เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้ (28 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการไต่สวนข้อเท็จจริงในสำนวนข้อกล่าวหา มติคณะรัฐมนตรีต่อกรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 51 ว่า คณะกรรมการจะต้องพิจารณาในแต่ละบุคคลที่ถูกกล่าวหา ซึ่งขณะนี้เหลืออีก 32 คน ส่วนบุคคลล่าสุดที่เข้ามายื่นเอกสารแก้ข้อกล่าวหา คือ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเนื้อแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย แต่ไม่สามารถพูดในรายละเอียดได้
เมื่อถามว่าจะมีการแจ้งชื่อผู้ที่ถูกล่าวหาเพิ่มเติมอีกหรือไม่ นางสาวสมลักษณ์ กล่าวว่าไม่มีเพิ่มแล้ว ก่อนหน้านี้เราดูจากรายชื่อผู้กล่าวหา แต่ในเมื่อสอบไปแล้ว เราเห็นว่าผู้ที่เราจะแจ้งข้อกล่าวหานั้นมีจำนวนลดลง เช่นบุคคลที่ไม่อยู่ หรือลาออกไปแล้ว
ทั้งนี้หากมีการชี้มูลความผิดในวันนี้ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี จะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่นั้น เป็นข้อกฎหมายที่จะต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะบังเอิญบางคนไม่ได้อยู่ในตำแหน่งแล้ว แต่เรามีคณะกรรมการกฤษฎีกา เคยได้พิจารณาแล้วว่า ไม่ต้องหยุด แต่หากจะให้เป็นบรรทัดฐาน จะต้องให้เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
เมื่อถามว่า เมื่อมีการชี้มูลแล้ว และมีรายชื่อของรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี และยังทำหน้าที่รัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ต่อก็ยังถือว่าไม่มีความผิด จะต้องรอศาลรัฐธรรมนูญอย่างเดียวใช่หรือไม่ นางสาวสมลักษณ์ กล่าวว่า ใช้ถ่อยคำต่างกันเพียงเล็กน้อย ของกฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 55 บุคคลผู้ถูกกล่าวหา แต่ตามรัฐธรรมนูญใช้ในตำแหน่งที่ถูกกล่าวหา ความเห็นก็มีต่างกันไปว่า ถ้าบุคคลมีการเปลี่ยนตำแหน่งไปแล้ว จะต้องยุติการทำหน้าที่หรือไม่ คนที่จะตอบได้คือ ศาลรัฐธรรมนูญ
เมื่อถามว่ากรณีปราสาทพระวิหาร ยืนยันว่าจะสามารถชี้มูลในวันนี้ใช่หรือไม่ นางสาวสมลักษณ์ กล่าวว่า ในวันนี้ชัดเจนว่าจะต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมอย่างแน่นอน แต่จะเสร็จสมบูรณ์เพียงใด ก็แล้วแต่ ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่มีอุปสรรคใดๆ ทั้งนี้ไม่มีความกังวล เพราะเป็นหน้าที่ คิดว่าบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว จะเข้าใจ ไม่ได้มีเจตนาโกรธเคืองกับผู้ใด
ถามว่าในส่วนของข้าราชการ จะมีโทษอย่างไรบ้าง นางสาวสมลักษณ์ กล่าวว่า มีโทษทางวินัย และอาญา มาตรา 157 ซึ่งจะโยงถึงโทษทางวินัยด้วย ส่วนข้าราชการการเมือง จะมีโทษทั้งทางอาญา และการถอดถอนด้วย ถามว่าถ้ามีการพิจารณาชี้มูลข้าราชการ จะทำให้เกิดการเสียขวัญกำลังใจหรือไม่เพราะต้องทำตามหน้าที่ตามมติ ครม. นางสาวสมลักษณ์ กล่าวว่า หน้าที่ของเราคือ การตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐที่จะต้องดำเนินไปตามกฎหมาย ส่วนผลจะออกมาเป็นอย่างไร จะต้องว่ากันอีกเรื่อง
**คดีกล้ายางถือว่าสิ้นสุดแล้ว
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวถึงเมื่อถามว่าในวันนี้ (29 ก.ย.) จะสามารถชี้มูลกรณีปราสาทเขาพระวิหารได้หรือไม่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า วันนี้จะมีเรื่องปราสาทพระวิหาร เข้าสู่ที่ประชุมอย่างแน่นอน คิดว่าน่าจะเสร็จ และเห็นว่าสำนวนสมบูรณ์แล้ว
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า คณะกรรมการป.ป.ช. อาจจะนำคดีกล้ายางเข้ามาพิจารณาด้วย นายกล้านรงค์ กล่าวว่า มติของศาล เราหยิบยกมาไม่ได้ เพราะคดีกล้ายาง คำวินิจฉัยของศาลเป็นที่สิ้นสุดไปแล้ว และคนที่จะอุทธรณ์ คือ ผู้ที่ต้องคำพิพากษา ถึงจะอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ ป.ป.ช.ไม่ใช่เป็นผู้ต้องคำพิพากษา
เมื่อถามว่าถ้ามีการเรียกร้องให้ตรวจสอบ ป.ป.ช.จะสามารถตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของคณะผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้หรือไม่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ต้องดูว่าเข้าหลักเกณฑ์ของกฎหมายหรือไม่ ที่จะให้ตรวจสอบ และมีข้อมูลอย่างไร เพราะผู้พิพากษาศาลฎีกา มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช.อยู่แล้ว
**ป.ป.ช.พร้อมสอบบัญชี"บิ๊กบัง"
นายกล้านรงค์ยังกล่าวถึง กรณี พรรคเพื่อไทยยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ภายหลังการทำรัฐประหาร ว่ามีทรัพย์สินมากกว่าปกติว่า พล.อ.สนธิได้เคยยื่นบัญชีทรัพย์สินเมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่ง ผบ.ทบ. แล้วก็พ้นจากตำแหน่ง และยื่นอีกครั้งเมื่อเข้ารับตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ทางป.ป.ช. จะต้องตรวจสอบทั้งหมดทุกบัญชี และทุกขั้นตอน ถ้าพบว่ามีทรัพย์สินมากขึ้นผิดปกติ ทางป.ป.ช.ก็จะต้องตรวจสอบให้ชัดเจนว่าทรัพย์สินได้มาทางใด ชี้แจงได้หรือไม่ แต่ตนไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่
เมื่อถามว่าจะสามารถตรวจสอบในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธาน คมช. หรือไม่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า บัญชีทรัพย์สินจะต่อเนื่องกัน
**จี้รัฐบาลชี้แจง"พระวิหาร"ให้เคลียร์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ ( 28 ก.ย.) นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี ได้หารือในช่วงก่อนเข้าสู่วาระการประชุม ถึงกรณีเหตุการณ์ที่ปราสาทพระวิหาร เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว ที่มีคนไทย 2 กลุ่มเผชิญหน้าจะฆ่ากัน เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ทำให้คนไทยแตกแยกกัน แต่เท่าที่ผ่านมา 1 ปี รัฐบาลก็นิ่งเฉย ใน ส.ว.ก็ไม่มีใครรู้เรื่องจริง เรื่องนี้คนไทยต้องร่วมแก้ปัญหา แต่รัฐบาลปล่อยปละละเลย วันนี้ฝ่ายรัฐต้องอธิบายความให้ประชาชนเข้าใจชัดเจนว่า ปัญหาคืออะไร และประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง ถึงวิธีแก้ไขไม่ต้องอ้างความมั่นคง ไม่เช่นนั้นกรณีนี้จะถูกนำไปเป็นเครื่องมือทางการเมืองอยู่ตลอด
-------------------
เมื่อถามว่าจะมีการแจ้งชื่อผู้ที่ถูกล่าวหาเพิ่มเติมอีกหรือไม่ นางสาวสมลักษณ์ กล่าวว่าไม่มีเพิ่มแล้ว ก่อนหน้านี้เราดูจากรายชื่อผู้กล่าวหา แต่ในเมื่อสอบไปแล้ว เราเห็นว่าผู้ที่เราจะแจ้งข้อกล่าวหานั้นมีจำนวนลดลง เช่นบุคคลที่ไม่อยู่ หรือลาออกไปแล้ว
ทั้งนี้หากมีการชี้มูลความผิดในวันนี้ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี จะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่นั้น เป็นข้อกฎหมายที่จะต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะบังเอิญบางคนไม่ได้อยู่ในตำแหน่งแล้ว แต่เรามีคณะกรรมการกฤษฎีกา เคยได้พิจารณาแล้วว่า ไม่ต้องหยุด แต่หากจะให้เป็นบรรทัดฐาน จะต้องให้เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
เมื่อถามว่า เมื่อมีการชี้มูลแล้ว และมีรายชื่อของรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี และยังทำหน้าที่รัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ต่อก็ยังถือว่าไม่มีความผิด จะต้องรอศาลรัฐธรรมนูญอย่างเดียวใช่หรือไม่ นางสาวสมลักษณ์ กล่าวว่า ใช้ถ่อยคำต่างกันเพียงเล็กน้อย ของกฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 55 บุคคลผู้ถูกกล่าวหา แต่ตามรัฐธรรมนูญใช้ในตำแหน่งที่ถูกกล่าวหา ความเห็นก็มีต่างกันไปว่า ถ้าบุคคลมีการเปลี่ยนตำแหน่งไปแล้ว จะต้องยุติการทำหน้าที่หรือไม่ คนที่จะตอบได้คือ ศาลรัฐธรรมนูญ
เมื่อถามว่ากรณีปราสาทพระวิหาร ยืนยันว่าจะสามารถชี้มูลในวันนี้ใช่หรือไม่ นางสาวสมลักษณ์ กล่าวว่า ในวันนี้ชัดเจนว่าจะต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมอย่างแน่นอน แต่จะเสร็จสมบูรณ์เพียงใด ก็แล้วแต่ ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่มีอุปสรรคใดๆ ทั้งนี้ไม่มีความกังวล เพราะเป็นหน้าที่ คิดว่าบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว จะเข้าใจ ไม่ได้มีเจตนาโกรธเคืองกับผู้ใด
ถามว่าในส่วนของข้าราชการ จะมีโทษอย่างไรบ้าง นางสาวสมลักษณ์ กล่าวว่า มีโทษทางวินัย และอาญา มาตรา 157 ซึ่งจะโยงถึงโทษทางวินัยด้วย ส่วนข้าราชการการเมือง จะมีโทษทั้งทางอาญา และการถอดถอนด้วย ถามว่าถ้ามีการพิจารณาชี้มูลข้าราชการ จะทำให้เกิดการเสียขวัญกำลังใจหรือไม่เพราะต้องทำตามหน้าที่ตามมติ ครม. นางสาวสมลักษณ์ กล่าวว่า หน้าที่ของเราคือ การตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐที่จะต้องดำเนินไปตามกฎหมาย ส่วนผลจะออกมาเป็นอย่างไร จะต้องว่ากันอีกเรื่อง
**คดีกล้ายางถือว่าสิ้นสุดแล้ว
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวถึงเมื่อถามว่าในวันนี้ (29 ก.ย.) จะสามารถชี้มูลกรณีปราสาทเขาพระวิหารได้หรือไม่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า วันนี้จะมีเรื่องปราสาทพระวิหาร เข้าสู่ที่ประชุมอย่างแน่นอน คิดว่าน่าจะเสร็จ และเห็นว่าสำนวนสมบูรณ์แล้ว
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า คณะกรรมการป.ป.ช. อาจจะนำคดีกล้ายางเข้ามาพิจารณาด้วย นายกล้านรงค์ กล่าวว่า มติของศาล เราหยิบยกมาไม่ได้ เพราะคดีกล้ายาง คำวินิจฉัยของศาลเป็นที่สิ้นสุดไปแล้ว และคนที่จะอุทธรณ์ คือ ผู้ที่ต้องคำพิพากษา ถึงจะอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ ป.ป.ช.ไม่ใช่เป็นผู้ต้องคำพิพากษา
เมื่อถามว่าถ้ามีการเรียกร้องให้ตรวจสอบ ป.ป.ช.จะสามารถตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของคณะผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้หรือไม่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ต้องดูว่าเข้าหลักเกณฑ์ของกฎหมายหรือไม่ ที่จะให้ตรวจสอบ และมีข้อมูลอย่างไร เพราะผู้พิพากษาศาลฎีกา มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช.อยู่แล้ว
**ป.ป.ช.พร้อมสอบบัญชี"บิ๊กบัง"
นายกล้านรงค์ยังกล่าวถึง กรณี พรรคเพื่อไทยยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ภายหลังการทำรัฐประหาร ว่ามีทรัพย์สินมากกว่าปกติว่า พล.อ.สนธิได้เคยยื่นบัญชีทรัพย์สินเมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่ง ผบ.ทบ. แล้วก็พ้นจากตำแหน่ง และยื่นอีกครั้งเมื่อเข้ารับตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ทางป.ป.ช. จะต้องตรวจสอบทั้งหมดทุกบัญชี และทุกขั้นตอน ถ้าพบว่ามีทรัพย์สินมากขึ้นผิดปกติ ทางป.ป.ช.ก็จะต้องตรวจสอบให้ชัดเจนว่าทรัพย์สินได้มาทางใด ชี้แจงได้หรือไม่ แต่ตนไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่
เมื่อถามว่าจะสามารถตรวจสอบในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธาน คมช. หรือไม่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า บัญชีทรัพย์สินจะต่อเนื่องกัน
**จี้รัฐบาลชี้แจง"พระวิหาร"ให้เคลียร์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ ( 28 ก.ย.) นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี ได้หารือในช่วงก่อนเข้าสู่วาระการประชุม ถึงกรณีเหตุการณ์ที่ปราสาทพระวิหาร เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว ที่มีคนไทย 2 กลุ่มเผชิญหน้าจะฆ่ากัน เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ทำให้คนไทยแตกแยกกัน แต่เท่าที่ผ่านมา 1 ปี รัฐบาลก็นิ่งเฉย ใน ส.ว.ก็ไม่มีใครรู้เรื่องจริง เรื่องนี้คนไทยต้องร่วมแก้ปัญหา แต่รัฐบาลปล่อยปละละเลย วันนี้ฝ่ายรัฐต้องอธิบายความให้ประชาชนเข้าใจชัดเจนว่า ปัญหาคืออะไร และประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง ถึงวิธีแก้ไขไม่ต้องอ้างความมั่นคง ไม่เช่นนั้นกรณีนี้จะถูกนำไปเป็นเครื่องมือทางการเมืองอยู่ตลอด
-------------------