ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติลดสัดส่วนเงินดอลลาร์ในทุนสำรอง พร้อมกระจายไปถือครองสกุลเงินอื่น รับมือเงินดอลลาร์อ่อนค่า "ธาริษา" ย้ำแม้บาทแข็งจากเงินทุนไหลเข้ายังไม่ออกมาตรการสกัดเงินทุนไหลเข้าซ้ำรอยกรณี 30% เตือนผู้ส่งออก เก็งกำไรค่าเงินอาจขาดทุน
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยกรณีที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องว่า ธปท.ได้มีการลดสัดส่วนการถือครองเงินดอลลาร์ในทุนสำรอง ขณะเดียวกันได้กระจายไปถือครองสกุลเงินอื่นมากขึ้น ซึ่งช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้ดำเนินการเช่นนี้มาตลอด ส่วนการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจในขณะนี้ ยังไม่มีความจำเป็นต้องออกมาตรการสกัดเงินทุนไหลเข้าเหมือนมาตรการกันสำรอง 30% ปลายปี 2549 ขณะนั้นเกิดการเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินจำนวนมาก แต่เงินบาทแข็งค่าในขณะนี้เกิดจากเงินดอลลาร์อ่อนค่า การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด รวมถึงราคาทองทำปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สร้างความผันผวนให้แก่เงินบาทในขณะนี้
ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าวว่า ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไม่ควรคาดหมายทิศทางค่าเงิน เนื่องจากแนวโน้มค่าเงินบาทยังมีความผันผวนและท้ายสุดอาจกลายเป็นความเสี่ยงได้หากค่าเงินไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน
"เราไม่ได้ส่งสัญญาณว่าไม่ให้มีการเก็งกำไร แต่ไม่ต้องการให้มีการคาดหมายว่าเงินบาทจะเป็นไปในทิศทางใด ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย หากไม่เป็นไปตามที่คาดจะเป็นความเสี่ยงได้ ผู้ส่งออกและนำเข้าจึงอย่าคาดหมายทิศทางเงินบาท" นางธาริษา กล่าว
ส่วนเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ยังคงเข้ามาทำธุรกิจในไทยอยู่ ซึ่งตัวเลขใกล้เคียงกับปีก่อน ฉะนั้นแม้เกิดวิกฤตโลกเม็ดเงินส่วนนี้ไม่ได้ลดลง รวมถึงเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นต่อเนื่อง ขณะที่มาตรการผลักดันเงินทุนไหลออกไปลงทุนในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้มีการผ่อนคลายไปมากแล้ว และมีผู้ออมเงินบางส่วนหันไปลงทุนซื้อตราสารหนี้ในต่างประเทศ ดังนั้น ขณะนี้ ธปท.กำลังพิจารณาบางเรื่องที่ยังคงติดขัดเท่านั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนมากขึ้น
นางธาริษาคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกนาน เพราะสหรัฐฯ ยังมีปัญหาให้แก้ไขอีกมาก ส่วนที่ธนาคารกลางออสเตรเลียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะยังมีแร่ธาตุสำคัญสามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ ฉะนั้นประเทศนอกเหนือจากนี้เหมือนลงเรือลำเดียวกัน ซึ่ง ธปท.เองยังคงใช้นโยบายดอกเบี้ยที่ประคับประคองเศรษฐกิจไปอยู่
***เงินบาทล่าสุดปิด 33.35/37
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นวานนี้ (12 ต.ค.) ปิดตลาดที่ระดับ 33.35/37 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.34 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากปริมาณการซื้อขายในตลาดเงินวันนี้มีไม่ค่อยมากนัก เพราะตลาดญี่ปุ่นปิดทำการเนื่องในวันชาติ ขณะที่ทางฝั่งสหรัฐฯ สถานที่ราชการปิดทำการเนื่องในวันโคลัมบัส เดย์
"ปริมาณการซื้อขายค่อนข้างน้อย แบงก์ชาติไม่ได้เข้ามา ไม่มีค่อยมีปัจจัยอะไรมาก เพราะตลาดที่ญี่ปุ่นปิดและสหรัฐบางส่วนปิด" นักบริหารเงินกล่าวและว่า การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย.,ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ก.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติเดือน ส.ค.
ทิศทางค่าเงินบาทวันนี้ (13 ต.ค.) ยังคงไม่มีปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางค่าเงินบาทมากนัก โดยเงินบาทยังคงอยู่ในแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง จากผลการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ และเงินทุนที่ยังไหลเข้าในตลาดหุ้นไทย ให้กรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.30-33.40 บาท/ดอลลาร์.
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยกรณีที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องว่า ธปท.ได้มีการลดสัดส่วนการถือครองเงินดอลลาร์ในทุนสำรอง ขณะเดียวกันได้กระจายไปถือครองสกุลเงินอื่นมากขึ้น ซึ่งช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้ดำเนินการเช่นนี้มาตลอด ส่วนการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจในขณะนี้ ยังไม่มีความจำเป็นต้องออกมาตรการสกัดเงินทุนไหลเข้าเหมือนมาตรการกันสำรอง 30% ปลายปี 2549 ขณะนั้นเกิดการเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินจำนวนมาก แต่เงินบาทแข็งค่าในขณะนี้เกิดจากเงินดอลลาร์อ่อนค่า การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด รวมถึงราคาทองทำปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สร้างความผันผวนให้แก่เงินบาทในขณะนี้
ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าวว่า ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไม่ควรคาดหมายทิศทางค่าเงิน เนื่องจากแนวโน้มค่าเงินบาทยังมีความผันผวนและท้ายสุดอาจกลายเป็นความเสี่ยงได้หากค่าเงินไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน
"เราไม่ได้ส่งสัญญาณว่าไม่ให้มีการเก็งกำไร แต่ไม่ต้องการให้มีการคาดหมายว่าเงินบาทจะเป็นไปในทิศทางใด ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย หากไม่เป็นไปตามที่คาดจะเป็นความเสี่ยงได้ ผู้ส่งออกและนำเข้าจึงอย่าคาดหมายทิศทางเงินบาท" นางธาริษา กล่าว
ส่วนเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ยังคงเข้ามาทำธุรกิจในไทยอยู่ ซึ่งตัวเลขใกล้เคียงกับปีก่อน ฉะนั้นแม้เกิดวิกฤตโลกเม็ดเงินส่วนนี้ไม่ได้ลดลง รวมถึงเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นต่อเนื่อง ขณะที่มาตรการผลักดันเงินทุนไหลออกไปลงทุนในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้มีการผ่อนคลายไปมากแล้ว และมีผู้ออมเงินบางส่วนหันไปลงทุนซื้อตราสารหนี้ในต่างประเทศ ดังนั้น ขณะนี้ ธปท.กำลังพิจารณาบางเรื่องที่ยังคงติดขัดเท่านั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนมากขึ้น
นางธาริษาคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกนาน เพราะสหรัฐฯ ยังมีปัญหาให้แก้ไขอีกมาก ส่วนที่ธนาคารกลางออสเตรเลียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะยังมีแร่ธาตุสำคัญสามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ ฉะนั้นประเทศนอกเหนือจากนี้เหมือนลงเรือลำเดียวกัน ซึ่ง ธปท.เองยังคงใช้นโยบายดอกเบี้ยที่ประคับประคองเศรษฐกิจไปอยู่
***เงินบาทล่าสุดปิด 33.35/37
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นวานนี้ (12 ต.ค.) ปิดตลาดที่ระดับ 33.35/37 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.34 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากปริมาณการซื้อขายในตลาดเงินวันนี้มีไม่ค่อยมากนัก เพราะตลาดญี่ปุ่นปิดทำการเนื่องในวันชาติ ขณะที่ทางฝั่งสหรัฐฯ สถานที่ราชการปิดทำการเนื่องในวันโคลัมบัส เดย์
"ปริมาณการซื้อขายค่อนข้างน้อย แบงก์ชาติไม่ได้เข้ามา ไม่มีค่อยมีปัจจัยอะไรมาก เพราะตลาดที่ญี่ปุ่นปิดและสหรัฐบางส่วนปิด" นักบริหารเงินกล่าวและว่า การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย.,ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ก.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติเดือน ส.ค.
ทิศทางค่าเงินบาทวันนี้ (13 ต.ค.) ยังคงไม่มีปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางค่าเงินบาทมากนัก โดยเงินบาทยังคงอยู่ในแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง จากผลการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ และเงินทุนที่ยังไหลเข้าในตลาดหุ้นไทย ให้กรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.30-33.40 บาท/ดอลลาร์.