทย ต้องเคารพในอธิปไตยความคิดของคนไทยทั้งหลาย ท่านฮุนเซน ยังได้รับปากกับผมด้วยว่า ที่ผู้นำพูดตอบโต้กันนั้นต้องอย่าให้ชาย แดนตึงเครียด ทหารทั้งสองฝ่ายอย่าให้ปะทะกัน" นายสุเทพกล่าว
**แฉ"แม้ว-ฮุนเซน"เอื้อธุรกิจในเขมร
ผู้สื่อรายงานว่าในระหว่างการประชุมส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เมื่อวานนี้(27 ต.ค.) เจ้าหน้าที่ในทีมงานโฆษกพรรคได้นำเอกสารที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ และสมเด็จฮุนเซน มาแจกต่อสื่อมวลชนภายในพรรค โดย เอกสารที่นำมามีทั้งหมด 5 หน้า และมีการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่มาจากคอลัมน์หนังสือพิมพ์ในประเทศกัมพูชาและเว็บไซต์ข่าวในประเทศไทย
ทั้งนี้เนื้อหาในเอกสารยังได้ระบุถึงการประกอบธุรกิจสัมปทานโทรทัศน์ของบริษัทชินคอร์ป ที่ใช้ชื่อบริษัทใหม่ในประเทศกัมพูชาว่า กัมพูชา ชินวัตร หรือ (ChamShin) โดยมีระยะเวลาประกอบการ 99 ปี แต่สมัปทานดังกล่าวถูกตรวจสอบสมัยรัฐบาลรณฤทธิ์ เมื่อปี2536 และพบความผิดปกติ จึงถูกปรับระยะเวลาเหลือ 30 ปี
เอกสารยังระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่เบื้องหลังการทำรัฐประหารในประเทศกัมพูชา เมื่อปี 2537 แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อปี 2540 สมเด็จฮุนเซน สามารถทำรัฐประหารสำเร็จและได้มอบสัมปทานโทรคมนามคมให้กับบริษัทพ.ต.ท.ทักษิณ โดยให้สัญญาในการดำเนินการเพิ่มจากเดิมเป็น 35 ปี ขณะเดียวกันยังได้เกิดการจลาจลในประเทศกัมพูชา และมีการเผาสถานฑูตไทย ทำให้รัฐบาลประเทศกัมพูชา ต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับรัฐบาลไทย และบริษัทที่เข้าไปลงทุนในประเทศกัมพูชาโดยมีรายชื่อของบริษัทชินคอร์ป ที่ได้รับเงินชดเชยไป 27 ล้านบาท
นอกจากนี้ เอกสารยังได้ระบุถึงมติครม.เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.51 ที่เห็นชอบร่างคแถลงการณ์สนับสนุนให้รัฐบาลกัมพูชาเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว ซึ่งขณะนั้นนายนพดล ปัทมะ ดำรงตำแหน่งรมว.ต่างประเทศ ทั้งนี้ยังได้ระบุถึงพ.ต.ท.ทักษิณ จะเข้ามาประกอบธุรกิจบันเทิงในเกาะกง ซึ่งเอกสารยังได้ยกตัวอย่างประกอบจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับในประเทศกัมพูชา ที่ได้รายงานความคืบหน้าต่อท่าทีการลงทุนของพ.ต.ท.ทักษิณ และยังมีการอ้างคำพูดของ พล.อ.เตีย บัณห์ รมว.กลาโหม ที่ได้กล่าวเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 51 ในลักษณะเดียวกันด้วย ทั้งนี้ เอกสารยังได้ระบุถึงการไปเยือนกัมพูชาของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ พร้อมทั้งยังได้อ้างถึงคำพูดของสมเด็จฮุนเซนว่า จะสร้างบ้านพักให้พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อเป็นที่พักพิงในการลี้ภัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมวอร์รูมของพรรคประชาธิปัตย์ มีการนำข้อมูลเหล่านี้มาพิจารณาด้วย หลังจากที่สมเด็จฮุนเซน ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน สัปดาห์ที่ผ่านมา
**"อนุพงษ์"ยันจะไม่มีการสู้รบกัน
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหาร ในขณะนี้ว่า ทหารยังมีความสัมพันธ์อันดี และเป็นไปตามกรอบนโยบายที่รัฐบาลวางไว้ ด้วยการใช้การเจรจาระหว่างไทยกับกัมพูชาแบบทวิภาคี ส่วนความเคลื่อนไหวทางทหารนั้น ยังไม่มี ทราบว่าผู้บังคับบัญชาระดับสูงยืนยันว่าจะไม่มีการใช้กำลังกันระหว่างทหารไทยกับกัมพูชา ซึ่งเขายืนยันมาอย่างนั้น
"พล.ท.วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ แม่ทัพภาคที่ 2 ได้เดินทางลงไปในพื้นที่เสียมเรียบ และ พนมเปญประมาณ 2–3 วัน การเดินทางไปกัมพูชาของแม่ทัพภาคที่ 2 เป็นไปตามความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคทหารที่ 4 ของกัมพูชา และแม่ทัพภาคที่ 2 ของเรา ซึ่งมีพื้นที่ที่รับผิดชอบติดต่อกัน ก็จะเดินไปมาหาสู่กัน ซึ่งการแก้ไขปัญหา เราไม่ได้ใช้กำลัง แต่เรารักษาสภาพอยู่ในเวลานี้ ซึ่งกลไกทวิภาคีที่ทั้งสองฝ่ายทำ จะแก้ปัญหาตรงนี้ ยืนยันว่าสถานการณ์ในพื้นที่จะไม่มีการสู้รบกัน และไม่มีการใช้กำลังแก้ไขปัญหาอย่างแน่นอน" พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว
**เตือนลดสัมพันธ์การทูตเข้าทาง"แม้ว"
นายสุนัย ผาสุข อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และที่ปรึกษาองค์กร Human Rights Watch กล่าวว่า ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา ถ้าไม่มีคนของเราไปโยนเรื่องให้สมเด็จฮุนเซน ก็คงไม่เกิดเรื่องขึ้น
ส่วนข้อเรียกร้องที่ให้ประท้วง หรือ ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตนั้น มองว่าจะเสียมากกว่าได้ เพราะการที่สมเด็จฮุนเซน ออกมาประกาศปกป้องพ.ต.ท.ทักษิณนั้น เข้าใจว่าเป็นการพูดตามหลักการในการให้ความคุ้มครองตามเอกสิทธิ์ ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณได้นำเรื่องเหตุการณ์รัฐประหาร และถูกคุกคามต่างๆ ไปเป็นจุดขายเพื่อขอความคุ้มครองกับประเทศใดในโลกก็ได้ สำหรับ ท่าทีของรัฐบาลไทยนั้น มาถูกทางแล้ว เราไม่ควรไปเต้นตามอารมณ์
นอกจากนี้ รัฐบาลยังต้องไล่จับตาการเยือนประเทศเพื่อบ้านของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ด้วย โดยทีมโฆษกรัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศ ก็ต้องหาทางวางหมากป้องกันไว้ล่วงหน้า เพราะถ้าเรายิ่งมีปัญหากับเพื่อนบ้าน ยิ่งเป็นประโยชน์กับฝ่ายตรงข้าม
**เปรียบ"จิ๋ว"เป็น"ออกญาจักรี"ขายชาติ
นายพิพัฒน์ ไทยอารีย์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ผ่านทาง สมเด็จฮุนเซน และพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธว่าคนไทยไม่ควรหลงประเด็นประณามสมเด็จฮุนเซน อย่างเดียว เพราะเขาเป็นเพียงหมากตัวหนึ่งที่พ.ต.ท.ทักษิณใช้เท่านั้น แต่คนที่พ.ต.ท.ทักษิณใช้ในการเคลื่อนไหวครั้งนี้มากที่สุดคือพล.อ.ชวลิตซึ่งน่าจะได้รับการประณามมากที่สุด
"เราจำเป็นต้องรู้เบื้องหลังว่า ทำไมทั้ง 2 คนจึงยอมรับใช้ พล.ต.ท.ทักษิณ แบบนี้ เพราะเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากที่ผู้นำประเทศคนหนึ่ง ถูกอดีตผู้นำประเทศอีกคนหนึ่งใช้เป็นเครื่องมือ ตรงนี้เราแทบไม่ต้องมองเลยกัมพูชาจะเป็นอย่างไร ถ้ามีผู้นำประเทศแบบนี้ ในเมื่อผู้นำกัมพูชาไม่ได้เป็นผู้นำที่ทัดเทียมกับคนที่กำลังใช้เขาอยู่ แม้ว่าจะผลประโยชน์ร่วมกันก็ตาม" นายพิพัฒน์กล่าว
นายพิพัฒน์ กล่าวว่า การที่พล.อ.ชวลิต เดินทางไปกัมพูชาเชื่อว่าเป็นการวางเกมจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต้องการให้พล.อ.ชวลิต เดินตาม เห็นได้จากไม่ว่าสื่อจะถามหรือไม่ก็ตาม พล.อ.ชวลิต พร้อมที่จะตอบ และอยากจะตอบแบบนี้ เพราะหากเป็นผู้นำที่มีทักษะสูงกว่านี้ เขาก็จะสามารถบ่ายเบี่ยงคำตอบได้ และคงไม่ตอบในแบบตรงมาตรงไปแบบนี้ ท่าทีดังกล่าวเช่นนี้ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น น่าจะทำให้คนไทยเข้าใจเป็นอย่างดีแล้วว่าทำไมพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ถึงได้เตือนพล.อ.ชวลิต ให้ระวังว่าการเข้าพรรคเพื่อไทย จะเป็นการทรยศชาติ
นายพิพัฒน์ กล่าวว่าในฐานะที่ตนสอนวิชายุทธศาสตร์ ซึ่งหลายครั้งได้ใช้ภาพยนตร์เป็นสื่อการสอน ซึ่งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ คิดว่าสามารถเปรียบเทียบกับภาพยนต์เรื่องสุริโยทัย ได้ โดยหากจำลองเหตุการณ์จะมีตัวละครอยู่ 3 คน คือ 1.บุเรงนอง กษัตริย์พม่า 2. ออกญาจักรี ซึ่งเป็นคนไทยที่ยอมเป็นหมากให้กษัตริย์พม่าเข้ามาโจมตีกรุงศรีอยุธยาและ 3. ทหารในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ถูกออกญาจักรีแบ่งแยกให้แตกแยกกัน จนทำให้กรุงศรีอยุธยาแพ้พม่า ซึ่งเป็นอุทธาหรณ์ที่น่าสนใจของคนไทยโดยรวมได้
"ผมไม่อยากเปรียบเทียบ พ.ต.ท.ทักษิณ กับบุเรงนอง แต่กลวิธีที่พ.ต.ท.ทักษิณใช้บางส่วนไปเหมือนกับที่บุเรงนองใช้ คือการใช้คนในสังคมให้ฆ่าและทำลายกันเอง ดังนั้น ออกญาจักรี ก็เปรียบเหมือนคนส่งสาร (messenger) ที่ไปอาสาบุเรงนอง ซึ่งตรงนี้อาจจะเปรียบเทียบว่าเป็น พล.อ.ชวลิต ที่เข้ามารับงานดำเนินการต่างๆ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะรวมถึงการชวนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 เข้ามาอยู่ในพรรคเพื่อไทยด้วยหรือไม่ แต่เหตุการณ์ตรงนี้เหมือนกันกับที่ออกญาจักรี ทำให้เกิดความแตกแยกในกองทัพ เพราะฉะนั้นภาพยนต์เรื่องสุริโยทัย ทำให้เราเห็นภาพต่างได้ชัดเจนขึ้น" นายพิพัฒน์กล่าว
ส่วนเรื่องที่พล.อ.ชวลิต จะเดินทางไปตามประเทศต่างๆในแถบอาเซียนคงไม่สามารถบอกได้ว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะพล.อ.ชวลิตไปไกลเกินกว่าจุดที่สามารถเตือนเรื่องเหล่านี้ได้แล้ว เพราะแม้แต่ พล.อ.เปรม เตือน เขายังไม่ฟัง จึงคงไม่มีใครสามารถห้ามเขาได้ จึงไม่แน่ใจว่าการไปพบผู้นำแต่ละประเทศของพล.อ.ชวลิต จะมีเรื่องการแลกเปลี่ยนตอบแทนในเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติด้วยหรือไม่
"จริงๆแล้วผมก็อยากรู้ว่า สมเด็จฮุนเซนมองพล.อ.ชวลิตอย่างไร แต่บทเรียนทางประวัติศาสตร์เรื่องสุริโยทัยนั้น ชีวิตของออกญาจักรี ได้ทุกอย่างที่ต้องการจากบุเรงนอง แต่สุดท้ายก็สั่งให้เอาออกญาจักรีไปถ่วงน้ำ เพราะเห็นว่าแม้แต่ประเทศตัวเองยังทรยศได้ จึงไม่สามารถปล่อยคนอย่างออกญาจักรีไว้ได้ น่าเสียดายที่ พล.อ.ชวลิต เลือกทางชีวิตในการเป็นแค่ คนส่งสารให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงทำให้พล.อ.ชวลิต มีลักษณะแบบที่สังคมเห็นอยู่แบบนี้”
ทั้งนี้ เชื่อว่าแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ทั้งสมเด็จฮุนเซน และพล.อ.ชวลิต รับงานจากพ.ต.ท.ทักษิณ คือเรื่องความผูกพันที่เคยเป็นผู้นำประเทศ รวมถึงเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ทั้งในอดีตและปัจจุบันและอนาคต
**"จิ๋ว"ไม่สนใครว่าชักศึกเข้าบ้าน
ด้านพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ แกนนำพรรคเพื่อกล่าวถึงกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนชักศึกเข้าบ้าน หลังจากเดินทางไปพบสมเด็จฮุนเซนว่า บ้านไหน อย่าไปต่อว่าเพราะทุกคนห่วงใยบ้านเมือง แต่ในรายละเอียดอาจจะเข้าใจผิดกันได้
ส่วนแผนการที่จะเดินทางไปเยือนประเทศพม่า และมาเลเซียนั้น พล.อ.ชวลิต กล่าวว่าก่อนเดินทางไปพม่า ต้องไปมาเลเซียก่อน ซึ่งเขาจะมีจดหมายเชิญมา อาจจะเป็นปลายอาทิตย์นี้ หรือต้นอาทิตย์หน้า ซึ่งนายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยเป็นรมว.กลาโหม เหมือนกับตนในช่วงเวลานั้น ซึ่งคงจะมีโอกาสได้เจอและพูดคุยแลกเปลี่ยนกันตามประสาเพื่อนบ้าน
พล.อ.ชวลิต กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องของพ.ต.ท.ทักษิณนั้น บังเอิญอยู่ในความสนใจของพี่น้อง จึงกินพื้นที่ข่าวที่เราจะต้องการให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน เช่น การลดการเผชิญหน้า พื้นที่ติดต่อค้าขายซึ่งกันและกัน รวมถึงข้อขัดแย้งที่มีมานาน และอยากให้องค์กรที่จัดตั้งขึ้นร่วมกันมาทำงานต่อไป ตรงนี้ตนไปทำงานให้กับกรรมาธิการกิจการชายแดน สภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่ได้บอกให้ใครรู้ ที่ถามว่าคิดอย่างไรกับการที่มีคนมาบอกว่าขายชาตินั้น เราเคารพการวิพากษ์วิจารณ์ เพราะเขาก็หวังดีกันทั้งนั้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวถึงกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังดำเนินแผนเอาการเมืองรอบประเทศ มากดดันการเมืองภายในประเทศ ว่า หน้าที่เราคือการทำความเข้าใจกับผู้นำประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในการประชุมอาเซียนที่ผ่านมาก็ได้มีโอกาสคุยกับผู้นำประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ก็อยู่บนพื้นฐานความเข้าใจที่ดี ท่าทีที่มีการแสดงออก เช่น ที่นายกฯมาเลเซียให้สัมภาษณ์สื่อเกี่ยวกับเรื่องการแก้ไขปัญหาทางภาคใต้ดูเป็นพื้นฐานความเข้าใจที่ดี โดยเดือนธ.ค.นี้ นายกรัฐมนตรี มาเลเซีย จะเดินทางมาเยือนไทย ในลักษณะปรึกษาหารือประจำปีและมีกำหนดการที่จะไป 3 จังหวัดภาคใต้ด้วยกัน
ในส่วนของพม่า ท่าทีทุกประเทศก็สนับสนุนที่จะให้พม่าเดินตามแผนงานของเขาได้ ก็เป็นพื้นฐานความเข้าใจที่ดี นายกฯของลาว ตนได้มีการพูดคุยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของปัญหาม้ง ก็มีความเข้าใจที่ดีต่อกัน ฉะนี้นโดยพื้นฐานก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ส่วนกรณีของสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชานั้น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้ไปให้ความเข้าใจเพิ่มเติมแล้ว ซึ่งก็น่าจะดีขึ้น
"คิดว่าทางกัมพูชาก็เข้าใจความรู้สึกของเรา คืออย่างน้อยรับทราบความรู้สึกของเราแล้ว เราคงจะต้องใจเย็นๆ และรอดูต่อไปว่ามันจะมีปัญหาอะไรหรือไม่ ผมยังมีความเชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรที่ลุกลาม เพราะมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมไปแล้ว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่า หมายความว่านายกฯ เชื่อว่ากัมพูชาจะไม่ให้ที่พักพิงแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนได้พูดชัดแล้วว่า ทางกัมพูชาคงต้องคิดให้ดี เขาก็คงไปคิด
**"เทือก"อ้างแจง"ฮุนเซน"เข้าใจแล้ว
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงกรณีที่มีการเสนอว่าไทยควรจะตัดความสัมพันธ์กับกัมพูชาว่า เรื่องนี้จะใช้อารมณ์ไม่ได้ ควรใช้วิธีการพูดคุยกันดีกว่า ซึ่งจริงๆแล้วเป็นเรื่องของคนไม่กี่คน ประชาชนทั้งสองประเทศยังมีไมตรีที่ดีต่อกัน และรัฐบาลก็มีนโยบายชัดเจนว่าจะแก้ปัญหากับเพื่อนบ้านด้วยสันติวิธี เน้นการพูดคุย ส่วนเรื่องการพูดตอบโต้กันควรจะพอได้แล้ว
นายสุเทพกล่าวว่านายกฯ ได้มอบหมายให้ตนดูแลปัญหาเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในส่วนของกัมพูชานั้น เรื่องที่ยังค้างคากันอยู่คือการพัฒนาร่วมกันในทะเล เพื่อสำรวจหาแก๊สธรรมชาติและน้ำมัน ก็คุยกันมาหลายรัฐบาลและจะต้องคุยกันต่อไป ความจริงเรื่องนี้เคยมีคณะกรรมการทำงาน แต่หยุดไปหลายปีแล้ว ตนก็จะบอกไปว่าให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพูดคุยกันหาข้อสรุปกันใหม่
นายสุเทพกล่าวด้วยว่า ได้อธิบายให้สมเด็จฮุนเซนเข้าใจว่า ที่บอกว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้น มันไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่การข่มเหงรังแกพ.ต.ท.ทักษิณ แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ทำผิดกฎหมาย และผ่านกระบวนการต่างๆ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย รวมถึงการตัดสินจำคุกก็เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
ส่วนที่สมเด็จฮุนเซน เข้าใจว่าที่พ.ต.ท.ทักษิณต้องไปอยู่ต่างประเทศ เพราะผลจากการปฎิวัตินั้น ก็ได้ชี้แจงไปว่าการปฎิวัติจบไปนานแล้ว รัฐบาลปฎิวัติอยู่แค่ 1 ปี จากนั้นก็จัดทำรัฐธรรมนูญ มีการทำประชามติ คนส่วนใหญ่ในประเทศเห็นชอบให้ประเทศใช้ ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณ และบริวารก็เห็นชอบ เพราะได้ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐ ธรรมนูญฉบับนี้ และชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล มีนายกฯ 2 คน และที่นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกฯ ก็เพราะทำผิดกฎหมาย
"มันสายไปแล้วครับที่จะบอกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ถ้าอ้างเรื่องนี้มาตั้งแต่ปฎิวัติ ไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งนายกฯฮุนเซน เข้าใจดี ผมได้แจ้งนายกฯฮุนเซนว่า ที่ได้รับทราบข่าวพ.ต.ท.ทักษิณ ยังมีอิทธิพลมากในประเทศไทย บางทีอาจจะไม่ใช่ภาพจริง เรื่องของประเทศไทยเป็นไปไม่ได้ที่จะให้นานาชาติมาตัดสิน เพราะคนไทยรู้ และเข้าใจดี จะเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาของเราเอง" นายสุเทพกล่าว
**ยัน"ฮุนเซน"ไม่ก้าวก่ายไทย
เมื่อถามว่าได้พูดคุยเรื่องการสร้างบ้านพักให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และการส่งผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่าตนไม่ได้ไปโต้วาทีกับเขา แต่ตนมาคุยกับเขา ให้เขาได้เข้าใจสถานการณ์ในประเทศ และย้ำให้เข้าใจว่าคนไทยอยากอยู่อย่างสันติกับเพื่อนบ้าน เคารพในอธิปไตยของแต่ละฝ่ายไม่แทรกแซงก้าวก่ายกัน ท่านฮุนเซน จะรักชอบพ.ต.ท.ทักษิณอย่างไร เป็นเพื่อนกันมาก่อนก็เชิญเป็นเพื่อนกันต่อไปไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นเรื่องระหว่างประเทศก็ต้องปฎิบัติกฎหมายระหว่างประเทศ ถ้านายกฯฮุนเซน ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ อาศัยอยู่ในกัมพูชา เราก็ต้องใช้กฎหมายระหว่างประเทศขอตัวมา ซึ่งทางนายกฯฮุนเซน ได้นำกฎหมายมาให้ดู โดยยืนยันว่า จะส่งตัวหรือไม่เป็น ดุลพินิจของเจ้าของเขา ตนก็บอกว่าไม่มีปัญหา เพราะกฎหมายไม่ได้ตีความกันแค่ตนกับสมเด็จฮุนเซน มันก็มีกระบวนการอยู่ ในที่สุดอาจจะไปถึงศาล ก็ต้องว่ากันไป
เมื่อถามว่า นายกฯฮุนเซน ถามหรือไม่ว่า ไทยจะเลือกตั้งเมื่อไร นายสุเทพ กล่าวว่า "นา ยกฯฮุนเซนบอกกับผมว่า ท่านไม่ได้มีความปรารถนาที่จะเข้ามาก้าวก่ายแทรกแซง เรื่องการเมืองในประเทศไทย แต่ประการใดๆทั้งสิ้น ท่านถือว่าเป็นเรื่องของคนไทย ต้องเคารพในอธิปไตยความคิดของคนไทยทั้งหลาย ท่านฮุนเซน ยังได้รับปากกับผมด้วยว่า ที่ผู้นำพูดตอบโต้กันนั้นต้องอย่าให้ชาย แดนตึงเครียด ทหารทั้งสองฝ่ายอย่าให้ปะทะกัน" นายสุเทพกล่าว
**แฉ"แม้ว-ฮุนเซน"เอื้อธุรกิจในเขมร
ผู้สื่อรายงานว่าในระหว่างการประชุมส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เมื่อวานนี้(27 ต.ค.) เจ้าหน้าที่ในทีมงานโฆษกพรรคได้นำเอกสารที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ และสมเด็จฮุนเซน มาแจกต่อสื่อมวลชนภายในพรรค โดย เอกสารที่นำมามีทั้งหมด 5 หน้า และมีการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่มาจากคอลัมน์หนังสือพิมพ์ในประเทศกัมพูชาและเว็บไซต์ข่าวในประเทศไทย
ทั้งนี้เนื้อหาในเอกสารยังได้ระบุถึงการประกอบธุรกิจสัมปทานโทรทัศน์ของบริษัทชินคอร์ป ที่ใช้ชื่อบริษัทใหม่ในประเทศกัมพูชาว่า กัมพูชา ชินวัตร หรือ (ChamShin) โดยมีระยะเวลาประกอบการ 99 ปี แต่สมัปทานดังกล่าวถูกตรวจสอบสมัยรัฐบาลรณฤทธิ์ เมื่อปี2536 และพบความผิดปกติ จึงถูกปรับระยะเวลาเหลือ 30 ปี
เอกสารยังระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่เบื้องหลังการทำรัฐประหารในประเทศกัมพูชา เมื่อปี 2537 แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อปี 2540 สมเด็จฮุนเซน สามารถทำรัฐประหารสำเร็จและได้มอบสัมปทานโทรคมนามคมให้กับบริษัทพ.ต.ท.ทักษิณ โดยให้สัญญาในการดำเนินการเพิ่มจากเดิมเป็น 35 ปี ขณะเดียวกันยังได้เกิดการจลาจลในประเทศกัมพูชา และมีการเผาสถานฑูตไทย ทำให้รัฐบาลประเทศกัมพูชา ต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับรัฐบาลไทย และบริษัทที่เข้าไปลงทุนในประเทศกัมพูชาโดยมีรายชื่อของบริษัทชินคอร์ป ที่ได้รับเงินชดเชยไป 27 ล้านบาท
นอกจากนี้ เอกสารยังได้ระบุถึงมติครม.เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.51 ที่เห็นชอบร่างคแถลงการณ์สนับสนุนให้รัฐบาลกัมพูชาเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว ซึ่งขณะนั้นนายนพดล ปัทมะ ดำรงตำแหน่งรมว.ต่างประเทศ ทั้งนี้ยังได้ระบุถึงพ.ต.ท.ทักษิณ จะเข้ามาประกอบธุรกิจบันเทิงในเกาะกง ซึ่งเอกสารยังได้ยกตัวอย่างประกอบจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับในประเทศกัมพูชา ที่ได้รายงานความคืบหน้าต่อท่าทีการลงทุนของพ.ต.ท.ทักษิณ และยังมีการอ้างคำพูดของ พล.อ.เตีย บัณห์ รมว.กลาโหม ที่ได้กล่าวเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 51 ในลักษณะเดียวกันด้วย ทั้งนี้ เอกสารยังได้ระบุถึงการไปเยือนกัมพูชาของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ พร้อมทั้งยังได้อ้างถึงคำพูดของสมเด็จฮุนเซนว่า จะสร้างบ้านพักให้พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อเป็นที่พักพิงในการลี้ภัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมวอร์รูมของพรรคประชาธิปัตย์ มีการนำข้อมูลเหล่านี้มาพิจารณาด้วย หลังจากที่สมเด็จฮุนเซน ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน สัปดาห์ที่ผ่านมา
**"อนุพงษ์"ยันจะไม่มีการสู้รบกัน
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหาร ในขณะนี้ว่า ทหารยังมีความสัมพันธ์อันดี และเป็นไปตามกรอบนโยบายที่รัฐบาลวางไว้ ด้วยการใช้การเจรจาระหว่างไทยกับกัมพูชาแบบทวิภาคี ส่วนความเคลื่อนไหวทางทหารนั้น ยังไม่มี ทราบว่าผู้บังคับบัญชาระดับสูงยืนยันว่าจะไม่มีการใช้กำลังกันระหว่างทหารไทยกับกัมพูชา ซึ่งเขายืนยันมาอย่างนั้น
"พล.ท.วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ แม่ทัพภาคที่ 2 ได้เดินทางลงไปในพื้นที่เสียมเรียบ และ พนมเปญประมาณ 2–3 วัน การเดินทางไปกัมพูชาของแม่ทัพภาคที่ 2 เป็นไปตามความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคทหารที่ 4 ของกัมพูชา และแม่ทัพภาคที่ 2 ของเรา ซึ่งมีพื้นที่ที่รับผิดชอบติดต่อกัน ก็จะเดินไปมาหาสู่กัน ซึ่งการแก้ไขปัญหา เราไม่ได้ใช้กำลัง แต่เรารักษาสภาพอยู่ในเวลานี้ ซึ่งกลไกทวิภาคีที่ทั้งสองฝ่ายทำ จะแก้ปัญหาตรงนี้ ยืนยันว่าสถานการณ์ในพื้นที่จะไม่มีการสู้รบกัน และไม่มีการใช้กำลังแก้ไขปัญหาอย่างแน่นอน" พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว
**เตือนลดสัมพันธ์การทูตเข้าทาง"แม้ว"
นายสุนัย ผาสุข อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และที่ปรึกษาองค์กร Human Rights Watch กล่าวว่า ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา ถ้าไม่มีคนของเราไปโยนเรื่องให้สมเด็จฮุนเซน ก็คงไม่เกิดเรื่องขึ้น
ส่วนข้อเรียกร้องที่ให้ประท้วง หรือ ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตนั้น มองว่าจะเสียมากกว่าได้ เพราะการที่สมเด็จฮุนเซน ออกมาประกาศปกป้องพ.ต.ท.ทักษิณนั้น เข้าใจว่าเป็นการพูดตามหลักการในการให้ความคุ้มครองตามเอกสิทธิ์ ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณได้นำเรื่องเหตุการณ์รัฐประหาร และถูกคุกคามต่างๆ ไปเป็นจุดขายเพื่อขอความคุ้มครองกับประเทศใดในโลกก็ได้ สำหรับ ท่าทีของรัฐบาลไทยนั้น มาถูกทางแล้ว เราไม่ควรไปเต้นตามอารมณ์
นอกจากนี้ รัฐบาลยังต้องไล่จับตาการเยือนประเทศเพื่อบ้านของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ด้วย โดยทีมโฆษกรัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศ ก็ต้องหาทางวางหมากป้องกันไว้ล่วงหน้า เพราะถ้าเรายิ่งมีปัญหากับเพื่อนบ้าน ยิ่งเป็นประโยชน์กับฝ่ายตรงข้าม
**เปรียบ"จิ๋ว"เป็น"ออกญาจักรี"ขายชาติ
นายพิพัฒน์ ไทยอารีย์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ผ่านทาง สมเด็จฮุนเซน และพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธว่าคนไทยไม่ควรหลงประเด็นประณามสมเด็จฮุนเซน อย่างเดียว เพราะเขาเป็นเพียงหมากตัวหนึ่งที่พ.ต.ท.ทักษิณใช้เท่านั้น แต่คนที่พ.ต.ท.ทักษิณใช้ในการเคลื่อนไหวครั้งนี้มากที่สุดคือพล.อ.ชวลิตซึ่งน่าจะได้รับการประณามมากที่สุด
"เราจำเป็นต้องรู้เบื้องหลังว่า ทำไมทั้ง 2 คนจึงยอมรับใช้ พล.ต.ท.ทักษิณ แบบนี้ เพราะเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากที่ผู้นำประเทศคนหนึ่ง ถูกอดีตผู้นำประเทศอีกคนหนึ่งใช้เป็นเครื่องมือ ตรงนี้เราแทบไม่ต้องมองเลยกัมพูชาจะเป็นอย่างไร ถ้ามีผู้นำประเทศแบบนี้ ในเมื่อผู้นำกัมพูชาไม่ได้เป็นผู้นำที่ทัดเทียมกับคนที่กำลังใช้เขาอยู่ แม้ว่าจะผลประโยชน์ร่วมกันก็ตาม" นายพิพัฒน์กล่าว
นายพิพัฒน์ กล่าวว่า การที่พล.อ.ชวลิต เดินทางไปกัมพูชาเชื่อว่าเป็นการวางเกมจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต้องการให้พล.อ.ชวลิต เดินตาม เห็นได้จากไม่ว่าสื่อจะถามหรือไม่ก็ตาม พล.อ.ชวลิต พร้อมที่จะตอบ และอยากจะตอบแบบนี้ เพราะหากเป็นผู้นำที่มีทักษะสูงกว่านี้ เขาก็จะสามารถบ่ายเบี่ยงคำตอบได้ และคงไม่ตอบในแบบตรงมาตรงไปแบบนี้ ท่าทีดังกล่าวเช่นนี้ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น น่าจะทำให้คนไทยเข้าใจเป็นอย่างดีแล้วว่าทำไมพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ถึงได้เตือนพล.อ.ชวลิต ให้ระวังว่าการเข้าพรรคเพื่อไทย จะเป็นการทรยศชาติ
นายพิพัฒน์ กล่าวว่าในฐานะที่ตนสอนวิชายุทธศาสตร์ ซึ่งหลายครั้งได้ใช้ภาพยนตร์เป็นสื่อการสอน ซึ่งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ คิดว่าสามารถเปรียบเทียบกับภาพยนต์เรื่องสุริโยทัย ได้ โดยหากจำลองเหตุการณ์จะมีตัวละครอยู่ 3 คน คือ 1.บุเรงนอง กษัตริย์พม่า 2. ออกญาจักรี ซึ่งเป็นคนไทยที่ยอมเป็นหมากให้กษัตริย์พม่าเข้ามาโจมตีกรุงศรีอยุธยาและ 3. ทหารในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ถูกออกญาจักรีแบ่งแยกให้แตกแยกกัน จนทำให้กรุงศรีอยุธยาแพ้พม่า ซึ่งเป็นอุทธาหรณ์ที่น่าสนใจของคนไทยโดยรวมได้
"ผมไม่อยากเปรียบเทียบ พ.ต.ท.ทักษิณ กับบุเรงนอง แต่กลวิธีที่พ.ต.ท.ทักษิณใช้บางส่วนไปเหมือนกับที่บุเรงนองใช้ คือการใช้คนในสังคมให้ฆ่าและทำลายกันเอง ดังนั้น ออกญาจักรี ก็เปรียบเหมือนคนส่งสาร (messenger) ที่ไปอาสาบุเรงนอง ซึ่งตรงนี้อาจจะเปรียบเทียบว่าเป็น พล.อ.ชวลิต ที่เข้ามารับงานดำเนินการต่างๆ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะรวมถึงการชวนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 เข้ามาอยู่ในพรรคเพื่อไทยด้วยหรือไม่ แต่เหตุการณ์ตรงนี้เหมือนกันกับที่ออกญาจักรี ทำให้เกิดความแตกแยกในกองทัพ เพราะฉะนั้นภาพยนต์เรื่องสุริโยทัย ทำให้เราเห็นภาพต่างได้ชัดเจนขึ้น" นายพิพัฒน์กล่าว
ส่วนเรื่องที่พล.อ.ชวลิต จะเดินทางไปตามประเทศต่างๆในแถบอาเซียนคงไม่สามารถบอกได้ว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะพล.อ.ชวลิตไปไกลเกินกว่าจุดที่สามารถเตือนเรื่องเหล่านี้ได้แล้ว เพราะแม้แต่ พล.อ.เปรม เตือน เขายังไม่ฟัง จึงคงไม่มีใครสามารถห้ามเขาได้ จึงไม่แน่ใจว่าการไปพบผู้นำแต่ละประเทศของพล.อ.ชวลิต จะมีเรื่องการแลกเปลี่ยนตอบแทนในเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติด้วยหรือไม่
"จริงๆแล้วผมก็อยากรู้ว่า สมเด็จฮุนเซนมองพล.อ.ชวลิตอย่างไร แต่บทเรียนทางประวัติศาสตร์เรื่องสุริโยทัยนั้น ชีวิตของออกญาจักรี ได้ทุกอย่างที่ต้องการจากบุเรงนอง แต่สุดท้ายก็สั่งให้เอาออกญาจักรีไปถ่วงน้ำ เพราะเห็นว่าแม้แต่ประเทศตัวเองยังทรยศได้ จึงไม่สามารถปล่อยคนอย่างออกญาจักรีไว้ได้ น่าเสียดายที่ พล.อ.ชวลิต เลือกทางชีวิตในการเป็นแค่ คนส่งสารให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงทำให้พล.อ.ชวลิต มีลักษณะแบบที่สังคมเห็นอยู่แบบนี้”
ทั้งนี้ เชื่อว่าแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ทั้งสมเด็จฮุนเซน และพล.อ.ชวลิต รับงานจากพ.ต.ท.ทักษิณ คือเรื่องความผูกพันที่เคยเป็นผู้นำประเทศ รวมถึงเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ทั้งในอดีตและปัจจุบันและอนาคต
**"จิ๋ว"ไม่สนใครว่าชักศึกเข้าบ้าน
ด้านพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ แกนนำพรรคเพื่อกล่าวถึงกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนชักศึกเข้าบ้าน หลังจากเดินทางไปพบสมเด็จฮุนเซนว่า บ้านไหน อย่าไปต่อว่าเพราะทุกคนห่วงใยบ้านเมือง แต่ในรายละเอียดอาจจะเข้าใจผิดกันได้
ส่วนแผนการที่จะเดินทางไปเยือนประเทศพม่า และมาเลเซียนั้น พล.อ.ชวลิต กล่าวว่าก่อนเดินทางไปพม่า ต้องไปมาเลเซียก่อน ซึ่งเขาจะมีจดหมายเชิญมา อาจจะเป็นปลายอาทิตย์นี้ หรือต้นอาทิตย์หน้า ซึ่งนายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยเป็นรมว.กลาโหม เหมือนกับตนในช่วงเวลานั้น ซึ่งคงจะมีโอกาสได้เจอและพูดคุยแลกเปลี่ยนกันตามประสาเพื่อนบ้าน
พล.อ.ชวลิต กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องของพ.ต.ท.ทักษิณนั้น บังเอิญอยู่ในความสนใจของพี่น้อง จึงกินพื้นที่ข่าวที่เราจะต้องการให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน เช่น การลดการเผชิญหน้า พื้นที่ติดต่อค้าขายซึ่งกันและกัน รวมถึงข้อขัดแย้งที่มีมานาน และอยากให้องค์กรที่จัดตั้งขึ้นร่วมกันมาทำงานต่อไป ตรงนี้ตนไปทำงานให้กับกรรมาธิการกิจการชายแดน สภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่ได้บอกให้ใครรู้ ที่ถามว่าคิดอย่างไรกับการที่มีคนมาบอกว่าขายชาตินั้น เราเคารพการวิพากษ์วิจารณ์ เพราะเขาก็หวังดีกันทั้งนั้น