ASTVผู้จัดการรายวัน- บอร์ดร.ฟ.ท.เห็นชอบจ้างการรถไฟเยอรมัน (DB) บริหารเดินรถแอร์พอร์คลิ้งค์ 3 ปี เตรียมเสนอครม.ขอใช้เงินหมุนเวียน 500 ล้านบาท เหตุติดเงื่อนไขเจรจาสหภาพฯทำขั้นตอนเบิกจ่ายชะงัก หวั่นฝึกไม่ทันเปิดเดินรถจริงเม.ย.53 ชี้ใช้วิธีพิเศษเพราะเวลาจำกัด เลือกจ้างเยอรมันต่อเนื่องค่าจ้างถูก และเป็นไปตามข้อตกลงกับคลังที่ให้จ้างมืออาชีพเข้ามาบริหารในช่วง 2-3 ปีแรก
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดร.ฟ.ท.เมื่อวันที่ 29 ก.ย.52 ได้เห็นชอบในหลักการให้ร.ฟ.ท.ว่าจ้าง การรถไฟแห่งสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี หรือ Deutsche Bahn AG (DB) เข้ามาเป็นผู้บริหารการเดินรถ โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตลิ้งค์ โดยให้ร.ฟ.ท.จัดทำรายละเอียดขอบเขตการดำเนินงาน วงเงินที่จะว่าจ้าง DB พร้อมทั้งสรุปรายละเอียดข้อแตกต่างและปัญหาอุปสรรคระหว่างการจัดตั้งบริษัทลูก กับการตั้งหน่วยธุรกิจ (Business Unit) เพื่อเดินรถ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพร้อมกันด้วย ซึ่งคาดว่าจะสรุปและเสนอคณะรัฐมนตรีได้ในวันที่ 13 ต.ค. 52
ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.จะใช้วิธีพิเศษในการจ้างการรถไฟเยอรมัน เนื่องจากมีระยะเวลาจำกัด โดยให้การรถไฟเยอรมันเข้ามาบริหารการเดินรถและส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น การซ่อมบำรุง ระบบความปลอดภัย ในช่วง 3 ปีแรก ในระดับ CEO และหัวหน้าทีมงานหรือสต๊าฟ ส่วนระดับปฎิบัติงานจะเป็นพนักงานที่ร.ฟ.ท.รับสมัครเข้ามาเอง ซึ่งเป็นไปตามมติครม.เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 52 ที่เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะการเงินร.ฟ.ท. โดยตามข้อตกลงกระทรวงการคลังให้จ้างมืออาชีพเข้ามาบริหารในช่วงแรก
นายถวัลย์รัฐกล่าวว่า สาเหตุที่ต้องเสนอครม.อีกครั้งเพื่อขอนำงบประมาณ 500 ล้านบาทที่ครม.เคยอนุมัติให้ใช้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจการเดินรถโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิออกมาใช้ ในการว่าจ้าง การรถไฟเยอรมันและค่าใช้จ่ายด้านพนักงานเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ทั้งหมด เนื่องจากขณะนี้ไม่สามารถเบิกจ่ายได้เพราะติดเงื่อนไขข้อตกลงของคณะทำงานชุดที่มีพลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานที่เจรจากับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจร.ฟ.ท.ไว้
“การเลือกจ้างการรถไฟเยอรมันเพราะมีประสบการณ์และเป็นแม่ของ บริษัท Deutsche Bahn International (DBI) ซึ่งร.ฟ.ท.จ้างเข้ามาฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ก่อนหน้านี้ วงเงิน 85 ล้านบาท ระยะเวลา 9 เดือน สามารถเจรจาค่าจ้างที่ต่ำกว่ารายอื่นและระบบรถของซีเมนส์ก็เป็นของเยอรมัน ซึ่งจะมีความชำนาญและสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีให้พนักงานร.ฟ.ท.ที่รับเข้ามาได้ดีกว่า”นายถวัลย์รัฐกล่าว
นายถวัลย์รัฐกล่าวว่า การเปิดเดินรถแบบไม่เป็นทางการยังเป็นไปตามแผนคือวันที่ 5ธ.ค. 2552 ส่วนการเปิดเดินรถเต็มระบบและเก็บค่าโดยสารจะเป็นช่วงเดือนเม.ย. 53 ส่วนกรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ฟ.ท.คัดค้านการจัดตั้งบริษัทเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ และข้อจำกัดในการตั้งหน่วยธุรกิจเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์นั้น จะมีการทำรายละเอียดให้ครม.พิจารณาด้วย ส่วนจะมีมติอย่างไรนั้นขึ้นกับครม. หลักการคือขอนำเงิน 500 ล้านบาทออกมาใช้หมุนเวียนก่อน
อย่างไรก็ตามต้องยอมรับการตั้งบริษัทลูกเดินรถไม่มีปัญหาสามารถดำเนินการได้ทันที ส่วนการตั้งหน่วยธุรกิจตามข้อเสนอของสหภาพฯร.ฟ.ท.มีปัญหาเรื่องการรับสมัครพนักงาน อัตราเงินเดือนต่ำเพราะต้องยึดตามอัตราของร.ฟ.ท. ดังนั้นหากจะตั้งเป็นหน่วยธุรกิจ จะต้องยกเลิกมติครม.เรื่องห้ามเพิ่มอัตราจ้าง แก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับอัตราเงินเดือน เป็นต้น
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า ขอบเขตการจ้างการรถไฟเยอรมันบริหารการเดินรถใน 3 ปีแรกนั้น เฉพาะงานสายปฏิบัติการเดินรถ การซ่อมบำรุง ความปลอดภัยในการเดินรถ ฯลฯ ไม่เกี่ยวข้องกับงานเชิงพาณิชย์ งานการตลาด การขายตั๋ว งานรายได้ต่างๆ เพราะหากให้การรถไฟเยอรมันดำเนินการทั้งหมดจะเข้าข่ายการให้สัมปทาน ดังนั้น งานในส่วนดังกล่าวร.ฟ.ท.จะต้องดำเนินการเองโดยรอข้อสรุปการจัดตั้งบริษัทลูกหรือหน่วยธุรกิจ โดยการรถไฟเยอรมันจะทำหน้าที่บริหารการเดินรถในส่วนปฎิบัติการ ส่วน DBI ที่ร.ฟ.ท.จ้างไปแล้วนั้น ทำหน้าที่ในการฝึกพนักงาน
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดร.ฟ.ท.เมื่อวันที่ 29 ก.ย.52 ได้เห็นชอบในหลักการให้ร.ฟ.ท.ว่าจ้าง การรถไฟแห่งสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี หรือ Deutsche Bahn AG (DB) เข้ามาเป็นผู้บริหารการเดินรถ โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตลิ้งค์ โดยให้ร.ฟ.ท.จัดทำรายละเอียดขอบเขตการดำเนินงาน วงเงินที่จะว่าจ้าง DB พร้อมทั้งสรุปรายละเอียดข้อแตกต่างและปัญหาอุปสรรคระหว่างการจัดตั้งบริษัทลูก กับการตั้งหน่วยธุรกิจ (Business Unit) เพื่อเดินรถ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพร้อมกันด้วย ซึ่งคาดว่าจะสรุปและเสนอคณะรัฐมนตรีได้ในวันที่ 13 ต.ค. 52
ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.จะใช้วิธีพิเศษในการจ้างการรถไฟเยอรมัน เนื่องจากมีระยะเวลาจำกัด โดยให้การรถไฟเยอรมันเข้ามาบริหารการเดินรถและส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น การซ่อมบำรุง ระบบความปลอดภัย ในช่วง 3 ปีแรก ในระดับ CEO และหัวหน้าทีมงานหรือสต๊าฟ ส่วนระดับปฎิบัติงานจะเป็นพนักงานที่ร.ฟ.ท.รับสมัครเข้ามาเอง ซึ่งเป็นไปตามมติครม.เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 52 ที่เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะการเงินร.ฟ.ท. โดยตามข้อตกลงกระทรวงการคลังให้จ้างมืออาชีพเข้ามาบริหารในช่วงแรก
นายถวัลย์รัฐกล่าวว่า สาเหตุที่ต้องเสนอครม.อีกครั้งเพื่อขอนำงบประมาณ 500 ล้านบาทที่ครม.เคยอนุมัติให้ใช้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจการเดินรถโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิออกมาใช้ ในการว่าจ้าง การรถไฟเยอรมันและค่าใช้จ่ายด้านพนักงานเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ทั้งหมด เนื่องจากขณะนี้ไม่สามารถเบิกจ่ายได้เพราะติดเงื่อนไขข้อตกลงของคณะทำงานชุดที่มีพลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานที่เจรจากับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจร.ฟ.ท.ไว้
“การเลือกจ้างการรถไฟเยอรมันเพราะมีประสบการณ์และเป็นแม่ของ บริษัท Deutsche Bahn International (DBI) ซึ่งร.ฟ.ท.จ้างเข้ามาฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ก่อนหน้านี้ วงเงิน 85 ล้านบาท ระยะเวลา 9 เดือน สามารถเจรจาค่าจ้างที่ต่ำกว่ารายอื่นและระบบรถของซีเมนส์ก็เป็นของเยอรมัน ซึ่งจะมีความชำนาญและสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีให้พนักงานร.ฟ.ท.ที่รับเข้ามาได้ดีกว่า”นายถวัลย์รัฐกล่าว
นายถวัลย์รัฐกล่าวว่า การเปิดเดินรถแบบไม่เป็นทางการยังเป็นไปตามแผนคือวันที่ 5ธ.ค. 2552 ส่วนการเปิดเดินรถเต็มระบบและเก็บค่าโดยสารจะเป็นช่วงเดือนเม.ย. 53 ส่วนกรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ฟ.ท.คัดค้านการจัดตั้งบริษัทเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ และข้อจำกัดในการตั้งหน่วยธุรกิจเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์นั้น จะมีการทำรายละเอียดให้ครม.พิจารณาด้วย ส่วนจะมีมติอย่างไรนั้นขึ้นกับครม. หลักการคือขอนำเงิน 500 ล้านบาทออกมาใช้หมุนเวียนก่อน
อย่างไรก็ตามต้องยอมรับการตั้งบริษัทลูกเดินรถไม่มีปัญหาสามารถดำเนินการได้ทันที ส่วนการตั้งหน่วยธุรกิจตามข้อเสนอของสหภาพฯร.ฟ.ท.มีปัญหาเรื่องการรับสมัครพนักงาน อัตราเงินเดือนต่ำเพราะต้องยึดตามอัตราของร.ฟ.ท. ดังนั้นหากจะตั้งเป็นหน่วยธุรกิจ จะต้องยกเลิกมติครม.เรื่องห้ามเพิ่มอัตราจ้าง แก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับอัตราเงินเดือน เป็นต้น
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า ขอบเขตการจ้างการรถไฟเยอรมันบริหารการเดินรถใน 3 ปีแรกนั้น เฉพาะงานสายปฏิบัติการเดินรถ การซ่อมบำรุง ความปลอดภัยในการเดินรถ ฯลฯ ไม่เกี่ยวข้องกับงานเชิงพาณิชย์ งานการตลาด การขายตั๋ว งานรายได้ต่างๆ เพราะหากให้การรถไฟเยอรมันดำเนินการทั้งหมดจะเข้าข่ายการให้สัมปทาน ดังนั้น งานในส่วนดังกล่าวร.ฟ.ท.จะต้องดำเนินการเองโดยรอข้อสรุปการจัดตั้งบริษัทลูกหรือหน่วยธุรกิจ โดยการรถไฟเยอรมันจะทำหน้าที่บริหารการเดินรถในส่วนปฎิบัติการ ส่วน DBI ที่ร.ฟ.ท.จ้างไปแล้วนั้น ทำหน้าที่ในการฝึกพนักงาน