ASTVผู้จัดการรายวัน- ธปท.เผยทิศทางเงินนอกยังไหลเข้า ขณะที่ FDI ลดลงเหลือเฉลี่ยเดือนละ 400-500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ระบุระยะสั้นเน้นดูแลความผันผวนค่าเงิน แต่ในระยะยาวเล็งผ่อนคลายกฎ สกัดฟองสบู่ในอนาคตจากการปล่อยกู้เงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในไทยอย่างเสรี พร้อมแจงกรณีแทรกแซงเงินบาทจนยอด Swap พุ่ง เหตุมีเงินไหลเข้าจนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลและช่วยดูแลความผันผวนค่าเงินไม่ให้เป็นอุปสรรคแก่ภาคธุรกิจ
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.มองว่าแนวโน้มกระแสเงินทุนจากต่างประเทศจะไหลเข้าประเทศไทยมากขึ้นจากปัจจัยดึงดูดทั้งสภาพคล่องต่างประเทศที่มีอยู่ เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว พร้อมทั้งศักยภาพเศรษฐกิจเอเชียที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรมหลัก(G3) รวมทั้งหากเศรษฐกิจเอเชียฟื้นตัวเร็วขึ้นและอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น จึงมีบางฝ่ายประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยเอเชียปรับสูงขึ้นเร็ว เพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อ ก็จะเป็นประเด็นใหม่เข้ามา
ซึ่งหากเป็นเช่นนี้นักลงทุนต่างชาติจะมีความต้องการนำเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียมากขึ้นทั้งนี้ เงินทุนไหลเข้าไทยเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีนี้ จากช่วง 2 ไตรมาสก่อนหน้านี้ที่เงินทุนไหลออกจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยในช่วงเดือนเม.ย.-ส.ค.ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ในช่วงเดือนก.ย.และเดือนต.ค. 2 เดือนสุดท้ายที่ผ่านมากลับมีเงินทุนไหลเข้า 960 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเฉพาะเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ตลาดหุ้นเท่านั้น และปรากฎการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นทั้งภูมิภาคและไทยไม่ได้มีเงินทุนไหลเข้ามากที่สุดในภูมิภาค
ขณะที่เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(FDI) ยังคงเป็นบวกอยู่ แต่ก็ลดลงพอสมควร โดยก่อนหน้านี้มีเม็ดเงินลงทุนลักษณะนี้เฉลี่ยเดือนละ 600 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ปัจจุบันเหลือเพียงเฉลี่ยเหลือเพียง 400-500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นผลจากการลงทุนของนักลงทุนทั่วโลกชะงัก ทำให้ปรับราคาหุ้นและแรงกดดันเงินบาทแทน
สำหรับแนวทางการบริหารเงินทุนไหลเข้าออกของธปท.ในระยะสั้นจะดูแลไม่ให้เงินบาทมีความผันผวนและอยู่ในขอบเขตที่ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวได้ ส่วนในระยะยาวจะมีการปรับปรุงกฎระเบียบให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่ธปท
.จะทำได้มี 3-4 ประเด็น ได้แก่ 1. ผ่อนคลายกฎเกณฑ์การบริหารเงินตราต่างประเทศให้ภาคธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้นและดูแลเงินทุนไหลเข้าให้มีประสิทธิภาพ เช่น การนำเงินเข้าออกระหว่างประเทศ การถือครองเงินดอลลาร์นานขึ้นและขยายวงเงินสูงขึ้นอีกตามความจำเป็นเศรษฐกิจ แต่ไม่ใช่เก็งกำไรค่าเงิน ถือเป็นการลดต้นทุนและการบริหารความเสี่ยงของภาคธุรกิจเอกชนได้ดี 2. พัฒนาตลาดเงินต่างประเทศ โดยการลดต้นทุนประกันความเสี่ยง เพื่อให้ภาคธุรกิจหันมาใช้เครื่องมือนี้มากขึ้นในราคาที่ไม่แพง 3.เปิดเสรีให้มีเงินทุนไหลออกมากขึ้น เพราะขณะนี้ฐานะต่างประเทศดีขึ้น ซึ่งธปท.จะมีการผ่อนคลายกฎระเบียบตาม
ความจำเป็นเศรษฐกิจ เพื่อช่วยสร้างความสมดุลให้แก่ระบบ ซึ่งที่ผ่านมาคนไทยนิยมไปลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศจำนวนมากและมีการทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนด้วย และ4.ธปท.ดูแลระบบสถาบันการเงินให้มีการบริหารความเสี่ยงที่ดี เพื่อ
รองรับเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามา ประกอบกับในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้จะมีการขอสินเชื่อมากขึ้น แม้ขณะนี้ยอดปล่อยสินเชื่อมีน้อยก็ตาม แต่แนวโน้มจะดีขึ้น จึงจำเป็นต้องดูแลสถาบันการเงินให้ดีและลดปัญหาปล่อยกู้จนเกิดปัญหาฟองสบู่ โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์
"ขณะนี้ธปท.ยังไม่เห็นการเก็งกำไรค่าเงินบาททั้งแง่ผู้นำเข้าและผู้ส่งออก รวมถึงแบงก์พาณิชย์ แม้บางช่วงจะมีการปรับฐานะเงินตราต่างประเทศบ้าง ซึ่งอาจมีผลต่อค่าเงินบาทในตลาดการเงินด้วย แต่แบงก์ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมในการ
จัดการสินทรัพย์และความเสี่ยงที่เขามีต่อค่าเงินภายใต้กฎเกณฑ์ที่เรามีอยู่ ฉะนั้น ในระยะสั้นเราจะเน้นดูแลความเป็นผันผวนเป็นหลัก และเชื่อว่ามาตรการหรือเครื่องมืออื่นๆ ในขณะนี้เชื่อว่าเพียงพอในการดูแลความผันผวนของค่าเงินแล้ว"
บาทนิ่งจากปัจจัยดอลลาร์แข็งค่า
รองผู้ว่าการเสถียรภาพการเงิน ธปท.กล่าวว่า เคลื่อนไหวของค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีแรงกดดันต่อเงินบาทในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ปัจจัยที่มีผลต่อเงินบาท คือ เงินทุนไหลเข้ามา และเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงด้วย ซึ่งหากทั้ง 3 ปัจจัยนี้เกิดขึ้นพร้อมกันก็จะกดดันเงินบาทมากเป็นพิเศษ แต่ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาค่อนข้างนิ่ง เพราะค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ทำให้แรงกดดันเงินบาทแข็งค่าน้อยลง ซึ่งสกุลเงินในภูมิภาค รวมถึงไทยอยู่ในทิศทางเดียวกันและเงินบาทยังคงเกาะกลุ่มภูมิภาคอยู่ ซึ่งขณะนี้เงินบาทแข็งค่าอยู่ที่ระดับ 4.5% ในช่วง 9-10 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งแข็งค่าอยู่ในอันดับ 4 ของประเทศภูมิภาค ขณะที่ตัววัดความผ่อนผวนค่อนข้างต่ำเป็นระดับที่ธปท.พอใจ
ด้านนักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวเงินบาทในช่วงเช้าเปิดตลาดที่ระดับ 33.45-33.47 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก่อนที่จะปิดตลาดที่ระดับ 33.43-33.44 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปตามทิศทาง
เดียวกับค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่ค่อนข้างทรงตัวและยังไม่มีปัจจัยหนุนชัดเจน สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่น่าจับตาเป็นการประชุมของธนาคารกลางของนิวซีแลนด์ เพื่อกำหนดทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย และจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารของยุโรปได้
แจงเหตุแทรกบาทอ่วมช่วยธุรกิจ
ด้านนายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.กล่าวถึงกรณีที่ธปท.เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทในช่วงที่เงินบาทแข็ง ทำให้ยอดคงค้างสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า(Swap) สูงขึ้นถึง 15.1
พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาท 5.06 แสนล้านบาท(33.50 บาทต่อเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดณ วันที่ 16 ต.ค.ที่
ผ่านมาว่า ธปท.ยอมรับว่ายอดคงค้าง Swap ปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับ 3-4 พันล้านเหรียญเท่านั้น แต่การดำเนินการดังกล่าวเกิดจากเงินทุนไหลเข้าเห็นได้จากยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่เดือนม.ค.-ส.ค.ของปีนี้อยู่ที่ 14.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้เกิดจากความจำเป็นที่ธปท.เข้าไปดูแลความผันผวนของค่าเงินบาทไม่ให้มีจนเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวภาคเอกชน และบางช่วงการทำ Swap เป็นประโยชน์ให้แก่เศรษฐกิจในแง่การเพิ่มสภาพคล่องเงินดอลลาร์สหรัฐเข้าไปในระบบการเงิน เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนที่ต้องการใช้เงินดอลลาร์ ซึ่งบางช่วงก่อนหน้านี้ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ในตลาดมีการขาดแคลนเงินดอลลาร์ ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งได้ใช้เครื่องมือในลักษณะเดียวกันอัดฉีดเงินดอลลาร์เข้าสู่ระบบ
อย่างไรก็ตาม ธปท.มีการใช้เครื่องมือทางการเงินผ่านสัญญา Swap ตามปกติ เช่นเดียวกับเครื่องมือพันธบัตรธปท.และธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดูแลสภาพคล่องที่ในระบบการเงินมีอยู่ 2.9 ล้านล้านบาท โดยจากข้อมูล
ณ วันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา ธปท.ใช้เครื่องมือพันธบัตรธปท.มากที่สุด คือ 1.5-1.6 ล้านล้านบาท รองลงมาเป็นธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร 9 แสนล้านบาท และการใช้เครื่องมือ Swap ประมาณ 5 แสนล้านบาท ซึ่งตัวเลข Swap มีขึ้นๆ ลงๆ ตามความเหมาะสม แต่ธปท.จะดูแลให้สอดคล้องสถานการณ์และความจำเป็น ซึ่งคาดว่าในอีก 2-3 เดือนยอดคงค้าง Swap อาจลลง
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.มองว่าแนวโน้มกระแสเงินทุนจากต่างประเทศจะไหลเข้าประเทศไทยมากขึ้นจากปัจจัยดึงดูดทั้งสภาพคล่องต่างประเทศที่มีอยู่ เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว พร้อมทั้งศักยภาพเศรษฐกิจเอเชียที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรมหลัก(G3) รวมทั้งหากเศรษฐกิจเอเชียฟื้นตัวเร็วขึ้นและอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น จึงมีบางฝ่ายประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยเอเชียปรับสูงขึ้นเร็ว เพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อ ก็จะเป็นประเด็นใหม่เข้ามา
ซึ่งหากเป็นเช่นนี้นักลงทุนต่างชาติจะมีความต้องการนำเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียมากขึ้นทั้งนี้ เงินทุนไหลเข้าไทยเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีนี้ จากช่วง 2 ไตรมาสก่อนหน้านี้ที่เงินทุนไหลออกจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยในช่วงเดือนเม.ย.-ส.ค.ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ในช่วงเดือนก.ย.และเดือนต.ค. 2 เดือนสุดท้ายที่ผ่านมากลับมีเงินทุนไหลเข้า 960 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเฉพาะเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ตลาดหุ้นเท่านั้น และปรากฎการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นทั้งภูมิภาคและไทยไม่ได้มีเงินทุนไหลเข้ามากที่สุดในภูมิภาค
ขณะที่เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(FDI) ยังคงเป็นบวกอยู่ แต่ก็ลดลงพอสมควร โดยก่อนหน้านี้มีเม็ดเงินลงทุนลักษณะนี้เฉลี่ยเดือนละ 600 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ปัจจุบันเหลือเพียงเฉลี่ยเหลือเพียง 400-500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นผลจากการลงทุนของนักลงทุนทั่วโลกชะงัก ทำให้ปรับราคาหุ้นและแรงกดดันเงินบาทแทน
สำหรับแนวทางการบริหารเงินทุนไหลเข้าออกของธปท.ในระยะสั้นจะดูแลไม่ให้เงินบาทมีความผันผวนและอยู่ในขอบเขตที่ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวได้ ส่วนในระยะยาวจะมีการปรับปรุงกฎระเบียบให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่ธปท
.จะทำได้มี 3-4 ประเด็น ได้แก่ 1. ผ่อนคลายกฎเกณฑ์การบริหารเงินตราต่างประเทศให้ภาคธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้นและดูแลเงินทุนไหลเข้าให้มีประสิทธิภาพ เช่น การนำเงินเข้าออกระหว่างประเทศ การถือครองเงินดอลลาร์นานขึ้นและขยายวงเงินสูงขึ้นอีกตามความจำเป็นเศรษฐกิจ แต่ไม่ใช่เก็งกำไรค่าเงิน ถือเป็นการลดต้นทุนและการบริหารความเสี่ยงของภาคธุรกิจเอกชนได้ดี 2. พัฒนาตลาดเงินต่างประเทศ โดยการลดต้นทุนประกันความเสี่ยง เพื่อให้ภาคธุรกิจหันมาใช้เครื่องมือนี้มากขึ้นในราคาที่ไม่แพง 3.เปิดเสรีให้มีเงินทุนไหลออกมากขึ้น เพราะขณะนี้ฐานะต่างประเทศดีขึ้น ซึ่งธปท.จะมีการผ่อนคลายกฎระเบียบตาม
ความจำเป็นเศรษฐกิจ เพื่อช่วยสร้างความสมดุลให้แก่ระบบ ซึ่งที่ผ่านมาคนไทยนิยมไปลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศจำนวนมากและมีการทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนด้วย และ4.ธปท.ดูแลระบบสถาบันการเงินให้มีการบริหารความเสี่ยงที่ดี เพื่อ
รองรับเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามา ประกอบกับในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้จะมีการขอสินเชื่อมากขึ้น แม้ขณะนี้ยอดปล่อยสินเชื่อมีน้อยก็ตาม แต่แนวโน้มจะดีขึ้น จึงจำเป็นต้องดูแลสถาบันการเงินให้ดีและลดปัญหาปล่อยกู้จนเกิดปัญหาฟองสบู่ โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์
"ขณะนี้ธปท.ยังไม่เห็นการเก็งกำไรค่าเงินบาททั้งแง่ผู้นำเข้าและผู้ส่งออก รวมถึงแบงก์พาณิชย์ แม้บางช่วงจะมีการปรับฐานะเงินตราต่างประเทศบ้าง ซึ่งอาจมีผลต่อค่าเงินบาทในตลาดการเงินด้วย แต่แบงก์ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมในการ
จัดการสินทรัพย์และความเสี่ยงที่เขามีต่อค่าเงินภายใต้กฎเกณฑ์ที่เรามีอยู่ ฉะนั้น ในระยะสั้นเราจะเน้นดูแลความเป็นผันผวนเป็นหลัก และเชื่อว่ามาตรการหรือเครื่องมืออื่นๆ ในขณะนี้เชื่อว่าเพียงพอในการดูแลความผันผวนของค่าเงินแล้ว"
บาทนิ่งจากปัจจัยดอลลาร์แข็งค่า
รองผู้ว่าการเสถียรภาพการเงิน ธปท.กล่าวว่า เคลื่อนไหวของค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีแรงกดดันต่อเงินบาทในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ปัจจัยที่มีผลต่อเงินบาท คือ เงินทุนไหลเข้ามา และเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงด้วย ซึ่งหากทั้ง 3 ปัจจัยนี้เกิดขึ้นพร้อมกันก็จะกดดันเงินบาทมากเป็นพิเศษ แต่ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาค่อนข้างนิ่ง เพราะค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ทำให้แรงกดดันเงินบาทแข็งค่าน้อยลง ซึ่งสกุลเงินในภูมิภาค รวมถึงไทยอยู่ในทิศทางเดียวกันและเงินบาทยังคงเกาะกลุ่มภูมิภาคอยู่ ซึ่งขณะนี้เงินบาทแข็งค่าอยู่ที่ระดับ 4.5% ในช่วง 9-10 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งแข็งค่าอยู่ในอันดับ 4 ของประเทศภูมิภาค ขณะที่ตัววัดความผ่อนผวนค่อนข้างต่ำเป็นระดับที่ธปท.พอใจ
ด้านนักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวเงินบาทในช่วงเช้าเปิดตลาดที่ระดับ 33.45-33.47 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก่อนที่จะปิดตลาดที่ระดับ 33.43-33.44 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปตามทิศทาง
เดียวกับค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่ค่อนข้างทรงตัวและยังไม่มีปัจจัยหนุนชัดเจน สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่น่าจับตาเป็นการประชุมของธนาคารกลางของนิวซีแลนด์ เพื่อกำหนดทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย และจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารของยุโรปได้
แจงเหตุแทรกบาทอ่วมช่วยธุรกิจ
ด้านนายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.กล่าวถึงกรณีที่ธปท.เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทในช่วงที่เงินบาทแข็ง ทำให้ยอดคงค้างสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า(Swap) สูงขึ้นถึง 15.1
พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาท 5.06 แสนล้านบาท(33.50 บาทต่อเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดณ วันที่ 16 ต.ค.ที่
ผ่านมาว่า ธปท.ยอมรับว่ายอดคงค้าง Swap ปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับ 3-4 พันล้านเหรียญเท่านั้น แต่การดำเนินการดังกล่าวเกิดจากเงินทุนไหลเข้าเห็นได้จากยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่เดือนม.ค.-ส.ค.ของปีนี้อยู่ที่ 14.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้เกิดจากความจำเป็นที่ธปท.เข้าไปดูแลความผันผวนของค่าเงินบาทไม่ให้มีจนเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวภาคเอกชน และบางช่วงการทำ Swap เป็นประโยชน์ให้แก่เศรษฐกิจในแง่การเพิ่มสภาพคล่องเงินดอลลาร์สหรัฐเข้าไปในระบบการเงิน เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนที่ต้องการใช้เงินดอลลาร์ ซึ่งบางช่วงก่อนหน้านี้ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ในตลาดมีการขาดแคลนเงินดอลลาร์ ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งได้ใช้เครื่องมือในลักษณะเดียวกันอัดฉีดเงินดอลลาร์เข้าสู่ระบบ
อย่างไรก็ตาม ธปท.มีการใช้เครื่องมือทางการเงินผ่านสัญญา Swap ตามปกติ เช่นเดียวกับเครื่องมือพันธบัตรธปท.และธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดูแลสภาพคล่องที่ในระบบการเงินมีอยู่ 2.9 ล้านล้านบาท โดยจากข้อมูล
ณ วันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา ธปท.ใช้เครื่องมือพันธบัตรธปท.มากที่สุด คือ 1.5-1.6 ล้านล้านบาท รองลงมาเป็นธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร 9 แสนล้านบาท และการใช้เครื่องมือ Swap ประมาณ 5 แสนล้านบาท ซึ่งตัวเลข Swap มีขึ้นๆ ลงๆ ตามความเหมาะสม แต่ธปท.จะดูแลให้สอดคล้องสถานการณ์และความจำเป็น ซึ่งคาดว่าในอีก 2-3 เดือนยอดคงค้าง Swap อาจลลง