รอยเตอร์ –กลุ่มจี 20 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นการประชุมซัมมิตเมื่อวันศุกร์และเสาร์(25-26) ที่ผ่านมา ถ้าหากไม่เร่งรีบกระทำตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ ในเรื่องการปฏิรูปภาคการเงินอย่างเข้มงวดจริงจังแล้ว ก็อาจตกอยู่ในสภาพเดียวกับอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐฯ ที่ไปประกาศว่าได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดในอิรัก ก่อนที่จะถูกหลอกหลอนด้วยปัญหานานัปการในเวลาต่อมา
บรรดาผู้นำจี 20 ซึ่งประกอบด้วยชาติอุตสาหกรรมและชาติเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่รายใหญ่ๆ ของโลก มีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าพวกเขาประสบความสำเร็จในการรับมือแก้ไขภาวะเศรษฐกิจถดถอยและวิกฤตการเงินของโลกแล้ว จนกระทั่งในส่วนอารัมภบทของคำแถลงสุดท้ายของพวกเขาที่ออกมาเมื่อวันศุกร์ ได้มีการเน้นคำว่า “มันได้ผล” (It worked)
ไซมอน จอห์นสัน อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งเวลานี้เป็นนักวิจัยอาวุโสของสถาบันปีเตอร์สันเพื่อเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ในกรุงวอชิงตัน วิพากษ์วิจารณ์ว่า ท่าทีเช่นนี้แสดงถึง “ความยโสโอหัง”
เขายังชี้ถึงจุดอ่อนสำคัญของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน อันได้แก่ สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ยังคงเสียหายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ , พวกธนาคารในยุโรปยังจำเป็นต้องมีการเพิ่มทุนมากกว่านี้, และการที่ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ยังมีอัตราการว่างงานสูงขึ้น โดยที่ปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างล้วนมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ชนิดที่บังคับให้ต้องมีการทบทวนนโยบายกันใหม่ได้ทีเดียว
ถึงแม้บรรดาผู้นำจี20 ยืนยันว่าพวกเขายังคงระมัดระวังไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่จอห์นสันกล่าวว่า พวกเขาอาจจะกล่าวอ้างความสำเร็จรวดเร็วเกินไป ทำนองเดียวกับคำปราศรัยเรื่องอิรักเมื่อเดือนพฤษภาคม 2003 ของบุช ที่กระทำบนเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันต่อหน้าแผ่นป้ายขนาดใหญ่เขียนไว้ว่า “ภารกิจบรรลุแล้ว” ซึ่งต่อมาก็ถูกหยิบยกขึ้นมาเย้ยหยันเหน็บแนมไม่รู้หยุดหย่อน
จอห์นสันบอกว่า ภายหลังการประชุมซัมมิตจี 20 คราวที่แล้วที่กรุงลอนดอนในเดือนเมษายน ก็ยังไม่ได้มีการดำเนินปฏิรูปด้านกฎระเบียบกำกับดูแลภาคการเงินการธนาคารอย่างจริงจังกันเลย
พวกผู้นำจี 20 ยอมรับว่ายังคงมีงานอีกมากมายมหึมาที่จะต้องทำ เพื่อทำให้เศรษฐกิจโลกมีความอ่อนไหวน้อยลงเมื่อเผชิญวิกฤต และกล่าวว่า พวกเขาจะทำงานเพื่อไปสู่ “การเจริญเติบโตที่ปราศจากวัฏจักรแห่งการเฟื่องฟูและการเสื่อมสลาย และตลาดที่ส่งเสริมสนับสนุนความรับผิดชอบไม่ใช่ความบุ่มบ่ามชะล่าใจ”
ทว่าการรวบรวมผนึกเจตนารมณ์ทางการเมืองภายในประเทศของพวกเขา เพื่อทำให้มีการประกาศใช้กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่จำเป็นนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ ซึ่งประเด็นปัญหาการปฏิรูประบบการดูแลสุขภาพ ยังคงดึงดูดความสนใจของรัฐสภา และการยกเครื่องกฎระเบียบกำกับดูแลภาคการเงิน ยังคงกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับรองๆ
อะนิล แคชยัป ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ แห่ง วิทยาลัยบริหารธุรกิจบูธ ของมหาวิทยาลัยชิคาโก บอกว่า ถ้าเขาจะให้เกรดแก่ผลงานของกลุ่มจี 20 แล้ว ก็จะให้เกรด “ไอ” (incomplete ยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์)
บรรดาผู้นำจี 20 ซึ่งประกอบด้วยชาติอุตสาหกรรมและชาติเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่รายใหญ่ๆ ของโลก มีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าพวกเขาประสบความสำเร็จในการรับมือแก้ไขภาวะเศรษฐกิจถดถอยและวิกฤตการเงินของโลกแล้ว จนกระทั่งในส่วนอารัมภบทของคำแถลงสุดท้ายของพวกเขาที่ออกมาเมื่อวันศุกร์ ได้มีการเน้นคำว่า “มันได้ผล” (It worked)
ไซมอน จอห์นสัน อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งเวลานี้เป็นนักวิจัยอาวุโสของสถาบันปีเตอร์สันเพื่อเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ในกรุงวอชิงตัน วิพากษ์วิจารณ์ว่า ท่าทีเช่นนี้แสดงถึง “ความยโสโอหัง”
เขายังชี้ถึงจุดอ่อนสำคัญของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน อันได้แก่ สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ยังคงเสียหายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ , พวกธนาคารในยุโรปยังจำเป็นต้องมีการเพิ่มทุนมากกว่านี้, และการที่ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ยังมีอัตราการว่างงานสูงขึ้น โดยที่ปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างล้วนมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ชนิดที่บังคับให้ต้องมีการทบทวนนโยบายกันใหม่ได้ทีเดียว
ถึงแม้บรรดาผู้นำจี20 ยืนยันว่าพวกเขายังคงระมัดระวังไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่จอห์นสันกล่าวว่า พวกเขาอาจจะกล่าวอ้างความสำเร็จรวดเร็วเกินไป ทำนองเดียวกับคำปราศรัยเรื่องอิรักเมื่อเดือนพฤษภาคม 2003 ของบุช ที่กระทำบนเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันต่อหน้าแผ่นป้ายขนาดใหญ่เขียนไว้ว่า “ภารกิจบรรลุแล้ว” ซึ่งต่อมาก็ถูกหยิบยกขึ้นมาเย้ยหยันเหน็บแนมไม่รู้หยุดหย่อน
จอห์นสันบอกว่า ภายหลังการประชุมซัมมิตจี 20 คราวที่แล้วที่กรุงลอนดอนในเดือนเมษายน ก็ยังไม่ได้มีการดำเนินปฏิรูปด้านกฎระเบียบกำกับดูแลภาคการเงินการธนาคารอย่างจริงจังกันเลย
พวกผู้นำจี 20 ยอมรับว่ายังคงมีงานอีกมากมายมหึมาที่จะต้องทำ เพื่อทำให้เศรษฐกิจโลกมีความอ่อนไหวน้อยลงเมื่อเผชิญวิกฤต และกล่าวว่า พวกเขาจะทำงานเพื่อไปสู่ “การเจริญเติบโตที่ปราศจากวัฏจักรแห่งการเฟื่องฟูและการเสื่อมสลาย และตลาดที่ส่งเสริมสนับสนุนความรับผิดชอบไม่ใช่ความบุ่มบ่ามชะล่าใจ”
ทว่าการรวบรวมผนึกเจตนารมณ์ทางการเมืองภายในประเทศของพวกเขา เพื่อทำให้มีการประกาศใช้กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่จำเป็นนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ ซึ่งประเด็นปัญหาการปฏิรูประบบการดูแลสุขภาพ ยังคงดึงดูดความสนใจของรัฐสภา และการยกเครื่องกฎระเบียบกำกับดูแลภาคการเงิน ยังคงกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับรองๆ
อะนิล แคชยัป ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ แห่ง วิทยาลัยบริหารธุรกิจบูธ ของมหาวิทยาลัยชิคาโก บอกว่า ถ้าเขาจะให้เกรดแก่ผลงานของกลุ่มจี 20 แล้ว ก็จะให้เกรด “ไอ” (incomplete ยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์)