ASTVผู้จัดการรายวัน-กทพ.ได้ช่องเตรียมเสนอครม.ผลักภาระVAT 7 % ให้ผู้ใช้ทาง หลังเปิดขายบัตรบัตร Easy Pass นำร่องใช้ 2 สายแรก ทางพิเศษเฉลิมมหานครและ ทางพิเศษฉลองรัช 15 พ.ย.นี้ เผยที่ผ่านมารับภาระกว่า 10,000 ล้านบาทแล้ว ด้านบีอีซีแอลเผยลงทุนปรับระบบอัตโนมัติ 380 ล้านบาท ช่วยให้สะดวกมากขึ้นคาดปริมาณรถในระบบปี 52 เพิ่ม 6%
วานนี้ (20 ต.ค.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เปิดการจำหน่ายบัตร Easy Pass ของระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ สำหรับรถยนต์ 4 ล้อ โดยมีนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน
พันโททวีสิน รักกตัญญู ผู้ว่าการฯ กทพ.เปิดเผยว่า กทพ.จะเปิดให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ โดยใช้บัตร Easy Pass ในทางพิเศษ 2 สายแรกก่อน คือ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ขั้นที่ 1) และ
ทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) ในวันที่ 15 พ.ย.2552 และจะทยอยเปิดให้บริการในทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ ในเดือนธ.ค.2552 ทางพิเศษศรีรัช ในปี 2553 และทางพิเศษบูรพาวิถีและทางเชื่อมต่อในปี 2554
ทั้งนี้ กทพ.ได้หารือในที่ประชุมคณะกรรมการกทพ.ที่มีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง (สนข.) เป็นประธานโดยเห็นชอบให้กทพ.เสนอเรื่องการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) กับผู้ใช้ทางเพื่อขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายหลังที่ได้มีการเปิดใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแล้ว โดยจะเรื่องเสนอไปที่สนข.ตามขั้นตอนก่อน
สำหรับการให้ผู้ใช้ทางเป็นผู้รับภาระ VAT 7% เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมา กทพ.ต้องแบกรับภาระ VAT7% แทนผู้ใช้ทางจนถึงปัจจุบันรวมเป็นเงินกว่า 10,000 ล้านบาทแล้ว หรือเฉลี่ยประมาณ 800 ล้านบาทต่อปี
พันโททวีสินกล่าวว่า กทพ.ได้ลงทุนประมาณ 420 ล้านบาทในการปรับปรุงระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ โดยคาดว่า จะมีผู้ใช้บัตร Easy Pass ประมาณ 30% หรือ 300,000 คันต่อวัน จากจำนวนรถที่ใช้ทางด่วนทั้งระบบ 1,300,000 คันต่อวันภายใน 1-2 ปี หลังจากเปิดให้บริการ ซึ่งเป็นการประมาณการจากผู้ใช้ระบบ TAG เดิมของกทพ.ที่มีฐานอยู่ประมาณ 60,000 คัน
กทพ.ได้ร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย และกรุงไทยในการอำนวยความสะดวกในการจำหน่ายบัตร Easy Pass และเติมเงินที่ธนาคารและตู้ ATM ทั้ง 2 ธนาคารรวมทั้งหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางด้วย และยังอยู่ระหว่างเจรจากับ เซเว่นอีเลฟเว่น และธนาคารไทยพาณิชย์เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายบัตรเพิ่ม
นางพเยาว์ มริตตนะพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีซีแอล กล่าวว่า บีอีซีแอลลงทุนในการปรับปรุงระบบจัดเก็บเงินอัตโนมัติในส่วนของทางด่วนที่บีอีซีแอลรับผิดชอบประมาณ 380 ล้านบาท ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้ทางมากขึ้น และคาดว่า ปริมาณจราจรบนทางด่วนของบีอีซีแอลในปี 2552 จะเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ประมาณ 6% ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับค่าผ่านทางโครงข่ายในเมืองขึ้น 5 บาท ราคาน้ำมันที่ลดลง และทางด่วนสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ เริ่มเก็บค่าผ่านทาง ซึ่งก่อนหน้านี้มีการเปิดให้ใช้ฟรี ทำให้รถในระบบทางด่วนหันไปใช้ทางด่วนสายบางพลี-สุขสวัสดิ์แทนประมาณ 50,000 คันต่อวัน แต่เมื่อเริ่มเก็บค่าผ่านทางรถเริ่มหันกลับมาใช้โครงข่ายทางด่วนเดิมแล้วประมาณ 20,000 คัน
วานนี้ (20 ต.ค.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เปิดการจำหน่ายบัตร Easy Pass ของระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ สำหรับรถยนต์ 4 ล้อ โดยมีนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน
พันโททวีสิน รักกตัญญู ผู้ว่าการฯ กทพ.เปิดเผยว่า กทพ.จะเปิดให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ โดยใช้บัตร Easy Pass ในทางพิเศษ 2 สายแรกก่อน คือ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ขั้นที่ 1) และ
ทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) ในวันที่ 15 พ.ย.2552 และจะทยอยเปิดให้บริการในทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ ในเดือนธ.ค.2552 ทางพิเศษศรีรัช ในปี 2553 และทางพิเศษบูรพาวิถีและทางเชื่อมต่อในปี 2554
ทั้งนี้ กทพ.ได้หารือในที่ประชุมคณะกรรมการกทพ.ที่มีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง (สนข.) เป็นประธานโดยเห็นชอบให้กทพ.เสนอเรื่องการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) กับผู้ใช้ทางเพื่อขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายหลังที่ได้มีการเปิดใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแล้ว โดยจะเรื่องเสนอไปที่สนข.ตามขั้นตอนก่อน
สำหรับการให้ผู้ใช้ทางเป็นผู้รับภาระ VAT 7% เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมา กทพ.ต้องแบกรับภาระ VAT7% แทนผู้ใช้ทางจนถึงปัจจุบันรวมเป็นเงินกว่า 10,000 ล้านบาทแล้ว หรือเฉลี่ยประมาณ 800 ล้านบาทต่อปี
พันโททวีสินกล่าวว่า กทพ.ได้ลงทุนประมาณ 420 ล้านบาทในการปรับปรุงระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ โดยคาดว่า จะมีผู้ใช้บัตร Easy Pass ประมาณ 30% หรือ 300,000 คันต่อวัน จากจำนวนรถที่ใช้ทางด่วนทั้งระบบ 1,300,000 คันต่อวันภายใน 1-2 ปี หลังจากเปิดให้บริการ ซึ่งเป็นการประมาณการจากผู้ใช้ระบบ TAG เดิมของกทพ.ที่มีฐานอยู่ประมาณ 60,000 คัน
กทพ.ได้ร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย และกรุงไทยในการอำนวยความสะดวกในการจำหน่ายบัตร Easy Pass และเติมเงินที่ธนาคารและตู้ ATM ทั้ง 2 ธนาคารรวมทั้งหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางด้วย และยังอยู่ระหว่างเจรจากับ เซเว่นอีเลฟเว่น และธนาคารไทยพาณิชย์เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายบัตรเพิ่ม
นางพเยาว์ มริตตนะพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีซีแอล กล่าวว่า บีอีซีแอลลงทุนในการปรับปรุงระบบจัดเก็บเงินอัตโนมัติในส่วนของทางด่วนที่บีอีซีแอลรับผิดชอบประมาณ 380 ล้านบาท ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้ทางมากขึ้น และคาดว่า ปริมาณจราจรบนทางด่วนของบีอีซีแอลในปี 2552 จะเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ประมาณ 6% ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับค่าผ่านทางโครงข่ายในเมืองขึ้น 5 บาท ราคาน้ำมันที่ลดลง และทางด่วนสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ เริ่มเก็บค่าผ่านทาง ซึ่งก่อนหน้านี้มีการเปิดให้ใช้ฟรี ทำให้รถในระบบทางด่วนหันไปใช้ทางด่วนสายบางพลี-สุขสวัสดิ์แทนประมาณ 50,000 คันต่อวัน แต่เมื่อเริ่มเก็บค่าผ่านทางรถเริ่มหันกลับมาใช้โครงข่ายทางด่วนเดิมแล้วประมาณ 20,000 คัน