ASTVผู้จัดการรายวัน - กองทุนส่งเสริมการท่องเที่ยวฯประเดิมไฟเขียวอนุมัติเงินสนับสนุน 7 โครงการ วงเงิน 46 ล้านบาท “ศศิธารา” เตรียมเร่งสร้างผลงานหวังเป็นสะพานของบกลางปี53 และต่อยอดถึงปี 54 ด้านสทท.ลุยชี้แจงเอกชน พร้อมตั้งคณะทำงาน เป็นพี่เลี้ยงช่วยเขียนโครงการ
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการฯว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติการใช้เงินจากกองทุนเพื่อสนับสนุนงานใน 7 โครงการ รวมวงเงิน กว่า 46 ล้านบาท จากทั้งหมดที่มีหน่วยงานสนใจยื่นเสนอขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนฯทั้งสิ้น 11 โครงการ รวมวงเงิน 132 ล้านบาท
ไฟเขียว 7 โครงการ กว่า 46 ลบ.
โดยใน 7 โครงการที่ได้รับการอนุมัติในครั้งนี้ แบ่งเป็น เห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินจากกองทุนได้ทันทีรวม 2 โครงการ ได้แก่ โครงการปลูกป่าชายเลน 1 แสนบาท และโครงการอบรมยุวอาสาสมัครนำชม 2 แสนบาท ส่วนอีก 5 โครงการ ที่ประชุมเห็นชอบและอนุมัติในหลักการ โดยมีเงื่อนไขให้แต่ละโครงการไปดำเนินการจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมมาเสนออีกครั้ง
ได้แก่ 1.โครงการพัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ประวัติศาสตร์และธรรมชาติ จังหวัดนครพนม ซึ่งอยู่ในเขตทหารกองทัพน้อยที่ 2 ค่ายสุรนารี มูลค่าโครงการกว่า 30 ล้านบาท โดยเสนอขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุน 10.8 ล้านบาท ซึ่งที่ประชุมให้เจ้าของโครงการไปประสานงานกับกองทัพน้อยฯเพื่อให้ทำบันทึกข้อตกลง(MOU) ร่วมกัน ให้กองทัพน้อยฯอนุญาตให้พื้นที่ดังกล่าวเมื่อพัฒนาเสร็จแล้วจะอนุญาตให้ประชาชนทั่วไป ได้เข้าไปใช้พื้นที่ ให้เป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวด้วย เพราะอยู่ใกล้กับบริเวณพื้นที่ก่อสร้างสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 3 ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นจุดขายใหม่ของไทย และ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนของททท.ในการโปรโมตท่องเที่ยวภาคอีสาน
2.โครงการถนนลาดยางเข้าแหล่งน้ำตกแม่กองปิง จ.ลำปาง วงเงิน 5.3 ล้านบาท โดยที่ประชุมให้ไปศึกษาเพิ่มในเรื่องของจำนวนนักท่องเที่ยว และ ความเหมาะสมที่จะใช้ถนนลาดยางแทนถนนลูกรัง ว่าต้องไม่ขัดหรือทำลายพื้นที่ทางธรรมชาติ 3. โครงการท่องเที่ยวไทยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน จ.พิษณุโลก วงเงิน 7.6 ล้านบาท ให้ศึกษาเพิ่มในเรื่องการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำและการท่องเที่ยวทางเรือ การสร้างแพจอดเรือ พร้อมกับตรวจสอบว่าสามารถทำได้แค่ไหน ต้องขออนุญาตเจ้าของพื้นที่หรือไม่อย่างไร เพราะหากเป็นแค่การพัฒนาพื้นที่ขายสินค้าของที่ระลึก กองทุนฯก็จะไม่ให้การสนับสนุน
4. โครงการละครประกอบแสง สี เสียง ฉลอง 100 ปี การท่องเที่ยวหัวหิน งบประมาณ 22 ล้าน โดยกองทุนจะให้เงินสนับสนุน 12 ล้านบาท ที่เหลือให้ไปหาพันธมิตรเพิ่มเติม โดยเฉพาะให้ของบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย และ5.โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสังคีตศิลป์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับดนตรีและอุปรากร 10 ล้านบาท ซึ่งที่สนับสนุนเพราะเห็นว่าจะช่วยกระตุ้นนักท่องเที่ยวตลาดไฮเอนด์ได้เพิ่มขึ้น
ปัจจุบันกองทุนฯมีเงินที่จะใช้ทั้งสิ้น 340 ล้านบาท ตลอดปีงบประมาณ 2553 ซึ่งเป็นเงินที่ค้างจากปีงบประมาณ 2552 โดยปี 2553 ที่กองทุนฯไม่ได้รับงบจากรัฐบาลเพราะในปีที่ผ่านมาไม่มีผลงานเด่นชัด ซึ่งนับจากนี้ไป ผลงานที่กองทุนฯจะให้การสนับสนุน จะเป็นแรงให้ได้รับจัดสรรงบประมาณต่อในปี 2554 ขณะเดียวกัน
หากโครงการที่กองทุนฯให้การสนับสนุนเกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้เป็นรูปธรรม เชื่อว่าหากมีผู้สนใจขอรับเงินจากกองทุนมากก็อาจเสนอเรื่องขอรัฐบาลขอรับงบกลางประจำปีงบประมาณ 2553 เข้ามาเพิ่มเติมได้
จุดประสงค์ของกองทุนฯนี้เพื่อกู้วิกฤตท่องเที่ยวไทยและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม รวมถึงกิจกรรมที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยจะเฉลี่ยการช่วยเหลือให้แก่ผู้ต้องการให้ครอบคลุมมากที่สุด แต่จะเน้นโครงการในรูปแบบแมทชิ่งฟันด์ คือมีการช่วยเหลือจากหลายๆองค์กรรวมกัน ซึ่งผู้มีคุณสมบัติขอรับเงินจากกองทุนฯได้จะต้องเป็นองค์กร หรือสมาคม เท่านั้น หากเป็นบริษัทเอกชน จะต้องเข้าโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่กู้ผ่านธนาคารเอสเอ็มอี และ ธนาคารออมสิน
สทท.ชี้เอกชนอีกมากยังไม่รู้จักกองทุนฯ
ด้านนายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) กล่าวว่า สทท.เตรียมตั้งคณะทำงาน เพื่อมาช่วยเหลือสมาคมที่เป็นสมาชิก หรือองค์กรต่างๆ ที่ต้องการขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯดังกล่าวด้วย โดยหน้าที่ของคณะทำงานจะคอยแนะนำ และช่วยเรื่องการเขียนโครงการให้ได้มีโอกาสได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุน เพราะที่ผ่านมาปัญหาจะเกิดจากเขียนโครงการไม่ชัดเจนทำให้พลาดโอกาสได้รับเงินจากกองทุนฯ
อย่างไรก็ตามในการที่ สทท.จัดประชุมสมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวทั่วประเทศ พบว่า ภาคเอกชนและสมาคมจำนวนมากที่ยังไม่ทราบถึงโครงการความช่วยเหลือจากกองทุนฯดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดการซักถามจำนวนมาก นอกจากนี้ตัวแทนสมาคมท่องเที่ยวจากทั่วประเทศหลายรายยังตั้งข้อสังเกตุว่าภาครัฐยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวแต่ละจังหวัดเท่าที่ควร และยังไม่มีการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย
โดยนายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กองทุนฯ กล่าวว่า ต้องการให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปรับโครงสร้างการทำงาน เน้นเป็นตัวเชื่อมโยงหน่วยงานทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องกับโครงการท่องเที่ยว ให้ทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อประโยชน์ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และควรจัดเวทีสัมมนาครั้งใหญ่พูดคุยถึงปัญหาอุปสรรคของภาคเอกชน เพื่อให้กระทรวงฯได้ใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขต่อไป
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการฯว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติการใช้เงินจากกองทุนเพื่อสนับสนุนงานใน 7 โครงการ รวมวงเงิน กว่า 46 ล้านบาท จากทั้งหมดที่มีหน่วยงานสนใจยื่นเสนอขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนฯทั้งสิ้น 11 โครงการ รวมวงเงิน 132 ล้านบาท
ไฟเขียว 7 โครงการ กว่า 46 ลบ.
โดยใน 7 โครงการที่ได้รับการอนุมัติในครั้งนี้ แบ่งเป็น เห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินจากกองทุนได้ทันทีรวม 2 โครงการ ได้แก่ โครงการปลูกป่าชายเลน 1 แสนบาท และโครงการอบรมยุวอาสาสมัครนำชม 2 แสนบาท ส่วนอีก 5 โครงการ ที่ประชุมเห็นชอบและอนุมัติในหลักการ โดยมีเงื่อนไขให้แต่ละโครงการไปดำเนินการจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมมาเสนออีกครั้ง
ได้แก่ 1.โครงการพัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ประวัติศาสตร์และธรรมชาติ จังหวัดนครพนม ซึ่งอยู่ในเขตทหารกองทัพน้อยที่ 2 ค่ายสุรนารี มูลค่าโครงการกว่า 30 ล้านบาท โดยเสนอขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุน 10.8 ล้านบาท ซึ่งที่ประชุมให้เจ้าของโครงการไปประสานงานกับกองทัพน้อยฯเพื่อให้ทำบันทึกข้อตกลง(MOU) ร่วมกัน ให้กองทัพน้อยฯอนุญาตให้พื้นที่ดังกล่าวเมื่อพัฒนาเสร็จแล้วจะอนุญาตให้ประชาชนทั่วไป ได้เข้าไปใช้พื้นที่ ให้เป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวด้วย เพราะอยู่ใกล้กับบริเวณพื้นที่ก่อสร้างสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 3 ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นจุดขายใหม่ของไทย และ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนของททท.ในการโปรโมตท่องเที่ยวภาคอีสาน
2.โครงการถนนลาดยางเข้าแหล่งน้ำตกแม่กองปิง จ.ลำปาง วงเงิน 5.3 ล้านบาท โดยที่ประชุมให้ไปศึกษาเพิ่มในเรื่องของจำนวนนักท่องเที่ยว และ ความเหมาะสมที่จะใช้ถนนลาดยางแทนถนนลูกรัง ว่าต้องไม่ขัดหรือทำลายพื้นที่ทางธรรมชาติ 3. โครงการท่องเที่ยวไทยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน จ.พิษณุโลก วงเงิน 7.6 ล้านบาท ให้ศึกษาเพิ่มในเรื่องการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำและการท่องเที่ยวทางเรือ การสร้างแพจอดเรือ พร้อมกับตรวจสอบว่าสามารถทำได้แค่ไหน ต้องขออนุญาตเจ้าของพื้นที่หรือไม่อย่างไร เพราะหากเป็นแค่การพัฒนาพื้นที่ขายสินค้าของที่ระลึก กองทุนฯก็จะไม่ให้การสนับสนุน
4. โครงการละครประกอบแสง สี เสียง ฉลอง 100 ปี การท่องเที่ยวหัวหิน งบประมาณ 22 ล้าน โดยกองทุนจะให้เงินสนับสนุน 12 ล้านบาท ที่เหลือให้ไปหาพันธมิตรเพิ่มเติม โดยเฉพาะให้ของบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย และ5.โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสังคีตศิลป์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับดนตรีและอุปรากร 10 ล้านบาท ซึ่งที่สนับสนุนเพราะเห็นว่าจะช่วยกระตุ้นนักท่องเที่ยวตลาดไฮเอนด์ได้เพิ่มขึ้น
ปัจจุบันกองทุนฯมีเงินที่จะใช้ทั้งสิ้น 340 ล้านบาท ตลอดปีงบประมาณ 2553 ซึ่งเป็นเงินที่ค้างจากปีงบประมาณ 2552 โดยปี 2553 ที่กองทุนฯไม่ได้รับงบจากรัฐบาลเพราะในปีที่ผ่านมาไม่มีผลงานเด่นชัด ซึ่งนับจากนี้ไป ผลงานที่กองทุนฯจะให้การสนับสนุน จะเป็นแรงให้ได้รับจัดสรรงบประมาณต่อในปี 2554 ขณะเดียวกัน
หากโครงการที่กองทุนฯให้การสนับสนุนเกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้เป็นรูปธรรม เชื่อว่าหากมีผู้สนใจขอรับเงินจากกองทุนมากก็อาจเสนอเรื่องขอรัฐบาลขอรับงบกลางประจำปีงบประมาณ 2553 เข้ามาเพิ่มเติมได้
จุดประสงค์ของกองทุนฯนี้เพื่อกู้วิกฤตท่องเที่ยวไทยและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม รวมถึงกิจกรรมที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยจะเฉลี่ยการช่วยเหลือให้แก่ผู้ต้องการให้ครอบคลุมมากที่สุด แต่จะเน้นโครงการในรูปแบบแมทชิ่งฟันด์ คือมีการช่วยเหลือจากหลายๆองค์กรรวมกัน ซึ่งผู้มีคุณสมบัติขอรับเงินจากกองทุนฯได้จะต้องเป็นองค์กร หรือสมาคม เท่านั้น หากเป็นบริษัทเอกชน จะต้องเข้าโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่กู้ผ่านธนาคารเอสเอ็มอี และ ธนาคารออมสิน
สทท.ชี้เอกชนอีกมากยังไม่รู้จักกองทุนฯ
ด้านนายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) กล่าวว่า สทท.เตรียมตั้งคณะทำงาน เพื่อมาช่วยเหลือสมาคมที่เป็นสมาชิก หรือองค์กรต่างๆ ที่ต้องการขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯดังกล่าวด้วย โดยหน้าที่ของคณะทำงานจะคอยแนะนำ และช่วยเรื่องการเขียนโครงการให้ได้มีโอกาสได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุน เพราะที่ผ่านมาปัญหาจะเกิดจากเขียนโครงการไม่ชัดเจนทำให้พลาดโอกาสได้รับเงินจากกองทุนฯ
อย่างไรก็ตามในการที่ สทท.จัดประชุมสมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวทั่วประเทศ พบว่า ภาคเอกชนและสมาคมจำนวนมากที่ยังไม่ทราบถึงโครงการความช่วยเหลือจากกองทุนฯดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดการซักถามจำนวนมาก นอกจากนี้ตัวแทนสมาคมท่องเที่ยวจากทั่วประเทศหลายรายยังตั้งข้อสังเกตุว่าภาครัฐยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวแต่ละจังหวัดเท่าที่ควร และยังไม่มีการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย
โดยนายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กองทุนฯ กล่าวว่า ต้องการให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปรับโครงสร้างการทำงาน เน้นเป็นตัวเชื่อมโยงหน่วยงานทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องกับโครงการท่องเที่ยว ให้ทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อประโยชน์ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และควรจัดเวทีสัมมนาครั้งใหญ่พูดคุยถึงปัญหาอุปสรรคของภาคเอกชน เพื่อให้กระทรวงฯได้ใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขต่อไป