ASTV ผู้จัดการรายวัน - "กิตติรัตน์ " มองสังคมไทยน่าเป็นห่วง ต้องร่วมมือกันแก้ไขทั้งจากภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางสังคม เพื่อลดความขัดแย้ง และความไม่ยุติธรรม ชี้ CSR มีโอกาสเข้ามาเพิ่มบทบาทได้
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานสัมมนา "บทบาทธุรกิจกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน" ว่า เราสามารถแบ่งความรับผิดชอบต่อสังคมออกได้เป็น 4 แบบ คือ 1.ความรับผิดชอบเชิงพาณิชย์ 2.ความรับผิดชอบต่อบทกฏหมาย ซึ่งทั้ง 2 แบบ ก็มีมุมมองที่แตกต่างกันออกไปตามวัฒนธรรม เช่น ชาติตะวันตกจะให้ความสำคัญต่อการรับผิดต่อบทกฏหมายมากกว่า ขณะที่คนเอเชียจะให้ความสำคัญต่อการับผิดชอบเชิงพาณิชย์ 3.ความรับผิดชอบทางจริยธรรม ในที่นี้คือ การปฏิบัติดีซึ่งมีการตั้งความหวังอยู่ และต้องปฏิบัติให้ได้เหนือกว่าที่คาดหวังเอาไว้ เช่นองค์กรขนาดใหญ่ควรใส่ใจ เพราะเรื่องนี้อาจเป็นโจทย์ที่สังคมใส่ใจ และต้องการให้เข้าไปมีส่วนร่วมดูแล ขณะที่ 4. คือความรับผิดชอบที่เกิดจากจิตอาสา หรือในเรื่องที่สังคมไม่คาดหวัง แต่ถ้าองค์กรเลือกนำไปปฏิบัติ ก็จะสร้างความประทับใจให้แก่สังคมได้
" ปัญหาของสังคมนั้น ล้วนมีมุมมมองที่แตกต่างกัน รัฐบาลเองไม่สามารถดูและปัญหาในด้านนี้ได้ดีเท่าที่ควร หรือกล่าวได้ว่ามีความล้มเหลวตั้งแต่ระบบล่างขึ้นไป ดังนั้นหากเป็นการร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางสังคมร่วมมือกัน เข้าไปดำเนินการแก้ไขจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า "
นายกิตติรัตน์กล่าวว่า หากความสัมพันธ์ระหว่าง หน่วยงานด้านสังคม ภาคเอกชน และรัฐบาล มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันทั้ง 3 ฝ่าย สังคมนั้นก็จะมีความเข้มแข็ง และเรียบร้อย ซึ่งตรงจุดนี้จะทำให้ CSR สามารถเข้าไปมีบทบาทเพิ่มขึ้นได้ โดยอาจเข้าไปร่วมมือกับกลุ่มเอ็นจีโอ และร่วมมือกับภาครัฐ
อย่างไรก็ตาม หากความสัมพันธ์ของทั้ง 3 ฝ่ายลดลง หรือไม่สมดุลกันก็อาจเกิดความขัดแย้ง และไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น เช่น สถานการณ์ในประเทศไทย ขณะนี้ถือว่าอันตราย มีความขัดแย้ง ดังนั้น เรื่องต่าง ๆ ต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น มีความยุติธรรม ไม่กระทบสิทธิหน้าที่กันและกัน และร่วมกันหาวิธีจัดการ
" โดยรวมทุกองค์กรสามารถนำ CSR ไปปฏิบัติได้คือต้องมีความรับผิดชอบต่อการทำธุรกิจอยู่ตลอด การชื่นชมการกระทำดีของผ้อื่นโดยหยิบออกมานำเผยแพร่ให้คนอื่นรับรู้ การเชิญชวนลูกค้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการบริจาค การรณรงค์ในโครงการบางโครงการด้วยตัวองค์กรเอง การบริจาคหรือช่วยเหลือผู้เดือดร้อน รวมทั้งการรับอาสาด้วยการระดมทรัพย์พยากรขององค์กร เข้าช่วยเหลือ ซึ่งความจริงมีมากกว่า และกำลังมีแนวคิดที่จะเชิญบริษัทที่มีการดำเนินการด้านCSR เหล่านี้มาร่วมกันจัดทำนิทรรศการเพยแพร่ในอนาคต "
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานสัมมนา "บทบาทธุรกิจกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน" ว่า เราสามารถแบ่งความรับผิดชอบต่อสังคมออกได้เป็น 4 แบบ คือ 1.ความรับผิดชอบเชิงพาณิชย์ 2.ความรับผิดชอบต่อบทกฏหมาย ซึ่งทั้ง 2 แบบ ก็มีมุมมองที่แตกต่างกันออกไปตามวัฒนธรรม เช่น ชาติตะวันตกจะให้ความสำคัญต่อการรับผิดต่อบทกฏหมายมากกว่า ขณะที่คนเอเชียจะให้ความสำคัญต่อการับผิดชอบเชิงพาณิชย์ 3.ความรับผิดชอบทางจริยธรรม ในที่นี้คือ การปฏิบัติดีซึ่งมีการตั้งความหวังอยู่ และต้องปฏิบัติให้ได้เหนือกว่าที่คาดหวังเอาไว้ เช่นองค์กรขนาดใหญ่ควรใส่ใจ เพราะเรื่องนี้อาจเป็นโจทย์ที่สังคมใส่ใจ และต้องการให้เข้าไปมีส่วนร่วมดูแล ขณะที่ 4. คือความรับผิดชอบที่เกิดจากจิตอาสา หรือในเรื่องที่สังคมไม่คาดหวัง แต่ถ้าองค์กรเลือกนำไปปฏิบัติ ก็จะสร้างความประทับใจให้แก่สังคมได้
" ปัญหาของสังคมนั้น ล้วนมีมุมมมองที่แตกต่างกัน รัฐบาลเองไม่สามารถดูและปัญหาในด้านนี้ได้ดีเท่าที่ควร หรือกล่าวได้ว่ามีความล้มเหลวตั้งแต่ระบบล่างขึ้นไป ดังนั้นหากเป็นการร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางสังคมร่วมมือกัน เข้าไปดำเนินการแก้ไขจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า "
นายกิตติรัตน์กล่าวว่า หากความสัมพันธ์ระหว่าง หน่วยงานด้านสังคม ภาคเอกชน และรัฐบาล มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันทั้ง 3 ฝ่าย สังคมนั้นก็จะมีความเข้มแข็ง และเรียบร้อย ซึ่งตรงจุดนี้จะทำให้ CSR สามารถเข้าไปมีบทบาทเพิ่มขึ้นได้ โดยอาจเข้าไปร่วมมือกับกลุ่มเอ็นจีโอ และร่วมมือกับภาครัฐ
อย่างไรก็ตาม หากความสัมพันธ์ของทั้ง 3 ฝ่ายลดลง หรือไม่สมดุลกันก็อาจเกิดความขัดแย้ง และไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น เช่น สถานการณ์ในประเทศไทย ขณะนี้ถือว่าอันตราย มีความขัดแย้ง ดังนั้น เรื่องต่าง ๆ ต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น มีความยุติธรรม ไม่กระทบสิทธิหน้าที่กันและกัน และร่วมกันหาวิธีจัดการ
" โดยรวมทุกองค์กรสามารถนำ CSR ไปปฏิบัติได้คือต้องมีความรับผิดชอบต่อการทำธุรกิจอยู่ตลอด การชื่นชมการกระทำดีของผ้อื่นโดยหยิบออกมานำเผยแพร่ให้คนอื่นรับรู้ การเชิญชวนลูกค้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการบริจาค การรณรงค์ในโครงการบางโครงการด้วยตัวองค์กรเอง การบริจาคหรือช่วยเหลือผู้เดือดร้อน รวมทั้งการรับอาสาด้วยการระดมทรัพย์พยากรขององค์กร เข้าช่วยเหลือ ซึ่งความจริงมีมากกว่า และกำลังมีแนวคิดที่จะเชิญบริษัทที่มีการดำเนินการด้านCSR เหล่านี้มาร่วมกันจัดทำนิทรรศการเพยแพร่ในอนาคต "