(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Dollar exit for oil trade?
By F William Engdahl
08/10/2009
อนาคตของเงินดอลลาร์อเมริกันกำลังถูกเงาทะมึนทาบทับดำทึบยิ่งขึ้นอีก เมื่อมีรายงานข่าวว่าพวกรัฐอาหรับที่เป็นผู้ผลิตน้ำมัน และประเทศลูกค้ารายใหญ่อย่างเช่นจีนและญี่ปุ่น จะหันไปใช้สกุลเงินตราและตัวกลางอื่นๆ เพื่อชำระบัญชีซื้อขายเชื้อเพลิงปริมาณมหาศาลของพวกเขาในไม่ช้านี้
มีรายงานข่าวซึ่งดูน่าเชื่อถือทีเดียวว่า พวกชาติอาหรับที่เป็นผู้ผลิตน้ำมัน และประเทศผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกบางรายเป็นต้นว่าจีนและญี่ปุ่น กำลังวางแผนการในระยะยาวเพื่อที่จะยุติการกำหนดราคาซื้อขายน้ำมันของพวกเขาเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าหากข่าวนี้เป็นความจริงแล้ว มันก็จะเสมือนเป็นเสียงระฆังมรณะสำหรับเงินดอลลาร์อเมริกันในการดำรงฐานะเป็นสกุลเงินตราที่ใช้เป็นทุนสำรองของทั่วโลก และก็เป็นลางร้ายสำหรับสำหรับสหรัฐฯในการการดำรงฐานะความเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจระดับโลก
ตั้งแต่ที่วอชิงตันฉีกทิ้งสนธิสัญญาเบรตตัน วูดส์ (Bretton Woods treaty) ในเดือนสิงหาคม 1971 และเดินหน้าเข้าสู่ “ระบบทุนสำรองเงินดอลลาร์ที่เป็นกระดาษ” (dollar paper reserve system) ไม่ใช่เงินดอลลาร์ที่หนุนหลังด้วยทองคำอีกต่อไป สหรัฐฯในฐานะที่เป็นมหาอำนาจทางทหารผู้ทรงพลานุภาพที่สุดของโลก ก็ยังคงสามารถบงการให้โลกปฏิบัติตามเงื่อนไขทางการเงินของตน ชาติต่างๆ เป็นต้นว่าญี่ปุ่น และต่อมาก็คือจีน ต่างต้องพึ่งพาอาศัยสหรัฐฯเป็นตลาดส่งออก และก็จะต้องมีหน้าที่นำเอาเงินดอลลาร์ส่วนเกินซึ่งได้มาเพราะการได้เปรียบดุลการค้า ไปลงทุนในตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งก็เท่ากับกำลังให้การสนับสนุนทางการเงินแก่สงครามต่างๆ เป็นต้นว่า อิรัก และอัฟกานิสถาน ที่พวกเขาคัดค้าน ทั้งนี้พวกเขามองไม่เห็นว่าจะมีทางเลือกอย่างอื่นๆ
ทางด้านพวกประเทศอาหรับที่เป็นผู้ผลิตน้ำมัน เมื่อตกอยู่ใต้แรงบีบคั้นทางการทหารของสหรัฐฯ ก็ต้องยอมขายน้ำมันโดยคิดราคากันเป็นสกุลดอลลาร์อเมริกันเท่านั้น ซึ่งเท่ากับกลายเป็นไม้ค้ำยันคอยพยุงเงินดอลลาร์กันโดยตรง ในยามที่เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังอยู่ในภาวะเสื่อมทรุดอย่างร้ายแรง อย่างไรก็ดี สภาพการณ์ดังกล่าวเหล่านี้น่าจะกำลังไปถึงจุดสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว
ตามรายงานข่าวซึ่งรั่วไหลจากพวกรัฐอาหรับย่านอ่าวเปอร์เซียที่เป็นผู้ผลิตน้ำมัน ระบุว่าในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาได้มีการหารืออย่างลับๆ ต่อเนื่องกันหลายครั้ง ระหว่างพวกประเทศอาหรับที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ เป็นต้นว่าซาอุดีอาระเบีย (รวมทั้งมีรายงานว่ารัสเซียก็ได้เข้าร่วมด้วย) และพวกประเทศผู้บริโภคน้ำมันชั้นนำ ในจำนวนนี้มีทั้งจีนและญี่ปุ่น อันเป็น 2 ใน 3 ชาติผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกในเวลานี้
โครงการที่พวกเขาพิจารณาหารือกันก็คือ การแอบๆ ตระเตรียมพื้นฐานเพื่อยุติ “กฎเหล็ก” ที่จะต้องขายน้ำมันกันเป็นสกุลเงินดอลลาร์อเมริกันเท่านั้น อันเป็นสิ่งที่ทำกันตลอด 65 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังที่ราคาน้ำมันช็อกโลกด้วยการทะยานลิ่วไปถึง 400% ในปี 1973 ตอนนั้นสื่อมวลชนสหรัฐฯต่างประณามกล่าวโทษว่า “พวกชีคอาหรับผู้ละโมบ” คือตัวการที่ทำให้เกิดสภาพการณ์เช่นนั้นขึ้น และกระทรวงการคลังสหรัฐฯก็ได้เดินทางลับๆ ไปยังกรุงริยาด เพื่อแจ้งกับทางซาอุดีอาระเบียด้วยคำพูดที่โจ่งแจ้งขวานผ่าซากว่า ถ้าหากพวกเขายังต้องการกำลังทหารสหรัฐฯคอยช่วยเหลือคุ้มครองในเวลาที่อาจจะถูกอิสราเอลโจมตีแล้ว องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (Organization of Petroleum Exporting Countries หรือ OPEC) ก็จะต้องตกลงเห็นพ้องกันเป็นการภายในว่า จะต้องไม่ขายน้ำมันในสกุลเงินตราอื่นๆ นอกเหนือจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ [รายละเอียดอ่านได้จากหนังสือของผู้เขียน เรื่อง Mit der Olwaffe zur Weltmacht ( สำนักพิมพ์ Kopp Verlag).] ระบบ “ดอลลาร์จากน้ำมัน” (Petrodollar) ดังกล่าวนี้เอง ทำให้สหรัฐฯสามารถที่จะปล่อยให้ตนเองขาดดุลการค้าอย่างมหาศาล แต่เงินดอลลาร์ก็ยังคงเป็นสกุลเงินตราที่ใช้เป็นทุนสำรองของโลก และนี่ก็เป็นหัวใจของความสามารถของสหรัฐฯในการเข้าครอบงำและควบคุมตลาดการเงินโลก ทั้งนี้จวบจนกระทั่งมาถึงวิกฤตตราสารหนี้แปลงสภาพจากสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (subprime real estate securitization) ในเดือนสิงหาคม 2007
ตามรายงานข่าวระบุว่า บรรดาประเทศที่ปรึกษาหารือกันกำลังเล็งที่จะใช้ตะกร้าเงินตราหลายๆ สกุล ที่สามารถสะท้อนความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างผู้ผลิต-ผู้บริโภคได้ดี โดยที่จะหนุนหลังด้วยทองคำเพื่อให้เป็นเสมือนแกนกระดูกสันหลังอันมั่นคง ในตอนแรกๆ เลยมันจะไม่เป็นเงินตราสกุลใหม่เหมือนดังที่มีบางคนคาดเดาเอาไว้ แต่จะอยู่ในลักษณะเป็นการดำเนินการเพื่อมุ่งขจัดความเสี่ยงซึ่งเกิดจากการกำหนดราคาขายน้ำมันเป็นสกุลเงินดอลลาร์ที่กำลังอยู่ในภาวะผันผวนและมีแนวโน้มลดค่าลงเรื่อยๆ
อิหร่านก็ได้ประกาศเมื่อไม่นานมานี้ว่า ในอนาคตจะขายน้ำมันของตนโดยคิดราคาเป็นเงินสกุลยูโรไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามรายงานที่ออกมาหลายกระแส ตะกร้าเงินตราที่พวกผู้ผลิตและผู้บริโภคน้ำมันเหล่านี้คิดพิจารณากัน จะประกอบด้วยเงินเยนญี่ปุ่น, ยูโร, เงินหยวนจีน, และทองคำ ทั้งนี้มีรายงานว่าบราซิลก็จะเข้าร่วมด้วยโดยอยู่ในฐานะทั้งเป็นประเทศผู้ผลิตและประเทศผู้บริโภค
รายงานข่าวเกี่ยวกับแผนการลับๆ นี้ปรากฏเปิดเผยออกมาเป็นครั้งแรก โดย รอเบิร์ต ฟิสก์ (Robert Fisk) ผู้สื่อข่าวประจำตะวันออกกลางซึ่งได้รับการยกย่องนับถือ ของหนังสือพิมพ์ ดิ อินดีเพนเดนต์ (The Independent) ของอังกฤษ [ในรายงานข่าวเรื่อง The demise of the dollar, The Independent, Ocober 6, 2009] ทั้งนี้ฟิสก์อ้างว่าได้รับการยืนยันเรื่องแผนการดังกล่าวนี้ทั้งจากแหล่งข่าวที่เป็นชาวอาหรับหลายรายและแหล่งข่าวชาวจีนในฮ่องกง ตัวผมเอง (ผู้เขียน เอฟ วิลเลียม เองดาห์ล) ก็ได้รับการยืนยันจากแหล่งข่าวหลายรายในแถบอ่าวเปอร์เซียซึ่งเป็นบุคคลระดับที่อาวุโสมากและทราบเรื่องเป็นอย่างดี ว่ามีการพูดจาหารือเรื่องนี้กันจริงๆ
พวกประเทศผู้ผลิตน้ำมันต่างรู้สึกเต็มกลืนกันมานานปีแล้วในเรื่องที่ต้องกำหนดราคาน้ำมันของพวกตนเป็นสกุลดอลลาร์ หาไม่ก็จะต้องเผชิญการตอบโต้แก้เผ็ดจากสหรัฐฯ พวกเขากำลังต้องขาดทุนรายได้ไปเรื่อยๆ จากการที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินตราอื่นๆ และเมื่อเทียบกับทองคำ หลังจากที่สหรัฐฯประกาศ “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” โดยคณะรัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เมื่อเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 พวกประเทศอาหรับชั้นนำที่เป็นผู้ผลิตน้ำมัน ส่วนใหญ่แล้วมีความคิดเห็นเป็นการภายในว่า นโยบายที่สหรัฐฯกำลังดำเนินอยู่นั้นมุ่งจุดมุ่งหมายที่เป็นการก้าวร้าวล่วงละเมิดพวกตน การที่สหรัฐฯเข้าไปรุกรานและยึดครองอิรักในปี 2003 มีแต่จะเป็นการยืนยันเรื่องนี้ เฉกเช่นเดียวกับการที่สหรัฐฯข่มขู่คุกคามอิหร่านในเวลาต่อมา
ภายหลังรายงานข่าวแผนการลับๆ นี้รั่วไหลออกมาสู่สาธารณชน รัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องหลายๆ รายแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยการปฏิเสธเรื่องนี้อย่างกราดเกรี้ยว แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้มีการความเคลื่อนไหวตระเตรียมการในเรื่องนี้จริงๆ พวกเขาต่างตระหนักเป็นอันดีว่าสหรัฐฯซึ่งเสมือนเสือร้ายที่กำลังบาดเจ็บ ย่อมเป็นอันตรายมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ
และจากรายละเอียดของแผนการที่รั่วไหลถึงสื่อมวลชนทั่วโลก ไม่ว่าสิ่งที่ฟิสก์รายงานเอาไว้จะถูกต้องทุกสิ่งทุกอย่างหรือไม่ก็ตามที มันก็ย่อมทำให้เกิดความรู้สึกอยู่ดีว่า เงินดอลลาร์ในฐานะที่เป็นสกุลเงินตราสำรองอันเชื่อถือได้สำหรับการพาณิชย์ของโลก กำลังอยู่ในวิถีดำเนินไปสู่ความเสื่อมสลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
ยังมีอีกบางประเด็นที่ไม่ชัดเจน เป็นต้นว่า เยอรมนีและฝรั่งเศส 2 มหาอำนาจสำคัญที่สุดภายในสหภาพยุโรปจะตอบสนองต่อเรื่องนี้อย่างไร ถ้าหากพวกเขาตัดสินใจที่จะวางเดิมพันเข้าข้างพวกประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคน้ำมันแล้ว ก็จะเท่ากับพวกเขาเปิดประตูต้อนรับลู่ทางโอกาสใหม่ๆ ทางการค้าและการลงทุนจากพวกประเทศแถบยูเรเชีย แต่ถ้าพวกเขาไม่กล้าก้าวไปสู่จุดนั้นและตัดสินใจที่จะยังอยู่กับเงินปอนด์อังกฤษและเงินดอลลาร์อเมริกัน พวกเขาก็จะต้องจมดิ่งลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น พร้อมๆ กับที่เงินดอลลาร์ซึ่งเสมือนเรือไททานิก
ความทรุดโทรมของอิทธิพลเงินดอลลาร์อเมริกัน ยังจะตามมาด้วยการลดทอนเสื่อมทรามลงของอำนาจทางการเมืองของสหรัฐฯ ในฐานะที่เป็นอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและทางการเงินแต่ผู้เดียวของโลก เราทั้งหลายจึงกำลังเผชิญกับน่านน้ำที่ปั่นป่วนผันผวนอย่างยิ่ง และไม่น่าประหลาดใจอะไรที่ทองคำกำลังมีค่าพุ่งพรวดท่ามกลางความไม่แน่นอนเช่นนี้ โดยที่อยู่ในระดับสูงกว่า 1,050 ดอลลาร์ต่อออนซ์แล้ว จากที่เมื่อวันที่ 29 กันยายน ยังอยู่ที่ราวๆ 990 ดอลลาร์เท่านั้น
เอฟ วิลเลียม เองดาห์ล เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง A Century of War: Anglo-American Oil Politics and the New World Order และเรื่อง Seeds of Destruction: The Hidden Agenda of Genetic Manipulation (www.globalresearch.ca) หนังสือเล่มล่าสุดของเขาคือ Full Spectrum Dominance: Totalitarian Democracy in the New World Order (Third Millennium Press) สามารถติดต่อกับเขาได้โดยผ่านเว็บไซต์ของเขา www.engdahl.oilgeopolitics.net
Dollar exit for oil trade?
By F William Engdahl
08/10/2009
อนาคตของเงินดอลลาร์อเมริกันกำลังถูกเงาทะมึนทาบทับดำทึบยิ่งขึ้นอีก เมื่อมีรายงานข่าวว่าพวกรัฐอาหรับที่เป็นผู้ผลิตน้ำมัน และประเทศลูกค้ารายใหญ่อย่างเช่นจีนและญี่ปุ่น จะหันไปใช้สกุลเงินตราและตัวกลางอื่นๆ เพื่อชำระบัญชีซื้อขายเชื้อเพลิงปริมาณมหาศาลของพวกเขาในไม่ช้านี้
มีรายงานข่าวซึ่งดูน่าเชื่อถือทีเดียวว่า พวกชาติอาหรับที่เป็นผู้ผลิตน้ำมัน และประเทศผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกบางรายเป็นต้นว่าจีนและญี่ปุ่น กำลังวางแผนการในระยะยาวเพื่อที่จะยุติการกำหนดราคาซื้อขายน้ำมันของพวกเขาเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าหากข่าวนี้เป็นความจริงแล้ว มันก็จะเสมือนเป็นเสียงระฆังมรณะสำหรับเงินดอลลาร์อเมริกันในการดำรงฐานะเป็นสกุลเงินตราที่ใช้เป็นทุนสำรองของทั่วโลก และก็เป็นลางร้ายสำหรับสำหรับสหรัฐฯในการการดำรงฐานะความเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจระดับโลก
ตั้งแต่ที่วอชิงตันฉีกทิ้งสนธิสัญญาเบรตตัน วูดส์ (Bretton Woods treaty) ในเดือนสิงหาคม 1971 และเดินหน้าเข้าสู่ “ระบบทุนสำรองเงินดอลลาร์ที่เป็นกระดาษ” (dollar paper reserve system) ไม่ใช่เงินดอลลาร์ที่หนุนหลังด้วยทองคำอีกต่อไป สหรัฐฯในฐานะที่เป็นมหาอำนาจทางทหารผู้ทรงพลานุภาพที่สุดของโลก ก็ยังคงสามารถบงการให้โลกปฏิบัติตามเงื่อนไขทางการเงินของตน ชาติต่างๆ เป็นต้นว่าญี่ปุ่น และต่อมาก็คือจีน ต่างต้องพึ่งพาอาศัยสหรัฐฯเป็นตลาดส่งออก และก็จะต้องมีหน้าที่นำเอาเงินดอลลาร์ส่วนเกินซึ่งได้มาเพราะการได้เปรียบดุลการค้า ไปลงทุนในตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งก็เท่ากับกำลังให้การสนับสนุนทางการเงินแก่สงครามต่างๆ เป็นต้นว่า อิรัก และอัฟกานิสถาน ที่พวกเขาคัดค้าน ทั้งนี้พวกเขามองไม่เห็นว่าจะมีทางเลือกอย่างอื่นๆ
ทางด้านพวกประเทศอาหรับที่เป็นผู้ผลิตน้ำมัน เมื่อตกอยู่ใต้แรงบีบคั้นทางการทหารของสหรัฐฯ ก็ต้องยอมขายน้ำมันโดยคิดราคากันเป็นสกุลดอลลาร์อเมริกันเท่านั้น ซึ่งเท่ากับกลายเป็นไม้ค้ำยันคอยพยุงเงินดอลลาร์กันโดยตรง ในยามที่เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังอยู่ในภาวะเสื่อมทรุดอย่างร้ายแรง อย่างไรก็ดี สภาพการณ์ดังกล่าวเหล่านี้น่าจะกำลังไปถึงจุดสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว
ตามรายงานข่าวซึ่งรั่วไหลจากพวกรัฐอาหรับย่านอ่าวเปอร์เซียที่เป็นผู้ผลิตน้ำมัน ระบุว่าในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาได้มีการหารืออย่างลับๆ ต่อเนื่องกันหลายครั้ง ระหว่างพวกประเทศอาหรับที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ เป็นต้นว่าซาอุดีอาระเบีย (รวมทั้งมีรายงานว่ารัสเซียก็ได้เข้าร่วมด้วย) และพวกประเทศผู้บริโภคน้ำมันชั้นนำ ในจำนวนนี้มีทั้งจีนและญี่ปุ่น อันเป็น 2 ใน 3 ชาติผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกในเวลานี้
โครงการที่พวกเขาพิจารณาหารือกันก็คือ การแอบๆ ตระเตรียมพื้นฐานเพื่อยุติ “กฎเหล็ก” ที่จะต้องขายน้ำมันกันเป็นสกุลเงินดอลลาร์อเมริกันเท่านั้น อันเป็นสิ่งที่ทำกันตลอด 65 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังที่ราคาน้ำมันช็อกโลกด้วยการทะยานลิ่วไปถึง 400% ในปี 1973 ตอนนั้นสื่อมวลชนสหรัฐฯต่างประณามกล่าวโทษว่า “พวกชีคอาหรับผู้ละโมบ” คือตัวการที่ทำให้เกิดสภาพการณ์เช่นนั้นขึ้น และกระทรวงการคลังสหรัฐฯก็ได้เดินทางลับๆ ไปยังกรุงริยาด เพื่อแจ้งกับทางซาอุดีอาระเบียด้วยคำพูดที่โจ่งแจ้งขวานผ่าซากว่า ถ้าหากพวกเขายังต้องการกำลังทหารสหรัฐฯคอยช่วยเหลือคุ้มครองในเวลาที่อาจจะถูกอิสราเอลโจมตีแล้ว องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (Organization of Petroleum Exporting Countries หรือ OPEC) ก็จะต้องตกลงเห็นพ้องกันเป็นการภายในว่า จะต้องไม่ขายน้ำมันในสกุลเงินตราอื่นๆ นอกเหนือจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ [รายละเอียดอ่านได้จากหนังสือของผู้เขียน เรื่อง Mit der Olwaffe zur Weltmacht ( สำนักพิมพ์ Kopp Verlag).] ระบบ “ดอลลาร์จากน้ำมัน” (Petrodollar) ดังกล่าวนี้เอง ทำให้สหรัฐฯสามารถที่จะปล่อยให้ตนเองขาดดุลการค้าอย่างมหาศาล แต่เงินดอลลาร์ก็ยังคงเป็นสกุลเงินตราที่ใช้เป็นทุนสำรองของโลก และนี่ก็เป็นหัวใจของความสามารถของสหรัฐฯในการเข้าครอบงำและควบคุมตลาดการเงินโลก ทั้งนี้จวบจนกระทั่งมาถึงวิกฤตตราสารหนี้แปลงสภาพจากสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (subprime real estate securitization) ในเดือนสิงหาคม 2007
ตามรายงานข่าวระบุว่า บรรดาประเทศที่ปรึกษาหารือกันกำลังเล็งที่จะใช้ตะกร้าเงินตราหลายๆ สกุล ที่สามารถสะท้อนความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างผู้ผลิต-ผู้บริโภคได้ดี โดยที่จะหนุนหลังด้วยทองคำเพื่อให้เป็นเสมือนแกนกระดูกสันหลังอันมั่นคง ในตอนแรกๆ เลยมันจะไม่เป็นเงินตราสกุลใหม่เหมือนดังที่มีบางคนคาดเดาเอาไว้ แต่จะอยู่ในลักษณะเป็นการดำเนินการเพื่อมุ่งขจัดความเสี่ยงซึ่งเกิดจากการกำหนดราคาขายน้ำมันเป็นสกุลเงินดอลลาร์ที่กำลังอยู่ในภาวะผันผวนและมีแนวโน้มลดค่าลงเรื่อยๆ
อิหร่านก็ได้ประกาศเมื่อไม่นานมานี้ว่า ในอนาคตจะขายน้ำมันของตนโดยคิดราคาเป็นเงินสกุลยูโรไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามรายงานที่ออกมาหลายกระแส ตะกร้าเงินตราที่พวกผู้ผลิตและผู้บริโภคน้ำมันเหล่านี้คิดพิจารณากัน จะประกอบด้วยเงินเยนญี่ปุ่น, ยูโร, เงินหยวนจีน, และทองคำ ทั้งนี้มีรายงานว่าบราซิลก็จะเข้าร่วมด้วยโดยอยู่ในฐานะทั้งเป็นประเทศผู้ผลิตและประเทศผู้บริโภค
รายงานข่าวเกี่ยวกับแผนการลับๆ นี้ปรากฏเปิดเผยออกมาเป็นครั้งแรก โดย รอเบิร์ต ฟิสก์ (Robert Fisk) ผู้สื่อข่าวประจำตะวันออกกลางซึ่งได้รับการยกย่องนับถือ ของหนังสือพิมพ์ ดิ อินดีเพนเดนต์ (The Independent) ของอังกฤษ [ในรายงานข่าวเรื่อง The demise of the dollar, The Independent, Ocober 6, 2009] ทั้งนี้ฟิสก์อ้างว่าได้รับการยืนยันเรื่องแผนการดังกล่าวนี้ทั้งจากแหล่งข่าวที่เป็นชาวอาหรับหลายรายและแหล่งข่าวชาวจีนในฮ่องกง ตัวผมเอง (ผู้เขียน เอฟ วิลเลียม เองดาห์ล) ก็ได้รับการยืนยันจากแหล่งข่าวหลายรายในแถบอ่าวเปอร์เซียซึ่งเป็นบุคคลระดับที่อาวุโสมากและทราบเรื่องเป็นอย่างดี ว่ามีการพูดจาหารือเรื่องนี้กันจริงๆ
พวกประเทศผู้ผลิตน้ำมันต่างรู้สึกเต็มกลืนกันมานานปีแล้วในเรื่องที่ต้องกำหนดราคาน้ำมันของพวกตนเป็นสกุลดอลลาร์ หาไม่ก็จะต้องเผชิญการตอบโต้แก้เผ็ดจากสหรัฐฯ พวกเขากำลังต้องขาดทุนรายได้ไปเรื่อยๆ จากการที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินตราอื่นๆ และเมื่อเทียบกับทองคำ หลังจากที่สหรัฐฯประกาศ “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” โดยคณะรัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เมื่อเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 พวกประเทศอาหรับชั้นนำที่เป็นผู้ผลิตน้ำมัน ส่วนใหญ่แล้วมีความคิดเห็นเป็นการภายในว่า นโยบายที่สหรัฐฯกำลังดำเนินอยู่นั้นมุ่งจุดมุ่งหมายที่เป็นการก้าวร้าวล่วงละเมิดพวกตน การที่สหรัฐฯเข้าไปรุกรานและยึดครองอิรักในปี 2003 มีแต่จะเป็นการยืนยันเรื่องนี้ เฉกเช่นเดียวกับการที่สหรัฐฯข่มขู่คุกคามอิหร่านในเวลาต่อมา
ภายหลังรายงานข่าวแผนการลับๆ นี้รั่วไหลออกมาสู่สาธารณชน รัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องหลายๆ รายแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยการปฏิเสธเรื่องนี้อย่างกราดเกรี้ยว แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้มีการความเคลื่อนไหวตระเตรียมการในเรื่องนี้จริงๆ พวกเขาต่างตระหนักเป็นอันดีว่าสหรัฐฯซึ่งเสมือนเสือร้ายที่กำลังบาดเจ็บ ย่อมเป็นอันตรายมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ
และจากรายละเอียดของแผนการที่รั่วไหลถึงสื่อมวลชนทั่วโลก ไม่ว่าสิ่งที่ฟิสก์รายงานเอาไว้จะถูกต้องทุกสิ่งทุกอย่างหรือไม่ก็ตามที มันก็ย่อมทำให้เกิดความรู้สึกอยู่ดีว่า เงินดอลลาร์ในฐานะที่เป็นสกุลเงินตราสำรองอันเชื่อถือได้สำหรับการพาณิชย์ของโลก กำลังอยู่ในวิถีดำเนินไปสู่ความเสื่อมสลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
ยังมีอีกบางประเด็นที่ไม่ชัดเจน เป็นต้นว่า เยอรมนีและฝรั่งเศส 2 มหาอำนาจสำคัญที่สุดภายในสหภาพยุโรปจะตอบสนองต่อเรื่องนี้อย่างไร ถ้าหากพวกเขาตัดสินใจที่จะวางเดิมพันเข้าข้างพวกประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคน้ำมันแล้ว ก็จะเท่ากับพวกเขาเปิดประตูต้อนรับลู่ทางโอกาสใหม่ๆ ทางการค้าและการลงทุนจากพวกประเทศแถบยูเรเชีย แต่ถ้าพวกเขาไม่กล้าก้าวไปสู่จุดนั้นและตัดสินใจที่จะยังอยู่กับเงินปอนด์อังกฤษและเงินดอลลาร์อเมริกัน พวกเขาก็จะต้องจมดิ่งลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น พร้อมๆ กับที่เงินดอลลาร์ซึ่งเสมือนเรือไททานิก
ความทรุดโทรมของอิทธิพลเงินดอลลาร์อเมริกัน ยังจะตามมาด้วยการลดทอนเสื่อมทรามลงของอำนาจทางการเมืองของสหรัฐฯ ในฐานะที่เป็นอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและทางการเงินแต่ผู้เดียวของโลก เราทั้งหลายจึงกำลังเผชิญกับน่านน้ำที่ปั่นป่วนผันผวนอย่างยิ่ง และไม่น่าประหลาดใจอะไรที่ทองคำกำลังมีค่าพุ่งพรวดท่ามกลางความไม่แน่นอนเช่นนี้ โดยที่อยู่ในระดับสูงกว่า 1,050 ดอลลาร์ต่อออนซ์แล้ว จากที่เมื่อวันที่ 29 กันยายน ยังอยู่ที่ราวๆ 990 ดอลลาร์เท่านั้น
เอฟ วิลเลียม เองดาห์ล เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง A Century of War: Anglo-American Oil Politics and the New World Order และเรื่อง Seeds of Destruction: The Hidden Agenda of Genetic Manipulation (www.globalresearch.ca) หนังสือเล่มล่าสุดของเขาคือ Full Spectrum Dominance: Totalitarian Democracy in the New World Order (Third Millennium Press) สามารถติดต่อกับเขาได้โดยผ่านเว็บไซต์ของเขา www.engdahl.oilgeopolitics.net