ตาก - แผนตั้ง “นครแม่สอด” องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเดินเครื่องเต็มตัวแล้ว ล่าสุดเร่งร่าง พ.ร.บ.กำหนดทิศทางการพัฒนา – โครงสร้างบริหาร – รายได้ ก่อนเปิดเวทีรับฟังความเห็นจาก ปชช.ต่อรวมถึงดึงชุมชน หมู่บ้าน ผู้นำท้องถิ่นเป็นแนวร่วม ด้วยการเสนอค่าตอบแทน-คงตำแหน่งกำนัน-ผญบ.ไว้
นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองแม่สอด เทศบาลเมืองแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหาร-สมาชิกสภาท้องถิ่น-หัวหน้าส่วนการงาน ครั้งที่ 17/2552 ที่ห้องประชุมโกเมน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 30 คน เมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อชี้แจงถึงความคืบหน้าการยกฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ “นครแม่สอด”
ภายหลังเดินทางเข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานของ รศ. วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการพระปกเกล้า ในฐานะประธานคณะทำงาน ของนาย อภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการการพัฒนารูปแบบการให้บริการสาธารณะของ อปท.ในลักษณะเครือข่ายหรือกลุ่มพื้นที่และรูปแบบการจัดตั้งองค์กรบริหารจัดการในพื้นที่พิเศษ โดยทางคณะอนุกรรมการฯ ได้เตรียมจัดให้มีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับรายละเอียดของร่างกฎหมาย พ.ร.บ. “นครแม่สอด”
นายเทอดเกียรติ บอกว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ ได้มอบหมายให้ คณะทำงานของ รศ.วุฒิสาร ตันไชย เร่งดำเนินการออกกฎหมาย พ.ร.บ. “นครแม่สอด” Positioning ให้สอดคล้องตามลักษณะความพิเศษของนครแม่สอด ที่เป็นหลักสำคัญชายแดน ประกอบด้วย
1.ด้านศักยภาพ มีการทำข้อตกลง MOU ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ข้างเคียง
2.ด้านเศรษฐกิจ “นครแม่สอด” ในปี 2553 จะ เป็นเมืองค้าชายแดน การลงทุน การใช้แรงงานอุตสาหกรรม ในปี 2554 -2556 จะเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว การใช้แรงงานทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม
3.ด้านการคลัง ในปี 2553 ให้มีรายได้จากท้องถิ่น รายได้การค้าขาย การลงทุน ภาษีประเภทต่างๆและรายได้อื่นๆ และในปี 2554 ให้เริ่มสร้างรายได้จากการค้าชายแดน/การลงทุน/ ภาษี ต่างๆ
และ 4.อำนาจหน้าที่ ในปี 2553 ตามอำนาจหน้าที่ พ.ร.บ.เทศบาลนคร 2496 และตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ.2542 และต่อเนื่องไปในปี 2554 -2556 ตามภารกิจที่มอบหมาย
5.โครงสร้างการบริหาร
6.อำนาจหน้าที่ที่จำเป็นในฐานะเมืองพิเศษ ตาม พ.ร.บ.การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว การจัดค่าธรรมเนียม –สิ่งแวดล้อม-การใช้ประโยชน์ที่ดิน นิคมอุตสาหกรรม การส่งเสริมการลงทุน การจัดผังเมือง ภาษี ล้อเลื่อน ค่าบำรุงทางหลวง การค้าส่งออก และพาณิชยกรรม
รายงานข่าวแจ้งว่า การจัดตั้ง อปท.รูปแบบพิเศษ “นครแม่สอด” ได้มีการเสนอค่าตอบแทนให้กรรมการชุมชน-หมู่บ้าน และให้มีกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน คงอยู่ตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่ ซึ่งนายกรัฐมนตรี นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังได้กล่าวย้ำในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ว่าจะผลักดันเมืองชายแดนแม่สอด ให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ และในเรื่องนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ ในฐานะ ส.ส.ตาก รวมทั้ง ส.ส.ตาก ทั้ง 3 คนอย่างเต็มที่
นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองแม่สอด เทศบาลเมืองแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหาร-สมาชิกสภาท้องถิ่น-หัวหน้าส่วนการงาน ครั้งที่ 17/2552 ที่ห้องประชุมโกเมน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 30 คน เมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อชี้แจงถึงความคืบหน้าการยกฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ “นครแม่สอด”
ภายหลังเดินทางเข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานของ รศ. วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการพระปกเกล้า ในฐานะประธานคณะทำงาน ของนาย อภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการการพัฒนารูปแบบการให้บริการสาธารณะของ อปท.ในลักษณะเครือข่ายหรือกลุ่มพื้นที่และรูปแบบการจัดตั้งองค์กรบริหารจัดการในพื้นที่พิเศษ โดยทางคณะอนุกรรมการฯ ได้เตรียมจัดให้มีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับรายละเอียดของร่างกฎหมาย พ.ร.บ. “นครแม่สอด”
นายเทอดเกียรติ บอกว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ ได้มอบหมายให้ คณะทำงานของ รศ.วุฒิสาร ตันไชย เร่งดำเนินการออกกฎหมาย พ.ร.บ. “นครแม่สอด” Positioning ให้สอดคล้องตามลักษณะความพิเศษของนครแม่สอด ที่เป็นหลักสำคัญชายแดน ประกอบด้วย
1.ด้านศักยภาพ มีการทำข้อตกลง MOU ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ข้างเคียง
2.ด้านเศรษฐกิจ “นครแม่สอด” ในปี 2553 จะ เป็นเมืองค้าชายแดน การลงทุน การใช้แรงงานอุตสาหกรรม ในปี 2554 -2556 จะเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว การใช้แรงงานทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม
3.ด้านการคลัง ในปี 2553 ให้มีรายได้จากท้องถิ่น รายได้การค้าขาย การลงทุน ภาษีประเภทต่างๆและรายได้อื่นๆ และในปี 2554 ให้เริ่มสร้างรายได้จากการค้าชายแดน/การลงทุน/ ภาษี ต่างๆ
และ 4.อำนาจหน้าที่ ในปี 2553 ตามอำนาจหน้าที่ พ.ร.บ.เทศบาลนคร 2496 และตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ.2542 และต่อเนื่องไปในปี 2554 -2556 ตามภารกิจที่มอบหมาย
5.โครงสร้างการบริหาร
6.อำนาจหน้าที่ที่จำเป็นในฐานะเมืองพิเศษ ตาม พ.ร.บ.การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว การจัดค่าธรรมเนียม –สิ่งแวดล้อม-การใช้ประโยชน์ที่ดิน นิคมอุตสาหกรรม การส่งเสริมการลงทุน การจัดผังเมือง ภาษี ล้อเลื่อน ค่าบำรุงทางหลวง การค้าส่งออก และพาณิชยกรรม
รายงานข่าวแจ้งว่า การจัดตั้ง อปท.รูปแบบพิเศษ “นครแม่สอด” ได้มีการเสนอค่าตอบแทนให้กรรมการชุมชน-หมู่บ้าน และให้มีกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน คงอยู่ตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่ ซึ่งนายกรัฐมนตรี นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังได้กล่าวย้ำในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ว่าจะผลักดันเมืองชายแดนแม่สอด ให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ และในเรื่องนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ ในฐานะ ส.ส.ตาก รวมทั้ง ส.ส.ตาก ทั้ง 3 คนอย่างเต็มที่