อยากให้พี่น้องอดทนอ่านคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ในคดีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ให้ครบถ้วน ทั้งคำพิพากษาหลักที่ไทยแพ้ และความเห็นแย้งของตุลาการ 3 ท่านที่ให้ไทยชนะ โดยเฉพาะความเห็นแย้งของเซอร์เพอร์ซี่ สเปนเดอร์ ตุลาการชาวอังกฤษ ที่เปิดโปงเจตนารมณ์คดโกงดินแดงไทยของนายพันเอกแบร์นารด์ ประธานคณะกรรมการปักปันเขตแดนฝรั่งเศส-สยามฝ่ายฝรั่งเศส ผู้จัดทำแผนที่ ANNEX 1 อัตราส่วน 1 : 200,000
เซอร์เพอร์ซี่ สเปนเดอร์เขียนไว้ในความเห็นแย้งของท่านตอนหนึ่งว่า..
..
“ประเทศฝรั่งเศส เพื่อวัตถุประสงค์ของตนเอง ต้องการแผนที่ทั่วไปของอาณาบริเวณเขตแดนทั้งหลาย และต้องการให้แผนที่เหล่านั้นขยายคลุมออกไปไกลเท่าที่จะทำได้จากแต่ละด้านของเส้นเขตแดน...”
ต้องเข้าใจว่าแผนที่ ANNEX 1 เป็นการจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่ฝ่ายเดียว ไม่มีคนไทยเข้าร่วมเลยแม้แต่คนเดียว
แต่มีทหารกัมพูชาชื่อร้อยเอกอุ่มร่วมอยู่ด้วย โดยทำงานร่วมกับทหารฝรั่งเศสชื่อร้อยเอกแคร์แลร์
แม้การจัดทำจะเป็นไปโดยการร้องขอจากคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศสฝ่ายไทยก็ตาม แต่เมื่อแผนที่จัดทำและจัดพิมพ์เสร็จสรรพ คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศสก็ไม่เคยรับรองแผนที่นี้ ไม่เคยมีลายเซ็นร่วม
จึงมิอาจจะไปยอมรับว่าแผนที่นี้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศสที่ตั้งขึ้นตามอนุสัญญาปีค.ศ. 1904
ไทยยกประเด็นนี้เป็นข้อต่อสู้คดีในศาลโลกมาโดยตลอด
แม้ว่าเราจะแพ้ แต่เราก็ยังคงแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองต่อชาวโลกสงวนความเห็นไม่เห็นด้วยเอาไว้ตั้งแต่ปี 2505 นั้น
ไม่มีเหตุผลอะไรที่ไทยเราจะต้องมาเปลี่ยนท่าทีในปีพ.ศ. 2543 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไปลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก หรือที่เรียกว่า MOU 2000
ต้องเข้าใจร่วมกันอีกครั้งชัด ๆ ว่า คำว่า “ANNEX 1” หรือ “ภาคผนวก 1” ไม่ได้หมายความว่าเป็นแผนที่ต่อท้ายอนุสัญญาค.ศ. 1904 แต่เป็นแผนที่ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชาต่อศาลโลก และเราต่อสู้ในศาลโลกระหว่างปี 2502 – 2505 ในลักษณะที่ว่าว่าแผนที่นี้ไม่อาจถือได้ว่าเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดน
แต่เราไปยอมให้มีการเขียนไว้ในข้อ 1 (ค) ของ MOU 2000 ว่ายังไงจำได้ไหมครับ....
“แผนที่ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ที่จัดทำขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส”
อ่านโดยผิวเผินก็ไม่มีอะไรผิดแปลก อ่านลึกลงไปก็จะเกิดคำถามว่าเราไปยอมรับแผนที่เจ้าปัญหาทำไมอย่างที่ผมเขียนมา 2 ตอน แต่อ่านลึกลงไปกว่านั้นโดยผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในเหตุการณ์ปี พ.ศ. 2505 อย่างท่านศ.ดร.สมปอง สุจริตกุลเห็นว่าตรงประโยค “ผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน” นี้เป็นเท็จ และเป็นการไปยอมรับข้อความที่กัมพูชาเขียนมาให้โดยเขาได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว
เพราะนี่คือแผนที่ที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศสฝ่ายฝรั่งเศสทำขึ้นฝ่ายเดียว ไม่เคยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการทั้งชุด
การไปเขียนไว้ว่า “แผนที่ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน” เท่ากับเป็นการกลับหลักการที่ไทยใช้ในการต่อสู้ระหว่างปี 2502 – 2505 และเป็นเสมือนการไปประทับตราว่าแผนที่นี้คณะกรรมการผสม 2 ฝ่ายร่วมกันจัดทำขึ้น
ถ้าจะเขียนไว้ เพื่อนำเอกสารทุกชิ้นขึ้นสู่โต๊ะเจรจา อย่างที่กระทรวงการต่างประเทศชี้แจง ก็ต้องเขียนให้รอบคอบกว่านี้
เช่นเขียนบอกว่าแผนที่เหล่านี้ฝ่ายฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำขึ้น
หรือให้ชัด ๆ ไปเลยก็คือไม่ยอมรับแผนที่ ANNEX 1 ซึ่งเป็น 1 ใน 11 ฉบับของแผนที่ชุดนี้
ก็จริงตามที่กระทรวงการต่างประเทศอ้าง ว่าการเขียนยอมรับไว้เช่นนี้ ไม่ได้แปลว่าเส้นเขตแดนจะต้องเป็นไปตามแผนที่ เพราะจะต้องขึ้นต่ออนุสัญญา 1904 ข้อ 1 ว่าด้วยสันปันน้ำ และเอกสารรวมทั้งข้อเท็จจริงอื่นประกอบ ผม (และท่านอาจารย์ดร.สมปอง สุจริตกุล) ไม่ได้ปฏิเสธ ยังต่อสู้ได้
แต่ปัญหาก็คือในเมื่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศเป็นอย่างนี้ หรือแม้แต่สนธิสัญญาแวร์ซายส์ ค.ศ. 1919 ข้อ 29 ที่วางหลักไว้ว่าเมื่อเกิดมีความแตกต่างกันในเรื่องการปักปันเขตแดนระหว่างตัวบทของสนธิสัญญากับแผนที่ ให้ถือตัวบทเป็นสำคัญ แต่ศาลโลกโดยคำพิพากษาหลักก็ปล้นปราสาทพระวิหารไปจากไทยแล้วด้วยหลักกฎหมายปิดปาก ดังที่คำพิพากษาหลักของศาลโลกเขียนไว้ในหน้า 30 ว่า...
“จึงต้องถือว่าได้ให้ความยินยอมโดยการนิ่งเฉยแล้ว ดังภาษิตลาตินที่ว่า ผู้ที่เงียบเฉยอยู่ย่อมถือว่ายินยอม ถ้าเขามีหน้าที่ที่จะพูดและสามารถจะพูดได้”
เจ็บปวดกันไปทั้งประเทศเมื่อปี 2505
แล้วในปี 2543 เราเสือกไปเขียนเสมือนรับรองไว้อีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไป 38 ปีทำไม ?
เสียค่าโง่ไปครั้งหนึ่งแล้วไม่พอหรือ ยังจะต้องเสี่ยงต่อการเสียค่าโคตรโง่อีกครั้งในอนาคตหรือ ??
ที่ผมใช้คำว่าค่าโคตรโง่ ก็เพราะนอกจากจะเขียนถึงแผนที่ ANNEX 1 นี้แล้ว ยังไป “ยกระดับ” และ “สละข้อต่อสู้ในอดีต” เสียอีก คือไปยกแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นฝ่ายเดียวให้เป็นผลงานของคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส
กระทรวงการต่างประเทศคงจะเถียงผมว่าก็ศาลโลกพิพากษาไว้อย่างนั้นแล้ว
เถียงได้ครับ ผมเคารพ แต่ไม่เห็นด้วย
ตลอดเวลาที่ผมรับฟังกระทรวงการต่างประเทศ ท่านมีทัศนะที่จะเป็นเด็กดีของนานาอารยะประเทศ อยากจะรักษากฎเกณฑ์ระหว่างประเทศทุกกระเบียดนิ้ว อยากจะมีภาพเป็นผู้รักสันติ โดยเฉพาะในกรณีนี้ท่านปักใจเชื่อเหลือเกินว่าในที่สุดเรื่องจะกลับไปสู่ศาลโลกอีกครั้ง และไทยอย่างเก่งก็เสมอตัว ดีไม่ดีจะเสียมากกว่าที่เสียไปเมื่อปี 2505 ท่านไม่ได้คิดมากเท่าที่ควรในเรื่องที่ต้องตั้งมั่นไว้ว่าอย่างไรเสียเราก็ไม่ไปศาลโลกอีกแล้ว ไม่ว่าจะในทางใด ทั้ง ๆ ที่พอจะคิดกันได้ ที่ผมรับไม่ได้จริง ๆ คือท่านบอกว่าเพราะกัมพูชาขู่ว่าถ้าไม่ทำ MOU 2000 ให้เสร็จใน 6 เดือน จะนำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลก
รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ณ ปี 2543 กลัวคำขู่ของกัมพูชาจนลงนามในข้อตกลงที่อาจจะต้องทำให้ไทยต้องเสียค่าโคตรโง่มาแล้ว
รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ณ ปี 2505 จะแก้ไขเยียวยาอย่างไร ???
นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจะต้องตอบคำถามนี้และชี้แจงกับประชาชน
และทั้งที่เป็นรองสุดกู่ในเรื่องคมวาทะและเสน่ห์สาธารณะ แต่เรื่องนี้ผมเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ใจและข้อมูลที่สะสมมาจนตกผลึกในระดับหนึ่ง – ให้โอกาสผมซักถามท่านในเวทีเปิดที่ไหนเมื่อไรก็ได้
เซอร์เพอร์ซี่ สเปนเดอร์เขียนไว้ในความเห็นแย้งของท่านตอนหนึ่งว่า..
..
“ประเทศฝรั่งเศส เพื่อวัตถุประสงค์ของตนเอง ต้องการแผนที่ทั่วไปของอาณาบริเวณเขตแดนทั้งหลาย และต้องการให้แผนที่เหล่านั้นขยายคลุมออกไปไกลเท่าที่จะทำได้จากแต่ละด้านของเส้นเขตแดน...”
ต้องเข้าใจว่าแผนที่ ANNEX 1 เป็นการจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่ฝ่ายเดียว ไม่มีคนไทยเข้าร่วมเลยแม้แต่คนเดียว
แต่มีทหารกัมพูชาชื่อร้อยเอกอุ่มร่วมอยู่ด้วย โดยทำงานร่วมกับทหารฝรั่งเศสชื่อร้อยเอกแคร์แลร์
แม้การจัดทำจะเป็นไปโดยการร้องขอจากคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศสฝ่ายไทยก็ตาม แต่เมื่อแผนที่จัดทำและจัดพิมพ์เสร็จสรรพ คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศสก็ไม่เคยรับรองแผนที่นี้ ไม่เคยมีลายเซ็นร่วม
จึงมิอาจจะไปยอมรับว่าแผนที่นี้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศสที่ตั้งขึ้นตามอนุสัญญาปีค.ศ. 1904
ไทยยกประเด็นนี้เป็นข้อต่อสู้คดีในศาลโลกมาโดยตลอด
แม้ว่าเราจะแพ้ แต่เราก็ยังคงแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองต่อชาวโลกสงวนความเห็นไม่เห็นด้วยเอาไว้ตั้งแต่ปี 2505 นั้น
ไม่มีเหตุผลอะไรที่ไทยเราจะต้องมาเปลี่ยนท่าทีในปีพ.ศ. 2543 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไปลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก หรือที่เรียกว่า MOU 2000
ต้องเข้าใจร่วมกันอีกครั้งชัด ๆ ว่า คำว่า “ANNEX 1” หรือ “ภาคผนวก 1” ไม่ได้หมายความว่าเป็นแผนที่ต่อท้ายอนุสัญญาค.ศ. 1904 แต่เป็นแผนที่ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชาต่อศาลโลก และเราต่อสู้ในศาลโลกระหว่างปี 2502 – 2505 ในลักษณะที่ว่าว่าแผนที่นี้ไม่อาจถือได้ว่าเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดน
แต่เราไปยอมให้มีการเขียนไว้ในข้อ 1 (ค) ของ MOU 2000 ว่ายังไงจำได้ไหมครับ....
“แผนที่ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ที่จัดทำขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส”
อ่านโดยผิวเผินก็ไม่มีอะไรผิดแปลก อ่านลึกลงไปก็จะเกิดคำถามว่าเราไปยอมรับแผนที่เจ้าปัญหาทำไมอย่างที่ผมเขียนมา 2 ตอน แต่อ่านลึกลงไปกว่านั้นโดยผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในเหตุการณ์ปี พ.ศ. 2505 อย่างท่านศ.ดร.สมปอง สุจริตกุลเห็นว่าตรงประโยค “ผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน” นี้เป็นเท็จ และเป็นการไปยอมรับข้อความที่กัมพูชาเขียนมาให้โดยเขาได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว
เพราะนี่คือแผนที่ที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศสฝ่ายฝรั่งเศสทำขึ้นฝ่ายเดียว ไม่เคยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการทั้งชุด
การไปเขียนไว้ว่า “แผนที่ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน” เท่ากับเป็นการกลับหลักการที่ไทยใช้ในการต่อสู้ระหว่างปี 2502 – 2505 และเป็นเสมือนการไปประทับตราว่าแผนที่นี้คณะกรรมการผสม 2 ฝ่ายร่วมกันจัดทำขึ้น
ถ้าจะเขียนไว้ เพื่อนำเอกสารทุกชิ้นขึ้นสู่โต๊ะเจรจา อย่างที่กระทรวงการต่างประเทศชี้แจง ก็ต้องเขียนให้รอบคอบกว่านี้
เช่นเขียนบอกว่าแผนที่เหล่านี้ฝ่ายฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำขึ้น
หรือให้ชัด ๆ ไปเลยก็คือไม่ยอมรับแผนที่ ANNEX 1 ซึ่งเป็น 1 ใน 11 ฉบับของแผนที่ชุดนี้
ก็จริงตามที่กระทรวงการต่างประเทศอ้าง ว่าการเขียนยอมรับไว้เช่นนี้ ไม่ได้แปลว่าเส้นเขตแดนจะต้องเป็นไปตามแผนที่ เพราะจะต้องขึ้นต่ออนุสัญญา 1904 ข้อ 1 ว่าด้วยสันปันน้ำ และเอกสารรวมทั้งข้อเท็จจริงอื่นประกอบ ผม (และท่านอาจารย์ดร.สมปอง สุจริตกุล) ไม่ได้ปฏิเสธ ยังต่อสู้ได้
แต่ปัญหาก็คือในเมื่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศเป็นอย่างนี้ หรือแม้แต่สนธิสัญญาแวร์ซายส์ ค.ศ. 1919 ข้อ 29 ที่วางหลักไว้ว่าเมื่อเกิดมีความแตกต่างกันในเรื่องการปักปันเขตแดนระหว่างตัวบทของสนธิสัญญากับแผนที่ ให้ถือตัวบทเป็นสำคัญ แต่ศาลโลกโดยคำพิพากษาหลักก็ปล้นปราสาทพระวิหารไปจากไทยแล้วด้วยหลักกฎหมายปิดปาก ดังที่คำพิพากษาหลักของศาลโลกเขียนไว้ในหน้า 30 ว่า...
“จึงต้องถือว่าได้ให้ความยินยอมโดยการนิ่งเฉยแล้ว ดังภาษิตลาตินที่ว่า ผู้ที่เงียบเฉยอยู่ย่อมถือว่ายินยอม ถ้าเขามีหน้าที่ที่จะพูดและสามารถจะพูดได้”
เจ็บปวดกันไปทั้งประเทศเมื่อปี 2505
แล้วในปี 2543 เราเสือกไปเขียนเสมือนรับรองไว้อีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไป 38 ปีทำไม ?
เสียค่าโง่ไปครั้งหนึ่งแล้วไม่พอหรือ ยังจะต้องเสี่ยงต่อการเสียค่าโคตรโง่อีกครั้งในอนาคตหรือ ??
ที่ผมใช้คำว่าค่าโคตรโง่ ก็เพราะนอกจากจะเขียนถึงแผนที่ ANNEX 1 นี้แล้ว ยังไป “ยกระดับ” และ “สละข้อต่อสู้ในอดีต” เสียอีก คือไปยกแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นฝ่ายเดียวให้เป็นผลงานของคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส
กระทรวงการต่างประเทศคงจะเถียงผมว่าก็ศาลโลกพิพากษาไว้อย่างนั้นแล้ว
เถียงได้ครับ ผมเคารพ แต่ไม่เห็นด้วย
ตลอดเวลาที่ผมรับฟังกระทรวงการต่างประเทศ ท่านมีทัศนะที่จะเป็นเด็กดีของนานาอารยะประเทศ อยากจะรักษากฎเกณฑ์ระหว่างประเทศทุกกระเบียดนิ้ว อยากจะมีภาพเป็นผู้รักสันติ โดยเฉพาะในกรณีนี้ท่านปักใจเชื่อเหลือเกินว่าในที่สุดเรื่องจะกลับไปสู่ศาลโลกอีกครั้ง และไทยอย่างเก่งก็เสมอตัว ดีไม่ดีจะเสียมากกว่าที่เสียไปเมื่อปี 2505 ท่านไม่ได้คิดมากเท่าที่ควรในเรื่องที่ต้องตั้งมั่นไว้ว่าอย่างไรเสียเราก็ไม่ไปศาลโลกอีกแล้ว ไม่ว่าจะในทางใด ทั้ง ๆ ที่พอจะคิดกันได้ ที่ผมรับไม่ได้จริง ๆ คือท่านบอกว่าเพราะกัมพูชาขู่ว่าถ้าไม่ทำ MOU 2000 ให้เสร็จใน 6 เดือน จะนำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลก
รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ณ ปี 2543 กลัวคำขู่ของกัมพูชาจนลงนามในข้อตกลงที่อาจจะต้องทำให้ไทยต้องเสียค่าโคตรโง่มาแล้ว
รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ณ ปี 2505 จะแก้ไขเยียวยาอย่างไร ???
นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจะต้องตอบคำถามนี้และชี้แจงกับประชาชน
และทั้งที่เป็นรองสุดกู่ในเรื่องคมวาทะและเสน่ห์สาธารณะ แต่เรื่องนี้ผมเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ใจและข้อมูลที่สะสมมาจนตกผลึกในระดับหนึ่ง – ให้โอกาสผมซักถามท่านในเวทีเปิดที่ไหนเมื่อไรก็ได้