ASTV ผู้จัดการรายวัน - “ฮุนได” เล็งปรับฐานการผลิตในอาเซียน ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เผยบริษัทแม่ที่เกาหลีกำลังศึกษาเลือกผลิตภัณฑ์ ขึ้นไลน์ผลิตแต่ละแห่งให้ชัดเจน เพื่อแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มอาเซียน หลังภาษีปรับเป็น 0% ตามกรอบอาฟต้า ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2553 เป็นต้นไป รวมถึงเปิดเสรีการค้าอาเซียน-อินเดีย เชื่อจะส่งผลดีต่อค่ายรถเล็ก แต่ยักษ์ใหญ่เช่นค่ายรถญี่ปุ่นจะไม่มีผลนัก เหตุใช้ชิ้นส่วนและเน้นผลิตส่งออกมากอยู่แล้ว
นายโยชิซึมิ คุราตะ ประธานบริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย “ASTV ผู้จัดการรายวัน”ว่า ฮุนไดอาจจะเข้ามาทำตลาดในประเทศแถบอาเซียน ช้ากว่าบรรดาค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น แต่ฮุนไดก็มีความมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจและการลงทุนในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเปิดเสรีการค้าตามกรอบอาเซียน หรืออาฟต้า (ASEAN Free Trade Area - AFTA) ที่เตรียมลดภาษีศุลกากรสินค้าในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนลงเป็น 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 จะยิ่งส่งผลดีกับอุตสาหกรรมยานยนต์โดยรวม
“ปัจจุบันฮุนไดมีการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคอาเซียน 3 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งขณะนี้บริษัทแม่ฮุนไดประเทศเกาหลีกำลังศึกษาอยู่ว่า ฐานการผลิตแต่ละแห่งในอาเซียนจะประกอบรถอะไรรุ่นไหนบ้าง เพื่อสนับสนุนและไม่มีปัญหาซ้ำซ้อนกัน เพราะในอนาคตจะได้แลกเปลี่ยนรถยนต์ที่ผลิตระหว่างกัน ภายใต้ภาษี 0% ตามกรอบอาฟต้า และเชื่อว่าจะทำให้โอกาสทางธุรกิจของฮุนไดมีมากยิ่งขึ้น”
ทั้งนี้ฮุนได มอเตอร์ ประเทศเกาหลี มีนโยบายจะผลิตรถยนต์ในหลายๆ ประเทศที่ทำตลาดอยู่ เพียงแต่ขณะนี้ยังไม่สรุปชัดลงไปว่าประเทศไหนจะผลิตรุ่นไหนอย่างไร แต่แนวโน้มยังคงจะพิจารณาตามการผลิตปัจจุบันและความต้องการของตลาด อย่างมาเลเซียเป็นตลาดของรถยนต์นั่งกลุ่มคอมแพ็กคาร์ลงมา อินโดนีเซียเป็นตลาดรถอเนกประสงค์แบบเอ็มพีวี ส่วนประเทศไทยจะเป็นฐานการผลิตรถยนต์นั่งขนาดกลาง หรือหรูหรา ซึ่งคาดว่าในเร็วๆ นี้จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน รวมถึงการมองไปที่ข้อตกลงเสรีทางการค้าระหว่างอาเซียนและอินเดียด้วย แม้จะยังไม่เห็นความชัดเจนในรายละเอียดนัก
นายคุราตะกล่าวว่า นอกจากฮุนได โซนาต้า ที่ประกอบในไทย ซึ่งปัจจุบันหยุดการผลิตเพื่อรอรุ่นไมเนอร์เชนจ์ปีหน้า ส่วนรถรุ่นอื่นๆ ที่จำหน่ายในตลาดรถยนต์ไทย ล้วนนำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ ยังไม่มีการนำรถยนต์จากประเทศอื่นๆ ในอาเซียนมาทำตลาดแต่อย่างใด แม้มาเลเซียและอินโดนีเซียจะประกอบรถยนต์ฮุนไดหลายรุ่นอยู่ก็ตาม
ดังนั้นข้อตกลงอาฟต้าจึงเป็นสิ่งที่ดี ต่อทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์และผู้บริโภคชาวไทย โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ขนาดกลางและเล็กอย่างฮุนได ที่จะมีโอกาสนำเข้ารถยนต์รุ่นใหม่ๆ มาทำตลาด ทำให้เกิดความหลากหลายและเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า รวมถึงการใช้ชิ้นส่วนเพื่อการผลิต เพราะบริษัทแม่พยายามสนับสนุนให้ใช้ชิ้นส่วนผลิตในประเทศนั้นอยู่แล้ว
“อย่างไรก็ตาม การลดภาษียานยนต์เป็น 0% ตามกรอบอาฟต้า คิดว่าจะไม่มีผลต่อบรรดาค่ายยักษ์ใหญ่อย่างบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่น ที่ปกติใช้ชิ้นส่วนเพื่อการผลิตในประเทศมากอยู่แล้ว และยังเน้นการส่งออกมากกว่านำเข้า ทำให้อาจจะไม่เห็นการนำเสนอโปรดักต์ใหม่ๆ ในไทย หรือมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของค่ายรถรายใหญ่ จากข้อตกลงอาฟต้ามากนัก” นายคุราตะกล่าวและว่า
ส่วนเรื่องราคารถยนต์ยังไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจนจะเป็นเท่าไหร่ เพราะการลดภาษีนำเข้าจาก 5% ลงมาเหลือ 0% ถือว่าไม่เยอะมาก เมื่อเทียบกับค่าการบริหารจัดการที่ต้องเสียไป อาทิ ค่าขนส่ง ค่าการตลาด และค่าการสต็อกอะไหล่ ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณากันอีกครั้ง
นายคุราตะกล่าวว่า สำหรับการเลือกผลิตภัณฑ์จากมาเลเซียและอินโดนีเซียมาทำตลาด เมื่อโครงสร้างภาษีนำเข้าอาฟต้าเป็น 0% เรื่องนี้คงต้องดูว่านำเข้ามาแล้ว จะสามารถแข่งขันได้หรือไม่ เพราะถ้าเป็นรถที่ดีและทำราคาได้เหมาะสม ฮุนไดประเทศไทยก็พร้อมที่จะนำเข้ามาทำตลาดอยู่แล้ว
“เก๋งคอมแพกต์รุ่นเอลันตร้าที่ผลิตในมาเลเซีย เรากำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการทำตลาดในไทย เช่นเดียวกับรถเอ็มพีวีรุ่น เอช1 ที่ปัจจุบันนำเข้าจากเกาหลีใต้ แต่ปีหน้าจะเริ่มผลิตที่อินโดนีเซีย ถือเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน”
ในส่วนของเอสยูวีรุ่น ซานตาเฟ่ ที่เคยนำเข้ามาจากประเทศเกาหลีใต้ ปัจจุบันบริษัทได้ยุติการทำตลาดไปแล้ว โดยจะรอให้โรงงานในประเทศมาเลเซียขึ้นไลน์ผลิตปีหน้า ซึ่งเป็นรุ่นปรับโฉม หรือไมเนอร์เชนจ์ และคาดว่าเมื่อนำเข้ามาภายใต้กรอบภาษีอาฟต้า น่าจะสามารถทำราคาสู้กับคู่แข่งได้ ส่วนช่วงเวลาเปิดตัวแนะนำสู่ตลาดไทยนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของทางมาเลเซียว่า จะเริ่มผลิตและส่งออกเมื่อไหร่
นายโยชิซึมิ คุราตะ ประธานบริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย “ASTV ผู้จัดการรายวัน”ว่า ฮุนไดอาจจะเข้ามาทำตลาดในประเทศแถบอาเซียน ช้ากว่าบรรดาค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น แต่ฮุนไดก็มีความมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจและการลงทุนในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเปิดเสรีการค้าตามกรอบอาเซียน หรืออาฟต้า (ASEAN Free Trade Area - AFTA) ที่เตรียมลดภาษีศุลกากรสินค้าในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนลงเป็น 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 จะยิ่งส่งผลดีกับอุตสาหกรรมยานยนต์โดยรวม
“ปัจจุบันฮุนไดมีการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคอาเซียน 3 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งขณะนี้บริษัทแม่ฮุนไดประเทศเกาหลีกำลังศึกษาอยู่ว่า ฐานการผลิตแต่ละแห่งในอาเซียนจะประกอบรถอะไรรุ่นไหนบ้าง เพื่อสนับสนุนและไม่มีปัญหาซ้ำซ้อนกัน เพราะในอนาคตจะได้แลกเปลี่ยนรถยนต์ที่ผลิตระหว่างกัน ภายใต้ภาษี 0% ตามกรอบอาฟต้า และเชื่อว่าจะทำให้โอกาสทางธุรกิจของฮุนไดมีมากยิ่งขึ้น”
ทั้งนี้ฮุนได มอเตอร์ ประเทศเกาหลี มีนโยบายจะผลิตรถยนต์ในหลายๆ ประเทศที่ทำตลาดอยู่ เพียงแต่ขณะนี้ยังไม่สรุปชัดลงไปว่าประเทศไหนจะผลิตรุ่นไหนอย่างไร แต่แนวโน้มยังคงจะพิจารณาตามการผลิตปัจจุบันและความต้องการของตลาด อย่างมาเลเซียเป็นตลาดของรถยนต์นั่งกลุ่มคอมแพ็กคาร์ลงมา อินโดนีเซียเป็นตลาดรถอเนกประสงค์แบบเอ็มพีวี ส่วนประเทศไทยจะเป็นฐานการผลิตรถยนต์นั่งขนาดกลาง หรือหรูหรา ซึ่งคาดว่าในเร็วๆ นี้จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน รวมถึงการมองไปที่ข้อตกลงเสรีทางการค้าระหว่างอาเซียนและอินเดียด้วย แม้จะยังไม่เห็นความชัดเจนในรายละเอียดนัก
นายคุราตะกล่าวว่า นอกจากฮุนได โซนาต้า ที่ประกอบในไทย ซึ่งปัจจุบันหยุดการผลิตเพื่อรอรุ่นไมเนอร์เชนจ์ปีหน้า ส่วนรถรุ่นอื่นๆ ที่จำหน่ายในตลาดรถยนต์ไทย ล้วนนำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ ยังไม่มีการนำรถยนต์จากประเทศอื่นๆ ในอาเซียนมาทำตลาดแต่อย่างใด แม้มาเลเซียและอินโดนีเซียจะประกอบรถยนต์ฮุนไดหลายรุ่นอยู่ก็ตาม
ดังนั้นข้อตกลงอาฟต้าจึงเป็นสิ่งที่ดี ต่อทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์และผู้บริโภคชาวไทย โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ขนาดกลางและเล็กอย่างฮุนได ที่จะมีโอกาสนำเข้ารถยนต์รุ่นใหม่ๆ มาทำตลาด ทำให้เกิดความหลากหลายและเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า รวมถึงการใช้ชิ้นส่วนเพื่อการผลิต เพราะบริษัทแม่พยายามสนับสนุนให้ใช้ชิ้นส่วนผลิตในประเทศนั้นอยู่แล้ว
“อย่างไรก็ตาม การลดภาษียานยนต์เป็น 0% ตามกรอบอาฟต้า คิดว่าจะไม่มีผลต่อบรรดาค่ายยักษ์ใหญ่อย่างบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่น ที่ปกติใช้ชิ้นส่วนเพื่อการผลิตในประเทศมากอยู่แล้ว และยังเน้นการส่งออกมากกว่านำเข้า ทำให้อาจจะไม่เห็นการนำเสนอโปรดักต์ใหม่ๆ ในไทย หรือมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของค่ายรถรายใหญ่ จากข้อตกลงอาฟต้ามากนัก” นายคุราตะกล่าวและว่า
ส่วนเรื่องราคารถยนต์ยังไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจนจะเป็นเท่าไหร่ เพราะการลดภาษีนำเข้าจาก 5% ลงมาเหลือ 0% ถือว่าไม่เยอะมาก เมื่อเทียบกับค่าการบริหารจัดการที่ต้องเสียไป อาทิ ค่าขนส่ง ค่าการตลาด และค่าการสต็อกอะไหล่ ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณากันอีกครั้ง
นายคุราตะกล่าวว่า สำหรับการเลือกผลิตภัณฑ์จากมาเลเซียและอินโดนีเซียมาทำตลาด เมื่อโครงสร้างภาษีนำเข้าอาฟต้าเป็น 0% เรื่องนี้คงต้องดูว่านำเข้ามาแล้ว จะสามารถแข่งขันได้หรือไม่ เพราะถ้าเป็นรถที่ดีและทำราคาได้เหมาะสม ฮุนไดประเทศไทยก็พร้อมที่จะนำเข้ามาทำตลาดอยู่แล้ว
“เก๋งคอมแพกต์รุ่นเอลันตร้าที่ผลิตในมาเลเซีย เรากำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการทำตลาดในไทย เช่นเดียวกับรถเอ็มพีวีรุ่น เอช1 ที่ปัจจุบันนำเข้าจากเกาหลีใต้ แต่ปีหน้าจะเริ่มผลิตที่อินโดนีเซีย ถือเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน”
ในส่วนของเอสยูวีรุ่น ซานตาเฟ่ ที่เคยนำเข้ามาจากประเทศเกาหลีใต้ ปัจจุบันบริษัทได้ยุติการทำตลาดไปแล้ว โดยจะรอให้โรงงานในประเทศมาเลเซียขึ้นไลน์ผลิตปีหน้า ซึ่งเป็นรุ่นปรับโฉม หรือไมเนอร์เชนจ์ และคาดว่าเมื่อนำเข้ามาภายใต้กรอบภาษีอาฟต้า น่าจะสามารถทำราคาสู้กับคู่แข่งได้ ส่วนช่วงเวลาเปิดตัวแนะนำสู่ตลาดไทยนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของทางมาเลเซียว่า จะเริ่มผลิตและส่งออกเมื่อไหร่