ASTVผู้จัดการรายวัน- “กฟผ.”กางผลสำรวจความเห็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่ 64% เห็นด้วยกับการที่ไทยต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แต่ต้องมึนเมื่อ 66% กลับไม่ให้ตั้งโรงไฟฟ้าในชุมชนตนเอง ปลอบใจอย่างน้อยคนไทยก็ยังต้องการ
นายสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ.ได้ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาจัดทำผลสำรวจความเห็นของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปรากฏว่ามีผู้ตอบแบบสำรวจ 44,815 ชุด พบว่า คนส่วนใหญ่หรือ 64% เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย 32% ไม่เห็นด้วยและ 4 %ไม่แสดงความคิดเห็น
สำหรับคำถามที่ว่าให้สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเขตจังหวัดตนเอง 59% ไม่เห็นด้วย 32% เห็นด้วย และ 9% ไม่ออกความคิดเห็น ขณะที่ผู้ตอบแบบคำถามว่าให้สร้างในเขตชุมชนตนเองหรือไม่ 66 % ไม่เห็นด้วย24% เห็นด้วย และ 10% ไม่ออกความคิดเห็น
“ผลสำรวจที่ออกมาแม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับที่จะให้ตั้งในชุมชนตนเองอาจจะยังกังวลเรื่องความปลอดภัยแต่อย่างน้อยคนไทยก็ยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากขึ้น ซึ่งทุกฝ่ายก็คงจะชี้แจงข้อดีข้อเสียการก่อสร้างต่อไป ส่วนจะสร้างหรือไม่ขึ้นอยู่กับการยอมรับของ ” นายสมบูรณ์กล่าว
ทั้งนี้ตามแผนการศึกษาการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กฟผ.ได้จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา เบิร์นแอนโลว์มาศึกษาทุกด้านและศึกษาเสร็จเดือนพฤษภาคม 2553 เป้าหมายเดิม จะมีการก่อสร้าง 2 บล็อก ปี 2563-2564 กำลังผลิต 2,000 เมกะวัตต์ ซึ่งการศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นส่วนหนึ่งของการกระจายเชื้อเพลิงจากที่ไทยพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติผลิตไฟ 70% หากเกิดปัญหาระบบการจ่ายก๊าซฯเพียงน้อยนิดจะกระทบกับความมั่นคงด้านไฟฟ้าเป็นวงกว้างซึ่งปัญหานี้ได้เกิดขึ้นแล้ว สิงหาคม-กันยายน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าล่าสุด นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ลงนามแต่งตั้งอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงแผนพีดีพี ซึ่งมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานและมีตัวแทนทุกภาคส่วน ทั้ง ฝ่ายราชการ 3 การไฟฟ้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มีตัวแทนนักวิชาการและภาคประชาชน เช่น นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด นายพรายพล คุ้มทรัพย์ เข้าร่วมเป็นกรรมการ ก็เชื่อว่าจะเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่ทุกฝ่ายจะได้ระดมความเห็นให้พีดีพีเป็นของภาคประชาชน หลังจากนั้นจะมีการจัดทำประชาพิจารณ์
นายสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ.ได้ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาจัดทำผลสำรวจความเห็นของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปรากฏว่ามีผู้ตอบแบบสำรวจ 44,815 ชุด พบว่า คนส่วนใหญ่หรือ 64% เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย 32% ไม่เห็นด้วยและ 4 %ไม่แสดงความคิดเห็น
สำหรับคำถามที่ว่าให้สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเขตจังหวัดตนเอง 59% ไม่เห็นด้วย 32% เห็นด้วย และ 9% ไม่ออกความคิดเห็น ขณะที่ผู้ตอบแบบคำถามว่าให้สร้างในเขตชุมชนตนเองหรือไม่ 66 % ไม่เห็นด้วย24% เห็นด้วย และ 10% ไม่ออกความคิดเห็น
“ผลสำรวจที่ออกมาแม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับที่จะให้ตั้งในชุมชนตนเองอาจจะยังกังวลเรื่องความปลอดภัยแต่อย่างน้อยคนไทยก็ยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากขึ้น ซึ่งทุกฝ่ายก็คงจะชี้แจงข้อดีข้อเสียการก่อสร้างต่อไป ส่วนจะสร้างหรือไม่ขึ้นอยู่กับการยอมรับของ ” นายสมบูรณ์กล่าว
ทั้งนี้ตามแผนการศึกษาการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กฟผ.ได้จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา เบิร์นแอนโลว์มาศึกษาทุกด้านและศึกษาเสร็จเดือนพฤษภาคม 2553 เป้าหมายเดิม จะมีการก่อสร้าง 2 บล็อก ปี 2563-2564 กำลังผลิต 2,000 เมกะวัตต์ ซึ่งการศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นส่วนหนึ่งของการกระจายเชื้อเพลิงจากที่ไทยพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติผลิตไฟ 70% หากเกิดปัญหาระบบการจ่ายก๊าซฯเพียงน้อยนิดจะกระทบกับความมั่นคงด้านไฟฟ้าเป็นวงกว้างซึ่งปัญหานี้ได้เกิดขึ้นแล้ว สิงหาคม-กันยายน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าล่าสุด นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ลงนามแต่งตั้งอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงแผนพีดีพี ซึ่งมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานและมีตัวแทนทุกภาคส่วน ทั้ง ฝ่ายราชการ 3 การไฟฟ้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มีตัวแทนนักวิชาการและภาคประชาชน เช่น นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด นายพรายพล คุ้มทรัพย์ เข้าร่วมเป็นกรรมการ ก็เชื่อว่าจะเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่ทุกฝ่ายจะได้ระดมความเห็นให้พีดีพีเป็นของภาคประชาชน หลังจากนั้นจะมีการจัดทำประชาพิจารณ์