แบงก์ชาติเหนื่อยใจบาทแข็งต่อเนื่อง แฉพ่อค้าทองอาศัยจังหวะราคาทองคำพุ่ง ส่งออกไปขายเมืองนอก นำดอลลาร์มาแลกกดดันค่าเงิน ประกอบกับเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นต่อเนื่อง ล่าสุดยอดตั้งแต่ต้นปีสุทธิ 6 หมื่นล้าน ยันภาพรวมเงินบาทเกาะกลุ่มเพื่อนบ้านแข็งค่าแค่ 4% ล่าสุด 33.30 บาทต่อดอลลาร์
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เงินบาทไทยแข็งค่ากว่าปัจจัยพื้นฐาน เนื่องจากราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นล่าสุดทำลายสถิติใหม่ที่ระดับ 1,051 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้มีการเทขายทองออกมามากและผู้ค้าทองคำมีการส่งออกทองออกไปยังต่างประเทศ และเมื่อได้เป็นเงินดอลลาร์มานำมาแลกเงินบาท จึงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ยังผลจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด เงินทุนไหลกลับไทยจากกองทุนที่ไปลงทุนในออสเตรเลียครบกำหนด ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าจากแนวโน้มที่ตลาดประเมินกลับทิศว่าอาจจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย รวมถึงเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้น
“จริงๆ เงินบาทแข็งค่าได้ ถ้าบาทค่อยๆ แข็งมันยังโอเค แต่ขณะนี้บาทมีการเคลื่อนไหวสูงเร็ว แบงก์ชาติจึงพยายามดูแลให้ค่าเงินเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานไม่แข็งกว่าประเทศอื่นๆ โดยนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเงินบาทแข็งค่า 4% เทียบกับค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งที่ระดับ 26%”นางสุชาดากล่าว
ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนต.ค.ที่ผ่านมามีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาในไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นมาก โดยนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมาไหลเข้าสุทธิ 6 หมื่นล้านบาท แต่ขนาดเข้ามาลงทุนยังเล็กอยู่เมื่อเทียบกับทั้งปีก่อนที่มีเงินทุนไหลออกสุทธิ 1.6 แสนล้านบาทซึ่งเงินทุนไหลเข้าออกในขณะนี้ก็เป็นไปตามทิศทางเดียวกับภูมิภาค
นางสุชาดากล่าวว่า การที่ธนาคารกลางของออสเตรเลียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งผิดการคาดการณ์ของตลาด เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจออสเตรเลียดีขึ้นทั้งอุปสงค์ในประเทศแข็งแกร่งและภาคอสังหาริมทรัพย์ร้อนแรง รวมถึงตัวเลขการว่างงานน้อยกว่าที่ประเมินไว้ คือ 1 หมื่นอัตรา แต่ตัวเลขจริงกลับมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 4 หมื่นอัตรา
แต่เมื่อพิจารณาเศรษฐกิจไทยไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น เพราะขณะนี้ไทยก็ยังมีความไม่แน่นอนหลายตัว อัตราเงินเฟ้อยังติดลบอยู่ และภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ยังไม่ร้อนแรงกว่าประเทศอื่นจากมาตรการภาครัฐช่วยเหลืออยู่ จึงอยากให้มีการประคับประคองเศรษฐกิจต่อไปก่อน
หากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ที่อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจอยู่ในแนวบวกต่างกับไทยที่เฉลี่ยทั้งปีนี้ยังติดลบอยู่ อีกทั้งประเทศอินโดนีเซียมีน้ำมันส่งผลให้เศรษฐกิจดีได้ ประกอบกับมีมีสัดส่วนการส่งออกน้อย เทียบกับไทยที่มีสัดส่วนที่เยอะมาก ฉะนั้นปัจจัยที่มีผลต่อเศรษฐกิจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
สำหรับกรณีที่มีบางคนเป็นห่วงว่าในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสหรัฐอยู่ในระดับต่ำ และตลาดมองว่ากว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกนาน ทำให้ในตลาดอาจจะมีกู้เงินดอลลาร์มาเยอะในลักษณะ Carry Trade เหมือนกับเงินสกุลเยนของญี่ปุ่นในอดีตนั้น นางสุชาดา กล่าวว่า ในส่วนนี้มีบ้างแต่ไม่มากนัก โดยอาจจะทำกับสกุลอื่นและคงจะไม่ใช่กับค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียที่ปัจจุบันแข็งค่าเร็ว
ดังนั้น ในขณะนี้ธปท.ยังคงย้ำจุดเดิม คือ ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าจะต้องมีการบริหารความเสี่ยงด้วยการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงสกุลเงินตราต่างประเทศ ซึ่งป้องกันความเสี่ยงทั้งขาเข้าและออก เพราะต่อไปไม่สามารถมีใครบอกได้ว่าค่าเงินจะเป็นเหมือนในปัจจุบันนานแค่ไหน อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าเร็วในขณะนี้ ทางการก็พยายามดูแล จึงอย่าไปเก็งกำไรค่าเงิน
**ธปท.แทรกแซงหลังบาทแตะ 33.30**
นักค้าเงินจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กล่าวว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดวานนี้ (8 ต.ค.) ที่ระดับ 33.36-33.38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยระหว่างวันค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวแข็งค่าสุดอยู่ที่ 33.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และมีการอ่อนลงมาอยู่ที่ 33.36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยค่าเงินบาทปิดตลาดตอนเย็นอยู่ที่ 33.30-33.34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้ การที่ค่าเงินบาทของไทยยังคงมีการปรับตัวแข่งค่านั้น เนื่องจากมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามายังตลาดหุ้นมากพอสมควร ทำให้มีการซื้อเงินบาทสุทธิและเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธปท.มีการเข้ามาดูแลค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทมีการปรับตัวแข็งค่าเร็วจนเกินไป ดังนั้นปัจจัยที่ต้องติดตามคือการที่นักลงทุนชาวต่างชาติมีการเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯแล้วซื้อเงินบาทอยู่ในระดับที่สูง จึงทำให้ประเมินว่ากรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้วันนี้ (9 ต.ค.)ไว้ที่ระดับ 33.20-33.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับแข็งค่า
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เงินบาทไทยแข็งค่ากว่าปัจจัยพื้นฐาน เนื่องจากราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นล่าสุดทำลายสถิติใหม่ที่ระดับ 1,051 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้มีการเทขายทองออกมามากและผู้ค้าทองคำมีการส่งออกทองออกไปยังต่างประเทศ และเมื่อได้เป็นเงินดอลลาร์มานำมาแลกเงินบาท จึงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ยังผลจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด เงินทุนไหลกลับไทยจากกองทุนที่ไปลงทุนในออสเตรเลียครบกำหนด ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าจากแนวโน้มที่ตลาดประเมินกลับทิศว่าอาจจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย รวมถึงเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้น
“จริงๆ เงินบาทแข็งค่าได้ ถ้าบาทค่อยๆ แข็งมันยังโอเค แต่ขณะนี้บาทมีการเคลื่อนไหวสูงเร็ว แบงก์ชาติจึงพยายามดูแลให้ค่าเงินเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานไม่แข็งกว่าประเทศอื่นๆ โดยนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเงินบาทแข็งค่า 4% เทียบกับค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งที่ระดับ 26%”นางสุชาดากล่าว
ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนต.ค.ที่ผ่านมามีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาในไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นมาก โดยนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมาไหลเข้าสุทธิ 6 หมื่นล้านบาท แต่ขนาดเข้ามาลงทุนยังเล็กอยู่เมื่อเทียบกับทั้งปีก่อนที่มีเงินทุนไหลออกสุทธิ 1.6 แสนล้านบาทซึ่งเงินทุนไหลเข้าออกในขณะนี้ก็เป็นไปตามทิศทางเดียวกับภูมิภาค
นางสุชาดากล่าวว่า การที่ธนาคารกลางของออสเตรเลียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งผิดการคาดการณ์ของตลาด เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจออสเตรเลียดีขึ้นทั้งอุปสงค์ในประเทศแข็งแกร่งและภาคอสังหาริมทรัพย์ร้อนแรง รวมถึงตัวเลขการว่างงานน้อยกว่าที่ประเมินไว้ คือ 1 หมื่นอัตรา แต่ตัวเลขจริงกลับมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 4 หมื่นอัตรา
แต่เมื่อพิจารณาเศรษฐกิจไทยไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น เพราะขณะนี้ไทยก็ยังมีความไม่แน่นอนหลายตัว อัตราเงินเฟ้อยังติดลบอยู่ และภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ยังไม่ร้อนแรงกว่าประเทศอื่นจากมาตรการภาครัฐช่วยเหลืออยู่ จึงอยากให้มีการประคับประคองเศรษฐกิจต่อไปก่อน
หากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ที่อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจอยู่ในแนวบวกต่างกับไทยที่เฉลี่ยทั้งปีนี้ยังติดลบอยู่ อีกทั้งประเทศอินโดนีเซียมีน้ำมันส่งผลให้เศรษฐกิจดีได้ ประกอบกับมีมีสัดส่วนการส่งออกน้อย เทียบกับไทยที่มีสัดส่วนที่เยอะมาก ฉะนั้นปัจจัยที่มีผลต่อเศรษฐกิจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
สำหรับกรณีที่มีบางคนเป็นห่วงว่าในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสหรัฐอยู่ในระดับต่ำ และตลาดมองว่ากว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกนาน ทำให้ในตลาดอาจจะมีกู้เงินดอลลาร์มาเยอะในลักษณะ Carry Trade เหมือนกับเงินสกุลเยนของญี่ปุ่นในอดีตนั้น นางสุชาดา กล่าวว่า ในส่วนนี้มีบ้างแต่ไม่มากนัก โดยอาจจะทำกับสกุลอื่นและคงจะไม่ใช่กับค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียที่ปัจจุบันแข็งค่าเร็ว
ดังนั้น ในขณะนี้ธปท.ยังคงย้ำจุดเดิม คือ ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าจะต้องมีการบริหารความเสี่ยงด้วยการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงสกุลเงินตราต่างประเทศ ซึ่งป้องกันความเสี่ยงทั้งขาเข้าและออก เพราะต่อไปไม่สามารถมีใครบอกได้ว่าค่าเงินจะเป็นเหมือนในปัจจุบันนานแค่ไหน อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าเร็วในขณะนี้ ทางการก็พยายามดูแล จึงอย่าไปเก็งกำไรค่าเงิน
**ธปท.แทรกแซงหลังบาทแตะ 33.30**
นักค้าเงินจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กล่าวว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดวานนี้ (8 ต.ค.) ที่ระดับ 33.36-33.38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยระหว่างวันค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวแข็งค่าสุดอยู่ที่ 33.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และมีการอ่อนลงมาอยู่ที่ 33.36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยค่าเงินบาทปิดตลาดตอนเย็นอยู่ที่ 33.30-33.34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้ การที่ค่าเงินบาทของไทยยังคงมีการปรับตัวแข่งค่านั้น เนื่องจากมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามายังตลาดหุ้นมากพอสมควร ทำให้มีการซื้อเงินบาทสุทธิและเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธปท.มีการเข้ามาดูแลค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทมีการปรับตัวแข็งค่าเร็วจนเกินไป ดังนั้นปัจจัยที่ต้องติดตามคือการที่นักลงทุนชาวต่างชาติมีการเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯแล้วซื้อเงินบาทอยู่ในระดับที่สูง จึงทำให้ประเมินว่ากรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้วันนี้ (9 ต.ค.)ไว้ที่ระดับ 33.20-33.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับแข็งค่า