ASTVผู้จัดการรายวัน-“กทพ.”เร่งแผนปรับปรุงทางขึ้น-ลงทางด่วน 5 จุดวิกฤติ แก้จราจร คาดลงทุน 2,670 ล้านบาท พร้อมปรับผังพัฒนาพื้นที่ใต้เขตทาง 2แสนตารางวา เล็งเพิ่มรายได้มากกว่าปีละ 100 ล้านบาท ฟุ้งรายได้52 โตเท่าตัว ตั้งเป้า 53 ทะลุ 8,300 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,800 ล้านบาท เผยรับภาระ VAT 7% ยอดสะสมหมื่นลบ. ”เตรียมเปิดใช้ระบบเก็บเงินอัตโนมัติ (Easy Pass) 15 พ.ย.
พันโททวีสิน รักกตัญญู ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยถึงการผลการบริหารงานในรอบ 3 เดือน (ก.ค.-ก.ย. 52) ว่า จะเร่งรัดแผนการแก้ไขปัญหาจราจรบนทางด่วนกรณีฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุโดยการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น-ลงทางด่วนเบื้องต้น 5 จุดจาก 10 จุด ซึ่งอยู่ระหว่างการจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมและออกแบบ ประกอบด้วย 1. เพิ่มทางขึ้น-ลง ต่อเชื่อมทางแยกต่างระดับมักกะสันกับ โครงการจตุรทิศ ของ กทม.คาดเวนคืนประมาณ 7.5 ไร่ ลงทุนประมาณ 1,420 ล้านบาทดำเนินการ 24 เดือน 2.เพิ่มทางขึ้น-ลง ทางแยกต่างระดับงามวงศ์วาน ลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท ดำเนินการ 12 เดือน 3. เพิ่มทางขึ้น-ลง จากถนนกำแพงเพชร-หมอชิต 2-กับทางพิเศษศรีรัช(ระบบทางด่วนขั้นที่ 2) ที่เข้า-ออกจากทางด้านทิศเหนือ ลงทุนประมาณ 620 ล้านบาท ดำเนินการ 15 เดือน 4.เพิ่มทางลงจากทางพิเศษศรีรัชเข้าสู่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ลงทุนประมาณ 120 ล้านบาท ดำเนินการ 8 เดือน 5. เพิ่มทางขึ้น-ลง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร(ระบบทางด่วนขั้นที่ 1) กับ ถนนทางรถไฟสายเก่าบริเวณทางแยกต่างระดับอาจณรงค์ ประมาณ 210 ล้านบาท ดำเนินการ 15 เดือน
นอกจากนี้ กทพ.ได้ว่าจ้างคณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ทบทวนผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางด่วนพื้นที่ประมาณ 2 แสนตารางวา กำหนดรูปแบบการหาประโยชน์ในแต่ละจุด โดยเฉพาะจุดที่มีศักยภาพเชิงธุรกิจ ย่านสุขุมวิท สีลม เพื่อให้เอกชนเข้ามาลงทุน ทั้งนี้กทพ.มีพื้นที่ในเขตทางทั้งหมด 5 แสนตารางวาให้กทม.นำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคม เช่นทำสวนสาธารณะ ลานกีฬา
ประมาณ 3แสนตารางวา โดยมีรายได้จากค่าเช่ารวมประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี“
กทพ.มีรายได้หลักจากค่าผ่านทางด่วน ในขณะที่มีพื้นที่ในเขตทางมากแต่ไม่มีการจัดการในการใช้ประโยชน์ที่ดี โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพ ซึ่งหลังที่ปรึกษาปรับผังแม่บทเสร็จ จะเห็นความชัดเจนว่า พื้นที่ใดควรนำไปพัฒนาในรูปแบบใดและจะมีรายได้เพิ่มเท่าไร”พันโททวีสินกล่าว
สำหรับผลประกอบการของกทพ.ในปี 2552 มีรายได้รวม 7,316 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 2,559 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนที่มีรายได้ 5,8000 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,242 ล้านบาท ประมาณเท่าตัว เนื่องจากมีการเปิดใช้ทางพิเศษเพิ่มทั้ง สายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก สายบางพลี-สุขสวัสดิ์ และทางเข้า-ออกสนามบินสุวรรณภูมิ โดยประมาณการปี 2553 จะมีรายได้ประมาณ 8,300 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,800 ล้านบาท โดยปัจจุบันมีหนี้รวม 99,700 ล้านบาท และรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT7%) แทนผู้ใช้ทางตั้งแต่ปี 2535 รวมประมาณ 10,000 ล้านบาท
พันโททวีสินกล่าวว่า หากระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติสมบูรณ์ กทพ.จะเสนอรัฐบาลเพื่อให้ผู้ใช้ทางรับภาระ VAT 7% ซึ่งเป็นไปตามมติครม. ทั้งนี้ทางด่วนเฉลิมมหานครและฉลองรัชจะเปิดให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. 2552 ซึ่งกทพ.จะเริ่มจำหน่ายบัตร Easy Pass ในวันที่20 ต.ค. 2552 สำหรับระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติของทางด่วนบางพลี – สุขสวัสดิ์ ถึงก.ย.คืบหน้า
95.0 % เร็วกว่าแผน 0.71 % คาดว่าจะเปิดบริการได้ใน ธ.ค.2552 ส่วนทางด่วนศรีรัช บริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีซีแอล อยู่ระหว่างติดตั้งระบบคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2553 สำหรับทางพิเศษบูรพาวิถี และทางเชื่อมอยู่ระหว่างการดำเนินการติดตั้งระบบคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2554 โดยตั้งเป้าเมื่อระบบสมบูรณ์จะมีผู้ใช้บัตร Easy Pass ประมาณ 30 % ของผู้ใช้ทางด่วนทั้งหมด 1.3
ล้านคันต่อวัน หรือประมาณ 3แสนคัน โดยบัตร Easy Pass สามารถรองรับปริมาณรถได้ประมาณ 1,000 คัน/ชั่วโมง จากระบบเดิม 400 คัน/ชั่วโมง
พันโททวีสิน รักกตัญญู ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยถึงการผลการบริหารงานในรอบ 3 เดือน (ก.ค.-ก.ย. 52) ว่า จะเร่งรัดแผนการแก้ไขปัญหาจราจรบนทางด่วนกรณีฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุโดยการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น-ลงทางด่วนเบื้องต้น 5 จุดจาก 10 จุด ซึ่งอยู่ระหว่างการจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมและออกแบบ ประกอบด้วย 1. เพิ่มทางขึ้น-ลง ต่อเชื่อมทางแยกต่างระดับมักกะสันกับ โครงการจตุรทิศ ของ กทม.คาดเวนคืนประมาณ 7.5 ไร่ ลงทุนประมาณ 1,420 ล้านบาทดำเนินการ 24 เดือน 2.เพิ่มทางขึ้น-ลง ทางแยกต่างระดับงามวงศ์วาน ลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท ดำเนินการ 12 เดือน 3. เพิ่มทางขึ้น-ลง จากถนนกำแพงเพชร-หมอชิต 2-กับทางพิเศษศรีรัช(ระบบทางด่วนขั้นที่ 2) ที่เข้า-ออกจากทางด้านทิศเหนือ ลงทุนประมาณ 620 ล้านบาท ดำเนินการ 15 เดือน 4.เพิ่มทางลงจากทางพิเศษศรีรัชเข้าสู่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ลงทุนประมาณ 120 ล้านบาท ดำเนินการ 8 เดือน 5. เพิ่มทางขึ้น-ลง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร(ระบบทางด่วนขั้นที่ 1) กับ ถนนทางรถไฟสายเก่าบริเวณทางแยกต่างระดับอาจณรงค์ ประมาณ 210 ล้านบาท ดำเนินการ 15 เดือน
นอกจากนี้ กทพ.ได้ว่าจ้างคณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ทบทวนผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางด่วนพื้นที่ประมาณ 2 แสนตารางวา กำหนดรูปแบบการหาประโยชน์ในแต่ละจุด โดยเฉพาะจุดที่มีศักยภาพเชิงธุรกิจ ย่านสุขุมวิท สีลม เพื่อให้เอกชนเข้ามาลงทุน ทั้งนี้กทพ.มีพื้นที่ในเขตทางทั้งหมด 5 แสนตารางวาให้กทม.นำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคม เช่นทำสวนสาธารณะ ลานกีฬา
ประมาณ 3แสนตารางวา โดยมีรายได้จากค่าเช่ารวมประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี“
กทพ.มีรายได้หลักจากค่าผ่านทางด่วน ในขณะที่มีพื้นที่ในเขตทางมากแต่ไม่มีการจัดการในการใช้ประโยชน์ที่ดี โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพ ซึ่งหลังที่ปรึกษาปรับผังแม่บทเสร็จ จะเห็นความชัดเจนว่า พื้นที่ใดควรนำไปพัฒนาในรูปแบบใดและจะมีรายได้เพิ่มเท่าไร”พันโททวีสินกล่าว
สำหรับผลประกอบการของกทพ.ในปี 2552 มีรายได้รวม 7,316 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 2,559 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนที่มีรายได้ 5,8000 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,242 ล้านบาท ประมาณเท่าตัว เนื่องจากมีการเปิดใช้ทางพิเศษเพิ่มทั้ง สายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก สายบางพลี-สุขสวัสดิ์ และทางเข้า-ออกสนามบินสุวรรณภูมิ โดยประมาณการปี 2553 จะมีรายได้ประมาณ 8,300 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,800 ล้านบาท โดยปัจจุบันมีหนี้รวม 99,700 ล้านบาท และรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT7%) แทนผู้ใช้ทางตั้งแต่ปี 2535 รวมประมาณ 10,000 ล้านบาท
พันโททวีสินกล่าวว่า หากระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติสมบูรณ์ กทพ.จะเสนอรัฐบาลเพื่อให้ผู้ใช้ทางรับภาระ VAT 7% ซึ่งเป็นไปตามมติครม. ทั้งนี้ทางด่วนเฉลิมมหานครและฉลองรัชจะเปิดให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. 2552 ซึ่งกทพ.จะเริ่มจำหน่ายบัตร Easy Pass ในวันที่20 ต.ค. 2552 สำหรับระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติของทางด่วนบางพลี – สุขสวัสดิ์ ถึงก.ย.คืบหน้า
95.0 % เร็วกว่าแผน 0.71 % คาดว่าจะเปิดบริการได้ใน ธ.ค.2552 ส่วนทางด่วนศรีรัช บริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีซีแอล อยู่ระหว่างติดตั้งระบบคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2553 สำหรับทางพิเศษบูรพาวิถี และทางเชื่อมอยู่ระหว่างการดำเนินการติดตั้งระบบคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2554 โดยตั้งเป้าเมื่อระบบสมบูรณ์จะมีผู้ใช้บัตร Easy Pass ประมาณ 30 % ของผู้ใช้ทางด่วนทั้งหมด 1.3
ล้านคันต่อวัน หรือประมาณ 3แสนคัน โดยบัตร Easy Pass สามารถรองรับปริมาณรถได้ประมาณ 1,000 คัน/ชั่วโมง จากระบบเดิม 400 คัน/ชั่วโมง