ผลประกอบการ Q3/52 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ SCRI ศึกษาส่วนใหญ่เป็นไปตามคาดหมายนอกจากธนาคารที่มีรายการพิเศษทำให้กำไรสุทธิดีกว่าคาด (TMB และ BAY) แนวโน้มของสินเชื่อยังคงลดลงจากการชำระคืนหนี้เพิ่มมากขึ้น ขณะที่การตั้งสำรองเริ่มลดระดับลงจากการควบคุมระดับ NPL ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ดีขึ้นจากรายได้เงินปันผลที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี แม้ว่ารายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิของธนาคารพาณิชย์ยังคงไม่ขยายตัว qoq แต่ธนาคารส่วนใหญ่ยังคงสามารถเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมได้มากขึ้น และยังมีการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างดี ทำให้ยังคงเห็นการขยายตัวของกำไรได้จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งคาดแนวโน้มดังกล่าวจะเกิดขึ้นต่อเนื่องใน Q4/52 ทั้งนี้ SCRI จะปรับประมาณการผลประกอบการปี 2552 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ใหม่ โดยเฉพาะ TMB เพื่อสะท้อนรายการพิเศษที่เกิดขึ้น แต่ SCRI ยังคงเลือกให้ BAY เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มธนาคารฯในด้านการเติบโตของสินเชื่อและรายได้ดอกเบี้ย อีกทั้งยังมีการขยายตัวของ NIM ที่ดีจากการเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยที่มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่สูง
ประเด็นสำคัญจากผลประกอบการ Q3/52
ธนาคารพาณิชย์ 6 แห่ง ที่ SCRI ศึกษา รายงานกำไรสุทธิใน Q3/52ใกล้เคียงกับการประมาณการเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น BAY และ TMB ที่มีผลประกอบการดีกว่าคาดการณ์ โดย BAY มีกำไรสุทธิสูงขึ้นอีก 24% qoq จากรายการพิเศษที่เป็นกำไรจากการขายทรัพย์สินรอการขายและหนี้สูญที่ได้รับคืน ในขณะที่ TMB มีกำไรสูงกว่าที่ SCRI คาด เนื่องจากการกลับรายการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเป็นบวก ทั้งนี้ หากไม่รวมรายการพิเศษ BAY มีกำไรจากธุรกิจปกติก่อนการตั้งสำรองและภาษีเงิน (PPOP) ที่ขยายตัวสูงถึง 10% qoq ในขณะที่ PPOP ของ TMB ลดลง 26% qoq
กำไรสุทธิรวม Q3/52 ของกลุ่มธนาคารฯ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6% yoy ทั้งๆที่ธนาคารฯมีภาระการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญที่เพิ่มมากขึ้นถึง 32% yoy แต่เนื่องจากธนาคารทุกแห่งกลับมามีกำไรจากเงินลงทุนเมื่อเทียบกับที่มีผลขาดทุนจากการลงทุนในตราสารหนี้ (CDO / CDS) ในระดับที่สูงมากใน Q3/51 และมีรายได้ค่าธรรมเนียมที่เติบโตกว่า 18% yoy ทำให้กำไรสุทธิของกลุ่มฯขยายตัวเป็นบวกได้ สำหรับงวด 9M/52 กลุ่มธนาคารฯมีกำไรสุทธิลดลงเฉลี่ย 10% yoy โดยธนาคารทุกแห่งมีกำไรสุทธิลดลง ยกเว้น BAY ที่มีกำไรสุทธิงวด 9M/52 เพิ่มขึ้น 22% yoy ซึ่งเป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิที่ขยายตัวเป็นบวก 2% yoy
หากเทียบกับ Q3/51 พบว่า BAY เป็นธนาคารที่มีกำไรสุทธิขยายสูงสุด 113% yoy เนื่องจาก รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นสูงถึง 135% yoy จากที่มีรายการพิเศษที่รับรู้เป็นรายได้หลายรายการ ได้แก่ หนี้สูญได้รับคืน และ มีกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย และหากเทียบกับ Q2/52 KTB เป็นธนาคารที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากที่สุด 64% qoq เนื่องจาก ธนาคารมีรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นสูง ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และ มีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลจากเงินลงทุนที่สูงขึ้นเท่าตัวจากไตรมาสก่อนหน้า
สินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ยังคงปรับตัวลดลงราว 1% qoqโดยมีแรงกดดันที่สำคัญจากสินเชื่อของ KTB ที่หดตัวลงมากถึง 4% qoq ซึ่งเป็นผลจากการชำระคืนหนี้เพิ่มมากในระหว่างไตรมาส อย่างไรก็ดีหากเทียบกับงวดสิ้นปี 2551 สินเชื่อของ KTB ยังทรงตัวได้เช่นเดียวกับ BAY ในขณะที่ธนาคารอื่นๆยังมีสินเชื่อที่ลดลง โดยเฉพาะ TMB ที่ลดลงมากที่สุด 15% YTD ถึงแม้ว่า SCRI คาดว่าแนวโน้มของสินเชื่อใน Q4/51 จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ และ คาดว่า KTB และ BAY จะมีสินเชื่อที่เติบโตสูงขึ้นจากปีก่อนได้ตามเป้าหมาย
รายได้ค่าธรรมเนียมยังคงสามารถเติบโตสูงต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยใน Q2/52 ธนาคารยังมีรายได้ค่าธรรมเนียมขยายตัวในระดับสองหลัก (Double Digit Growth) โดยเพิ่มขึ้นอีก 10% qoq ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายประกัน และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มลูกค้ารายย่อย (บัตรเครดิต และ บัตร ATM) ทั้งนี้ KTB เป็นธนาคารที่มีอัตราการเติบโตของค่าธรรมเนียมสูงที่สุดในกลุ่มที่ 21% qoq ผลจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นประกอบกับการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างเคร่งครัด ทำให้ Cost to Income ของธนาคารปรับลดลง
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin) ของธนาคารพาณิชย์โดยส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะธนาคารที่มีเงินปันผลจากวายุภักษ์ (KTB / SCB / BAY) ทั้งนี้เมื่อเทียบกับ Q3/51 ธนาคารทุกแห่งมี NIM ที่ปรับตัวลดลง ยกเว้น BAY ที่มี NIM ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปเท่ากับระดับที่เคยทำได้ใน Q3/51 และยังเป็นธนาคารที่มี NIM สูงที่สุดใน Q3/52 ในขณะที่ TMB ยังคงมี NIM ต่ำที่สุดในกลุ่มที่ 2.73%
การตั้งสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญปรับลดลง 31% qoq เกิดจากการกลับรายการตั้งสำรองหนี้สูญของ TMB จากการเปลี่ยนแปลงวิธีการตั้งสำรอง ทั้งนี้ SCRI ประเมินว่าระดับการตั้งสำรองไม่น่าจะปรับเพิ่มขึ้นโดยวัดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อที่ไม่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดี หากการระงับโครงการในมาบตาพุดที่มีเงินให้สินเชื่อราว 9 หมื่นล้านบาท มีผลทำให้เกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น อาจจะทำให้ธนาคารฯกลับมาตั้งสำรองฯเพิ่มขึ้นอีกใน Q1/53 ทั้งนี้ SCRI ยังไม่ได้รวมปัจจัยดังกล่าวไว้ในประมาณการ
ประเด็นสำคัญจากผลประกอบการ Q3/52
ธนาคารพาณิชย์ 6 แห่ง ที่ SCRI ศึกษา รายงานกำไรสุทธิใน Q3/52ใกล้เคียงกับการประมาณการเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น BAY และ TMB ที่มีผลประกอบการดีกว่าคาดการณ์ โดย BAY มีกำไรสุทธิสูงขึ้นอีก 24% qoq จากรายการพิเศษที่เป็นกำไรจากการขายทรัพย์สินรอการขายและหนี้สูญที่ได้รับคืน ในขณะที่ TMB มีกำไรสูงกว่าที่ SCRI คาด เนื่องจากการกลับรายการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเป็นบวก ทั้งนี้ หากไม่รวมรายการพิเศษ BAY มีกำไรจากธุรกิจปกติก่อนการตั้งสำรองและภาษีเงิน (PPOP) ที่ขยายตัวสูงถึง 10% qoq ในขณะที่ PPOP ของ TMB ลดลง 26% qoq
กำไรสุทธิรวม Q3/52 ของกลุ่มธนาคารฯ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6% yoy ทั้งๆที่ธนาคารฯมีภาระการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญที่เพิ่มมากขึ้นถึง 32% yoy แต่เนื่องจากธนาคารทุกแห่งกลับมามีกำไรจากเงินลงทุนเมื่อเทียบกับที่มีผลขาดทุนจากการลงทุนในตราสารหนี้ (CDO / CDS) ในระดับที่สูงมากใน Q3/51 และมีรายได้ค่าธรรมเนียมที่เติบโตกว่า 18% yoy ทำให้กำไรสุทธิของกลุ่มฯขยายตัวเป็นบวกได้ สำหรับงวด 9M/52 กลุ่มธนาคารฯมีกำไรสุทธิลดลงเฉลี่ย 10% yoy โดยธนาคารทุกแห่งมีกำไรสุทธิลดลง ยกเว้น BAY ที่มีกำไรสุทธิงวด 9M/52 เพิ่มขึ้น 22% yoy ซึ่งเป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิที่ขยายตัวเป็นบวก 2% yoy
หากเทียบกับ Q3/51 พบว่า BAY เป็นธนาคารที่มีกำไรสุทธิขยายสูงสุด 113% yoy เนื่องจาก รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นสูงถึง 135% yoy จากที่มีรายการพิเศษที่รับรู้เป็นรายได้หลายรายการ ได้แก่ หนี้สูญได้รับคืน และ มีกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย และหากเทียบกับ Q2/52 KTB เป็นธนาคารที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากที่สุด 64% qoq เนื่องจาก ธนาคารมีรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นสูง ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และ มีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลจากเงินลงทุนที่สูงขึ้นเท่าตัวจากไตรมาสก่อนหน้า
สินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ยังคงปรับตัวลดลงราว 1% qoqโดยมีแรงกดดันที่สำคัญจากสินเชื่อของ KTB ที่หดตัวลงมากถึง 4% qoq ซึ่งเป็นผลจากการชำระคืนหนี้เพิ่มมากในระหว่างไตรมาส อย่างไรก็ดีหากเทียบกับงวดสิ้นปี 2551 สินเชื่อของ KTB ยังทรงตัวได้เช่นเดียวกับ BAY ในขณะที่ธนาคารอื่นๆยังมีสินเชื่อที่ลดลง โดยเฉพาะ TMB ที่ลดลงมากที่สุด 15% YTD ถึงแม้ว่า SCRI คาดว่าแนวโน้มของสินเชื่อใน Q4/51 จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ และ คาดว่า KTB และ BAY จะมีสินเชื่อที่เติบโตสูงขึ้นจากปีก่อนได้ตามเป้าหมาย
รายได้ค่าธรรมเนียมยังคงสามารถเติบโตสูงต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยใน Q2/52 ธนาคารยังมีรายได้ค่าธรรมเนียมขยายตัวในระดับสองหลัก (Double Digit Growth) โดยเพิ่มขึ้นอีก 10% qoq ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายประกัน และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มลูกค้ารายย่อย (บัตรเครดิต และ บัตร ATM) ทั้งนี้ KTB เป็นธนาคารที่มีอัตราการเติบโตของค่าธรรมเนียมสูงที่สุดในกลุ่มที่ 21% qoq ผลจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นประกอบกับการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างเคร่งครัด ทำให้ Cost to Income ของธนาคารปรับลดลง
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin) ของธนาคารพาณิชย์โดยส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะธนาคารที่มีเงินปันผลจากวายุภักษ์ (KTB / SCB / BAY) ทั้งนี้เมื่อเทียบกับ Q3/51 ธนาคารทุกแห่งมี NIM ที่ปรับตัวลดลง ยกเว้น BAY ที่มี NIM ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปเท่ากับระดับที่เคยทำได้ใน Q3/51 และยังเป็นธนาคารที่มี NIM สูงที่สุดใน Q3/52 ในขณะที่ TMB ยังคงมี NIM ต่ำที่สุดในกลุ่มที่ 2.73%
การตั้งสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญปรับลดลง 31% qoq เกิดจากการกลับรายการตั้งสำรองหนี้สูญของ TMB จากการเปลี่ยนแปลงวิธีการตั้งสำรอง ทั้งนี้ SCRI ประเมินว่าระดับการตั้งสำรองไม่น่าจะปรับเพิ่มขึ้นโดยวัดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อที่ไม่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดี หากการระงับโครงการในมาบตาพุดที่มีเงินให้สินเชื่อราว 9 หมื่นล้านบาท มีผลทำให้เกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น อาจจะทำให้ธนาคารฯกลับมาตั้งสำรองฯเพิ่มขึ้นอีกใน Q1/53 ทั้งนี้ SCRI ยังไม่ได้รวมปัจจัยดังกล่าวไว้ในประมาณการ