xs
xsm
sm
md
lg

ในหลวงทรงลดปัญหาไม่สมดูลในปท.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ที่สถาบันศศินทร์ จุฬาฯ จัดประชุมทางวิชาการดุลยภาพของสถาบันกับการพัฒนาประชาธิปไตย ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธ ยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ปาฐกถาพิเศษเรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการเพิ่มความสมดุลในการพัฒนา ตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยได้มีการปรับโครงสร้างการผลิตโดยมีความเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น อีกทั้งมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงและต่อเนื่อง ลดการพึ่งพาภาคเกษตรกรรม ซึ่งในช่วง 63 ปีคือระหว่าง พ.ศ.2489-2552 ประเทศไทยมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจาก 17 ล้านคน มาเป็น 63 ล้านคนหรือ 3 เท่าตัว ในส่วนของผลิตภัณฑ์หรือจดีพีก็เพิ่มขึ้น 32 เท่า รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 10 เท่า ซึ่งมองใง่ความสำเร็จที่เป็นตัวเลขรวมก็ได้
ส่วนตัวเลขประชากรภายใต้เส้นความยากจนระหว่างปี 2529 มี 24 ล้านคน มาปี 2550 เหลือ 5 ล้านคน หรือร้อยละ 9 แต่ภายใต้ความสำเร็จก็มีความไม่สมดุล ในหลายมิติมี 4 เรื่องหลักๆ คือ ความไม่สมดุลด้านการกระจายรายได้ ซึ่งมีความเหลือมล้ำมากขึ้น ความไม่สมดุลในการใช้และการดูแลทรัพยากรธรรมชาต และสิ่งแวดล้อม โดยที่ดินแหล่งน้ำ ป่าไม่ร่อยหรอ เสื่อมโทรม ความไม่สมดุลของการพัฒนาการเมืองและชนบท คือ เมืองหลวงที่ขยายตัวสูง ขณะที่ชนบทมีความเหลือมล้ำ ด้านเมืองมากขึ้น ปัญหาค่านิยมและศีลธรรมที่เสื่อมลง เพราะการดำเนินชีวิตที่แข่งขันสูง ปัญหาหนี้สิน การคอร์รัปชั่น สิ่งเหล่านี้ควรวิเคราะห์ว่าเป็นความสำเร็จหรือไม่
ดร.จิรายุ กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพยายามแก้ไขปัญหา เหล่านี้ในฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงพระราชทานคำปรึกษา ทรงให้การสนับสนุน ซึ่งช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาทรงมีบทบาทมากในเรื่องของการตักเตือน ให้คำปรึกษา ที่เป็นแนวทางการเพิ่มความสมดุลในการพัฒนาประเทศ ซึ่งพระองค์ได้ทรงเตือนล่วงหน้าถึงความไม่สมดุลผ่านทางพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสในหลายโอกาส โดยเฉพาะเรื่องของปรัชญาพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เปรียบเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานของความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือน เสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั้นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มด้วยซ้ำไปฯ
ทั้งนี้โครงการพระราชดำริต่างที่เกิดขึ้นนั้นมีเป้าหมายสำคัญคือ แก้ปัญหาให้กับคนส่วนใหญ่ของประเทศ แก้วิกฤตของคนในพื้นที่ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น ศูนย์การพัฒนาเขาหินซ้อน โครงการแก้มลิง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง โครงการฝายชะลอน้ำ โครงการปลูกหญ้าแฝก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทเพิ่มความสมดุลและแก้ปัญหาของประเทศไทยนั้น ทางสหประชาชาติ ระบุว่า เพราะทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ ทรงเป็นนักปรัชญา ทรงเป็นนักเผยแพร่แนวคิด ทรงเป็นนักปฏิบัติและทรงเป็นผู้นำ แม้ภายใต้ความสำเร็จของประเทศแต่ก็มีความไม่สมดุลซึ่งทุกคนต้องยอมรับ แต่ท่านได้พยามลดความไม่สมดุลซึ่งปัญหาเพิ่มมากขึ้นหากไม่ทรงเตือน และเริ่มโครงการพระราชดำริ ซึ่งในอนาคตเชื่อว่าจะมีแนวโน้มมากขึ้น เช่น ปัญหาโลกร้อน ปัญหาพลังงาน จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา และสานต่อโครงการของพระองค์ เช่น โครงการปิดทองหลังพระ ต่อยอดปรัชญาและแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กำลังโหลดความคิดเห็น