ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติเล็งจัดตั้งศูนย์หักบัญชีการซื้อขายสินค้าในประเทศ(Local Switching) แทนใช้เครือข่ายมาสเตอร์การ์ดหรือวีซ่า หวังช่วยลดต้นทุนการใช้เหลือ 0.5 บาทต่อรายการ แทน 2.13 บาท พร้อมยกระดับการใช้บัตรเอเทีเอ็มและเดบิตในการซื้อสินค้ามากกว่าเบิกถอนเงินสด เน้นเจาะกลุ่มนิสิต นักศึกษา
วานนี้ (14ต.ค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้จัดการประชุมชี้แจงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาระบบเชื่อมโยงหักบัญชีการซื้อขายสินค้าในประเทศระหว่างธนาคาร (Local Switching) ซึ่งได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิหลายหน่อยงานที่เกี่ยวข้องมารับฟังแนวทางดังกล่าว
นายฉิม ตันติยาสวัสดิกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.มีแนวคิดจะยกระดับการใช้บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตให้มากขึ้นในการซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งปัจจุบันผู้ถือบัตรเดบิตส่วนใหญ่จะใช้การเบิกถอนเงินสด โดยจากการสำรวจของธปท.ในช่วงปี 50-51 พบว่า ผู้ถือบัตรเดบิตมีการใช้บัตรเพื่อซื้อสินค้าเพียง 1 ครั้งต่อบัตรเท่านั้นในช่วง 2 ปี พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์เชื่อมโยงหักบัญชีการซื้อขายสินค้าในประเทศระหว่างร้านค้ากับธนาคารและธนาคารกับธนาคารแทนปัจจุบันที่ใช้ศูนย์หักบัญชีของต่างชาติ เช่น วีซ่า หรือมาสเตอร์การ์ด ซึ่งคิดค่าธรรมเนียมในอัตราสูง
ทั้งนี้ การจัดตั้งศูนย์ Local Switching ภายในประเทศดังกล่าวจะมีการจัดตั้งคณะทำงานส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาศึกษา โดยมีตัวแทนจากสมาคมธนาคารไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการบัตรเครดิต บริษัทไปรษณีย์ไทย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป้าหมายต้องการส่งเสริมให้มีการใช้จ่ายบัตรแทนเงินสดมากขึ้น พร้อมทั้งลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการและร้านค้าที่เข้าร่วมด้วย
ด้านนายรณศักดิ์ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและกำกับระบบการชำระเงิน ธปท. กล่าวว่า จากการศึกษาของธปท.พบว่า ค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้บริการบัตรเครดิตและบัตรเดบิต และร้านค้าต้องจ่ายในการให้บริการซื้อสินค้าต่อครั้งคิดเป็น 2.13 บาทต่อรายการ แต่หากมีการใช้ศูนย์หักบัญชีภายในประเทศคาดว่าจะช่วยลดค่าบริการเหลือเพียง 0.51 บาทต่อรายการเท่านั้น
ทั้งนี้ ล่าสุด ณ สิ้นปี 51 พบว่า การเบิกถอนเงินสดผ่านบัตรเอทีเอ็มมีมูลค่าทั้งสิ้น 1.64 ล้านล้านบาท จะลดต้นทุนการซื้อขายสินค้าที่เรียกเก็บจากผู้ใช้และผู้ออกบัตรได้ 47.62 ล้านบาท ขณะเดียวกันลดต้นทุนในการใช้เบิกถอนเงินสด 52.07 ล้านบาท รวมเป็นต้นทุนที่ลดลงได้ 99.69 ล้านบาทต่อปี
นายรณศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ธปท.กำลังศึกษาสัญญาระหว่างธนาคารพาณิชย์ ร้านค้า และผู้ให้บริการเครือข่ายการหักบัญชีของต่างชาติที่ธนาคารพาณิชย์ไทยมีสัญญาอยู่ว่าเป็นอย่างไร และกำลังพิจารณาว่าธปท.จะสามารถเข้าไปช่วยเหลือเพิ่มแรงจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์เข้าระบบนี้จะทำได้อย่างไรบ้าง เพราะตามกฎหมายใหม่อนุญาตให้ธปท.เข้าไปช่วยเหลือหรือสนับสนุนทางการเงินได้
ขณะเดียวกันยอมรับว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้กันมาใช้บัตรซื้อสินค้า โดยหักจากบัญชีทันทีในลักษณะบัตรเดบิตแทนการใช้เงินสดไม่ใช่เรื่องง่าย และคณะกรรมการฯ เห็นว่าควรจะต้องมีการใช้วิธีการจูงใจเพิ่มเติม นอกเหนือจากการสะสมแต้มในการซื้อสินค้าแบบบัตรเครดิตแล้วจะเน้นไปยังกลุ่มเป้าหมายนิสิต นักศึกษา และผู้เริ่มทำงาน เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะเชื่อใจในการใช้บัตรแทนเงินสดได้ง่ายกว่า
วานนี้ (14ต.ค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้จัดการประชุมชี้แจงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาระบบเชื่อมโยงหักบัญชีการซื้อขายสินค้าในประเทศระหว่างธนาคาร (Local Switching) ซึ่งได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิหลายหน่อยงานที่เกี่ยวข้องมารับฟังแนวทางดังกล่าว
นายฉิม ตันติยาสวัสดิกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.มีแนวคิดจะยกระดับการใช้บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตให้มากขึ้นในการซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งปัจจุบันผู้ถือบัตรเดบิตส่วนใหญ่จะใช้การเบิกถอนเงินสด โดยจากการสำรวจของธปท.ในช่วงปี 50-51 พบว่า ผู้ถือบัตรเดบิตมีการใช้บัตรเพื่อซื้อสินค้าเพียง 1 ครั้งต่อบัตรเท่านั้นในช่วง 2 ปี พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์เชื่อมโยงหักบัญชีการซื้อขายสินค้าในประเทศระหว่างร้านค้ากับธนาคารและธนาคารกับธนาคารแทนปัจจุบันที่ใช้ศูนย์หักบัญชีของต่างชาติ เช่น วีซ่า หรือมาสเตอร์การ์ด ซึ่งคิดค่าธรรมเนียมในอัตราสูง
ทั้งนี้ การจัดตั้งศูนย์ Local Switching ภายในประเทศดังกล่าวจะมีการจัดตั้งคณะทำงานส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาศึกษา โดยมีตัวแทนจากสมาคมธนาคารไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการบัตรเครดิต บริษัทไปรษณีย์ไทย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป้าหมายต้องการส่งเสริมให้มีการใช้จ่ายบัตรแทนเงินสดมากขึ้น พร้อมทั้งลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการและร้านค้าที่เข้าร่วมด้วย
ด้านนายรณศักดิ์ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและกำกับระบบการชำระเงิน ธปท. กล่าวว่า จากการศึกษาของธปท.พบว่า ค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้บริการบัตรเครดิตและบัตรเดบิต และร้านค้าต้องจ่ายในการให้บริการซื้อสินค้าต่อครั้งคิดเป็น 2.13 บาทต่อรายการ แต่หากมีการใช้ศูนย์หักบัญชีภายในประเทศคาดว่าจะช่วยลดค่าบริการเหลือเพียง 0.51 บาทต่อรายการเท่านั้น
ทั้งนี้ ล่าสุด ณ สิ้นปี 51 พบว่า การเบิกถอนเงินสดผ่านบัตรเอทีเอ็มมีมูลค่าทั้งสิ้น 1.64 ล้านล้านบาท จะลดต้นทุนการซื้อขายสินค้าที่เรียกเก็บจากผู้ใช้และผู้ออกบัตรได้ 47.62 ล้านบาท ขณะเดียวกันลดต้นทุนในการใช้เบิกถอนเงินสด 52.07 ล้านบาท รวมเป็นต้นทุนที่ลดลงได้ 99.69 ล้านบาทต่อปี
นายรณศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ธปท.กำลังศึกษาสัญญาระหว่างธนาคารพาณิชย์ ร้านค้า และผู้ให้บริการเครือข่ายการหักบัญชีของต่างชาติที่ธนาคารพาณิชย์ไทยมีสัญญาอยู่ว่าเป็นอย่างไร และกำลังพิจารณาว่าธปท.จะสามารถเข้าไปช่วยเหลือเพิ่มแรงจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์เข้าระบบนี้จะทำได้อย่างไรบ้าง เพราะตามกฎหมายใหม่อนุญาตให้ธปท.เข้าไปช่วยเหลือหรือสนับสนุนทางการเงินได้
ขณะเดียวกันยอมรับว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้กันมาใช้บัตรซื้อสินค้า โดยหักจากบัญชีทันทีในลักษณะบัตรเดบิตแทนการใช้เงินสดไม่ใช่เรื่องง่าย และคณะกรรมการฯ เห็นว่าควรจะต้องมีการใช้วิธีการจูงใจเพิ่มเติม นอกเหนือจากการสะสมแต้มในการซื้อสินค้าแบบบัตรเครดิตแล้วจะเน้นไปยังกลุ่มเป้าหมายนิสิต นักศึกษา และผู้เริ่มทำงาน เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะเชื่อใจในการใช้บัตรแทนเงินสดได้ง่ายกว่า