ASTVผู้จัดการรายวัน- กฟผ.ผนึกกนอ.ลงนามความร่วมมือส่งเสริมการใช้หลอดผอมใหม่ T5 เบอร์ 5 ด้วยการผลักดันให้ผู้ประกอบกิจการในนิคมฯหันมาใช้หลอดดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 2 ล้านหลอด คาดลดใช้พลังงานปีละ 348 ล้านบาท วางเป้าถึงปี 2556 เปลี่ยนได้ 83 ล้านหลอดใช้เงินสนับสนุนรวม 2.4 หมื่นล้านบาท
วานนี้(28ก.ย.) น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน พร้อมด้วยนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรมร่วมเป็นประธานการลงนามระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)กับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ในการดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้หลอดผอมใหม่ T5 เบอร์ 5 ให้กับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมที่กนอ.กำกับดูแลทั้งหมด
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงานกล่าวว่า โครงการ “เครือข่ายร่วมลดโลกร้อน ด้วยหลอดผอมใหม่ T5 เบอร์ 5” ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีเป้าหมายรณรงค์ส่งเสริมให้อาคารภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมเปลี่ยนมาใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาด 28 วัตต์ หรือหลอดผอมใหม่เบอร์ 5 ทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาด 36 วัตต์ ทั่วประเทศ จำนวน 83 ล้านหลอด ภายในปี 2556 วงเงินสนับสนุน 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ปีละประมาณ 4,842 ล้านหน่วย หรือ 14,526 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงปีละประมาณ 2.4 ล้านตัน
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่ากฟผ. กล่าวว่า โครงการส่งเสริมการใช้หลอดผอมใหม่ T5 เบอร์ 5 ที่ กฟผ. ได้จัดทำขึ้นนี้ จะเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ก่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยกฟผ.ตั้งเป้าผลักดันให้ผู้ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมเปลี่ยนใช้หลอด T5 ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านหลอด คาดว่าจะสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้กว่า 116 ล้านหน่วยต่อปี หรือปีละ 348 ล้านบาท พร้อมลด C0 2 กว่า 59,000 ตันต่อปี
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการใช้อุปกรณ์ และการประหยัด ซึ่งหากมีการใช้หลอดใหม่ T 5 ในนิคมฯคาดว่าจะใช้เงินสนับสนุนผ่านกองทุนอนุรักษ์ฯ 450 ล้านบาท
นางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่าฯกนอ. กล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำนวน 32 แห่งทั่วประเทศ จะให้ความร่วมมือเข้าร่วมเป็นเครือข่ายลดโลกร้อนด้วยหลอดผอมใหม่ T5 พร้อมกันนี้ จะดำเนินการแสวงหาผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดยร่วมมือกับ กฟผ. เชิญชวนให้ผู้ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมกว่า 3,000 แห่ง เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งในเบื้องต้นได้กำหนดจัดสัมมนาร่วมกันในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือ ระหว่างเดือนมิถุนายน – ตุลาคม 2552 จำนวน 6 ครั้ง ซึ่งได้มีการจัดสัมมนาร่วมกันไปแล้วจำนวน 2 ครั้ง
วานนี้(28ก.ย.) น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน พร้อมด้วยนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรมร่วมเป็นประธานการลงนามระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)กับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ในการดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้หลอดผอมใหม่ T5 เบอร์ 5 ให้กับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมที่กนอ.กำกับดูแลทั้งหมด
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงานกล่าวว่า โครงการ “เครือข่ายร่วมลดโลกร้อน ด้วยหลอดผอมใหม่ T5 เบอร์ 5” ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีเป้าหมายรณรงค์ส่งเสริมให้อาคารภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมเปลี่ยนมาใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาด 28 วัตต์ หรือหลอดผอมใหม่เบอร์ 5 ทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาด 36 วัตต์ ทั่วประเทศ จำนวน 83 ล้านหลอด ภายในปี 2556 วงเงินสนับสนุน 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ปีละประมาณ 4,842 ล้านหน่วย หรือ 14,526 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงปีละประมาณ 2.4 ล้านตัน
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่ากฟผ. กล่าวว่า โครงการส่งเสริมการใช้หลอดผอมใหม่ T5 เบอร์ 5 ที่ กฟผ. ได้จัดทำขึ้นนี้ จะเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ก่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยกฟผ.ตั้งเป้าผลักดันให้ผู้ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมเปลี่ยนใช้หลอด T5 ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านหลอด คาดว่าจะสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้กว่า 116 ล้านหน่วยต่อปี หรือปีละ 348 ล้านบาท พร้อมลด C0 2 กว่า 59,000 ตันต่อปี
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการใช้อุปกรณ์ และการประหยัด ซึ่งหากมีการใช้หลอดใหม่ T 5 ในนิคมฯคาดว่าจะใช้เงินสนับสนุนผ่านกองทุนอนุรักษ์ฯ 450 ล้านบาท
นางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่าฯกนอ. กล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำนวน 32 แห่งทั่วประเทศ จะให้ความร่วมมือเข้าร่วมเป็นเครือข่ายลดโลกร้อนด้วยหลอดผอมใหม่ T5 พร้อมกันนี้ จะดำเนินการแสวงหาผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดยร่วมมือกับ กฟผ. เชิญชวนให้ผู้ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมกว่า 3,000 แห่ง เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งในเบื้องต้นได้กำหนดจัดสัมมนาร่วมกันในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือ ระหว่างเดือนมิถุนายน – ตุลาคม 2552 จำนวน 6 ครั้ง ซึ่งได้มีการจัดสัมมนาร่วมกันไปแล้วจำนวน 2 ครั้ง