คณะรัฐมนตรี (นานมาแล้ว) มีมติเห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมป่าไม้ดำเนินการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสครองราชย์ปีที่ 50
ระยะดำเนินการ 3 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2537-2539 เป้าหมายหลักโดยการปลูกป่า ปลูกเสริมป่า และฟื้นฟูสภาพป่าตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่มีสภาพเสื่อมโทรม 5 ล้านไร่ เพื่อนำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ในปี 2539
การดำเนินงาน 3 ปีแรกไม่แล้วเสร็จขอขยายเวลาอีก 6 ปี ตั้งแต่ 2540-2545 ไม่เสร็จอีก
ขอขยายเวลาอีก 5 ปี ปี 2546-2550
ขณะนี้ภารกิจถ่ายโอนไปยังกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนระบบราชการ
ค่าใช้จ่ายตามโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2537 จนถึงปีงบประมาณ 2550 ซึ่งเป็นปีที่แล้วเสร็จตามเป้าหมาย รวมทั้งสิ้น 17,195.87 ล้านบาท เป็นเงินงบประมาณ 10,600.56 ล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินสมทบจากผู้ร่วมปลูกป่าตามโครงการหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน 6,595.31 ล้านบาท
ที่นำโครงการนี้มาพูดก็เพื่อให้เป็นบทเรียนต่อโครงการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และกำลังจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต เนื่องจากการตรวจสอบของหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบพบว่า
1. การดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผนเดิมถึง 11 ปี ซึ่งไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการนำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสครองราชย์ปีที่ 50
นอกจากล่าช้า 11 ปี การใช้จ่ายตามโครงการก็มากกว่าแผนเดิมถึง 8,200.24 ล้านบาท หรือเพิ่มเป็น 4 เท่าของแผนเดิม
2. การเพิ่มพื้นที่ป่าของโครงการบางส่วนยังไม่สมบูรณ์ ไม่เหมาะสมรวม 109,484.17 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 22.11 ของพื้นที่เป้าหมายการปลูกป่าที่สุ่มตรวจสอบ คือ มีลักษณะเป็นป่าเสื่อมโทรมและถูกบุกรุกประมาณ 62,068.55 ไร่ และพื้นที่บางส่วนเป็นป่าสมบูรณ์อยู่แล้วก่อนมีโครงการประมาณ 47,415.62 ไร่
3. การวางแผน การควบคุม การบริหารจัดการกิจการเพาะชำกล้าไม้ไม่เหมาะสม เป็นช่องทางนำไปสู่การแสวงหาประโยชน์อันมิชอบ มีความเสี่ยงสูง ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณไม่คุ้มค่า หรือบางส่วนสูญเปล่า
- มีการสนับสนุนงบประมาณเพาะชำกล้าไม้สูงกว่าผลการปลูกป่าตามโครงการ 692,766,926 กล้า คิดเป็นเงิน 1,218.31 ล้านบาท
- มีกล้าไม้เหลือข้ามปีเป็นจำนวนมากเพราะไม่สามารถแจกจ่ายภายในปีที่ดำเนินการ ต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติมเพื่อดูแลกล้าไม้ข้ามปี 49.74 ล้านบาท (เฉพาะปีงบประมาณ 2549-2550)
ขณะที่ส่วนใหญ่ไม่มีการจัดสรรงบประมาณดูแลกล้าไม้ข้ามปี ไม่สามารถนำไปปลูกได้ มีรายงานในปี 2543 มีกล้าไม้จำนวน 25,463,839 กล้าที่ไม่สามารถนำไปแจกจ่ายเพื่อปลูกป่าตามโครงการได้ คิดเป็นเงิน 39.72 ล้านบาท
- มีการแจกจ่ายกล้าไม้เพื่อนำไปปลูกนอกเขตอนุรักษ์หรือนอกแปลงเป้าหมายการปลูกเกินกว่าจำนวนเป้าหมายตามโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 และมีการแจกกล้าไม้มากกว่าผลการปลูกป่า (เฉพาะระยะที่ 3 ปี 2546-2550) เป็นจำนวน 79,681,010 กล้า คิดเป็นมูลค่าประมาณ 153.78 ล้านบาท
ในปีสุดท้ายของโครงการคือปี 2550 มีการแจกกล้าไม้มากกว่าผลการปลูกป่าคิดเป็นมูลค่าถึง 88.73 ล้านบาท
ขณะเดียวกันก็ไม่มีระบบการควบคุม ติดตามพื้นที่การนำไปปลูกได้อย่างชัดเจน
- มีกล้าไม้ในแปลงเพาะชำกล้าไม้ที่สุ่มตรวจสอบคงเหลือขาดหรือเกินบัญชีสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ปรากฏในข้อมูลรายงาน หรือไม่มีการจัดทำบัญชีทะเบียนคุมอย่างชัดเจนคิดเป็นเงินประมาณ 3.45 ล้านบาท
- การมอบหมายเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเพาะชำ ไม่คำนึงถึงศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของเจ้าหน้าที่
4. ทำให้เอกชนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการเกิดความไม่เชื่อมั่นต่อโครงการ ซึ่งส่งผลต่อการปฏิบัติงานของภาครัฐ เนื่องจากการดำเนินงานไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย...
ดูเหมือนว่า ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหน โครงการใด ลองได้เข้าไปตรวจสอบแล้ว เป็นต้องเจอดีเข้าทุกราย เช่นเดียวกับที่เห็นกันแล้วในการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อชุมชน หรือเมื่อมีงบประมาณไทยเข้มแข็งในกระทรวงสาธารณสุข ก็มองหาช่องทางกันแล้วว่า จะหาทางร่ำรวย หาทางแสวงหาประโยชน์กันอย่างไร
ที่เขากล้าปู้ยี่ปู้ยำงบประมาณซึ่งมาจากภาษีของประชาชนได้อย่างไม่เกรงกลัวคุกตะราง ก็เพราะยังไม่มีคนโกง คนทุจริตคนไหนติดคุกติดตะรางให้เห็นเป็นตัวอย่างนั่นเอง
ระยะดำเนินการ 3 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2537-2539 เป้าหมายหลักโดยการปลูกป่า ปลูกเสริมป่า และฟื้นฟูสภาพป่าตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่มีสภาพเสื่อมโทรม 5 ล้านไร่ เพื่อนำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ในปี 2539
การดำเนินงาน 3 ปีแรกไม่แล้วเสร็จขอขยายเวลาอีก 6 ปี ตั้งแต่ 2540-2545 ไม่เสร็จอีก
ขอขยายเวลาอีก 5 ปี ปี 2546-2550
ขณะนี้ภารกิจถ่ายโอนไปยังกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนระบบราชการ
ค่าใช้จ่ายตามโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2537 จนถึงปีงบประมาณ 2550 ซึ่งเป็นปีที่แล้วเสร็จตามเป้าหมาย รวมทั้งสิ้น 17,195.87 ล้านบาท เป็นเงินงบประมาณ 10,600.56 ล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินสมทบจากผู้ร่วมปลูกป่าตามโครงการหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน 6,595.31 ล้านบาท
ที่นำโครงการนี้มาพูดก็เพื่อให้เป็นบทเรียนต่อโครงการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และกำลังจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต เนื่องจากการตรวจสอบของหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบพบว่า
1. การดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผนเดิมถึง 11 ปี ซึ่งไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการนำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสครองราชย์ปีที่ 50
นอกจากล่าช้า 11 ปี การใช้จ่ายตามโครงการก็มากกว่าแผนเดิมถึง 8,200.24 ล้านบาท หรือเพิ่มเป็น 4 เท่าของแผนเดิม
2. การเพิ่มพื้นที่ป่าของโครงการบางส่วนยังไม่สมบูรณ์ ไม่เหมาะสมรวม 109,484.17 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 22.11 ของพื้นที่เป้าหมายการปลูกป่าที่สุ่มตรวจสอบ คือ มีลักษณะเป็นป่าเสื่อมโทรมและถูกบุกรุกประมาณ 62,068.55 ไร่ และพื้นที่บางส่วนเป็นป่าสมบูรณ์อยู่แล้วก่อนมีโครงการประมาณ 47,415.62 ไร่
3. การวางแผน การควบคุม การบริหารจัดการกิจการเพาะชำกล้าไม้ไม่เหมาะสม เป็นช่องทางนำไปสู่การแสวงหาประโยชน์อันมิชอบ มีความเสี่ยงสูง ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณไม่คุ้มค่า หรือบางส่วนสูญเปล่า
- มีการสนับสนุนงบประมาณเพาะชำกล้าไม้สูงกว่าผลการปลูกป่าตามโครงการ 692,766,926 กล้า คิดเป็นเงิน 1,218.31 ล้านบาท
- มีกล้าไม้เหลือข้ามปีเป็นจำนวนมากเพราะไม่สามารถแจกจ่ายภายในปีที่ดำเนินการ ต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติมเพื่อดูแลกล้าไม้ข้ามปี 49.74 ล้านบาท (เฉพาะปีงบประมาณ 2549-2550)
ขณะที่ส่วนใหญ่ไม่มีการจัดสรรงบประมาณดูแลกล้าไม้ข้ามปี ไม่สามารถนำไปปลูกได้ มีรายงานในปี 2543 มีกล้าไม้จำนวน 25,463,839 กล้าที่ไม่สามารถนำไปแจกจ่ายเพื่อปลูกป่าตามโครงการได้ คิดเป็นเงิน 39.72 ล้านบาท
- มีการแจกจ่ายกล้าไม้เพื่อนำไปปลูกนอกเขตอนุรักษ์หรือนอกแปลงเป้าหมายการปลูกเกินกว่าจำนวนเป้าหมายตามโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 และมีการแจกกล้าไม้มากกว่าผลการปลูกป่า (เฉพาะระยะที่ 3 ปี 2546-2550) เป็นจำนวน 79,681,010 กล้า คิดเป็นมูลค่าประมาณ 153.78 ล้านบาท
ในปีสุดท้ายของโครงการคือปี 2550 มีการแจกกล้าไม้มากกว่าผลการปลูกป่าคิดเป็นมูลค่าถึง 88.73 ล้านบาท
ขณะเดียวกันก็ไม่มีระบบการควบคุม ติดตามพื้นที่การนำไปปลูกได้อย่างชัดเจน
- มีกล้าไม้ในแปลงเพาะชำกล้าไม้ที่สุ่มตรวจสอบคงเหลือขาดหรือเกินบัญชีสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ปรากฏในข้อมูลรายงาน หรือไม่มีการจัดทำบัญชีทะเบียนคุมอย่างชัดเจนคิดเป็นเงินประมาณ 3.45 ล้านบาท
- การมอบหมายเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเพาะชำ ไม่คำนึงถึงศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของเจ้าหน้าที่
4. ทำให้เอกชนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการเกิดความไม่เชื่อมั่นต่อโครงการ ซึ่งส่งผลต่อการปฏิบัติงานของภาครัฐ เนื่องจากการดำเนินงานไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย...
ดูเหมือนว่า ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหน โครงการใด ลองได้เข้าไปตรวจสอบแล้ว เป็นต้องเจอดีเข้าทุกราย เช่นเดียวกับที่เห็นกันแล้วในการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อชุมชน หรือเมื่อมีงบประมาณไทยเข้มแข็งในกระทรวงสาธารณสุข ก็มองหาช่องทางกันแล้วว่า จะหาทางร่ำรวย หาทางแสวงหาประโยชน์กันอย่างไร
ที่เขากล้าปู้ยี่ปู้ยำงบประมาณซึ่งมาจากภาษีของประชาชนได้อย่างไม่เกรงกลัวคุกตะราง ก็เพราะยังไม่มีคนโกง คนทุจริตคนไหนติดคุกติดตะรางให้เห็นเป็นตัวอย่างนั่นเอง