รอยเตอร์/วอลล์สตรีทเจอร์นัลเอเชีย – สหรัฐฯ เล็งใช้ที่ประชุมสุดยอดกลุ่มจี 20 กระตุ้นผู้นำโลกให้ผลักดันการปรับสมดุลของเศรษฐกิจโลกกันเสียใหม่ โดยเสนอให้ผู้ส่งออกรายใหญ่คือจีน เยอรมนี และญี่ปุ่นเพิ่มการบริโภคให้มากขึ้น ในขณะที่ฝ่ายลูกหนี้อย่างเช่นสหรัฐฯ จะเน้นเพิ่มการออม ทั้งนี้จะให้ไอเอ็มเอฟเป็นตัวกลางในการศึกษาประเมินความคืบหน้าเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่าประเทศต่างๆ จะยอมรับข้อเสนอดังกล่าวหรือไม่
ข้อเสนอของสหรัฐฯนี้ใช้ชื่อว่า “กรอบโครงเพื่อการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและมีความสมดุล” และอยู่ในรูปจดหมายลงวันที่ 3 กันยายน ที่ ไมเคิล โฟรแมน รองที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติฝ่ายกิจการเศรษฐกิจระหว่างประเทศของทำเนียบขาว ส่งไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกลุ่มจี 20 ที่ประกอบด้วยประเทศพัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ขนาดใหญ่ๆ
ในกรอบข้อเสนอดังกล่าว สหรัฐฯได้นำผลวิเคราะห์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศกลุ่ม “จี 20” มาพิจารณาว่าจะสอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในทิศทางที่สมดุลหรือไม่
ข้อเสนอของสหรัฐฯบอกว่า จะเสนอแนะให้ที่ประชุมซัมมิตจี 20 ที่เมืองพิตส์เบิร์ก วันพฤหัสบดี(24)-วันศุกร์(25)นี้ แจ้งให้บรรดารัฐมนตรีคลังของจี 20 เปิดฉากการดำเนินงานในเรื่องนี้ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ตามกำหนดการ พวกรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางจี 20 ก็นัดหมายหารือกันอยู่แล้วในวันที่ 7-8 พฤศจิกายนที่สกอตแลนด์
กรอบที่สหรัฐฯเสนอจะให้ไอเอ็มเอฟเป็นผู้ที่มีบทบาทแกนกลางในเรื่องนี้ โดยอยู่ในรูปของกระบวนการที่ชาติสมาชิกต่างๆ จะทำ “การประเมินซึ่งกันและกัน” และเสนอคำแนะนำเชิงนโยบายแก่กลุ่มจี 20 ทุกๆ 6 เดือน
ทางด้าน ฌอง-โคลด ตริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) กล่าวในหนังสือพิมพ์เลอมงด์ ฉบับวันจันทร์(21) ว่า จี20 มีความคืบหน้าในการปฏิรูปต่างๆ เพื่อทำให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพมากขึ้นภายหลังวิกฤต
แต่ “คำถามยากลำบากที่สุดยังคงไม่มีคำตอบ นั่นคือ ยุโรป, อเมริกา, จีน พวกเขาพร้อมแล้วหรือที่จะปรับปรุงนโยบายต่างๆ ทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคของพวกเขาในอนาคต –โดยเป็นการกระทำตามคำแนะนำของไอเอ็มเอฟ และภายใต้การกดดันของพวกเพื่อนสมาชิก(จี20)ของพวกเขา เพื่อให้บรรลุความดีงามร่วมกัน และเพื่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก?” เขาแสดงความข้องใจ
ข้อเสนอของสหรัฐฯนี้ใช้ชื่อว่า “กรอบโครงเพื่อการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและมีความสมดุล” และอยู่ในรูปจดหมายลงวันที่ 3 กันยายน ที่ ไมเคิล โฟรแมน รองที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติฝ่ายกิจการเศรษฐกิจระหว่างประเทศของทำเนียบขาว ส่งไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกลุ่มจี 20 ที่ประกอบด้วยประเทศพัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ขนาดใหญ่ๆ
ในกรอบข้อเสนอดังกล่าว สหรัฐฯได้นำผลวิเคราะห์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศกลุ่ม “จี 20” มาพิจารณาว่าจะสอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในทิศทางที่สมดุลหรือไม่
ข้อเสนอของสหรัฐฯบอกว่า จะเสนอแนะให้ที่ประชุมซัมมิตจี 20 ที่เมืองพิตส์เบิร์ก วันพฤหัสบดี(24)-วันศุกร์(25)นี้ แจ้งให้บรรดารัฐมนตรีคลังของจี 20 เปิดฉากการดำเนินงานในเรื่องนี้ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ตามกำหนดการ พวกรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางจี 20 ก็นัดหมายหารือกันอยู่แล้วในวันที่ 7-8 พฤศจิกายนที่สกอตแลนด์
กรอบที่สหรัฐฯเสนอจะให้ไอเอ็มเอฟเป็นผู้ที่มีบทบาทแกนกลางในเรื่องนี้ โดยอยู่ในรูปของกระบวนการที่ชาติสมาชิกต่างๆ จะทำ “การประเมินซึ่งกันและกัน” และเสนอคำแนะนำเชิงนโยบายแก่กลุ่มจี 20 ทุกๆ 6 เดือน
ทางด้าน ฌอง-โคลด ตริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) กล่าวในหนังสือพิมพ์เลอมงด์ ฉบับวันจันทร์(21) ว่า จี20 มีความคืบหน้าในการปฏิรูปต่างๆ เพื่อทำให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพมากขึ้นภายหลังวิกฤต
แต่ “คำถามยากลำบากที่สุดยังคงไม่มีคำตอบ นั่นคือ ยุโรป, อเมริกา, จีน พวกเขาพร้อมแล้วหรือที่จะปรับปรุงนโยบายต่างๆ ทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคของพวกเขาในอนาคต –โดยเป็นการกระทำตามคำแนะนำของไอเอ็มเอฟ และภายใต้การกดดันของพวกเพื่อนสมาชิก(จี20)ของพวกเขา เพื่อให้บรรลุความดีงามร่วมกัน และเพื่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก?” เขาแสดงความข้องใจ