รอยเตอร์-เอฟบีไอกำลังประสบปัญหาใหญ่ในการคัดกรองเอกสารจำนวนหลายล้านชิ้น โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการแปลในองค์กรได้ลดจำนวนลง ขณะที่เอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายก็เพิ่มปริมาณมากขึ้นจนยากจะสะสาง
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เผยแพร่รายงานฉบับล่าสุดเมื่อวันจันทร์ (26)ที่ผ่านมาที่ระบุว่า นับตั้งแต่หลังเหตุการณ์ก่อวินาศกรรม 11 กันยายน 2001 เป็นต้นมา สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ (เอฟบีไอ) และบรรดาหน่วยงานด้านข่าวกรองอื่นๆของสหรัฐฯ ต่างถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางและซ้ำซาก เกี่ยวกับความล้มเหลวในการเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญการแปลภาษาต่างประเทศให้เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาที่ใช้ในประเทศแถบตะวันออกกลาง ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน
รายงานดังกล่าวซึ่งจัดทำคณะผู้ตรวจการของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ระบุว่า เอฟบีไอเคยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการแปลทำงานในองค์กรจำนวนสูงสุด 1,338 คนในช่วงเดือนมีนาคม ปี 2005 แต่ได้ลดลงไป 40 คนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น คณะผู้ตรวจการยังพบว่า เอฟบีไอต้องใช้เวลาเฉลี่ยถึง 19 เดือนกว่าจะสามารถเซ็นสัญญาจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการแปล 1คนเข้ามาทำหน้าที่แทนคนเก่าที่ออกไปได้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยเดิมขององค์กรที่ใช้เวลา 16 เดือน
ขณะเดียวกัน แม้ว่าทางเอฟบีไอก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับการสะสางเอกสารโดยเฉพาะเอกสารด้านความมั่นคง ทั้งนี้อาจต้องใช้เวลาถึง 14 เดือน สำหรับการสะสางเอกสารเหล่านี้ในเบื้องต้น และอีก 5 เดือนสำหรับการตรวจสอบในระดับผู้ชำนาญการ นอกจากนั้น รายงานยังระบุว่าทางเอฟบีไอต้องใช้เวลามากกว่า 7 ปี ในการสะสางเอกสารที่คั่งค้างทุกประเภทให้เสร็จสิ้น
รายงานฉบับนี้ยังพบว่า เอฟบีไอสามารถคัดเลือกบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศเข้ามาทำงานได้ครบตามเป้าหมายการจ้างงานเพียง 2 ภาษาเท่านั้น ขณะที่อีก 12 ภาษายังต่ำกว่าเป้าหมายที่ต้องการทั้งสิ้น
เกล็น ไฟน์ ประธานคณะผู้ตรวจการของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กล่าวในรายงานว่า“ความล้มเหลวในการสรรหาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาเข้ามาทำงานในองค์กรได้อย่างเพียงพอ ส่งผลกระทบต่อความสามารถของเอฟบีไอในการรับมือกับจำนวนเอกสารใหม่ๆที่รอการแปลซึ่งเพิ่มจำนวนสูงขึ้นทุกขณะ และยังส่งผลกระทบต่อการทบทวนเอกสารเก่าที่คั่งค้างอีกด้วย ”
นอกจากนั้น รายงานของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยังพบว่ากว่าร้อยละ 31 ของเอกสารภาษาต่างๆ จำนวน 46 ล้านชิ้นที่ถูกจัดเก็บในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ของเอฟบีไอ ยังคงไม่มีการตรวจสอบ ส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่เอฟบีไอได้มาในช่วงปีงบประมาณ 2008 รวมทั้ง อีกกว่า 1 ใน 4 ของเอกสารในรูปแบบของไฟล์เสียงซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านข่าวกรองในระหว่างปี 2003-2008ก็ยังไม่ได้มีการนำมาทบทวนเช่นกัน ทั้งที่เอกสารบางส่วนเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม จอห์น พิสโทล รองผู้อำนวยการเอฟบีไอได้ออกมาตอบโต้รายงานของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ โดยยืนยันว่าขีดความสามารถในด้านการแปลของเอฟบีไอ รวมทั้ง ประสิทธิภาพในการว่าจ้างบุคลากรใหม่ และการรักษาบุคลากรเดิมไว้ในองค์กร ได้พัฒนาดีขึ้นมากแล้วเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ และยืนยันว่า เอฟบีไอมีความคืบหน้าอย่างสำคัญในการจัดการกับเอกสารด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ส่วนเอกสารด้านการต่อต้านข่าวกรองนั้นทางเอฟบีไอก็ได้ดำเนินการอย่างระมัดระวังโดยการจัดลำดับความสำคัญ และตรวจสอบเอกสารอย่างเป็นระบบแล้วเช่นกัน
รองผู้อำนวยการเอฟบีไอยังระบุว่า เอกสารจำนวนหนึ่งที่ถูกระบุในรายงานของกระทรวงยุติธรรมนั้น แท้จริงแล้วเป็นเอกสารปลอม พร้อมชี้ว่า การแปลและทบทวนเอกสารทุกชิ้นในองค์กร ถือเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรของเอฟบีไอโดยใช่เหตุ
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เผยแพร่รายงานฉบับล่าสุดเมื่อวันจันทร์ (26)ที่ผ่านมาที่ระบุว่า นับตั้งแต่หลังเหตุการณ์ก่อวินาศกรรม 11 กันยายน 2001 เป็นต้นมา สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ (เอฟบีไอ) และบรรดาหน่วยงานด้านข่าวกรองอื่นๆของสหรัฐฯ ต่างถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางและซ้ำซาก เกี่ยวกับความล้มเหลวในการเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญการแปลภาษาต่างประเทศให้เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาที่ใช้ในประเทศแถบตะวันออกกลาง ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน
รายงานดังกล่าวซึ่งจัดทำคณะผู้ตรวจการของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ระบุว่า เอฟบีไอเคยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการแปลทำงานในองค์กรจำนวนสูงสุด 1,338 คนในช่วงเดือนมีนาคม ปี 2005 แต่ได้ลดลงไป 40 คนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น คณะผู้ตรวจการยังพบว่า เอฟบีไอต้องใช้เวลาเฉลี่ยถึง 19 เดือนกว่าจะสามารถเซ็นสัญญาจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการแปล 1คนเข้ามาทำหน้าที่แทนคนเก่าที่ออกไปได้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยเดิมขององค์กรที่ใช้เวลา 16 เดือน
ขณะเดียวกัน แม้ว่าทางเอฟบีไอก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับการสะสางเอกสารโดยเฉพาะเอกสารด้านความมั่นคง ทั้งนี้อาจต้องใช้เวลาถึง 14 เดือน สำหรับการสะสางเอกสารเหล่านี้ในเบื้องต้น และอีก 5 เดือนสำหรับการตรวจสอบในระดับผู้ชำนาญการ นอกจากนั้น รายงานยังระบุว่าทางเอฟบีไอต้องใช้เวลามากกว่า 7 ปี ในการสะสางเอกสารที่คั่งค้างทุกประเภทให้เสร็จสิ้น
รายงานฉบับนี้ยังพบว่า เอฟบีไอสามารถคัดเลือกบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศเข้ามาทำงานได้ครบตามเป้าหมายการจ้างงานเพียง 2 ภาษาเท่านั้น ขณะที่อีก 12 ภาษายังต่ำกว่าเป้าหมายที่ต้องการทั้งสิ้น
เกล็น ไฟน์ ประธานคณะผู้ตรวจการของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กล่าวในรายงานว่า“ความล้มเหลวในการสรรหาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาเข้ามาทำงานในองค์กรได้อย่างเพียงพอ ส่งผลกระทบต่อความสามารถของเอฟบีไอในการรับมือกับจำนวนเอกสารใหม่ๆที่รอการแปลซึ่งเพิ่มจำนวนสูงขึ้นทุกขณะ และยังส่งผลกระทบต่อการทบทวนเอกสารเก่าที่คั่งค้างอีกด้วย ”
นอกจากนั้น รายงานของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยังพบว่ากว่าร้อยละ 31 ของเอกสารภาษาต่างๆ จำนวน 46 ล้านชิ้นที่ถูกจัดเก็บในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ของเอฟบีไอ ยังคงไม่มีการตรวจสอบ ส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่เอฟบีไอได้มาในช่วงปีงบประมาณ 2008 รวมทั้ง อีกกว่า 1 ใน 4 ของเอกสารในรูปแบบของไฟล์เสียงซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านข่าวกรองในระหว่างปี 2003-2008ก็ยังไม่ได้มีการนำมาทบทวนเช่นกัน ทั้งที่เอกสารบางส่วนเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม จอห์น พิสโทล รองผู้อำนวยการเอฟบีไอได้ออกมาตอบโต้รายงานของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ โดยยืนยันว่าขีดความสามารถในด้านการแปลของเอฟบีไอ รวมทั้ง ประสิทธิภาพในการว่าจ้างบุคลากรใหม่ และการรักษาบุคลากรเดิมไว้ในองค์กร ได้พัฒนาดีขึ้นมากแล้วเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ และยืนยันว่า เอฟบีไอมีความคืบหน้าอย่างสำคัญในการจัดการกับเอกสารด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ส่วนเอกสารด้านการต่อต้านข่าวกรองนั้นทางเอฟบีไอก็ได้ดำเนินการอย่างระมัดระวังโดยการจัดลำดับความสำคัญ และตรวจสอบเอกสารอย่างเป็นระบบแล้วเช่นกัน
รองผู้อำนวยการเอฟบีไอยังระบุว่า เอกสารจำนวนหนึ่งที่ถูกระบุในรายงานของกระทรวงยุติธรรมนั้น แท้จริงแล้วเป็นเอกสารปลอม พร้อมชี้ว่า การแปลและทบทวนเอกสารทุกชิ้นในองค์กร ถือเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรของเอฟบีไอโดยใช่เหตุ