xs
xsm
sm
md
lg

นักวิชาการติงรัฐดันพ.ร.บ.ค้าปลีกฯ “คุมเข้มหวั่นสินค้าพุ่งเอื้อคนกลาง”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการายวัน -นักวิชาการติง ร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งคุมเข้มโมเดิร์นเทรด ทำสินค้าแพง เพราะมุ่งเอื้อประโยชน์พ่อค้าคนกลางมากกว่าโชวห่วย แนะให้สถาบันวิชาการศึกษาให้รอบคอบก่อนบังคับใช้
 
กระทรวงพาณิชย์  โดยกรมการค้าภายใน ได้มีการจัดสัมมนา เรื่อง พ.รบ.ค้าปลีก : กติกาการอยู่ร่วมกันในยุคทุนไร้พรมแดน เมื่อวันที่ 9 ต.ค.ที่ผ่านา ที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีผู้เข้าร่วมอภิปราย คือ ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าปลีกไทย นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย ด.ต.สุคนธ์ เริงฤทธิ์ ผู้แทนรานค้าปลีกรายย่อยท้องถิ่น นายมานิต รัตสุวรรณ นักวิชาการธุรกิจด้านค้าปลีกค้าส่ง และนายศรัณย์ อัครไพบูลย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.อีสเทิร์น โดยมี ดร.ชยงการ ภมรมาศ รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจ ม.เทคโนโลยีมหานคร เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย
 
ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดแนวทางของร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งฯเอาไว้ 6 ประเด็น โดยมีสาระสำคัญ เช่น เรื่ององค์ประกอบของคณะกรรการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ซึ่งจัดให้มีคณะกรมการระดับจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนนโยบายและแผนป้องกันผลกระทบต่อผู้ค้าปลีกค้าส่ง และมีอำนาจในการอนุญาตในการเปิดสาขาของโมเดิร์นเทรด

  ส่วนของเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งฯ มีสาระสำคัญ คือ การกำหนดพื้นที่ตั้งของโมเดิร์นเทรด สัดส่วนวนของประชากรต่อการตั้งสาขา และเวลาเปิดปิดการให้บริการ และการให้ความรู้กับประชานถึงผลกระทบของโมเดิร์นเทรด
 
ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ทางสมาคมไม่ปฎิเสธเรื่องการออกกฎหมายค้าปลีก ค้าส่ง แต่อยากให้ดูให้ดีว่า ตรงวัตถุประสงค์ที่ต้องการช่วยโชวห่วยจริงหรือเปล่า เพราะเนื้อหาของกฏหมายจะเน้นแต่การควบคุมโมเดิร์นเทรด แต่ไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนว่าจะช่วยโชวห่วยอย่างไร และยังเห็นว่า มีการสร้างภาพโมเดิร์นเทรดเลวร้ายเกินไป เช่น กล่าวาว่าโมเดิร์นเทรดแย่งส่วนแบ่งการตลาดโชวห่วย ทั้งๆ ที่ตัวเลขแสดงให้เห็นว่า มูลค่าการตลาดในธุรกิจค้าปลีกขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี และผู้ประกอบการขนาดเล็กและกลางก็เพิ่มขึ้น ขณะที่ส่วนแบ่งของโมเดิร์นเทรดมีเพียงประมาณ 4 แสนล้านบาท เหลืออีกมากว่า 9 แสนล้านบาท สำหรับโชวห่วย
 
“ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโมเดิร์นเทรดจริง คือ ซัปพายเออร์ ไม่ใช่โชว์ห่วย การควบคุมการยายตัวของโมเดิร์นเทรด นอกจากจะทำให้ประชาชนต้องซื้อของใช้ที่จำเป็นในราคาแพงแล้ว โชวห่วยเองก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากกฏหมายนี้ แต่จะทำให้ซัปพายเออร์กลับมามีอำนาจเหนือตลาดเหมือนในอดีตเท่านั้นเอง” ดร.ฉัตรชัยกล่าว
 
นอกจากนี้ ยังชี้ด้วยว่า มาตรการต่าง ๆ ที่บอกว่าจะช่วยโชวห่วยนั้น ไม่น่าจะเป็นจริงได้ เช่นการรวมร้านโชวห่วยให้สั่งซื้อสินค้ารวมกันได้ เพื่อลดต้นทุนในความเป็นจริง ด้วยขนาดของร้านโชวห่วยที่ไม่เท่ากัน และระบบการจัดการที่ต่างกันมาก ระบบนี้จะไม่ทำให้ต้นทุนสินค้าและการขนส่งลดลงแต่อย่างใด ซึ่งถ้าหากต้องการให้โชว์ห่วยได้ซื้อสินค้าในต้นทุนที่ลดลงจริง ๆ ซัปพายเออร์ควรจะลดราคาต้นทุนสินค้าให้กับโชวห่วยโดยตรงเลยจะดีกว่า
 
ด้านนายมานิต รัตนสุวรรณ นักวิชาการด้านการตลาดก ล่าวว่า หลายประเทศมีการควบคุมการขายตัวขอโมเดิร์นเทรด แต่ประเทศไทยปิดเสรีมากเกินไป และเชื่อว่า โชวห่วยที่ได้รับลกระทบจะต้องปิดกิจการลง มีจำนวนมากว่าตัวเลขของทางราชการ จึงควรจะมีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันธุรกิจของประเทศโดยเร็ว เพราะกฏหมายฉบับนี้ออกมาช้ามากแล้ว
 
ทั้งนี้ ก่อนการสัมมนา ได้มีกลุ่มเครือข่ายประชาชนภาคอีสานพิทักษ์รัฐธรรนูญ ได้มายื่นหนังสือให้กันายวีระศักดิ์ จินารัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อคัดค้านร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่ง เนื่องจากเห็นว่ามีการให้อำนาจคณะรรมการระดับจังหวัดมากเกินไป เป็นการจำกัดสิทธิผู้บริโภค และขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ ม.78 ถึงขอให้มีการทบทวนร่าง พ.ร.บค้าปลีกค้าส่งฯ
กำลังโหลดความคิดเห็น