นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องการประชุมความเห็นแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคที่ผ่านมา ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงว่า ตนได้นั่งรวมประชุมอยู่ด้วย ก็ไม่ได้มีอะไรที่ขัดแย้งกันรุนแรง แต่ได้มีประเด็นที่ถกเถียงกันมากในเรื่องของเขตเลือกตั้ง ส.ส. ที่บางคนเห็นว่า เรื่องแบบเขตเดียวคนเดียวนั้น การซื้อเสียงจะง่าย แต่หากเขตเดียว 3 คน ในที่ประชุมพรรคเห็นว่าดีกว่า
" ปกติหากพรรคมีมติเป็นอย่างไรแล้ว ก็จะไม่มีปัญหา ความเห็นต่างกันมีจริงวันนั้นที่ผมเห็น มีการพูดกันในที่ประชุม ก็เรื่องของประเด็นเรื่องเขตเดียวเบอร์เดียว หรือเขตเดียว 3 คน ไม่เกิน 3 คนดีกว่า แล้วเราใช้มาก็ได้ผล เป็นเหตุผลที่หนักที่สุด ความเห็นแตกต่างกันได้ แต่เมื่อมติพรรคเป็นอย่างไรแล้ว ทุกอย่างก็ต้องยุติ เพราะส่วนใหญ่กว่าจะออกมาเป็นมติก็ต้องมีการถกเถียงกันจนตกผลึกแล้ว และจะมีแนวทางกลั่นกรองอย่างดีซึ่งต้องไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่จู่ๆหัวหน้าพรรคจะมาสั่งให้เอาอย่างนั้น อย่างนี้ไม่ใช่ ผมว่า เรื่องนี้ประธานส.ส. น่าจะมีการเรียกประชุมเพื่อหาข้อยุติเอง" นายชวนกล่าว
เมื่อถามว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับการแก้รธน. ทั้ง 6 ประเด็นหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า รธน.เป็นกฎหมายหลัก หากมีข้อบกพร่องก็สามารถแก้ไขได้ แต่ไม่ใช่แก้แบบลวกๆ ต้องมีการศึกษากันให้ถ่องแท้ และต้องดูว่าแก้เพื่ออะไร แก้เพราะมาตราที่บกพร่องสามารถแก้ได้ แต่หากแก้เพราะเป็นผลไม้ที่มีพิษ ที่มาจาก คมช. จึงอยากจะแก้เพียงมาตราใดมาตราหนึ่ง มันก็ยังเหลือมาตราอื่นอยู่ แต่หากจะแก้เพราะเป็นกฎหมายที่มาจาก คมช.ก็ต้องแก้ทั้งฉบับ ไม่ใช่แก้มาตราใดมาตราหนึ่ง
"รธน.ฉบับปี 50 ต้องยอมรับว่า ในช่วงปลายนั้นเราก็รีบร้อนกัน ผมก็ไม่อยากให้เขาทำงานกันอย่างเร่งรีบ แล้วไม่ตรึกตรองให้รอบครอบ ไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วน ซึ่งไม่ควรทำกันในกฎหมายรธน. และการแก้รธน. ก็คิดว่าไม่ได้ทำให้เกิดการสมานฉันท์กันได้ ผมว่าไม่เกี่ยวกัน" นายชวนกล่าว
ส่วนที่มีการพูดกันว่า ที่ต้องการแก้ ก็แก้เพื่อประโยชน์นักการเมืองประชาชนไม่ได้ประโยชน์ นายชวน กล่าวว่า สิ่งนี้ควรเป็นสิ่งที่ต้องระวัง แต่บทบัญญัติใดที่กระทบต่อนักการเมือง ถ้ากระทบมาก บทบัญญัตินั้นไม่เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยมันก็ควรที่จะต้องแก้ เพื่อให้เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นต้องระวัง บทบัญญัติส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์นักการเมือง ก็แสดงให้เห็นชัดว่า มุ่งเพื่อแก้ประโยชน์ของนักการเมือง เดี๋ยวจะไปเข้ามาตราที่มีปัญหา ที่จริงเป้าหมายไม่ตรงกันก็เลยทำให้เถียงกันเยอะ ซึ่งประเด็นที่พูดกันไม่กี่ประเด็น ซึ่งประเด็นเหล่านั้นไม่น่าจะแตกต่างกันมากนักในความคิดนักการเมือง
**"เทือก"ไม่สนถูกปลด ลั่นเพ้อเจ้อ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาปฏิเสธข่าวที่ว่าตนมีความไม่สบายใจเกี่ยวกับปัญหาความไม่เป็นเอกภาพภายในพรรคเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (รธน.) โดยยืนยันว่า สบายใจดีไม่มีปัญหา อย่างไรก็ตาม ตนมีหน้าที่ดูแลให้บ้านเมืองอยู่ได้ ให้ทุกอย่างเดินหน้าไปได้ด้วยความราบรื่น ซึ่งการที่จะทำอย่างนั้นได้ก็ต้องดูแลให้รัฐบาลแข็งแรงเข้าไว้ ตนก็ทำหน้าที่ไปไม่ได้คิดอะไร
"ไม่ต้องทบทวน เพราะมีหน้าที่ที่จะเดินหน้าต่อไป ส่วนคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยนั้น ถือเป็นเรื่องปกติ แสดงความเห็นกันมาได้ โดยมีประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของประเทศเป็นผู้ตัดสินใจ และเมื่อประชาชนตัดสินใจแล้ว ก็ไม่ต้องมีใครมามีปัญหากันอีก"
ส่วนเรื่องจะฟรีโหวตหรือไม่นั้น เมื่อถึงเวลาพรรคก็มีวิธีการของพรรค ขณะนี้ในพรรคยังไม่มีข้อยุติ ยังต้องพูดคุยกัน แต่ยังไม่ถึงเวลาเมื่อถึงเวลาก็ต้องยุติกันทางใดทางหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายนิพนธ์ บุญญามณี ออกมาบอกว่านายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค อาจจะรู้สึกไม่ดี เพราะสมัยเป็นฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ได้รณรงค์ไม่ให้แก้รธน. แต่ตอนนี้มาเปลี่ยนจุดยืน นายสุเทพ กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติ เพราะในพรรคก็มีคนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ และแสดงความคิดเห็นกัน แต่เมื่อเสียงส่วนใหญ่เห็นอย่างไร ก็ต้องลเอยอย่างนั้น
ส่วนจะมีการคุยนอกรอบกับนายบัญญัติหรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ต้องคุยนอกรอบ คุยในรอบที่พรรคในที่ประชุมก็คุยกันหลายรอบ ก็คุยกันเรื่อยๆ เพราะยังไม่จบ
เมื่อถามว่านายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ถึงขนาดจะล่ารายชื่อเพื่อปลดท่านออกจากเลขาธิการพรรค นายสุเทพ หัวเราะก่อนกล่าวว่า " ก็ดี ผมจะขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง เหนื่อย ที่พูดนี่ไม่ได้น้อยใจนะ เพราะชีวิตผมไม่มีน้อยใจกับใครอยู่แล้ว ไม่มีหรอก ผมก็ทำหน้าที่ของผม" นายสุเทพ กล่าว และว่า ตราบใดที่เราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด ก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก
"ไม่มีหรอกครับ ข่าวที่มีคนชอบไปพูดจะปลดผมออกจากเลขาธิการพรรคบ้าง รองนายกฯบ้าง ไม่มีหรอก ทำไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ ระบบพรรคเขามี คนพูดมันเพ้อเจ้อ คิดเพ้อเจ้อไปเรื่อย" นายสุเทพกล่าว
**"มาร์ค"ยันไม่มีการปลด"เทือก"
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีข่าว ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมล่ารายชื่อปลดนายสุเทพเทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ออกจากเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ว่า ไม่มีเรื่องนี้
**ยันเห็นต่างได้แต่ไม่แตกแยก
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนายชาญชัย จะล่ารายชื่อปลดนายสุเทพ จากรองนายกฯและเลขาธิการพรรคว่า เป็นเพียงความเห็นของนายชาญชัย แต่ในพรรคทุกคนรู้ดีว่า ขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์ ทำหน้าที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และแบกความหวังของคนทั้งประเทศ ในการแก้ไขปัญหา ถ้ามาทำให้เกิดปัญหาเสียเอง พรรคก็เสื่อมความนิยม ตนไม่คิดว่า สมาชิกคนอื่นจะทำให้เรื่องนี้เป็นปัญหาขึ้นมาด้วย ในการประชุมพรรคทุกครั้ง ก็มีการชี้แจงแนวคิดนี้กันทุกครั้ง
ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วยกรณีนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ กับนายวัชระ เพชรทอง นั้น นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคฯ ก็เป็นผู้นัดว่า เรื่องรัฐธรรมนูญ พรรคควรจะคุยกัน ซึ่งก็มีการคุยกันแล้วด้วย โดยมีข้อยุติระดับหนึ่งในพรรคแล้ว
เมื่อถามว่าการแก้รธน.ควรจะเป็นฟรีโหวต หรือ มติพรรค นายสาทิตย์ กล่าวว่า มี 2 แนว และในรธน. ก็รองรับเรื่องเอกสิทธิ์ของส.ส.แต่ละคน แต่แนวปฎิบัติของพรรคที่ผ่านๆมา คือการจะทำอะไรก็ต้องหารือกันก่อน ฉะนั้นสมาชิกก็มีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวได้ แต่ก็ต้องเป็นความเห็นที่รับผิดชอบต่อแนวคิดของตนเองและต่อสังคมด้วย เพราะพรรคมาเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ไม่ควรที่จะทำให้คนมีความรู้สึกว่าในพรรคขัดแย้งกัน แนวคิดนี้ตนยืนยันว่าไม่ใช่เป็นเรื่องความขัดแย้งภายในพรรคที่จะนำไปสู่ความแตกแยก ส่วนจำเป็นที่จะต้องคุยกันนอกรอบนั้น ก็คงไม่จำเป็น
"ผมเข้าใจว่า อาจจะมีบางฝ่ายที่ต้องการเห็นพรรคแตกแยก คนในพรรคเองก็ต้องมองเห็นในจุดนี้ด้วย เพราะความจริงคนที่วิเคราะห์เรื่องนี้ไว้คือท่านบัญญัติ เป็นคนวิเคราะห์ว่า ขณะนี้ยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงข้ามในการโจมตีพรรค ก็มี 2 เรื่องคือ ความพยายามบอกว่าพรรคขัดแย้งกัน และเรื่องที่พยายามจะบอกว่ารัฐบาลก็มีทุจริตเยอะ ดังนั้นในส่วนที่ 1 ก็จะต้องเป็นความรับผิดชอบของคนภายในพรรค ที่จะต้องทำให้เห็นเอกภาพภายในพรรค ส่วนเรื่องทุจริตเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องไปแก้ไขปัญหา และการที่บอกว่า ต่อรองก็ไม่รู้จะมาต่อรองหาอะไร เพราะไม่มีอะไรให้ต่อรอง" นายสาทิตย์ กล่าว
**"วัชระ"พร้อมชี้แจงที่ประชุมพรรค
นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.กทม.ของพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายชุมพล กาญจนะ ประธานส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จะให้ตนแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมพรรคภายหลังจากที่ ได้รณรงค์ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรธน.ว่า ตนพร้อมที่จะออกไปแสดงความคิดเห็น เพราะคิดว่าการแสดงความคิดเห็นถือเป็นเรื่องภายในพรรค ตามระบบประชาธิปไตย
เมื่อถามว่า หากที่สุดแล้วพรรคมีมติว่าจะมีการเดินหน้าแก้ไขรธน. นายวัชระ กล่าวว่า การแสดงความเห็นคัดค้านการแก้ไขรธน. ถือเป็นเอกสิทธิ์ เชื่อว่าผู้ใหญ่ในพรรคจะเข้าใจ เวลานี้ถือว่ายังไม่เห็นกระรอก ยังไม่ต้องโก่งหน้าไม้ โดยในส่วนของการรณรงค์ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรธน.ของตนนั้น ขณะนี้ได้ส่งไม้ต่อไปที่ภาคประชาชนแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าภาคประชาชน จะต้องการอย่างไรต่อไป
ส่วนเรื่องที่มีคนพยายามล่ารายชื่อ ส.ส.ภายในพรรค เพื่อขับไล่ นายสุเทพ ออกจากตำแหน่งนั้น ตนไม่เห็นด้วย
**ชทพ.ทวงสัญญา"เทือก"
นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงการที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หลายคนออกมาคัดค้านการแก้ไขรธน.ว่า อยากให้กำลังใจนายสุเทพ ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้รีบดำเนินการแก้ไขปัญหาในพรรคให้ลุล่วง เพราะเชื่อว่า นายสุเทพ เป็นลูกผู้ชายคนหนึ่ง ที่ยังรักษาสัญญาที่ได้ให้ไว้กับพรรคร่วมรัฐบาล ถ้ามีเหตุเหมาะสมจะเลื่อนการแก้ไขรธน.ออกไปก็ไม่เป็นไร แต่ต้องมีเหตุผลที่รับฟังได้
"พรรคชาติไทยพัฒนา ยังยึดข้อตกลงร่วมระหว่างนายสุเทพ เป็นหลักเพราะนายสุเทพ เป็นผู้จัดการรัฐบาล และพรรคร่วมก็ประสานงานจากนายสุเทพ ซึ่งตราบใดที่ขั้นตอนอยู่ในกระบวนการทั้งหมด เราก็คงไม่มีท่าทีตอบสนองหรือปฏิเสธ ความเห็นอื่น ดังนั้นเมื่อทุกฝ่ายยังมีความคิดเห็นที่แตกต่าง จึงอยากให้โยนอำนาจไปที่ประชาชน เชื่อว่าการทำประชามติจะเป็นความคิดเห็นที่ดีที่สุด และอย่าใช้มวยวัดมาชุมนุมปิดถนนเพื่อเรียกร้องไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ" นายวัชระกล่าว
เมื่อถามว่ามองว่าพรรคประชาธิปัตย์ กำลังเล่นเกมยื้อเวลาที่จะไม่แก้ไขรธน. หรือไม่ นายวัชระ กล่าวว่า ไม่คิดว่าน่าจะเกิดขึ้น วันนี้เรายังมั่นใจกับคำสัญญาลูกผู้ชายของนายสุเทพ และวันนี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด ที่นายกฯ จะออกมาพูดว่า มีคนออกมาคัดค้านเรื่องการแก้ไขรธน. แต่นายกฯจะผิดหากไม่ยอมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
"ทางที่ดีที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์คือ รักษาหน้าให้เลขาธิการพรรค โดยให้มีการทำประชามติ เพื่อให้ประชาชนตัดสินว่าจะแก้ไขหรือไม่ แล้วพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคไหนไม่เห็นด้วย ก็ไปรณรงค์ให้ประชาชนไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา ก็จะไปรณรงค์ให้มีการแก้ไขรธน. เรื่องนี้ก็ต้องว่ากันไป ให้ประชาชนเป็นคนตัดสิน" นายวัชระ กล่าว
" ปกติหากพรรคมีมติเป็นอย่างไรแล้ว ก็จะไม่มีปัญหา ความเห็นต่างกันมีจริงวันนั้นที่ผมเห็น มีการพูดกันในที่ประชุม ก็เรื่องของประเด็นเรื่องเขตเดียวเบอร์เดียว หรือเขตเดียว 3 คน ไม่เกิน 3 คนดีกว่า แล้วเราใช้มาก็ได้ผล เป็นเหตุผลที่หนักที่สุด ความเห็นแตกต่างกันได้ แต่เมื่อมติพรรคเป็นอย่างไรแล้ว ทุกอย่างก็ต้องยุติ เพราะส่วนใหญ่กว่าจะออกมาเป็นมติก็ต้องมีการถกเถียงกันจนตกผลึกแล้ว และจะมีแนวทางกลั่นกรองอย่างดีซึ่งต้องไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่จู่ๆหัวหน้าพรรคจะมาสั่งให้เอาอย่างนั้น อย่างนี้ไม่ใช่ ผมว่า เรื่องนี้ประธานส.ส. น่าจะมีการเรียกประชุมเพื่อหาข้อยุติเอง" นายชวนกล่าว
เมื่อถามว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับการแก้รธน. ทั้ง 6 ประเด็นหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า รธน.เป็นกฎหมายหลัก หากมีข้อบกพร่องก็สามารถแก้ไขได้ แต่ไม่ใช่แก้แบบลวกๆ ต้องมีการศึกษากันให้ถ่องแท้ และต้องดูว่าแก้เพื่ออะไร แก้เพราะมาตราที่บกพร่องสามารถแก้ได้ แต่หากแก้เพราะเป็นผลไม้ที่มีพิษ ที่มาจาก คมช. จึงอยากจะแก้เพียงมาตราใดมาตราหนึ่ง มันก็ยังเหลือมาตราอื่นอยู่ แต่หากจะแก้เพราะเป็นกฎหมายที่มาจาก คมช.ก็ต้องแก้ทั้งฉบับ ไม่ใช่แก้มาตราใดมาตราหนึ่ง
"รธน.ฉบับปี 50 ต้องยอมรับว่า ในช่วงปลายนั้นเราก็รีบร้อนกัน ผมก็ไม่อยากให้เขาทำงานกันอย่างเร่งรีบ แล้วไม่ตรึกตรองให้รอบครอบ ไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วน ซึ่งไม่ควรทำกันในกฎหมายรธน. และการแก้รธน. ก็คิดว่าไม่ได้ทำให้เกิดการสมานฉันท์กันได้ ผมว่าไม่เกี่ยวกัน" นายชวนกล่าว
ส่วนที่มีการพูดกันว่า ที่ต้องการแก้ ก็แก้เพื่อประโยชน์นักการเมืองประชาชนไม่ได้ประโยชน์ นายชวน กล่าวว่า สิ่งนี้ควรเป็นสิ่งที่ต้องระวัง แต่บทบัญญัติใดที่กระทบต่อนักการเมือง ถ้ากระทบมาก บทบัญญัตินั้นไม่เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยมันก็ควรที่จะต้องแก้ เพื่อให้เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นต้องระวัง บทบัญญัติส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์นักการเมือง ก็แสดงให้เห็นชัดว่า มุ่งเพื่อแก้ประโยชน์ของนักการเมือง เดี๋ยวจะไปเข้ามาตราที่มีปัญหา ที่จริงเป้าหมายไม่ตรงกันก็เลยทำให้เถียงกันเยอะ ซึ่งประเด็นที่พูดกันไม่กี่ประเด็น ซึ่งประเด็นเหล่านั้นไม่น่าจะแตกต่างกันมากนักในความคิดนักการเมือง
**"เทือก"ไม่สนถูกปลด ลั่นเพ้อเจ้อ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาปฏิเสธข่าวที่ว่าตนมีความไม่สบายใจเกี่ยวกับปัญหาความไม่เป็นเอกภาพภายในพรรคเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (รธน.) โดยยืนยันว่า สบายใจดีไม่มีปัญหา อย่างไรก็ตาม ตนมีหน้าที่ดูแลให้บ้านเมืองอยู่ได้ ให้ทุกอย่างเดินหน้าไปได้ด้วยความราบรื่น ซึ่งการที่จะทำอย่างนั้นได้ก็ต้องดูแลให้รัฐบาลแข็งแรงเข้าไว้ ตนก็ทำหน้าที่ไปไม่ได้คิดอะไร
"ไม่ต้องทบทวน เพราะมีหน้าที่ที่จะเดินหน้าต่อไป ส่วนคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยนั้น ถือเป็นเรื่องปกติ แสดงความเห็นกันมาได้ โดยมีประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของประเทศเป็นผู้ตัดสินใจ และเมื่อประชาชนตัดสินใจแล้ว ก็ไม่ต้องมีใครมามีปัญหากันอีก"
ส่วนเรื่องจะฟรีโหวตหรือไม่นั้น เมื่อถึงเวลาพรรคก็มีวิธีการของพรรค ขณะนี้ในพรรคยังไม่มีข้อยุติ ยังต้องพูดคุยกัน แต่ยังไม่ถึงเวลาเมื่อถึงเวลาก็ต้องยุติกันทางใดทางหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายนิพนธ์ บุญญามณี ออกมาบอกว่านายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค อาจจะรู้สึกไม่ดี เพราะสมัยเป็นฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ได้รณรงค์ไม่ให้แก้รธน. แต่ตอนนี้มาเปลี่ยนจุดยืน นายสุเทพ กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติ เพราะในพรรคก็มีคนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ และแสดงความคิดเห็นกัน แต่เมื่อเสียงส่วนใหญ่เห็นอย่างไร ก็ต้องลเอยอย่างนั้น
ส่วนจะมีการคุยนอกรอบกับนายบัญญัติหรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ต้องคุยนอกรอบ คุยในรอบที่พรรคในที่ประชุมก็คุยกันหลายรอบ ก็คุยกันเรื่อยๆ เพราะยังไม่จบ
เมื่อถามว่านายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ถึงขนาดจะล่ารายชื่อเพื่อปลดท่านออกจากเลขาธิการพรรค นายสุเทพ หัวเราะก่อนกล่าวว่า " ก็ดี ผมจะขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง เหนื่อย ที่พูดนี่ไม่ได้น้อยใจนะ เพราะชีวิตผมไม่มีน้อยใจกับใครอยู่แล้ว ไม่มีหรอก ผมก็ทำหน้าที่ของผม" นายสุเทพ กล่าว และว่า ตราบใดที่เราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด ก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก
"ไม่มีหรอกครับ ข่าวที่มีคนชอบไปพูดจะปลดผมออกจากเลขาธิการพรรคบ้าง รองนายกฯบ้าง ไม่มีหรอก ทำไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ ระบบพรรคเขามี คนพูดมันเพ้อเจ้อ คิดเพ้อเจ้อไปเรื่อย" นายสุเทพกล่าว
**"มาร์ค"ยันไม่มีการปลด"เทือก"
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีข่าว ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมล่ารายชื่อปลดนายสุเทพเทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ออกจากเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ว่า ไม่มีเรื่องนี้
**ยันเห็นต่างได้แต่ไม่แตกแยก
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนายชาญชัย จะล่ารายชื่อปลดนายสุเทพ จากรองนายกฯและเลขาธิการพรรคว่า เป็นเพียงความเห็นของนายชาญชัย แต่ในพรรคทุกคนรู้ดีว่า ขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์ ทำหน้าที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และแบกความหวังของคนทั้งประเทศ ในการแก้ไขปัญหา ถ้ามาทำให้เกิดปัญหาเสียเอง พรรคก็เสื่อมความนิยม ตนไม่คิดว่า สมาชิกคนอื่นจะทำให้เรื่องนี้เป็นปัญหาขึ้นมาด้วย ในการประชุมพรรคทุกครั้ง ก็มีการชี้แจงแนวคิดนี้กันทุกครั้ง
ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วยกรณีนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ กับนายวัชระ เพชรทอง นั้น นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคฯ ก็เป็นผู้นัดว่า เรื่องรัฐธรรมนูญ พรรคควรจะคุยกัน ซึ่งก็มีการคุยกันแล้วด้วย โดยมีข้อยุติระดับหนึ่งในพรรคแล้ว
เมื่อถามว่าการแก้รธน.ควรจะเป็นฟรีโหวต หรือ มติพรรค นายสาทิตย์ กล่าวว่า มี 2 แนว และในรธน. ก็รองรับเรื่องเอกสิทธิ์ของส.ส.แต่ละคน แต่แนวปฎิบัติของพรรคที่ผ่านๆมา คือการจะทำอะไรก็ต้องหารือกันก่อน ฉะนั้นสมาชิกก็มีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวได้ แต่ก็ต้องเป็นความเห็นที่รับผิดชอบต่อแนวคิดของตนเองและต่อสังคมด้วย เพราะพรรคมาเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ไม่ควรที่จะทำให้คนมีความรู้สึกว่าในพรรคขัดแย้งกัน แนวคิดนี้ตนยืนยันว่าไม่ใช่เป็นเรื่องความขัดแย้งภายในพรรคที่จะนำไปสู่ความแตกแยก ส่วนจำเป็นที่จะต้องคุยกันนอกรอบนั้น ก็คงไม่จำเป็น
"ผมเข้าใจว่า อาจจะมีบางฝ่ายที่ต้องการเห็นพรรคแตกแยก คนในพรรคเองก็ต้องมองเห็นในจุดนี้ด้วย เพราะความจริงคนที่วิเคราะห์เรื่องนี้ไว้คือท่านบัญญัติ เป็นคนวิเคราะห์ว่า ขณะนี้ยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงข้ามในการโจมตีพรรค ก็มี 2 เรื่องคือ ความพยายามบอกว่าพรรคขัดแย้งกัน และเรื่องที่พยายามจะบอกว่ารัฐบาลก็มีทุจริตเยอะ ดังนั้นในส่วนที่ 1 ก็จะต้องเป็นความรับผิดชอบของคนภายในพรรค ที่จะต้องทำให้เห็นเอกภาพภายในพรรค ส่วนเรื่องทุจริตเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องไปแก้ไขปัญหา และการที่บอกว่า ต่อรองก็ไม่รู้จะมาต่อรองหาอะไร เพราะไม่มีอะไรให้ต่อรอง" นายสาทิตย์ กล่าว
**"วัชระ"พร้อมชี้แจงที่ประชุมพรรค
นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.กทม.ของพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายชุมพล กาญจนะ ประธานส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จะให้ตนแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมพรรคภายหลังจากที่ ได้รณรงค์ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรธน.ว่า ตนพร้อมที่จะออกไปแสดงความคิดเห็น เพราะคิดว่าการแสดงความคิดเห็นถือเป็นเรื่องภายในพรรค ตามระบบประชาธิปไตย
เมื่อถามว่า หากที่สุดแล้วพรรคมีมติว่าจะมีการเดินหน้าแก้ไขรธน. นายวัชระ กล่าวว่า การแสดงความเห็นคัดค้านการแก้ไขรธน. ถือเป็นเอกสิทธิ์ เชื่อว่าผู้ใหญ่ในพรรคจะเข้าใจ เวลานี้ถือว่ายังไม่เห็นกระรอก ยังไม่ต้องโก่งหน้าไม้ โดยในส่วนของการรณรงค์ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรธน.ของตนนั้น ขณะนี้ได้ส่งไม้ต่อไปที่ภาคประชาชนแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าภาคประชาชน จะต้องการอย่างไรต่อไป
ส่วนเรื่องที่มีคนพยายามล่ารายชื่อ ส.ส.ภายในพรรค เพื่อขับไล่ นายสุเทพ ออกจากตำแหน่งนั้น ตนไม่เห็นด้วย
**ชทพ.ทวงสัญญา"เทือก"
นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงการที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หลายคนออกมาคัดค้านการแก้ไขรธน.ว่า อยากให้กำลังใจนายสุเทพ ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้รีบดำเนินการแก้ไขปัญหาในพรรคให้ลุล่วง เพราะเชื่อว่า นายสุเทพ เป็นลูกผู้ชายคนหนึ่ง ที่ยังรักษาสัญญาที่ได้ให้ไว้กับพรรคร่วมรัฐบาล ถ้ามีเหตุเหมาะสมจะเลื่อนการแก้ไขรธน.ออกไปก็ไม่เป็นไร แต่ต้องมีเหตุผลที่รับฟังได้
"พรรคชาติไทยพัฒนา ยังยึดข้อตกลงร่วมระหว่างนายสุเทพ เป็นหลักเพราะนายสุเทพ เป็นผู้จัดการรัฐบาล และพรรคร่วมก็ประสานงานจากนายสุเทพ ซึ่งตราบใดที่ขั้นตอนอยู่ในกระบวนการทั้งหมด เราก็คงไม่มีท่าทีตอบสนองหรือปฏิเสธ ความเห็นอื่น ดังนั้นเมื่อทุกฝ่ายยังมีความคิดเห็นที่แตกต่าง จึงอยากให้โยนอำนาจไปที่ประชาชน เชื่อว่าการทำประชามติจะเป็นความคิดเห็นที่ดีที่สุด และอย่าใช้มวยวัดมาชุมนุมปิดถนนเพื่อเรียกร้องไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ" นายวัชระกล่าว
เมื่อถามว่ามองว่าพรรคประชาธิปัตย์ กำลังเล่นเกมยื้อเวลาที่จะไม่แก้ไขรธน. หรือไม่ นายวัชระ กล่าวว่า ไม่คิดว่าน่าจะเกิดขึ้น วันนี้เรายังมั่นใจกับคำสัญญาลูกผู้ชายของนายสุเทพ และวันนี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด ที่นายกฯ จะออกมาพูดว่า มีคนออกมาคัดค้านเรื่องการแก้ไขรธน. แต่นายกฯจะผิดหากไม่ยอมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
"ทางที่ดีที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์คือ รักษาหน้าให้เลขาธิการพรรค โดยให้มีการทำประชามติ เพื่อให้ประชาชนตัดสินว่าจะแก้ไขหรือไม่ แล้วพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคไหนไม่เห็นด้วย ก็ไปรณรงค์ให้ประชาชนไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา ก็จะไปรณรงค์ให้มีการแก้ไขรธน. เรื่องนี้ก็ต้องว่ากันไป ให้ประชาชนเป็นคนตัดสิน" นายวัชระ กล่าว