เอเจนซี- นิตยสารฟอร์บส์ รายงานในวันุพุธ (30 ก.ย.) ผลการจัดอันดับ 400 อภิมหาเศรษฐีอเมริกันผู้ร่ำรวยที่สุดประจำปีนี้ โดยปรากฏว่า พวกผู้มั่งคั่งสุดๆ ของสหรัฐฯ อยู่ในฐานะที่ "ยากจน" ลงรวมแล้วประมาณ 300,000 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดทุนและตลาดอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำ แต่บิล เกตส์ยังรั้งตำแหน่งอเมริกันชนที่รวยที่สุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 16
อภิมหาเศรษฐีอเมริกันสุดรวย 10 อันดับแรกในปีนี้ ยังอยู่ในอันดับเดียวกับปี 2008 โดยบิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟต์ คอร์ป มีสินทรัพย์รวม 50,000 ล้านดอลลาร์ ลดลงจากปีก่อน 7,000 ล้านดอลลาร์
ส่วนวอร์เรน บัฟเฟตต์ แม้จะรั้งอันดับ 2 เช่นเดิม แต่เขาเป็นเศรษฐีที่รวยลดลงมากที่สุด คือถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากราคาหุ้นของบริษัทเบิร์กไชร์ เฮธาเวย์ของเขาทรุดดิ่งลงอย่างหนัก กระทั่งปีนี้บัฟเฟตต์มีสินทรัพย์รวมเหลือ 40,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับอันดับ 3 คือ ลอเรนซ์ เอลลิสัน ผู้ก่อตั้งออเรเคิล คอร์ป มีสินทรัพย์ 27,000 ล้านดอลลาร์ เขาเป็นพวกติดท็อปเทนคนเดียวที่สินทรัพย์ไม่ลดลง
ฟอร์บส์อธิบายว่า การการประเมินความมั่งคั่งเพื่อจัดอันดับคราวนี้ คิดจากมูลค่าสินทรัพย์ ณ วันที่ 10 กันยายน ดังนั้น จึงมีหลายคนที่มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้น นับแต่เดือนมีนาคม อันเป็นเวลาที่ฟอร์บส์ใช้เป็นจุดอ้างอิงในการจัดอันดับอภิมหาเศรษฐีของทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว อภิมหาเศรษฐี 10 อันดับแรกมีสินทรัพย์ลดลงจากปีที่แล้ว รวมเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์ แมทธิว มิลเลอร์ บรรณาธิการผู้ดูแลการจัดอันดับของฟอร์บส์กล่าวถึงตัวเลขที่ลดลงอย่างมหาศาลนี้ว่าเป็น "ภาวะเลือดอาบ" ของความมั่งคั่งของพวกมหาเศรษฐีอเมริกันรวมทั้งผู้ที่ไม่ร่ำรวยถึงระดับนี้ด้วย
เมื่อคิดรวมมหาเศรษฐีอเมริกันทั้ง 400 คนในการจัดอันดับ พวกเขามีความร่ำรวยลดลงจากปีที่แล้ว 19 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 1.27 ล้านล้านดอลลาร์ จากเดิม 1.57 ล้านล้านดอลลาร์
"แต่ไม่มีใครจะเสียน้ำตาให้กับพวกมหาเศรษฐีเหล่านี้หรอกเพราะขนาดคนที่เคยมีสินทรัพย์รวมลดลงจาก 2,000 ล้านดอลลาร์มาอยู่ที่ 100 ล้านดอลลาร์ ก็ยังมีชีวิตความเป็นอยู่ระดับดีมาก" มิลเลอร์กล่าว
ทว่า เขาก็เตือนถึงผลกระทบที่จะส่งต่อเนื่องลงมายังคนระดับล่าง เนื่องจากพวกมหาเศรษฐีเหล่านี้หลายคนเป็นผู้บริหารกิจการที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจอยู่ รวมทั้งเป็นนายจ้างของคนหลายพันคนทีเดียว
สำหรับอันดับ 4 ถึงอันดับ 7 ของการจัดอันดับปีนี้ ปรากฏว่าพวกลูกหลานของแซม วอลตัน ผู้ก่อตั้งกิจการห้างวอล-มาร์ต หวนกลับมาทวงตำแหน่งคืน โดยแต่ละคนมีสินทรัพย์มูลค่าระหว่าง 19,000-21,500 ล้านดอลลาร์
ไมเคิล บลูมเบิร์ก นายกเทศมนตรีของนครนิวยอร์ก และเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรสื่อและข้อมูลการเงิน รั้งอยู่ในอันดับ 8 โดยมีสินทรัพย์รวม 17,500 ล้านดอลลาร์ ปิดท้ายท็อปเทนด้วยสองพี่น้อง ชาร์ลส์ และ เดวิด คอช ผู้บริหาร คอช อนดัสทรีส์ กลุ่มกิจการโรงงานอุตสาหกรรมและพลังงาน ซึ่งมีฐานะร่ำรวยกันประมาณคนละ 16,000 ล้านดอลลาร์
นับตั้งแต่ฟอร์บส์เริ่มจัดอันดับมหาเศรษฐีอเมริกันในปี 1982 ครั้งนี้เป็นครั้งที่ห้าที่มูลค่าสินทรัพย์รวมของพวกติดในรายชื่อทั้งหมดได้ลดลงจากปีก่อนหน้า และยังทำให้ระดับความมั่งคั่งที่จะได้เข้ามาติดอันดับ ลดต่ำลงเหลือ 950 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ จากที่ต้องมีถึง 1,300 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว
ส่วนมหาเศรษฐีหน้าใหม่ที่เพิ่งติดอันดับเป็นครั้งแรกมี 19 คนด้วยกัน เช่น ไอแซค เพิร์ลมัตเตอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของมาร์เวล เอนเทอร์เทนเมนต์ อิงค์ ซึ่งเพิ่งตกลงขายกิจการให้กับวอลต์ ดิสนีย์ไปเป็นมูลค่าราว 4,000 ล้านดอลลาร์
อภิมหาเศรษฐีอเมริกันสุดรวย 10 อันดับแรกในปีนี้ ยังอยู่ในอันดับเดียวกับปี 2008 โดยบิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟต์ คอร์ป มีสินทรัพย์รวม 50,000 ล้านดอลลาร์ ลดลงจากปีก่อน 7,000 ล้านดอลลาร์
ส่วนวอร์เรน บัฟเฟตต์ แม้จะรั้งอันดับ 2 เช่นเดิม แต่เขาเป็นเศรษฐีที่รวยลดลงมากที่สุด คือถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากราคาหุ้นของบริษัทเบิร์กไชร์ เฮธาเวย์ของเขาทรุดดิ่งลงอย่างหนัก กระทั่งปีนี้บัฟเฟตต์มีสินทรัพย์รวมเหลือ 40,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับอันดับ 3 คือ ลอเรนซ์ เอลลิสัน ผู้ก่อตั้งออเรเคิล คอร์ป มีสินทรัพย์ 27,000 ล้านดอลลาร์ เขาเป็นพวกติดท็อปเทนคนเดียวที่สินทรัพย์ไม่ลดลง
ฟอร์บส์อธิบายว่า การการประเมินความมั่งคั่งเพื่อจัดอันดับคราวนี้ คิดจากมูลค่าสินทรัพย์ ณ วันที่ 10 กันยายน ดังนั้น จึงมีหลายคนที่มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้น นับแต่เดือนมีนาคม อันเป็นเวลาที่ฟอร์บส์ใช้เป็นจุดอ้างอิงในการจัดอันดับอภิมหาเศรษฐีของทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว อภิมหาเศรษฐี 10 อันดับแรกมีสินทรัพย์ลดลงจากปีที่แล้ว รวมเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์ แมทธิว มิลเลอร์ บรรณาธิการผู้ดูแลการจัดอันดับของฟอร์บส์กล่าวถึงตัวเลขที่ลดลงอย่างมหาศาลนี้ว่าเป็น "ภาวะเลือดอาบ" ของความมั่งคั่งของพวกมหาเศรษฐีอเมริกันรวมทั้งผู้ที่ไม่ร่ำรวยถึงระดับนี้ด้วย
เมื่อคิดรวมมหาเศรษฐีอเมริกันทั้ง 400 คนในการจัดอันดับ พวกเขามีความร่ำรวยลดลงจากปีที่แล้ว 19 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 1.27 ล้านล้านดอลลาร์ จากเดิม 1.57 ล้านล้านดอลลาร์
"แต่ไม่มีใครจะเสียน้ำตาให้กับพวกมหาเศรษฐีเหล่านี้หรอกเพราะขนาดคนที่เคยมีสินทรัพย์รวมลดลงจาก 2,000 ล้านดอลลาร์มาอยู่ที่ 100 ล้านดอลลาร์ ก็ยังมีชีวิตความเป็นอยู่ระดับดีมาก" มิลเลอร์กล่าว
ทว่า เขาก็เตือนถึงผลกระทบที่จะส่งต่อเนื่องลงมายังคนระดับล่าง เนื่องจากพวกมหาเศรษฐีเหล่านี้หลายคนเป็นผู้บริหารกิจการที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจอยู่ รวมทั้งเป็นนายจ้างของคนหลายพันคนทีเดียว
สำหรับอันดับ 4 ถึงอันดับ 7 ของการจัดอันดับปีนี้ ปรากฏว่าพวกลูกหลานของแซม วอลตัน ผู้ก่อตั้งกิจการห้างวอล-มาร์ต หวนกลับมาทวงตำแหน่งคืน โดยแต่ละคนมีสินทรัพย์มูลค่าระหว่าง 19,000-21,500 ล้านดอลลาร์
ไมเคิล บลูมเบิร์ก นายกเทศมนตรีของนครนิวยอร์ก และเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรสื่อและข้อมูลการเงิน รั้งอยู่ในอันดับ 8 โดยมีสินทรัพย์รวม 17,500 ล้านดอลลาร์ ปิดท้ายท็อปเทนด้วยสองพี่น้อง ชาร์ลส์ และ เดวิด คอช ผู้บริหาร คอช อนดัสทรีส์ กลุ่มกิจการโรงงานอุตสาหกรรมและพลังงาน ซึ่งมีฐานะร่ำรวยกันประมาณคนละ 16,000 ล้านดอลลาร์
นับตั้งแต่ฟอร์บส์เริ่มจัดอันดับมหาเศรษฐีอเมริกันในปี 1982 ครั้งนี้เป็นครั้งที่ห้าที่มูลค่าสินทรัพย์รวมของพวกติดในรายชื่อทั้งหมดได้ลดลงจากปีก่อนหน้า และยังทำให้ระดับความมั่งคั่งที่จะได้เข้ามาติดอันดับ ลดต่ำลงเหลือ 950 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ จากที่ต้องมีถึง 1,300 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว
ส่วนมหาเศรษฐีหน้าใหม่ที่เพิ่งติดอันดับเป็นครั้งแรกมี 19 คนด้วยกัน เช่น ไอแซค เพิร์ลมัตเตอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของมาร์เวล เอนเทอร์เทนเมนต์ อิงค์ ซึ่งเพิ่งตกลงขายกิจการให้กับวอลต์ ดิสนีย์ไปเป็นมูลค่าราว 4,000 ล้านดอลลาร์