เมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา มูลนิธิ 111 ไทยรักไทย ร่วมกับอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย จัดสัมมนาในหัวข้อ “3 ปีหลังการปฏิวัติ 19 กันยายน ประชาชนเสียอะไร”
ในการสัมมนาครั้งนี้ได้มีการเชิญบุคคลเพื่อแสดงความคิดเห็นหลายคน และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นหนึ่งในจำนวนนี้ โดยแสดงความคิดเห็นด้วยการวิดีโอลิงก์เข้ามา
ในจำนวนผู้ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นนี้ มีบางคนได้แสดงความคิดที่เป็นประเด็นควรจะได้นำมาวิเคราะห์วิจารณ์เพื่อเป็นข้อคิดในแง่ต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และเป็นน้องเขยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้แสดงความคิดสรุปเป็นประเด็นได้ว่า
1.1 การปฏิวัติทำให้เกิดการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ คือสูญเสีย พ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้สูญเสียโอกาสของประเทศ
1.2 นอกจากทำให้สูญเสีย พ.ต.ท.ทักษิณแล้ว การปฏิวัติทำให้เราได้รัฐธรรมนูญฉบับหนึ่ง และจากการได้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ (หมายถึงฉบับ 2550) ทำให้เกิดความแตกแยก ดังนั้นจึงต้องไปแก้จุดที่เป็นปัญหา และถ้าไม่แก้ตรงจุดนั้นก็อย่าหวังว่าบ้านเมืองจะสงบเรียบร้อย
1.3 การปฏิวัติทำไปโดยไม่มีเหตุผล ขณะนี้กาลเวลาล่วงเลยมาแล้ว 3 ปี ก็ยังหาไม่เจอว่า เขาชั่ว เขาเลวตรงไหน (เขาในที่นี้คงหมายถึง พ.ต.ท.ทักษิณ)
จากเนื้อหาสาระในการแสดงความคิดเห็นของอดีตนายกฯ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ทั้ง 3 ประเด็น จะเห็นได้ว่าผู้แสดงความเห็นยังยึดถือว่าอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีความผิด ทั้งๆ ที่ศาลอาญาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้พิพากษาตัดสินแล้วว่ามีความผิด และให้จำคุก 2 ปีโดยไม่มีการรอลงอาญา และที่ยิ่งกว่านี้ยังมีคดีรออยู่ในศาลอีกหลายคดี เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดที่ว่า จนป่านนี้ยังหาไม่เจอว่าผิดและเลวอย่างไรนั้น เป็นการพูดที่ขัดต่อความจริง และมองประเด็นแห่งความผิดของอดีตนายกฯ ทักษิณ แบบเข้าข้างตัวเองถ่ายเดียว
ส่วนประเด็นที่ว่าการปฏิวัติกระทำไปโดยไม่มีเหตุผลนั้น ถ้าย้อนไปดูเหตุอ้างในการปฏิวัติตามที่ผู้ก่อการแถลง ก็จะรู้ว่าผู้กระทำการปฏิวัติมีเหตุผลในการทำ เพียงแต่เหตุผลที่ว่านั้นอาจไม่ถูกใจ และทำให้บุคคลบางคนบางกลุ่มสูญเสียประโยชน์เท่านั้น
ประเด็นสุดท้าย ที่ผู้เขียนเองไม่คิดว่าจะสูญเสียก็คือ การปฏิวัติทำให้สูญเสีย พ.ต.ท.ทักษิณ อันเป็นเหตุให้ประเทศสูญเสียโอกาส เพียงแค่ดูความสัมพันธ์ของผู้พูดกับคนที่ถูกนำมาอ้างในการพูดประเด็นนี้ ก็บอกได้ว่าเป็นการมองโลกด้านเดียวคือด้านที่เคยมีและเคยเป็นผู้ทำประโยชน์ให้ประเทศ แต่มิได้นำเอาข้อเสียอันเกิดจากการทำประโยชน์ให้แก่ประเทศอันเป็นเหตุให้ผู้กระทำได้ประโยชน์ในลักษณะของนโยบายเชิงทับซ้อน ดังที่เกิดขึ้นในหลายๆ โครงการในรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในช่วงระยะเวลาจากปี 2544-2549 และนำไปสู่การโค่นล้มจากกองทัพ จนกระทั่งถูกฟ้องในศาล และแพ้คดีในที่สุด
2. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้แสดงความคิดสรุปได้เป็นประเด็นว่า
2.1 การปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ว่ารุนแรงแล้ว การปฏิวัติเงียบด้วยการยุบพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชนนั้นรุนแรงกว่า สังหารผู้คนที่มีความรู้ ความสามารถทางการเมืองไป 111+37 คน ซึ่งไม่เคยเห็นอะไรที่รุนแรงและเหี้ยมเกรียมขนาดนี้มาก่อน
2.2 ทั้งการปฏิวัติ 19 กันยายน และการยุบพรรคการเมือง (2 พรรคตามข้อ 2.1) ทำให้ประชาชนเสีย 3 ประการ คือ
ก. เสียความภูมิใจในความเป็นคนไทย
ข. เสียความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบบของประเทศที่เราเคยมีอยู่
ค. เสียความเป็นเจ้าของประเทศ เพราะประชาชนเลือกพรรคที่ได้เสียงข้างมาก แต่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้
ง. สักวันหนึ่งพรรคเพื่อไทยจะได้บริหารประเทศ พ.ต.ท.ทักษิณจะได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี
จากเนื้อหาสาระในการแสดงความคิดเห็นของนายยงยุทธ จะเห็นได้ชัดว่าเป็นการพูดเพียงปลุกใจลูกพรรคให้เกิดความหวังต่อการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น และในขณะเดียวกันเป็นการฝากความหวังไว้กับคนคนเดียวคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงผู้พูดเองที่เคยดำรงตำแหน่งในระดับสูงในฐานะข้าราชการประจำมาแล้ว ย่อมรู้ดีกว่าคนที่ถูกศาลตัดสินจำคุก และยังมีคดีอยู่ในศาลนับสิบคดีนั้น โอกาสที่จะกลับมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับผู้นำประเทศนั้นแทบไม่เหลือให้คิดคำนึง แม้กระทั่งในโลกแห่งความฝันของคนที่อยู่ในภาวะปกติ
สำหรับความเสียหายที่เกิดจากการปฏิวัติ 3 ประการที่ว่ามา ถ้าฟังเพียงผิวเผินและไม่ลงลึกถึงเนื้อหาสาระของแต่ละคำ ก็พอจะมีคนคล้อยตามและเชื่อแบบลมๆ แล้งๆ ได้บ้าง
แต่ถ้าลงลึกถึงรากเหง้าแห่งความจริงในแง่ของวัฒนธรรมและจริยศาสตร์แล้ว ก็จะพบความอ่อนด้อยทางความคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่ 1 ที่ว่า การปฏิวัติทำให้คนไทยสูญเสียความภูมิใจในความเป็นคนไทย หรือความเป็นชนชาติของใครก็ตาม ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการคือ
ก. สิ่งที่คนไทยมี
ข. สิ่งที่คนไทยเป็น
ในข้อ ก. คนไทยเป็นไทยเพราะถือสัญชาติไทย ถึงแม้จะมีเชื้อชาติอื่นในทางกฎหมายก็ถือว่าเป็นพลเมืองของไทย และที่เป็นคนไทยยิ่งกว่านี้ก็คือคนไทยที่มีทั้งเชื้อชาติไทยและสัญชาติไทย ที่เป็นเช่นนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า เชื้อชาติหรือเหล่ากอซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ย่อมทำให้ความเป็นไทยสมบูรณ์และมีความรักชาติเข้มข้นยิ่งขึ้น
ในประเด็นข้อ ข. ความเป็นไทยด้วยความเป็นไทยนั้น ย่อมมีองค์ประกอบเพิ่มขึ้นจากข้อ ก. กล่าวคือ นอกจากมีสัญชาติไทยและเชื้อชาติไทยแล้ว คนไทยจะต้องเป็นทุกอย่างที่คนไทยควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านจิตใจ คนไทยเป็นคนรักสงบ แต่ไม่ขวาดกลัวและหลบหนีเมื่อมีภัยมา
ด้วยเหตุนี้ ความภูมิใจในความเป็นไทย ย่อมขึ้นอยู่กับความมีและความเป็น มิได้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของภาวะแวดล้อมภายนอก เช่น การปฏิวัติ เป็นต้น ซึ่งถ้ามองให้ลึกลงไปแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมิได้มีส่วนสัมพันธ์ใดๆ กับความมี และความเป็นชนชาติไทยแต่ประการใด
ส่วนประเด็นสุดท้าย ในข้ออันเป็นประเด็นทางการเมืองมากกว่าความเป็นจริง เพราะเพียงแค่ย้อนไปดูการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทยบอกว่าได้รับเลือกเข้ามามาก แต่ไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล ก็จะได้คำตอบว่าที่ไม่ได้จัดตั้งรัฐบาลมิได้มาจากการได้รับเลือกเข้ามามาก แต่มาจากการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งที่มีการจ้างพรรคเล็กให้ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งของตนเองพ้นผิดในข้อหาได้รับเลือกน้อยกว่า 20% ของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจึงถูกยุบพรรค
3. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เสนอความคิดเห็นผ่านวิดีโอลิงก์ สรุปเป็นประเด็นได้ว่า
1. สิ่งที่คนไทยได้จากการปฏิวัติคือ มีเศรษฐีใหม่ไม่กี่คนซึ่งมียศพลเอก
2. ได้รัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการ ภาคการเมืองอ่อนแอ หนี้ก้อนโต ความแตกแยกมากขึ้น กระบวนการยุติธรรม 2 มาตรฐาน
3. มีคนบอกว่าให้ทำเสื้อสีขาว ตัวอักษรด้านบนสีเหลืองเขียนข้อความว่า “มึงทำอะไรก็ไม่ผิ ด” ส่วนด้านล่างเขียนตัวอักษรสีแดงข้อความว่า “กูทำอะไรก็ผิด”
จากเนื้อหาสาระทั้ง 2 ประเด็น จะเห็นได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณยังยึดติดกับความคิดและความแค้นเก่าๆ จะมีใหม่ก็ข้อ 3 ซึ่งก็เป็นเจตนาเดิมๆ คือมองว่าพวกตัวเองถูกกลั่นแกล้ง ในขณะเดียวกัน ผู้ที่อยู่ตรงกันข้ามกับตัวเองทำอะไรถูกหมด เนื่องจากบุคคลและนิติบุคคลในกระบวนการยุติธรรมเข้าข้างศัตรูของตน โดยลืมดูข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
ว่าในขณะที่ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกพิจารณาและศาลตัดสินให้จำคุกนั้น ตัวคุณทักษิณเอง ก็เป็นโจทก์ฟ้องคนอื่น และคนที่ถูกฟ้องก็มีทั้งแพ้และชนะคดีเช่นเดียวกับตัวเอง ยกตัวอย่างผู้นำ พธม. คือ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ก็ถูกฟ้องหมิ่นประมาทหลายคดี และที่ตัดสินให้จำคุกแล้วก็มี นั่นก็หมายความว่าศาลให้ความเป็นธรรม และตัดสินไปตามพยานหลักฐาน มิได้แบ่งฝ่ายและเลือกปฏิบัติหรือสองมาตรฐานอย่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และคนกลุ่มเสื้อแดงบางคนกำลังกล่าวหาแต่อย่างใด
ในการสัมมนาครั้งนี้ได้มีการเชิญบุคคลเพื่อแสดงความคิดเห็นหลายคน และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นหนึ่งในจำนวนนี้ โดยแสดงความคิดเห็นด้วยการวิดีโอลิงก์เข้ามา
ในจำนวนผู้ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นนี้ มีบางคนได้แสดงความคิดที่เป็นประเด็นควรจะได้นำมาวิเคราะห์วิจารณ์เพื่อเป็นข้อคิดในแง่ต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และเป็นน้องเขยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้แสดงความคิดสรุปเป็นประเด็นได้ว่า
1.1 การปฏิวัติทำให้เกิดการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ คือสูญเสีย พ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้สูญเสียโอกาสของประเทศ
1.2 นอกจากทำให้สูญเสีย พ.ต.ท.ทักษิณแล้ว การปฏิวัติทำให้เราได้รัฐธรรมนูญฉบับหนึ่ง และจากการได้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ (หมายถึงฉบับ 2550) ทำให้เกิดความแตกแยก ดังนั้นจึงต้องไปแก้จุดที่เป็นปัญหา และถ้าไม่แก้ตรงจุดนั้นก็อย่าหวังว่าบ้านเมืองจะสงบเรียบร้อย
1.3 การปฏิวัติทำไปโดยไม่มีเหตุผล ขณะนี้กาลเวลาล่วงเลยมาแล้ว 3 ปี ก็ยังหาไม่เจอว่า เขาชั่ว เขาเลวตรงไหน (เขาในที่นี้คงหมายถึง พ.ต.ท.ทักษิณ)
จากเนื้อหาสาระในการแสดงความคิดเห็นของอดีตนายกฯ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ทั้ง 3 ประเด็น จะเห็นได้ว่าผู้แสดงความเห็นยังยึดถือว่าอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีความผิด ทั้งๆ ที่ศาลอาญาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้พิพากษาตัดสินแล้วว่ามีความผิด และให้จำคุก 2 ปีโดยไม่มีการรอลงอาญา และที่ยิ่งกว่านี้ยังมีคดีรออยู่ในศาลอีกหลายคดี เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดที่ว่า จนป่านนี้ยังหาไม่เจอว่าผิดและเลวอย่างไรนั้น เป็นการพูดที่ขัดต่อความจริง และมองประเด็นแห่งความผิดของอดีตนายกฯ ทักษิณ แบบเข้าข้างตัวเองถ่ายเดียว
ส่วนประเด็นที่ว่าการปฏิวัติกระทำไปโดยไม่มีเหตุผลนั้น ถ้าย้อนไปดูเหตุอ้างในการปฏิวัติตามที่ผู้ก่อการแถลง ก็จะรู้ว่าผู้กระทำการปฏิวัติมีเหตุผลในการทำ เพียงแต่เหตุผลที่ว่านั้นอาจไม่ถูกใจ และทำให้บุคคลบางคนบางกลุ่มสูญเสียประโยชน์เท่านั้น
ประเด็นสุดท้าย ที่ผู้เขียนเองไม่คิดว่าจะสูญเสียก็คือ การปฏิวัติทำให้สูญเสีย พ.ต.ท.ทักษิณ อันเป็นเหตุให้ประเทศสูญเสียโอกาส เพียงแค่ดูความสัมพันธ์ของผู้พูดกับคนที่ถูกนำมาอ้างในการพูดประเด็นนี้ ก็บอกได้ว่าเป็นการมองโลกด้านเดียวคือด้านที่เคยมีและเคยเป็นผู้ทำประโยชน์ให้ประเทศ แต่มิได้นำเอาข้อเสียอันเกิดจากการทำประโยชน์ให้แก่ประเทศอันเป็นเหตุให้ผู้กระทำได้ประโยชน์ในลักษณะของนโยบายเชิงทับซ้อน ดังที่เกิดขึ้นในหลายๆ โครงการในรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในช่วงระยะเวลาจากปี 2544-2549 และนำไปสู่การโค่นล้มจากกองทัพ จนกระทั่งถูกฟ้องในศาล และแพ้คดีในที่สุด
2. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้แสดงความคิดสรุปได้เป็นประเด็นว่า
2.1 การปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ว่ารุนแรงแล้ว การปฏิวัติเงียบด้วยการยุบพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชนนั้นรุนแรงกว่า สังหารผู้คนที่มีความรู้ ความสามารถทางการเมืองไป 111+37 คน ซึ่งไม่เคยเห็นอะไรที่รุนแรงและเหี้ยมเกรียมขนาดนี้มาก่อน
2.2 ทั้งการปฏิวัติ 19 กันยายน และการยุบพรรคการเมือง (2 พรรคตามข้อ 2.1) ทำให้ประชาชนเสีย 3 ประการ คือ
ก. เสียความภูมิใจในความเป็นคนไทย
ข. เสียความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบบของประเทศที่เราเคยมีอยู่
ค. เสียความเป็นเจ้าของประเทศ เพราะประชาชนเลือกพรรคที่ได้เสียงข้างมาก แต่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้
ง. สักวันหนึ่งพรรคเพื่อไทยจะได้บริหารประเทศ พ.ต.ท.ทักษิณจะได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี
จากเนื้อหาสาระในการแสดงความคิดเห็นของนายยงยุทธ จะเห็นได้ชัดว่าเป็นการพูดเพียงปลุกใจลูกพรรคให้เกิดความหวังต่อการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น และในขณะเดียวกันเป็นการฝากความหวังไว้กับคนคนเดียวคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงผู้พูดเองที่เคยดำรงตำแหน่งในระดับสูงในฐานะข้าราชการประจำมาแล้ว ย่อมรู้ดีกว่าคนที่ถูกศาลตัดสินจำคุก และยังมีคดีอยู่ในศาลนับสิบคดีนั้น โอกาสที่จะกลับมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับผู้นำประเทศนั้นแทบไม่เหลือให้คิดคำนึง แม้กระทั่งในโลกแห่งความฝันของคนที่อยู่ในภาวะปกติ
สำหรับความเสียหายที่เกิดจากการปฏิวัติ 3 ประการที่ว่ามา ถ้าฟังเพียงผิวเผินและไม่ลงลึกถึงเนื้อหาสาระของแต่ละคำ ก็พอจะมีคนคล้อยตามและเชื่อแบบลมๆ แล้งๆ ได้บ้าง
แต่ถ้าลงลึกถึงรากเหง้าแห่งความจริงในแง่ของวัฒนธรรมและจริยศาสตร์แล้ว ก็จะพบความอ่อนด้อยทางความคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่ 1 ที่ว่า การปฏิวัติทำให้คนไทยสูญเสียความภูมิใจในความเป็นคนไทย หรือความเป็นชนชาติของใครก็ตาม ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการคือ
ก. สิ่งที่คนไทยมี
ข. สิ่งที่คนไทยเป็น
ในข้อ ก. คนไทยเป็นไทยเพราะถือสัญชาติไทย ถึงแม้จะมีเชื้อชาติอื่นในทางกฎหมายก็ถือว่าเป็นพลเมืองของไทย และที่เป็นคนไทยยิ่งกว่านี้ก็คือคนไทยที่มีทั้งเชื้อชาติไทยและสัญชาติไทย ที่เป็นเช่นนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า เชื้อชาติหรือเหล่ากอซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ย่อมทำให้ความเป็นไทยสมบูรณ์และมีความรักชาติเข้มข้นยิ่งขึ้น
ในประเด็นข้อ ข. ความเป็นไทยด้วยความเป็นไทยนั้น ย่อมมีองค์ประกอบเพิ่มขึ้นจากข้อ ก. กล่าวคือ นอกจากมีสัญชาติไทยและเชื้อชาติไทยแล้ว คนไทยจะต้องเป็นทุกอย่างที่คนไทยควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านจิตใจ คนไทยเป็นคนรักสงบ แต่ไม่ขวาดกลัวและหลบหนีเมื่อมีภัยมา
ด้วยเหตุนี้ ความภูมิใจในความเป็นไทย ย่อมขึ้นอยู่กับความมีและความเป็น มิได้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของภาวะแวดล้อมภายนอก เช่น การปฏิวัติ เป็นต้น ซึ่งถ้ามองให้ลึกลงไปแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมิได้มีส่วนสัมพันธ์ใดๆ กับความมี และความเป็นชนชาติไทยแต่ประการใด
ส่วนประเด็นสุดท้าย ในข้ออันเป็นประเด็นทางการเมืองมากกว่าความเป็นจริง เพราะเพียงแค่ย้อนไปดูการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทยบอกว่าได้รับเลือกเข้ามามาก แต่ไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล ก็จะได้คำตอบว่าที่ไม่ได้จัดตั้งรัฐบาลมิได้มาจากการได้รับเลือกเข้ามามาก แต่มาจากการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งที่มีการจ้างพรรคเล็กให้ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งของตนเองพ้นผิดในข้อหาได้รับเลือกน้อยกว่า 20% ของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจึงถูกยุบพรรค
3. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เสนอความคิดเห็นผ่านวิดีโอลิงก์ สรุปเป็นประเด็นได้ว่า
1. สิ่งที่คนไทยได้จากการปฏิวัติคือ มีเศรษฐีใหม่ไม่กี่คนซึ่งมียศพลเอก
2. ได้รัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการ ภาคการเมืองอ่อนแอ หนี้ก้อนโต ความแตกแยกมากขึ้น กระบวนการยุติธรรม 2 มาตรฐาน
3. มีคนบอกว่าให้ทำเสื้อสีขาว ตัวอักษรด้านบนสีเหลืองเขียนข้อความว่า “มึงทำอะไรก็ไม่ผิ ด” ส่วนด้านล่างเขียนตัวอักษรสีแดงข้อความว่า “กูทำอะไรก็ผิด”
จากเนื้อหาสาระทั้ง 2 ประเด็น จะเห็นได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณยังยึดติดกับความคิดและความแค้นเก่าๆ จะมีใหม่ก็ข้อ 3 ซึ่งก็เป็นเจตนาเดิมๆ คือมองว่าพวกตัวเองถูกกลั่นแกล้ง ในขณะเดียวกัน ผู้ที่อยู่ตรงกันข้ามกับตัวเองทำอะไรถูกหมด เนื่องจากบุคคลและนิติบุคคลในกระบวนการยุติธรรมเข้าข้างศัตรูของตน โดยลืมดูข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
ว่าในขณะที่ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกพิจารณาและศาลตัดสินให้จำคุกนั้น ตัวคุณทักษิณเอง ก็เป็นโจทก์ฟ้องคนอื่น และคนที่ถูกฟ้องก็มีทั้งแพ้และชนะคดีเช่นเดียวกับตัวเอง ยกตัวอย่างผู้นำ พธม. คือ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ก็ถูกฟ้องหมิ่นประมาทหลายคดี และที่ตัดสินให้จำคุกแล้วก็มี นั่นก็หมายความว่าศาลให้ความเป็นธรรม และตัดสินไปตามพยานหลักฐาน มิได้แบ่งฝ่ายและเลือกปฏิบัติหรือสองมาตรฐานอย่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และคนกลุ่มเสื้อแดงบางคนกำลังกล่าวหาแต่อย่างใด