ASTVผู้จัดการรายวัน-"มาร์ค"ปิดทาง"ฮุนเซน" ยกข้อพิพาทพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา หารือเวทีอาเซียน ยันแค่ปัญหาทวิภาคี ไม่ต้องนำขึ้นหารือ ชี้เป็นการเข้าใจผิดจากคำให้สัมภาษณ์ของ “กษิต” ประเด็นกฎบัตรอาเซียน ย้ำรัฐบาลไม่ยอมให้ไทยเสียสิทธิ์-เสียดินแดน ยึดแนวทางไม่กระทบสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้าน"ม.ล.วัลย์วิภา" อัดเละ"วศิน" รับแผนที่พระวิหารหวังแยกราชอาณาจักร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า ทางกัมพูชาจะนำปัญหาข้อพิพาทเรื่องพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา มาหารือในเวทีประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 21-25 ต.ค.นี้ว่า คงไม่มี เข้าใจว่าน่าจะเป็นการเข้าใจผิดจากการให้สัมภาษณ์ของนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ประเด็นคือ ในกฎบัตรอาเซียนจะต้องมีการจัดตั้งกลไกยุติข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งหมายถึงว่า เวลาอาเซียนตกลงอะไรกันไป เช่น สมัยก่อนตกลงเรื่องเขตการค้าเสรี ปรากฏว่า ประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถทำตามพันธะสัญญาได้ ก่อนหน้านี้จะไม่มีกลไกที่เป็นข้อยุติว่าจะแก้ไขปัญหากันอย่างไร ตามกฎบัตรใหม่ต้องมีกลไกเช่นนี้ เป็นกลไกที่ทำขึ้นมาเพื่อดูแลว่า สิ่งที่เป็นข้อตกลงอาเซียนสามารถดำเนินการไปได้ คงไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาทวิภาคีสองฝ่ายระหว่างไทย-กัมพูชา
เมื่อถามว่ารัฐบาลยืนยันว่า ปัญหาข้อพิพาทบริเวณปราสาทพระวิหาร เป็นปัญหาทวิภาคีระหว่าไทย-กัมพูชา นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถูกต้อง และรัฐบาลจะเดินหน้าแก้ไขปัญหาในกรอบนี้ และยืนยันว่าทำอย่างนี้ได้ และที่ตนคุยกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ก็ยืนยันแก้ในกรอบนี้
เมื่อถามว่าโอกาสที่สมเด็จฮุนเซน จะเดินทางมาร่วมประชุมอาเซียน จะคุยกันระหว่าง 2 ประเทศหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ปกติเวลาประชุมในลักษณะนี้ จะต้องมีการพูดคุยกันแบบไม่เป็นทางการ หรือจะเป็นทางการก็แล้วแต่ ทั้งนี้จะยืนยันเหมือนเดิมว่าเราต้องแก้ปัญหานี้โดย 1. สันติวิธี 2. ปัญหานี้เป็นทวิภาคี 3. มีข้อตกลง มีกลไกที่ดำเนินการอยู่แล้ว และ 4. อย่างให้เรื่องนี้มากระทบกับความความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ที่จริงในรอบปีนี้ ตนพบมาน่าจะ 3-4 ครั้ง ก็ยืนยันอย่างนี้มาทุกครั้ง
เมื่อถามว่า กรอบบันทึกการเจรจายังไม่ผ่านรัฐสภา จะมีปัญหา หรือทำให้เกิดชะงักในแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มันต้องว่าไปตามกระบวนการ ทุกประเทศจะต้องเคารพกระบวนการภายในของกันและกัน เมื่อรัฐธรรมนูญของเราบอกว่า กรอบการเจรจาต้องผ่านรัฐสภา ก็ต้องทำตามนั้น เขาต้องเข้าใจ
เมื่อถามว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักวิชาการว่ากรอบนี้อาจเป็นส่วหนึ่งที่ทำให้ไทยเสียดินแดนโดยมีกฎหมายรองรับ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าเมื่อเสนอเข้าสู่สภา จะรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก และเท่าที่จำไม่ผิดทางกระทรวงการต่างประเทศไม่ขัดข้อง หากทางสภาฯอยากตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา ฉะนั้นคิดว่ายังห่างไกลมากที่จะไปบอกว่า เราจะไปเสียอะไรทั้งสิ้น เพราะอันนี้เป็นเพียงกรอบการเจรจา และแนวของรัฐบาลในการเจรจาชัดเจนว่า ไม่ต้องการเสียสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น
เมื่อถามว่า มีการอ้างถึงข้อตกลงที่เคยทำเมื่อปี 2543 ว่ามีการอ้างแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ ในข้อตกลงนั้นจะยึดข้อแรกคือ สนธิสัญญา ส่วนแผนที่ต้องเป็นแผนที่ที่สืบเนื่องมาจากสันธิสัญญานั้น หากเข้าไปอ่านคำวินิจฉัยของศาลโลก เมื่อปี 2505 อย่างละเอียด จะทราบว่ามีข้อโต้แย้งกันอยู่ตอดเวลาว่าแผนที่ฉบับใดบ้างที่เป็นแผนที่ที่ถือว่าเป็นงานที่คณะกรรมการมาดำเนินการตามสนธิสัญญา
**"วัลย์วิภา"อัด"วศิน"เรื่องแผนที่
ด้าน ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงกรณีที่นายวศิน ธีรเวชญาณ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศด้านกฎหมายและเขตแดน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ออกมาให้ข่าวด้วยตัวเอง หลังการประชุมที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยอ้างแผนแม่บทที่ทำไว้ เมื่อปี 2546 (TOR46) เรื่องการใช้แผนที่ 1: 200,000 หรือที่รู้จักกันในนามของแผนที่ ฉบับ Annex1 ซึ่งถูกจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศส โดยก่อนหน้านี้ ม.ล.วัลย์วิภาก็ได้ให้ข้อมูลแก่สังคมมาโดยตลอดว่า หากไทยรับเอาแผนที่ฉบับดังกล่าวมาใช้จริง จะต้องเสียแผ่นดินให้แก่เขมรจำนวนมหาศาล ซึ่งนายวศิน ได้ออกมาโต้สองประเด็นคือ
ประเด็นแรก ที่นายวศินกล่าวก็คือ ประเด็นแผนแม่บท TOR46 ที่รับแผนที่ฉบับดังกล่าว เพราะจากคำตัดสินของศาลโลกกรณีปราสาทพระวิหาร ซึ่งนายวศินอ้างว่าศาลโลกได้ตัดสินให้ไทยมีผลผูกพันกับแผนที่ฉบับนี้ และประเด็นที่สองคือสยามไปขอให้ฝรั่งเศสทำแผนที่ให้
“อันนี้ของจริง เป็นเบื้องหลังจริงๆ เพราะคุณวศินเป็นทั้งประธาน JBC ไทย และเป็นที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศด้านกฎหมาย แล้วจู่ๆ มาบอกว่าที่รับแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนเพราะศาลโลกตัดสินให้ไทยยอมรับและผูกพันกับแผนที่ฉบับนี้ และอ้างว่าเป็นเพราะไทยเป็นฝ่ายขอร้องให้ฝรั่งเศสเป็นผู้ทำแผนที่ให้ ซึ่งผิดหมดเลย จากคำตัดสินของศาลโลกปีพ.ศ.2505 ศาลโลกไม่เคยมีคำตัดสินให้ไทยยอมรับหรือใช้แผนที่ฉบับดังกล่าว ส่วนในประเด็นที่ไทยขอให้ฝรั่งเศสทำแผนที่ให้นั้นก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน เนื่องจากแผนที่ฉบับดังกล่าวเกิดจากคณะกรรมการปักปันผสมไทย-ฝรั่งเศส ที่ไม่ได้มีหน้าที่ทำแผนที่ แต่มีหน้าที่ปักปันเขตแดนอย่างเดียว และถูกทำขึ้นหลังจากคณะกรรมการชุดดังกล่าวถูกยุบไปด้วยซ้ำ เพราะคณะกรรมการปักปันผสมถูกยุบในปี ค.ศ.1907 แต่แผนที่ถูกทำขึ้นในปีค.ศ.1908” ม.ล.วัลย์วิภากล่าว
นักวิชาการไทยคดี กล่าวอีกว่า การที่เจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นข้าราชการระดับสูงขนาดนี้ออกมาพูดเช่นนี้ เป็นคำพูดที่หวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หวังให้เกิดการแบ่งแยกราชอาณาจักรไทย ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นการกระทำที่สมควรถูกพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า ทางกัมพูชาจะนำปัญหาข้อพิพาทเรื่องพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา มาหารือในเวทีประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 21-25 ต.ค.นี้ว่า คงไม่มี เข้าใจว่าน่าจะเป็นการเข้าใจผิดจากการให้สัมภาษณ์ของนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ประเด็นคือ ในกฎบัตรอาเซียนจะต้องมีการจัดตั้งกลไกยุติข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งหมายถึงว่า เวลาอาเซียนตกลงอะไรกันไป เช่น สมัยก่อนตกลงเรื่องเขตการค้าเสรี ปรากฏว่า ประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถทำตามพันธะสัญญาได้ ก่อนหน้านี้จะไม่มีกลไกที่เป็นข้อยุติว่าจะแก้ไขปัญหากันอย่างไร ตามกฎบัตรใหม่ต้องมีกลไกเช่นนี้ เป็นกลไกที่ทำขึ้นมาเพื่อดูแลว่า สิ่งที่เป็นข้อตกลงอาเซียนสามารถดำเนินการไปได้ คงไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาทวิภาคีสองฝ่ายระหว่างไทย-กัมพูชา
เมื่อถามว่ารัฐบาลยืนยันว่า ปัญหาข้อพิพาทบริเวณปราสาทพระวิหาร เป็นปัญหาทวิภาคีระหว่าไทย-กัมพูชา นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถูกต้อง และรัฐบาลจะเดินหน้าแก้ไขปัญหาในกรอบนี้ และยืนยันว่าทำอย่างนี้ได้ และที่ตนคุยกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ก็ยืนยันแก้ในกรอบนี้
เมื่อถามว่าโอกาสที่สมเด็จฮุนเซน จะเดินทางมาร่วมประชุมอาเซียน จะคุยกันระหว่าง 2 ประเทศหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ปกติเวลาประชุมในลักษณะนี้ จะต้องมีการพูดคุยกันแบบไม่เป็นทางการ หรือจะเป็นทางการก็แล้วแต่ ทั้งนี้จะยืนยันเหมือนเดิมว่าเราต้องแก้ปัญหานี้โดย 1. สันติวิธี 2. ปัญหานี้เป็นทวิภาคี 3. มีข้อตกลง มีกลไกที่ดำเนินการอยู่แล้ว และ 4. อย่างให้เรื่องนี้มากระทบกับความความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ที่จริงในรอบปีนี้ ตนพบมาน่าจะ 3-4 ครั้ง ก็ยืนยันอย่างนี้มาทุกครั้ง
เมื่อถามว่า กรอบบันทึกการเจรจายังไม่ผ่านรัฐสภา จะมีปัญหา หรือทำให้เกิดชะงักในแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มันต้องว่าไปตามกระบวนการ ทุกประเทศจะต้องเคารพกระบวนการภายในของกันและกัน เมื่อรัฐธรรมนูญของเราบอกว่า กรอบการเจรจาต้องผ่านรัฐสภา ก็ต้องทำตามนั้น เขาต้องเข้าใจ
เมื่อถามว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักวิชาการว่ากรอบนี้อาจเป็นส่วหนึ่งที่ทำให้ไทยเสียดินแดนโดยมีกฎหมายรองรับ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าเมื่อเสนอเข้าสู่สภา จะรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก และเท่าที่จำไม่ผิดทางกระทรวงการต่างประเทศไม่ขัดข้อง หากทางสภาฯอยากตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา ฉะนั้นคิดว่ายังห่างไกลมากที่จะไปบอกว่า เราจะไปเสียอะไรทั้งสิ้น เพราะอันนี้เป็นเพียงกรอบการเจรจา และแนวของรัฐบาลในการเจรจาชัดเจนว่า ไม่ต้องการเสียสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น
เมื่อถามว่า มีการอ้างถึงข้อตกลงที่เคยทำเมื่อปี 2543 ว่ามีการอ้างแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ ในข้อตกลงนั้นจะยึดข้อแรกคือ สนธิสัญญา ส่วนแผนที่ต้องเป็นแผนที่ที่สืบเนื่องมาจากสันธิสัญญานั้น หากเข้าไปอ่านคำวินิจฉัยของศาลโลก เมื่อปี 2505 อย่างละเอียด จะทราบว่ามีข้อโต้แย้งกันอยู่ตอดเวลาว่าแผนที่ฉบับใดบ้างที่เป็นแผนที่ที่ถือว่าเป็นงานที่คณะกรรมการมาดำเนินการตามสนธิสัญญา
**"วัลย์วิภา"อัด"วศิน"เรื่องแผนที่
ด้าน ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงกรณีที่นายวศิน ธีรเวชญาณ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศด้านกฎหมายและเขตแดน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ออกมาให้ข่าวด้วยตัวเอง หลังการประชุมที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยอ้างแผนแม่บทที่ทำไว้ เมื่อปี 2546 (TOR46) เรื่องการใช้แผนที่ 1: 200,000 หรือที่รู้จักกันในนามของแผนที่ ฉบับ Annex1 ซึ่งถูกจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศส โดยก่อนหน้านี้ ม.ล.วัลย์วิภาก็ได้ให้ข้อมูลแก่สังคมมาโดยตลอดว่า หากไทยรับเอาแผนที่ฉบับดังกล่าวมาใช้จริง จะต้องเสียแผ่นดินให้แก่เขมรจำนวนมหาศาล ซึ่งนายวศิน ได้ออกมาโต้สองประเด็นคือ
ประเด็นแรก ที่นายวศินกล่าวก็คือ ประเด็นแผนแม่บท TOR46 ที่รับแผนที่ฉบับดังกล่าว เพราะจากคำตัดสินของศาลโลกกรณีปราสาทพระวิหาร ซึ่งนายวศินอ้างว่าศาลโลกได้ตัดสินให้ไทยมีผลผูกพันกับแผนที่ฉบับนี้ และประเด็นที่สองคือสยามไปขอให้ฝรั่งเศสทำแผนที่ให้
“อันนี้ของจริง เป็นเบื้องหลังจริงๆ เพราะคุณวศินเป็นทั้งประธาน JBC ไทย และเป็นที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศด้านกฎหมาย แล้วจู่ๆ มาบอกว่าที่รับแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนเพราะศาลโลกตัดสินให้ไทยยอมรับและผูกพันกับแผนที่ฉบับนี้ และอ้างว่าเป็นเพราะไทยเป็นฝ่ายขอร้องให้ฝรั่งเศสเป็นผู้ทำแผนที่ให้ ซึ่งผิดหมดเลย จากคำตัดสินของศาลโลกปีพ.ศ.2505 ศาลโลกไม่เคยมีคำตัดสินให้ไทยยอมรับหรือใช้แผนที่ฉบับดังกล่าว ส่วนในประเด็นที่ไทยขอให้ฝรั่งเศสทำแผนที่ให้นั้นก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน เนื่องจากแผนที่ฉบับดังกล่าวเกิดจากคณะกรรมการปักปันผสมไทย-ฝรั่งเศส ที่ไม่ได้มีหน้าที่ทำแผนที่ แต่มีหน้าที่ปักปันเขตแดนอย่างเดียว และถูกทำขึ้นหลังจากคณะกรรมการชุดดังกล่าวถูกยุบไปด้วยซ้ำ เพราะคณะกรรมการปักปันผสมถูกยุบในปี ค.ศ.1907 แต่แผนที่ถูกทำขึ้นในปีค.ศ.1908” ม.ล.วัลย์วิภากล่าว
นักวิชาการไทยคดี กล่าวอีกว่า การที่เจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นข้าราชการระดับสูงขนาดนี้ออกมาพูดเช่นนี้ เป็นคำพูดที่หวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หวังให้เกิดการแบ่งแยกราชอาณาจักรไทย ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นการกระทำที่สมควรถูกพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง