การเปิดประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งฯอย่างไม่มีปีไม่มีขลุ่ยของกระทรวงพาณิชย์ ทำให้คุณค่าของการทำประชาพิจารณ์ครั้งนี้ ลดเหลือเพียงตรายางรับรองความชอบธรรมในการผลักดันร่างพ.ร.บ.เจ้าปัญหาฉบับนี้ให้บังคับใช้ได้เท่านั้น เพราะหลังจากความพยายามมามากว่า 3 ครั้ง แต่ไม่เคยผ่านเลยแม้แต่ครั้งเดียว ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงความคลุมเครือในเจตนารมณ์ของ ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ว่าทำเพื่อผลประโชน์ของคนส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องในวงจรธุรกิจค้าปลีกค้าส่งจริงหรือเปล่า หรือเป็นเพียงกฎหมายอีกฉบับที่มุ่งเอื้อผลประโยชน์ให้เฉพาะกลุ่ม
แต่ข้อดีอีกมุมหนึ่งของการเปิดประชาพิจารณ์ครั้งนี้ คือได้มีโอกาสรับฟังข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่ไม่เคยถูกนำเสนอออกมา เพราะมีความพยายามสร้างภาพอย่างต่อเนื่องว่า โชวห่วยกำลังล้มหายตามจากไปเพราะโมเดิร์นเทรด ซึ่งวาทกรรมอันนี้ เรียกน้ำตาและความสนใจจากผู้คนจำนวนมาก เพราะสอดคล้องกับความรู้สึกรักชาติและการต่อสู้ในแบบฉบับของชาวบ้านบางระจัน คติที่ฝังใจคนไทยมาช้านาน แต่ในมุมของข้อเท็จจริงทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารการวิจัยจาก ทีดีอาร์ไอ หรือจากนักวิชาการอีกหลาย ๆ ท่าน กลับถูกละเลยไป อย่างน่าเสียดาย
ประเด็นหลักของนักวิชาการในกลุ่ม “มองต่างมุม” ที่ไม่นิมยมวาทกรรแบบละครน้ำเน่าเจ้าน้ำตานี้ เสนอประเด็นปัญหาหลัก ๆ ของร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งฯฉบับของกระทรวงพาณิชย์ เอาไว้ พอสรุปได้ ดังนี้ครับ
1.โชวห่วยไทยกำลังจะตายหมดแล้ว – ข้อเท็จจริง คือ โชวห่วย ก็คือ ธุรกิจอย่างหนึ่ง ที่มีเกิด มีเปลี่ยนแปลง และใครที่ปรับไม่ทัน หรือไม่อยากปรับ ก็ย่อมมีตายเช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ไม่ว่าจะเป็นการเงิน อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ การสร้างภาพว่าโชวห่วยจะตายไม่ได้ ก็ไม่ต่างอะไรจากการสร้างความเชื่อเมื่อสิบกว่าปีก่อนที่ว่า ธนาคารล้มไม่ได้ ทำให้รัฐบาลที่ฉ้อฉล นำเงินของรัฐไปค้ำยันธนาคารเน่า ๆ ไว้จำนวนมาก จนเศรษฐกิจของประเทศเสียหาย และประชาชนไทยต้องรับกรรมกันทั่วหน้า ทุกวันนี้ ธนาคารแทบทุกแห่งร่วมทุนกับต่างชาติ และยังดำเนินธุรกิจได้ดีอยู่ได้ โดยไม่มีใครพูดถึงว่า ธนาคารล้มไม่ได้อีกเลย
2.ห้างโมเดิร์นเทรดแย่งลูกค้าโชวห่วย จนอยู่ไม่ได้ – เมื่อเกือบ 20 ปีก่อนที่จะมีโมเดิร์นเทรดในไทย มูลค่าการตลาดของธุรกิจค้าปลีกค้าส่งฯ มีประมาณ 5 แสนล้านบาท หลังมีโมเดิร์นเทรด ขยายตัวเพิ่มเป็น 1.3 ล้านล้านบาท ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดของโมเดิร์นเทรดทุกเจ้ารวมกันอยู่ที่ประมาณ 4 แสนล้านบาท ที่เหลือคือส่วนแบ่งของโชวห่วย ที่หากเป็นไปตามความเชื่อก็คือร้านโชวห่วยลดลงจากเดิมอีกด้วย ก็แสดงว่า ด้วยจำนวนเท่าเดิม แต่มูลค่าการตลาดเพิ่มขึ้น หมายความว่าอย่างไร
3.ต้องกำจัดโมเดิร์นเทรดเพื่อช่วยโชวห่วย – สารพัดวิธีในร่าง พ.ร.บ.นี้ เช่น การจำกัดการขยายสาขา การกำหนดเวลาเปิดปิด หรือให้หยุดวันอาทิตย์ ฯลฯ ล้วนเป็นไปภายใต้ความเชื่อว่า ถ้าไม่มีโมเดิร์นเทรดเสียอย่าง โชวห่วยก็จะขายของได้มากขึ้น เพราะอะไร เพราะผู้บริโภคไม่มีทางเลือก ต้องเดินคอตกไปซื้อของจากร้านโชวห่วยแบบไม่มีสิทธิเลือกสินค้าเหมือนเดิมใช่ไหม ข้อเท็จจริง คือ มีโมเดิร์นเทรดจดทะเบียนการค้าถูกต้องอยู่ประมาณ 1 ล้านรายทั่วประเทศ ซึ่งหากไม่นับว่า ส่วนแบ่งการตลาดของโชวห่วยไม่ได้น้อยลง เพราะมีมูลค่าการตลาดขยายตัวแล้ว บนแนวคิดนี้ กระทรวงพาณิชย์กำลังเสนอการช่วยเหลือให้กับโชวห่วยจำนวนไม่มากกว่า 1 ล้านรายแบบไม่แยกแยะ โดยแลกกับการบังคับให้ผู้บริโภคที่เป็นประชาชนทั่วไปเกือบ 60 ล้านคนที่ต้องซื้อหาของกินของใช้ทุกวัน ต้องเสียสละซื้อของที่แพ งขึ้นเพราะไม่มีทางเลือก ซึ่งมีตัวอย่างมาแล้ว อย่างในทวีปยุโรปที่มีการบังคับใช้กฎหมายค้าปลีก ทำให้สินค้าประจำวันแพงสาหัสสากรรจ์ ขณะที่ในสหรัฐฯไม่มีนโยบายกีดกันดิสเคาต์สโตร์ ทำให้ประชาชนอเมริกันสามารถซื้อหาข้าวของเหล่านี้ได้ในราคาถูก ทั้ง ๆ ที่ค่าครองชีพสูงจนติดอันดับโลก
เพียง 3 ประเด็นที่สะท้อนความผิดเพี้ยนของร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งฯฉบับนี้ ก็น่าจะเพียงพอแล้วที่กระทรวงพาณิชย์ จะทบทวนเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งฯให้ดีก่อน ว่า เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคอย่างแท้จริงแล้วหรือยัง เพราะข้อมูลสุดท้ายนั้นน่าสนใจยิ่งกว่า ที่ว่า โชวห่วยที่ปรับตัวและอยู่รอดได้นั้น เพราะเปลี่ยนจากการสั่งซื้อสินค้าจากยี่ปั๊ว ซาปั๊ว มาเป็นไปซื้อจากโมเดิร์นเทรดที่มีส่วนต่างของราคามากพอที่จะมาขายทำกำไรได้ดีกว่าซื้อจากยี่ปั๊วซาปั๊ว ลูกมือของซัพพลายเออร์รายใหญ่ เพราะวันดีคืนดี ยังโดนบังคับซื้อสินค้าพ่วงมาเสียอีก
เพียงแค่นี้ก็พอจะรู้เจตนาซ่อนเร้นของร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งฯฉบับกระทรวงพาณิชยืแล้วใช่ไหมว่า แท้จริงแล้ว เป้าหมายที่ต้องการไม่ใช่ช่วยโชวห่วยอย่างที่กล่าวอ้าง เพราะผู้ที่จะได้รับประโยชน์ไปเต็ม ๆ จากการบังคับใช้กฏหมายนี้ คือ ยี่ปั๊วซาปั๊ว หรือซัพพลายเออร์เล็ก ใหญ่ ทั้งหลายนั่นเอง
แต่ข้อดีอีกมุมหนึ่งของการเปิดประชาพิจารณ์ครั้งนี้ คือได้มีโอกาสรับฟังข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่ไม่เคยถูกนำเสนอออกมา เพราะมีความพยายามสร้างภาพอย่างต่อเนื่องว่า โชวห่วยกำลังล้มหายตามจากไปเพราะโมเดิร์นเทรด ซึ่งวาทกรรมอันนี้ เรียกน้ำตาและความสนใจจากผู้คนจำนวนมาก เพราะสอดคล้องกับความรู้สึกรักชาติและการต่อสู้ในแบบฉบับของชาวบ้านบางระจัน คติที่ฝังใจคนไทยมาช้านาน แต่ในมุมของข้อเท็จจริงทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารการวิจัยจาก ทีดีอาร์ไอ หรือจากนักวิชาการอีกหลาย ๆ ท่าน กลับถูกละเลยไป อย่างน่าเสียดาย
ประเด็นหลักของนักวิชาการในกลุ่ม “มองต่างมุม” ที่ไม่นิมยมวาทกรรแบบละครน้ำเน่าเจ้าน้ำตานี้ เสนอประเด็นปัญหาหลัก ๆ ของร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งฯฉบับของกระทรวงพาณิชย์ เอาไว้ พอสรุปได้ ดังนี้ครับ
1.โชวห่วยไทยกำลังจะตายหมดแล้ว – ข้อเท็จจริง คือ โชวห่วย ก็คือ ธุรกิจอย่างหนึ่ง ที่มีเกิด มีเปลี่ยนแปลง และใครที่ปรับไม่ทัน หรือไม่อยากปรับ ก็ย่อมมีตายเช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ไม่ว่าจะเป็นการเงิน อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ การสร้างภาพว่าโชวห่วยจะตายไม่ได้ ก็ไม่ต่างอะไรจากการสร้างความเชื่อเมื่อสิบกว่าปีก่อนที่ว่า ธนาคารล้มไม่ได้ ทำให้รัฐบาลที่ฉ้อฉล นำเงินของรัฐไปค้ำยันธนาคารเน่า ๆ ไว้จำนวนมาก จนเศรษฐกิจของประเทศเสียหาย และประชาชนไทยต้องรับกรรมกันทั่วหน้า ทุกวันนี้ ธนาคารแทบทุกแห่งร่วมทุนกับต่างชาติ และยังดำเนินธุรกิจได้ดีอยู่ได้ โดยไม่มีใครพูดถึงว่า ธนาคารล้มไม่ได้อีกเลย
2.ห้างโมเดิร์นเทรดแย่งลูกค้าโชวห่วย จนอยู่ไม่ได้ – เมื่อเกือบ 20 ปีก่อนที่จะมีโมเดิร์นเทรดในไทย มูลค่าการตลาดของธุรกิจค้าปลีกค้าส่งฯ มีประมาณ 5 แสนล้านบาท หลังมีโมเดิร์นเทรด ขยายตัวเพิ่มเป็น 1.3 ล้านล้านบาท ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดของโมเดิร์นเทรดทุกเจ้ารวมกันอยู่ที่ประมาณ 4 แสนล้านบาท ที่เหลือคือส่วนแบ่งของโชวห่วย ที่หากเป็นไปตามความเชื่อก็คือร้านโชวห่วยลดลงจากเดิมอีกด้วย ก็แสดงว่า ด้วยจำนวนเท่าเดิม แต่มูลค่าการตลาดเพิ่มขึ้น หมายความว่าอย่างไร
3.ต้องกำจัดโมเดิร์นเทรดเพื่อช่วยโชวห่วย – สารพัดวิธีในร่าง พ.ร.บ.นี้ เช่น การจำกัดการขยายสาขา การกำหนดเวลาเปิดปิด หรือให้หยุดวันอาทิตย์ ฯลฯ ล้วนเป็นไปภายใต้ความเชื่อว่า ถ้าไม่มีโมเดิร์นเทรดเสียอย่าง โชวห่วยก็จะขายของได้มากขึ้น เพราะอะไร เพราะผู้บริโภคไม่มีทางเลือก ต้องเดินคอตกไปซื้อของจากร้านโชวห่วยแบบไม่มีสิทธิเลือกสินค้าเหมือนเดิมใช่ไหม ข้อเท็จจริง คือ มีโมเดิร์นเทรดจดทะเบียนการค้าถูกต้องอยู่ประมาณ 1 ล้านรายทั่วประเทศ ซึ่งหากไม่นับว่า ส่วนแบ่งการตลาดของโชวห่วยไม่ได้น้อยลง เพราะมีมูลค่าการตลาดขยายตัวแล้ว บนแนวคิดนี้ กระทรวงพาณิชย์กำลังเสนอการช่วยเหลือให้กับโชวห่วยจำนวนไม่มากกว่า 1 ล้านรายแบบไม่แยกแยะ โดยแลกกับการบังคับให้ผู้บริโภคที่เป็นประชาชนทั่วไปเกือบ 60 ล้านคนที่ต้องซื้อหาของกินของใช้ทุกวัน ต้องเสียสละซื้อของที่แพ งขึ้นเพราะไม่มีทางเลือก ซึ่งมีตัวอย่างมาแล้ว อย่างในทวีปยุโรปที่มีการบังคับใช้กฎหมายค้าปลีก ทำให้สินค้าประจำวันแพงสาหัสสากรรจ์ ขณะที่ในสหรัฐฯไม่มีนโยบายกีดกันดิสเคาต์สโตร์ ทำให้ประชาชนอเมริกันสามารถซื้อหาข้าวของเหล่านี้ได้ในราคาถูก ทั้ง ๆ ที่ค่าครองชีพสูงจนติดอันดับโลก
เพียง 3 ประเด็นที่สะท้อนความผิดเพี้ยนของร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งฯฉบับนี้ ก็น่าจะเพียงพอแล้วที่กระทรวงพาณิชย์ จะทบทวนเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งฯให้ดีก่อน ว่า เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคอย่างแท้จริงแล้วหรือยัง เพราะข้อมูลสุดท้ายนั้นน่าสนใจยิ่งกว่า ที่ว่า โชวห่วยที่ปรับตัวและอยู่รอดได้นั้น เพราะเปลี่ยนจากการสั่งซื้อสินค้าจากยี่ปั๊ว ซาปั๊ว มาเป็นไปซื้อจากโมเดิร์นเทรดที่มีส่วนต่างของราคามากพอที่จะมาขายทำกำไรได้ดีกว่าซื้อจากยี่ปั๊วซาปั๊ว ลูกมือของซัพพลายเออร์รายใหญ่ เพราะวันดีคืนดี ยังโดนบังคับซื้อสินค้าพ่วงมาเสียอีก
เพียงแค่นี้ก็พอจะรู้เจตนาซ่อนเร้นของร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งฯฉบับกระทรวงพาณิชยืแล้วใช่ไหมว่า แท้จริงแล้ว เป้าหมายที่ต้องการไม่ใช่ช่วยโชวห่วยอย่างที่กล่าวอ้าง เพราะผู้ที่จะได้รับประโยชน์ไปเต็ม ๆ จากการบังคับใช้กฏหมายนี้ คือ ยี่ปั๊วซาปั๊ว หรือซัพพลายเออร์เล็ก ใหญ่ ทั้งหลายนั่นเอง