ASTVผู้จัดการรายวัน- "อภิสิทธิ์" เผย 3 ภารกิจหลักในเวทีโลกที่สหรัฐอเมริกา ยันเรียกความเชื่อมั่นได้ คนไทยและประชาคมอาเซียนได้ประโยชน์ แย้ม 2เดือน มะกัน เข้ามาขยายการลงทุนในไทย แฉปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้น เพราะขาดธรรมาภิบาล รัฐบาลที่ผ่านมาล้มเหลวเพราะลุ่มหลงอำนาจทำตัวเองอยู่เหนือกฎหมาย ด้านนิตยสารยักษ์สหรัฐฯ เปรียบมาร์คเป็นคนกลางกู้ ปชต.ในไทย ขณะที่ "เทพเทือก" ไม่ตื่นเต้นเงินสหรัฐฯกู้ประชาธิปไตยไทย
เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (27 ก.ย.) สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.)และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย นำเทปบันทึกภาพรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์" มาออกอากาศ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้บันทึกเทปเอาไว้ ขณะปฏิบัติภารกิจอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากขณะที่รายการอออกอากาศ นายกรัฐมนตรีและคณะ อยู่ระหว่างการเดินทางกลับมายังประเทศไทย ซึ่งจะเดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในเวลา 21.25 น. โดยประมาณ
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสรุปภารกิจว่า การเดินทางมาครั้งนี้มีภารกิจ 3 ด้าน ด้านแรกคือภารกิจที่เกี่ยวกับการประชุมของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งส่วนนี้มีส่วนสำคัญ คือโลกในปัจจุบันมีปัญหาที่เป็นปัญหาระดับโลก หรือปัญหาที่ข้ามชาติอยู่หลายปัญหา ต้องการความร่วมมือในการแก้ไข และสิ่งที่หลายประเทศ หลายฝ่ายมีความคาดหวังคือ การแก้ปัญหาโดยการมีส่วนร่วมมือของทุกฝ่าย น่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด
ฉะนั้น องค์กรที่ได้รับการคาดหมายคือ ยูเอ็น ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกและตนต้องการมายืนยันว่า เราสนับสนุนการใช้เวทียูเอ็น ในการแก้ไขปัญหาทั้งหลายที่คนทั้งโลก รวมทั้งประเทศไทย และประชาชนคนไทย กำลังเผชิญอยู่ ทั้งนี้ในช่วงตลอดสัปดาห์ จึงมีหลายกิจกรรม
"ผมได้มีการหารือ พบปะกับนายบันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ในปัญหาสำคัญที่มีความสนใจร่วมกัน ได้เข้าร่วมประชุมในประเด็นที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม คือการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศเป็นการเฉพาะ และได้กล่าวถ้อยแถลง ต่อที่ประชุมใหญ่ โดยสิ่งที่ผมได้นำเสนอคือ แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือความพอเพียง ซึ่งน่าจะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาที่อยู่ในความสนใจของชาวโลกทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งครั้งนี้เกิดจากความไม่พอเพียง คือ ความโลภนั่นเอง หรือจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดจากความไม่พอเพียงในการที่เราใช้ทรัพยากรกันอย่างสิ้นเปลือง รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในโลก ซึ่งเกิดจากความสุดโต่ง ก็คือความไม่พอเพียง นี่ก็คือแนวทางที่ได้มานำเสนอต่อสหประชาชาติครั้งนี้ " นายกรัฐมนตรีกล่าว
ส่วนด้านที่สอง คือมาในนามของประธานอาเซียน เพื่อเข้าร่วมประชุมกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือ จี20 (G20) ซึ่งได้มีการประชุมกัน และได้ข้อยุติในเรื่องสำคัญๆ คือ เรื่องของการเดินหน้าประสานนโยบายทางการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ของทุกประเทศและของโลกเติบโต นำไปสู่การสร้างงาน จ้างงาน สร้างโอกาสสร้างรายได้ให้ประชาชน การที่จะต้องวางแนวทางป้องกันไม่ให้วิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้เกิดขึ้นอีก ซึ่งรวมไปถึงการปรับกฎ กติกา ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสถาบันการเงิน รวมไปถึงการปฏิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ที่สำคัญ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ธนาคารโลก ซึ่งมีหลักการสำคัญที่จะเป็นประโยชน์กับเราก็คือ การเพิ่มสิทธิ เสียง ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
นอกจากนั้น ในที่ประชุม G 20 ก็พยายามที่จะทำงานสนับสนุนการเจรจาการค้า คือเป้าหมายของการที่ทำอย่างไรให้การเจรจาการค้ารอบที่กรุงโดฮาร์ ประสบความสำเร็จ ซึ่งถ้าการเจรจารอบนี้ประสบความสำเร็จ สินค้าเกษตรของไทย ก็จะได้ประโยชน์อย่างมาก ส่วนการเจรจาเรื่องของสิ่งแวดล้อมด้าน ก็จะมีการผลักดันให้มีข้อยุติที่ดีใ นการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ในปลายปีนี้
"ในการประชุมสหประชาชาติ และ G 20 นั้น ผมได้มีโอกาสพูดคุยพบปะแลกเปลี่ยนอย่างไม่เป็นทางการ กับผู้นำประเทศจำนวนมาก ตั้งแต่ท่านประธานาธิบดีสหรัฐฯ ท่านนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นคนใหม่ ไปจนถึงประเทศคู่ค้าสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดีจีน นายกรัฐมนตรีอินเดีย นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประธานาธิบดีอินโดนีเซีย รวมไปถึงกลุ่มประเทศในยุโรป และอมเริกาใต้ ซึ่งสิ่งต่างๆที่ได้มีการพบปะกัน ก็จะเป็นส่วนที่จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ และการทำงานที่จะสานต่อโดยรัฐมนตรี ผู้แทนการค้า หรือแม้กระทั่งภาคเอกชน ให้ดำเนินการได้ราบรื่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งล้วนแล้วเป็นประโยชน์กับประชาชนคนไทย" นายกรัฐมนตรีกล่าว
สำหรับภารกิจด้านที่ สาม คือ การมาสร้างความเชื่อมั่นโดยการพบปะนักลงทุน ผู้ค้า รวมไปถึงผู้ประกอบธุรกิจทางด้านต่างๆ เพื่อชักชวนให้เกิดการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในประเทศไทย กิจกรรมตรงนี้มีค่อนข้างมาก และได้รับการตอบสนองที่ดี โดยหลายฝ่ายมีความเชื่อมั่น มีความประทับใจในสังคมไทย และคนไทยอยู่แล้ว และมองเห็นถึงแผนการที่ชัดเจน ในการกระตุ้น และฟื้นเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ถ้าอาจจะมีข้อสงสัยบ้าง ก็เป็นเรื่องของปัญหาทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องปกติในการรับข่าวสารต่างๆ ผ่านสื่อสารมวลชน ซึ่งตนก็ได้มีโอกาสตอบข้อซักถาม แลกเปลี่ยนกันค่อนข้างมาก และคิดว่าจะทำให้เขามีความมั่นใจมากขึ้น
"ผมมั่นใจว่า ในเดือนสองเดือนข้างหน้า จะมีการขยายการลงทุนของนักลงทุนสหรัฐฯในประเทศไทยเพิ่มขึ้น และเราก็คงจะได้ติดตามต่อไป เพราะว่าการที่เขาสนใจจะมาค้าขาย มาลงทุน หรือมาท่องเที่ยวในประเทศไทย สุดท้ายก็ล้วนแต่เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งสิ้น" นายกรัฐมนตรี กล่าว
ปชต.ที่ยั่งยืนต้องเคารพกฎหมาย
สำหรับในช่วงที่2 ของรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ เป็นการนำเทปบันทึกภาพ นายกรัฐมนตรี ที่ได้ไปกล่าวสุนทรพจน์ ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในหัวข้อการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยกับการพัฒนาที่ยั่งยืนว่า ตลอดเวลา 9 เดือนที่ผ่านมา ได้บริหารบ้านเมืองค่อนข้างที่จะลำบากมากทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ และต้องสร้างความสมานฉันท์ ปีที่แล้วประทศไทยมีนายกรัฐนตรีถึง 4 คน มีรัฐธรรมนูญมาแล้วถึง 18 ฉบับ ไม่ได้สะท้อนว่าเป็นความล้มเหลวทางประชาธิไตย แต่เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต ที่เน้นในเรื่องสาระมากกว่ารูปแบบ
"หมดสมัยแล้ว การเมืองอยู่ในมือของผู้มีอำนาจไม่กี่คน ประชาชนต้องมาก่อน เมื่อมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต้องตอบสนองความต้องการของประชาชน ต้องหามาตรการที่ช่วยกระตุ้นค่าครองชีพ ถือเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยแต่เป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ถึงเวลาแล้วที่ชาวนาไทยต้องทราบถึงการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่ผันผวนตามตลาดโลก ไม่ใช่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดราคา
ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้น เพราะขาดธรรมาภิบาล รัฐบาลที่ผ่านมาล้มเหลวเพราะลุ่มหลงอำนาจทำตัวเองอยู่เหนือกฎหมาย สิทธิที่ชอบธรรมต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย สังคมประชาธิปไตยแบบใหม่ ควรจะอยู่ภายใต้เศรษฐกิจที่ยั่งยืน" นายกรัฐมนตรีกล่าว
“ไทม์” เปรียบมาร์ค คนกลางเชื่อม ปชต.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ นิตยสารรายสัปดาห์"ไทม์" ฉบับตีพิมพ์ปกวันที่ 5 ต.ค. ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดย ฮันนาห์ บีช ผู้สื่อข่าวของไทม์ ประจำประเทศไทย โดยเธอระบุว่า แม้นายกรัฐมนตรีหน้าใหม่ของไทย จะเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก แต่เขาก็กำลังถูกท้าทายจากกลุ่มต่อต้านเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่รัฐบาลของเขาที่เต็มไปด้วยนักวิชาการจำนวนมากจะมั่นใจว่า ดำเนินนโยบายมาถูกทางและอ้างผลงานว่า ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศสดใสขึ้น
การสัมภาษณ์ครั้งนี้มีขึ้น ก่อนหน้าที่นายกฯอภิสิทธิ์ จะเดินทางไปร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์กของสหรัฐ และร่วมสังเกตการณ์การประชุมผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 20 ประเทศ หรือจี 20 ในฐานะประธานอาเซียน
ฮันนาห์ บีช มองว่า ความแตกแยกขัดแย้งทางการเมืองในไทย ไม่ได้เกิดขึ้นจากตัวนายกรัฐมนตรี ตรงกันข้ามนายกฯอภิสิทธิ์กลับพยายามอย่างมาก ที่จะฟื้นฟูสถาบันประชาธิปไตยที่เสื่อมถอยลงอย่างมากจากความแตกแยกในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา และระบุด้วยว่า สถานการณ์ทางการเมืองในไทยยังอยู่ในสภาพน่าวิตก ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นมักนำไปสู่การต่อสู้ระหว่างกลุ่มและแบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย ซึ่งส่งผลให้การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศเมื่อไม่นานมานี้มีคนไทยเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่เห็นว่า ประเทศกำลังเดินไปถูกทาง
ในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ ยังเปรียบเปรยนายกรัฐมนตรีของไทยว่าเป็นเหมือน "คนที่อยู่ตรงกลาง" ที่นอกจากจะต้องพยายามทำตัวเป็นสะพานเชื่อมระหว่างคน 2 กลุ่มแล้ว ยังต้องทำหน้าที่ฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย ที่เสื่อมถอยไปให้กลับคืนมาอีกครั้ง แต่การเป็นผู้นำที่มีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นนักการเมืองมือสะอาด มีความรู้ ตั้งใจจริงในการทำงาน และไม่คอร์รัปชั่นเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้การแก้ปัญหาการเมืองภายในประเทศลุล่วงไปได้ เพราะการแก้ปัญหาต้องเริ่มตั้งแต่ภายในรัฐบาลผสมด้วยกันเองเสียก่อน
“เทือก” ปัดไม่ตื่นสหรัฐให้เงินกู้วิกฤติปชต.
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนิตยสารไทม์รายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกา เผยแพร่บทความ ระบุว่าสหรัฐอเมริกาวิตกกังวลกับสภาวการณ์ในประเทศไทย จึงมอบเงินทุนจำนวนหนึ่งให้กับสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (ยูเสด) เพื่อดำเนินการสร้างประชาธิปไตยในไทยว่า ได้อ่านผ่านสื่อเท่านั้น ยังไม่ทราบรายละเอียด แต่จะติดตามต่อไปว่า ยูเสดจะเข้ามาทำอะไรกันแน่
ทั้งนี้ เห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่น่าตื่นเต้น เราเป็นคนไทยก็ทำตามหน้าที่ทำทุกวิธีทางที่ให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดำรงอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบที่ดูแลบ้านเมืองประชาชนได้อย่างแท้จริง ดังนั้นใครมีหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ต้องดำเนินการทุกด้าน ส่วนใครจะมาเสริมอะไรไม่ได้ขัดข้อง ตราบใดที่ไม่มาก้าวก่ายแทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทย
เมื่อถามว่า เรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นการสวนทางกับที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศบนเวทีสหประชาชนว่าประชาธิปไตยไทยกำลังเดินไปข้างหน้า เรื่องดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อนักลงทุนหรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องการเมืองการปกครองทุกประเทศมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แม้แต่สหรัฐอเมริกาเองก็มีปัญหาภายในเหมือนกันเพียงแต่แตกต่างกับเราเท่านั้น ส่วนกรณีที่นิตยสารฉบับดังกล่าวระบุว่า นายกรัฐมนตรีไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศได้นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า สรุปเร็วเกินไป
เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (27 ก.ย.) สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.)และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย นำเทปบันทึกภาพรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์" มาออกอากาศ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้บันทึกเทปเอาไว้ ขณะปฏิบัติภารกิจอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากขณะที่รายการอออกอากาศ นายกรัฐมนตรีและคณะ อยู่ระหว่างการเดินทางกลับมายังประเทศไทย ซึ่งจะเดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในเวลา 21.25 น. โดยประมาณ
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสรุปภารกิจว่า การเดินทางมาครั้งนี้มีภารกิจ 3 ด้าน ด้านแรกคือภารกิจที่เกี่ยวกับการประชุมของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งส่วนนี้มีส่วนสำคัญ คือโลกในปัจจุบันมีปัญหาที่เป็นปัญหาระดับโลก หรือปัญหาที่ข้ามชาติอยู่หลายปัญหา ต้องการความร่วมมือในการแก้ไข และสิ่งที่หลายประเทศ หลายฝ่ายมีความคาดหวังคือ การแก้ปัญหาโดยการมีส่วนร่วมมือของทุกฝ่าย น่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด
ฉะนั้น องค์กรที่ได้รับการคาดหมายคือ ยูเอ็น ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกและตนต้องการมายืนยันว่า เราสนับสนุนการใช้เวทียูเอ็น ในการแก้ไขปัญหาทั้งหลายที่คนทั้งโลก รวมทั้งประเทศไทย และประชาชนคนไทย กำลังเผชิญอยู่ ทั้งนี้ในช่วงตลอดสัปดาห์ จึงมีหลายกิจกรรม
"ผมได้มีการหารือ พบปะกับนายบันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ในปัญหาสำคัญที่มีความสนใจร่วมกัน ได้เข้าร่วมประชุมในประเด็นที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม คือการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศเป็นการเฉพาะ และได้กล่าวถ้อยแถลง ต่อที่ประชุมใหญ่ โดยสิ่งที่ผมได้นำเสนอคือ แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือความพอเพียง ซึ่งน่าจะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาที่อยู่ในความสนใจของชาวโลกทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งครั้งนี้เกิดจากความไม่พอเพียง คือ ความโลภนั่นเอง หรือจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดจากความไม่พอเพียงในการที่เราใช้ทรัพยากรกันอย่างสิ้นเปลือง รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในโลก ซึ่งเกิดจากความสุดโต่ง ก็คือความไม่พอเพียง นี่ก็คือแนวทางที่ได้มานำเสนอต่อสหประชาชาติครั้งนี้ " นายกรัฐมนตรีกล่าว
ส่วนด้านที่สอง คือมาในนามของประธานอาเซียน เพื่อเข้าร่วมประชุมกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือ จี20 (G20) ซึ่งได้มีการประชุมกัน และได้ข้อยุติในเรื่องสำคัญๆ คือ เรื่องของการเดินหน้าประสานนโยบายทางการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ของทุกประเทศและของโลกเติบโต นำไปสู่การสร้างงาน จ้างงาน สร้างโอกาสสร้างรายได้ให้ประชาชน การที่จะต้องวางแนวทางป้องกันไม่ให้วิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้เกิดขึ้นอีก ซึ่งรวมไปถึงการปรับกฎ กติกา ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสถาบันการเงิน รวมไปถึงการปฏิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ที่สำคัญ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ธนาคารโลก ซึ่งมีหลักการสำคัญที่จะเป็นประโยชน์กับเราก็คือ การเพิ่มสิทธิ เสียง ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
นอกจากนั้น ในที่ประชุม G 20 ก็พยายามที่จะทำงานสนับสนุนการเจรจาการค้า คือเป้าหมายของการที่ทำอย่างไรให้การเจรจาการค้ารอบที่กรุงโดฮาร์ ประสบความสำเร็จ ซึ่งถ้าการเจรจารอบนี้ประสบความสำเร็จ สินค้าเกษตรของไทย ก็จะได้ประโยชน์อย่างมาก ส่วนการเจรจาเรื่องของสิ่งแวดล้อมด้าน ก็จะมีการผลักดันให้มีข้อยุติที่ดีใ นการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ในปลายปีนี้
"ในการประชุมสหประชาชาติ และ G 20 นั้น ผมได้มีโอกาสพูดคุยพบปะแลกเปลี่ยนอย่างไม่เป็นทางการ กับผู้นำประเทศจำนวนมาก ตั้งแต่ท่านประธานาธิบดีสหรัฐฯ ท่านนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นคนใหม่ ไปจนถึงประเทศคู่ค้าสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดีจีน นายกรัฐมนตรีอินเดีย นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประธานาธิบดีอินโดนีเซีย รวมไปถึงกลุ่มประเทศในยุโรป และอมเริกาใต้ ซึ่งสิ่งต่างๆที่ได้มีการพบปะกัน ก็จะเป็นส่วนที่จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ และการทำงานที่จะสานต่อโดยรัฐมนตรี ผู้แทนการค้า หรือแม้กระทั่งภาคเอกชน ให้ดำเนินการได้ราบรื่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งล้วนแล้วเป็นประโยชน์กับประชาชนคนไทย" นายกรัฐมนตรีกล่าว
สำหรับภารกิจด้านที่ สาม คือ การมาสร้างความเชื่อมั่นโดยการพบปะนักลงทุน ผู้ค้า รวมไปถึงผู้ประกอบธุรกิจทางด้านต่างๆ เพื่อชักชวนให้เกิดการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในประเทศไทย กิจกรรมตรงนี้มีค่อนข้างมาก และได้รับการตอบสนองที่ดี โดยหลายฝ่ายมีความเชื่อมั่น มีความประทับใจในสังคมไทย และคนไทยอยู่แล้ว และมองเห็นถึงแผนการที่ชัดเจน ในการกระตุ้น และฟื้นเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ถ้าอาจจะมีข้อสงสัยบ้าง ก็เป็นเรื่องของปัญหาทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องปกติในการรับข่าวสารต่างๆ ผ่านสื่อสารมวลชน ซึ่งตนก็ได้มีโอกาสตอบข้อซักถาม แลกเปลี่ยนกันค่อนข้างมาก และคิดว่าจะทำให้เขามีความมั่นใจมากขึ้น
"ผมมั่นใจว่า ในเดือนสองเดือนข้างหน้า จะมีการขยายการลงทุนของนักลงทุนสหรัฐฯในประเทศไทยเพิ่มขึ้น และเราก็คงจะได้ติดตามต่อไป เพราะว่าการที่เขาสนใจจะมาค้าขาย มาลงทุน หรือมาท่องเที่ยวในประเทศไทย สุดท้ายก็ล้วนแต่เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งสิ้น" นายกรัฐมนตรี กล่าว
ปชต.ที่ยั่งยืนต้องเคารพกฎหมาย
สำหรับในช่วงที่2 ของรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ เป็นการนำเทปบันทึกภาพ นายกรัฐมนตรี ที่ได้ไปกล่าวสุนทรพจน์ ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในหัวข้อการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยกับการพัฒนาที่ยั่งยืนว่า ตลอดเวลา 9 เดือนที่ผ่านมา ได้บริหารบ้านเมืองค่อนข้างที่จะลำบากมากทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ และต้องสร้างความสมานฉันท์ ปีที่แล้วประทศไทยมีนายกรัฐนตรีถึง 4 คน มีรัฐธรรมนูญมาแล้วถึง 18 ฉบับ ไม่ได้สะท้อนว่าเป็นความล้มเหลวทางประชาธิไตย แต่เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต ที่เน้นในเรื่องสาระมากกว่ารูปแบบ
"หมดสมัยแล้ว การเมืองอยู่ในมือของผู้มีอำนาจไม่กี่คน ประชาชนต้องมาก่อน เมื่อมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต้องตอบสนองความต้องการของประชาชน ต้องหามาตรการที่ช่วยกระตุ้นค่าครองชีพ ถือเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยแต่เป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ถึงเวลาแล้วที่ชาวนาไทยต้องทราบถึงการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่ผันผวนตามตลาดโลก ไม่ใช่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดราคา
ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้น เพราะขาดธรรมาภิบาล รัฐบาลที่ผ่านมาล้มเหลวเพราะลุ่มหลงอำนาจทำตัวเองอยู่เหนือกฎหมาย สิทธิที่ชอบธรรมต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย สังคมประชาธิปไตยแบบใหม่ ควรจะอยู่ภายใต้เศรษฐกิจที่ยั่งยืน" นายกรัฐมนตรีกล่าว
“ไทม์” เปรียบมาร์ค คนกลางเชื่อม ปชต.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ นิตยสารรายสัปดาห์"ไทม์" ฉบับตีพิมพ์ปกวันที่ 5 ต.ค. ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดย ฮันนาห์ บีช ผู้สื่อข่าวของไทม์ ประจำประเทศไทย โดยเธอระบุว่า แม้นายกรัฐมนตรีหน้าใหม่ของไทย จะเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก แต่เขาก็กำลังถูกท้าทายจากกลุ่มต่อต้านเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่รัฐบาลของเขาที่เต็มไปด้วยนักวิชาการจำนวนมากจะมั่นใจว่า ดำเนินนโยบายมาถูกทางและอ้างผลงานว่า ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศสดใสขึ้น
การสัมภาษณ์ครั้งนี้มีขึ้น ก่อนหน้าที่นายกฯอภิสิทธิ์ จะเดินทางไปร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์กของสหรัฐ และร่วมสังเกตการณ์การประชุมผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 20 ประเทศ หรือจี 20 ในฐานะประธานอาเซียน
ฮันนาห์ บีช มองว่า ความแตกแยกขัดแย้งทางการเมืองในไทย ไม่ได้เกิดขึ้นจากตัวนายกรัฐมนตรี ตรงกันข้ามนายกฯอภิสิทธิ์กลับพยายามอย่างมาก ที่จะฟื้นฟูสถาบันประชาธิปไตยที่เสื่อมถอยลงอย่างมากจากความแตกแยกในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา และระบุด้วยว่า สถานการณ์ทางการเมืองในไทยยังอยู่ในสภาพน่าวิตก ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นมักนำไปสู่การต่อสู้ระหว่างกลุ่มและแบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย ซึ่งส่งผลให้การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศเมื่อไม่นานมานี้มีคนไทยเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่เห็นว่า ประเทศกำลังเดินไปถูกทาง
ในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ ยังเปรียบเปรยนายกรัฐมนตรีของไทยว่าเป็นเหมือน "คนที่อยู่ตรงกลาง" ที่นอกจากจะต้องพยายามทำตัวเป็นสะพานเชื่อมระหว่างคน 2 กลุ่มแล้ว ยังต้องทำหน้าที่ฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย ที่เสื่อมถอยไปให้กลับคืนมาอีกครั้ง แต่การเป็นผู้นำที่มีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นนักการเมืองมือสะอาด มีความรู้ ตั้งใจจริงในการทำงาน และไม่คอร์รัปชั่นเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้การแก้ปัญหาการเมืองภายในประเทศลุล่วงไปได้ เพราะการแก้ปัญหาต้องเริ่มตั้งแต่ภายในรัฐบาลผสมด้วยกันเองเสียก่อน
“เทือก” ปัดไม่ตื่นสหรัฐให้เงินกู้วิกฤติปชต.
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนิตยสารไทม์รายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกา เผยแพร่บทความ ระบุว่าสหรัฐอเมริกาวิตกกังวลกับสภาวการณ์ในประเทศไทย จึงมอบเงินทุนจำนวนหนึ่งให้กับสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (ยูเสด) เพื่อดำเนินการสร้างประชาธิปไตยในไทยว่า ได้อ่านผ่านสื่อเท่านั้น ยังไม่ทราบรายละเอียด แต่จะติดตามต่อไปว่า ยูเสดจะเข้ามาทำอะไรกันแน่
ทั้งนี้ เห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่น่าตื่นเต้น เราเป็นคนไทยก็ทำตามหน้าที่ทำทุกวิธีทางที่ให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดำรงอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบที่ดูแลบ้านเมืองประชาชนได้อย่างแท้จริง ดังนั้นใครมีหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ต้องดำเนินการทุกด้าน ส่วนใครจะมาเสริมอะไรไม่ได้ขัดข้อง ตราบใดที่ไม่มาก้าวก่ายแทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทย
เมื่อถามว่า เรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นการสวนทางกับที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศบนเวทีสหประชาชนว่าประชาธิปไตยไทยกำลังเดินไปข้างหน้า เรื่องดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อนักลงทุนหรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องการเมืองการปกครองทุกประเทศมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แม้แต่สหรัฐอเมริกาเองก็มีปัญหาภายในเหมือนกันเพียงแต่แตกต่างกับเราเท่านั้น ส่วนกรณีที่นิตยสารฉบับดังกล่าวระบุว่า นายกรัฐมนตรีไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศได้นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า สรุปเร็วเกินไป