ASTVผู้จัดการรายวัน - "มาร์ค" ยันกลับไทยปัญหา ผบ.ตร.คนใหม่จบ โลกไม่ได้หมุนรอบแค่ตำแหน่งนี้ ยังปัญหามีอีกเยอะที่คนทั่วโลกสนใจ ปัดตอบเสนอชื่อ "วัชรพล" เป็นตาอยู่เสียบแทน
เมื่อเวลา 07.45 น. วานนี้ (24 ก.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ออกอากาศทางรายการ "เรื่องเล่า เช้านี้" ผ่านระบบเว็บ คอนเฟอเร้นซ์ ถึงภารกิจต่างๆ ขณะเดินทางไปร่วมประชุม จี 20 ที่สหรัฐฯว่า โอกาสเดินทางมาปฏิบัติภารกิจที่สหรัฐฯ ครั้งนี้ได้พบปะนักลงทุน และเดินทางไปตลาดหลักทรัพย์ ที่นิวยอร์ก เป็นการขยายความร่วมมือที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้พบกับนักธุรกิจที่อยู่ในสภาธุรกิจของสหรัฐฯอาเซี่ยน ได้ตอบข้อซักถามเรื่องนโยบาย ปัญหาอุปสรรค์ของธุรกิจต่างๆ ก็ได้รับการตอบสนองในทางที่ดี และหลายคนแสดงความสนใจในการที่จะขยายธุรกิจในประเทศไทย
ส่วนของตลาดหลักทรัพย์ในขณะนี้นั้น ตลาดหลักทรัพย์ของนิวยอร์ก เข้ามามีบทบาทเรื่องการสนับสนุนที่เราเชื่อมโยงตลาดหลักทรัพย์กับกลุ่มประเทศในอาเซี่ยน ซึ่งจะทำให้ดึงดูดนักลงทุนสหรัฐฯมากขึ้น ในการที่จะเข้ามาลงทุน
"พูดตรงๆหมายความว่า ตลาดของแต่ละประเทศในอาเซียนอาจจะเล็กเกินไปสักนิดหนึ่ง แต่พอเรามาเชื่อมโยงกันเป็นตลาดของอาเซียนจะทำให้เกิดความสนใจ โดยภาระส่วนใหญ่ยังเป็นเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่น" นายอภิสิทธิ์กล่าว
นอกจากนี้ยังได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนทั้ง ซีเอ็นบีซี วอร์ชิงตันโพสต์นิวยอร์กไทม์ และในช่วงเช้าได้ไปร่วมประชุมในส่วนของที่ประชุมใหญ่ของสหประชาชาติ และมีงานเลี้ยงที่เลขาธิการสหประชาชาติ และงานเลี้ยงที่ประธานนาธิบดีสหรัฐฯ เลี้ยงรับรองในช่วงค่ำนี้
นายสรยุทธ สุทัศนจินดา ผู้ดำเนินรายการ ถามว่า สิ่งที่สื่อต่างประเทศซักถาม ยังเป็นเรื่องการเมือง เรื่องความขัดแย้ง เรื่องพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อยู่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คำถามแล้วแต่ จริงๆ แล้วคนที่เขามีความคุ้นเคยกับประเทศไทย ไม่ถามเรื่องการเมืองเท่าไร แต่จะถามประเด็นทางเศรษฐกิจ ทางธุรกิจที่เป็นเรื่องเฉพาะมากกว่า แต่สื่อมวลชนก็มีถามบ้างในเรื่องการเมือง ก็ได้อธิบายไปว่าสถานการณ์ต่างๆเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่ก็มีความเข้าใจพื้นฐานที่ค่อนข้างดีอยู่แล้ว
**ปัดตอบ "วัชรพล" ตาอยู่ ผบ.ตร.
เมื่อถามว่า เช้าวันนี้มีข่าวโลกหมุนรอบตำแหน่ง ผบ.ตร. คนใหม่อีกแล้ว ว่าคนที่นายกฯจะเสนอชื่อให้เป็น ผบ.ตร.คนใหม่ อาจจะเป็น พล.ต.อ.วัชรพล ประสานราชกิจ รองผบ.ตร. ซึ่งเป็นคนกลาง จะเป็นตาอยู่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวยืนยันว่าโลกไม่ได้หมุนรอบตำแหน่ง ผบ.ตร. โลกยังมีปัญหาอีกเยอะแยะ ที่คนเขาสนใจอยากจะแก้ไขกัน และการมาประชุมครั้งนี้เห็นได้ชัดว่า หากประเทศเราไม่ให้ความสนใจกับสิ่งที่ทั่วโลกกังวล เราก็จะถูกทอดทิ้ง ฉะนั้นตนคิดว่าเรื่องสำคัญๆโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจพรุ่งนี้ ต้องไปพูดกันที่ควิเบก เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิทธิมนุษยชนต่างๆ เรื่องเหล่านี้ เราจะต้องให้ความสนใจใส่ใจมากขึ้น และโอกาสนี้จะได้พบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่คงไม่มีอะไรพูดคุยเป็นพิเศษ นอกจากยืนยันความสัมพันธ์ที่ดี เพราะประเทศทั้งสองมีความสัมพันธ์ยาวนายกว่า 175 ปี ถือว่าเรื่องการค้า การลงทุนยังเป็นจุดสำคัญ ที่อยากให้มีการขยายและเรามีความพึงพอใจของรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเซีย ต่อเนื่องมาจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯมาเยือนประเทศไทยด้วย
"ตำแหน่ง ผบ.ตร.ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวผมกลับไป ก็เรียบร้อยเอง" นาอยภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่า ตอนนี้กลายเป็นว่า การประชุม ก.ตร. ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ดูแล ยังยื้ออยู่ ยังไม่ยอมตั้งระดับนายพล จะรอตำแหน่ง ผบ.ตร. คนใหม่ ขณะที่ทาง ก.ต.ช.ยังไม่มีบทสรุป เพราะนายกฯ บอกต้องให้เป็นเอกภาพก่อน ทำท่าจะยื้อกันไปมาทั้งพวง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เข้าใจว่าเรื่องของ ก.ตร.ไม่ใช่ว่าตำแหน่งของ ผบ.ตร. ยังไม่เรียบร้อยหรอก เพาะจริงๆ ตำแหน่งของ ผบ.ตร. เป็นตำแหน่งเดียว และเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ยังไงก็ต้องมาจากคนซึ่งมียศ "พลตำรวจเอก" ฉะนั้นการโยกย้าย สับเปลี่ยนต่างๆ ทำได้ ตนทราบว่าใน ก.ตร.บังเอิญก็มีความเห็นไม่ตรงกัน เข้าใจว่า นายสุเทพ ก็มีความคิดเหมือนตนว่า หากยังมีความขัดแย้งกันมาก ก็ใช้เวลาอีกสักนิดหนึ่ง ค่อยแก้ปัญหากันไป เท่านั้นเอง ฉะนั้นเวลาไม่หมุนรอบที่ตำแหน่งของ ผบ.ตร.อยู่แล้ว
เมื่อถามว่า ขอแอบถามหน่อยว่าหลังวันที่ 30 ก.ย.นี้ ตำแหน่ง ผบ.ตร.จะเป็นตำแหน่งรักษาการ หรือ ผบ.ตร. ตัวจริง นาอยภิสิทธิ์ กล่าวติดตลกว่า แอบถามก็จะแอบตอบให้
**มั่นใจได้กลับไทยแน่นอน
เมื่อถามว่า ยังยืนยันที่จะได้กลับเมืองไทยใช่ หรือไม่ เพราะยังมีการพูดถึงเรื่องนี้กันอยู่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ใครจะไม่ให้ตนกลับ เมื่อถามว่า นายกฯ ยังมั่นใจหรือไม่นายอภิสิทธิ์ หัวเราะพร้อมกับกล่าวว่า "ผมกลับแน่นอน"
**ให้สัมภาษณ์สื่อนอก-ปิดตลาดหุ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 64 ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เวลา 09.00 น. วันที่ 23 ก.ย. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งช้ากว่าประเทศไทย 11 ชั่วโมง โดยมีผู้นำชาติต่างๆ เข้าร่วมพร้อมฟังสุนทรพจน์จากนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากนั้นนายกฯ ให้สัมภาษณ์สื่อต่างชาติ หลายฉบับ เช่น วอร์ชิงตันโพสต์ และ นิวยอร์กไทมส์
ต่อมาช่วงบ่าย นายกฯ พบซีอีโอ ผู้แทนตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ที่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็นวายเอสอี ซึ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ และได้รับเกียรติให้เป็นผู้กดสัญญาณ และตีค้อนเพื่อปิดการซื้อขายประจำวันด้วย
ในช่วงเย็นนายกรัฐมนตรี เข้าร่วม Roundtable discussion กับนักธุรกิจ ที่เป็นสมาชิกสภาธุรกิจ สหรัฐ-อาเซียน (USABC Council Members) ซึ่งถือเป็น องค์กรธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญ ในการผลักดันให้สหรัฐฯ ให้ความสำคัญต่ออาเซียนและไทย โดยสมาชิกที่มาเป็นบริษัทชั้นนำที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย อาทิ ซิตตี้ กรุ๊ป เชฟรอน และโคคา โคลา ระหว่างการหารือ นายกฯได้ให้ความมั่นใจกับนักธุรกิจถึง ความพยายามของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะการให้ความสำคัญ และอำนวยความสะดวกด้านการค้า - การลงทุน การแก้ไขปัญหาอุปสรรคด้านการลงทุนในประเทศ แม้จะมีปัญหาด้านการเมือง แต่ก็ไม่ทำให้กระทบต่อเศรษฐกิจ และการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งดูได้จากตัวเลขการส่งออกที่ดีขั้น
"รัฐบาลยังรับฟังความคิดจากทุกภาคส่วน มีการเชิญภาคเอกชนเข้ามาหารือ ทุกสัปดาห์ เพื่อประชุมร่วมภาครัฐและเอกชน มีการปรับกฎระเบียบ ให้เอื้ออำนวยกับการลงทุนมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับธนาคารโลก ที่ได้จัดอันดับให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 12 ที่มีความสะดวกและน่าลงทุน"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทเอกชนที่เข้าร่วมหารือ ได้แสดงความยินดี และยืนยันว่า มีแผนที่จะเข้าไปลงทุนในไทยอยู่แล้ว เพราะเห็นได้ชัดว่ารัฐบาลชุดนี้มีความ พยายาม ที่จะปรับปรุงภาษีศุลกากร และยังได้ชื่นชมนายกฯว่ามีภาวะผู้นำอาเซียน และจากที่ได้ศึกษาประวัติ ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต
จากนั้น ช่วงค่ำ นายกรัฐมนตรี พร้อมภริยาร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ ซึ่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และภริยา เป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองหัวหน้าคณะผู้แทนและคู่สมรสที่เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ที่โรงแรม Waldorf Astoria
สำหรับในวันที่ 24 ก.ย. ตามเวลาท้องถิ่น นายกฯ มีกำหนดการ เดินทางออกจากนครนิวยอร์ก ไปร่วมประชุม จี-20 ที่นครพิตส์เบิร์ก ระหว่างวันที่ 24–25 ก.ย. เสร็จแล้วจะเดินกลับมานครนิวยอร์ก เพื่อกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในวันที่ 26 ก.ย. ก่อนเดินทางกลับประเทศไทย.
เมื่อเวลา 07.45 น. วานนี้ (24 ก.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ออกอากาศทางรายการ "เรื่องเล่า เช้านี้" ผ่านระบบเว็บ คอนเฟอเร้นซ์ ถึงภารกิจต่างๆ ขณะเดินทางไปร่วมประชุม จี 20 ที่สหรัฐฯว่า โอกาสเดินทางมาปฏิบัติภารกิจที่สหรัฐฯ ครั้งนี้ได้พบปะนักลงทุน และเดินทางไปตลาดหลักทรัพย์ ที่นิวยอร์ก เป็นการขยายความร่วมมือที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้พบกับนักธุรกิจที่อยู่ในสภาธุรกิจของสหรัฐฯอาเซี่ยน ได้ตอบข้อซักถามเรื่องนโยบาย ปัญหาอุปสรรค์ของธุรกิจต่างๆ ก็ได้รับการตอบสนองในทางที่ดี และหลายคนแสดงความสนใจในการที่จะขยายธุรกิจในประเทศไทย
ส่วนของตลาดหลักทรัพย์ในขณะนี้นั้น ตลาดหลักทรัพย์ของนิวยอร์ก เข้ามามีบทบาทเรื่องการสนับสนุนที่เราเชื่อมโยงตลาดหลักทรัพย์กับกลุ่มประเทศในอาเซี่ยน ซึ่งจะทำให้ดึงดูดนักลงทุนสหรัฐฯมากขึ้น ในการที่จะเข้ามาลงทุน
"พูดตรงๆหมายความว่า ตลาดของแต่ละประเทศในอาเซียนอาจจะเล็กเกินไปสักนิดหนึ่ง แต่พอเรามาเชื่อมโยงกันเป็นตลาดของอาเซียนจะทำให้เกิดความสนใจ โดยภาระส่วนใหญ่ยังเป็นเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่น" นายอภิสิทธิ์กล่าว
นอกจากนี้ยังได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนทั้ง ซีเอ็นบีซี วอร์ชิงตันโพสต์นิวยอร์กไทม์ และในช่วงเช้าได้ไปร่วมประชุมในส่วนของที่ประชุมใหญ่ของสหประชาชาติ และมีงานเลี้ยงที่เลขาธิการสหประชาชาติ และงานเลี้ยงที่ประธานนาธิบดีสหรัฐฯ เลี้ยงรับรองในช่วงค่ำนี้
นายสรยุทธ สุทัศนจินดา ผู้ดำเนินรายการ ถามว่า สิ่งที่สื่อต่างประเทศซักถาม ยังเป็นเรื่องการเมือง เรื่องความขัดแย้ง เรื่องพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อยู่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คำถามแล้วแต่ จริงๆ แล้วคนที่เขามีความคุ้นเคยกับประเทศไทย ไม่ถามเรื่องการเมืองเท่าไร แต่จะถามประเด็นทางเศรษฐกิจ ทางธุรกิจที่เป็นเรื่องเฉพาะมากกว่า แต่สื่อมวลชนก็มีถามบ้างในเรื่องการเมือง ก็ได้อธิบายไปว่าสถานการณ์ต่างๆเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่ก็มีความเข้าใจพื้นฐานที่ค่อนข้างดีอยู่แล้ว
**ปัดตอบ "วัชรพล" ตาอยู่ ผบ.ตร.
เมื่อถามว่า เช้าวันนี้มีข่าวโลกหมุนรอบตำแหน่ง ผบ.ตร. คนใหม่อีกแล้ว ว่าคนที่นายกฯจะเสนอชื่อให้เป็น ผบ.ตร.คนใหม่ อาจจะเป็น พล.ต.อ.วัชรพล ประสานราชกิจ รองผบ.ตร. ซึ่งเป็นคนกลาง จะเป็นตาอยู่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวยืนยันว่าโลกไม่ได้หมุนรอบตำแหน่ง ผบ.ตร. โลกยังมีปัญหาอีกเยอะแยะ ที่คนเขาสนใจอยากจะแก้ไขกัน และการมาประชุมครั้งนี้เห็นได้ชัดว่า หากประเทศเราไม่ให้ความสนใจกับสิ่งที่ทั่วโลกกังวล เราก็จะถูกทอดทิ้ง ฉะนั้นตนคิดว่าเรื่องสำคัญๆโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจพรุ่งนี้ ต้องไปพูดกันที่ควิเบก เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิทธิมนุษยชนต่างๆ เรื่องเหล่านี้ เราจะต้องให้ความสนใจใส่ใจมากขึ้น และโอกาสนี้จะได้พบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่คงไม่มีอะไรพูดคุยเป็นพิเศษ นอกจากยืนยันความสัมพันธ์ที่ดี เพราะประเทศทั้งสองมีความสัมพันธ์ยาวนายกว่า 175 ปี ถือว่าเรื่องการค้า การลงทุนยังเป็นจุดสำคัญ ที่อยากให้มีการขยายและเรามีความพึงพอใจของรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเซีย ต่อเนื่องมาจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯมาเยือนประเทศไทยด้วย
"ตำแหน่ง ผบ.ตร.ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวผมกลับไป ก็เรียบร้อยเอง" นาอยภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่า ตอนนี้กลายเป็นว่า การประชุม ก.ตร. ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ดูแล ยังยื้ออยู่ ยังไม่ยอมตั้งระดับนายพล จะรอตำแหน่ง ผบ.ตร. คนใหม่ ขณะที่ทาง ก.ต.ช.ยังไม่มีบทสรุป เพราะนายกฯ บอกต้องให้เป็นเอกภาพก่อน ทำท่าจะยื้อกันไปมาทั้งพวง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เข้าใจว่าเรื่องของ ก.ตร.ไม่ใช่ว่าตำแหน่งของ ผบ.ตร. ยังไม่เรียบร้อยหรอก เพาะจริงๆ ตำแหน่งของ ผบ.ตร. เป็นตำแหน่งเดียว และเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ยังไงก็ต้องมาจากคนซึ่งมียศ "พลตำรวจเอก" ฉะนั้นการโยกย้าย สับเปลี่ยนต่างๆ ทำได้ ตนทราบว่าใน ก.ตร.บังเอิญก็มีความเห็นไม่ตรงกัน เข้าใจว่า นายสุเทพ ก็มีความคิดเหมือนตนว่า หากยังมีความขัดแย้งกันมาก ก็ใช้เวลาอีกสักนิดหนึ่ง ค่อยแก้ปัญหากันไป เท่านั้นเอง ฉะนั้นเวลาไม่หมุนรอบที่ตำแหน่งของ ผบ.ตร.อยู่แล้ว
เมื่อถามว่า ขอแอบถามหน่อยว่าหลังวันที่ 30 ก.ย.นี้ ตำแหน่ง ผบ.ตร.จะเป็นตำแหน่งรักษาการ หรือ ผบ.ตร. ตัวจริง นาอยภิสิทธิ์ กล่าวติดตลกว่า แอบถามก็จะแอบตอบให้
**มั่นใจได้กลับไทยแน่นอน
เมื่อถามว่า ยังยืนยันที่จะได้กลับเมืองไทยใช่ หรือไม่ เพราะยังมีการพูดถึงเรื่องนี้กันอยู่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ใครจะไม่ให้ตนกลับ เมื่อถามว่า นายกฯ ยังมั่นใจหรือไม่นายอภิสิทธิ์ หัวเราะพร้อมกับกล่าวว่า "ผมกลับแน่นอน"
**ให้สัมภาษณ์สื่อนอก-ปิดตลาดหุ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 64 ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เวลา 09.00 น. วันที่ 23 ก.ย. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งช้ากว่าประเทศไทย 11 ชั่วโมง โดยมีผู้นำชาติต่างๆ เข้าร่วมพร้อมฟังสุนทรพจน์จากนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากนั้นนายกฯ ให้สัมภาษณ์สื่อต่างชาติ หลายฉบับ เช่น วอร์ชิงตันโพสต์ และ นิวยอร์กไทมส์
ต่อมาช่วงบ่าย นายกฯ พบซีอีโอ ผู้แทนตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ที่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็นวายเอสอี ซึ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ และได้รับเกียรติให้เป็นผู้กดสัญญาณ และตีค้อนเพื่อปิดการซื้อขายประจำวันด้วย
ในช่วงเย็นนายกรัฐมนตรี เข้าร่วม Roundtable discussion กับนักธุรกิจ ที่เป็นสมาชิกสภาธุรกิจ สหรัฐ-อาเซียน (USABC Council Members) ซึ่งถือเป็น องค์กรธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญ ในการผลักดันให้สหรัฐฯ ให้ความสำคัญต่ออาเซียนและไทย โดยสมาชิกที่มาเป็นบริษัทชั้นนำที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย อาทิ ซิตตี้ กรุ๊ป เชฟรอน และโคคา โคลา ระหว่างการหารือ นายกฯได้ให้ความมั่นใจกับนักธุรกิจถึง ความพยายามของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะการให้ความสำคัญ และอำนวยความสะดวกด้านการค้า - การลงทุน การแก้ไขปัญหาอุปสรรคด้านการลงทุนในประเทศ แม้จะมีปัญหาด้านการเมือง แต่ก็ไม่ทำให้กระทบต่อเศรษฐกิจ และการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งดูได้จากตัวเลขการส่งออกที่ดีขั้น
"รัฐบาลยังรับฟังความคิดจากทุกภาคส่วน มีการเชิญภาคเอกชนเข้ามาหารือ ทุกสัปดาห์ เพื่อประชุมร่วมภาครัฐและเอกชน มีการปรับกฎระเบียบ ให้เอื้ออำนวยกับการลงทุนมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับธนาคารโลก ที่ได้จัดอันดับให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 12 ที่มีความสะดวกและน่าลงทุน"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทเอกชนที่เข้าร่วมหารือ ได้แสดงความยินดี และยืนยันว่า มีแผนที่จะเข้าไปลงทุนในไทยอยู่แล้ว เพราะเห็นได้ชัดว่ารัฐบาลชุดนี้มีความ พยายาม ที่จะปรับปรุงภาษีศุลกากร และยังได้ชื่นชมนายกฯว่ามีภาวะผู้นำอาเซียน และจากที่ได้ศึกษาประวัติ ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต
จากนั้น ช่วงค่ำ นายกรัฐมนตรี พร้อมภริยาร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ ซึ่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และภริยา เป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองหัวหน้าคณะผู้แทนและคู่สมรสที่เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ที่โรงแรม Waldorf Astoria
สำหรับในวันที่ 24 ก.ย. ตามเวลาท้องถิ่น นายกฯ มีกำหนดการ เดินทางออกจากนครนิวยอร์ก ไปร่วมประชุม จี-20 ที่นครพิตส์เบิร์ก ระหว่างวันที่ 24–25 ก.ย. เสร็จแล้วจะเดินกลับมานครนิวยอร์ก เพื่อกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในวันที่ 26 ก.ย. ก่อนเดินทางกลับประเทศไทย.