ASTVผู้จัดการรายวัน – “กรณ์” จี้กรุงไทยหาจุดแข็งสร้างจุดขายที่ชัดเจนของตนเองหวังให้เดินหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้อง ระบุปีหน้าคลังต้องเข้าไปรับโอนหุ้นจากเอฟไอดีเอฟจำเป็นต้องผลักดันให้มีเอกลักษณ์เพื่อเป็นเครื่องมือผลักดันยุทธศาสตร์กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่อไป ด้านกรุงไทยสนองปล่อยกู้ไมโครไฟแนนซ์ผ่านกองทุนหมู่บ้านแล้วกว่า 700 ล้าน เดินหน้าขยาย Convenience Counter ปีหน้าเปิดเพิ่มอีก 100 จุด ชี้ช่วยลดปัญหาหนี้ภาคประชาชน
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า จากการหารือกับนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)KTB ที่ผ่านมาเพื่อกำหนดบทบาทของธนาคารกรุงไทยที่กระทรวงการคลังเห็นว่ายังเป็นปัญหาสำคัญของธนาคาร เนื่องจากผลการดำเนินงานต่างๆ ยังทำได้ไม่ดี ทั้งในส่วนที่เป็นบทบาทที่ต้องแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ หรือในส่วนที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นเครื่องมือของรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ซึ่งหากพิจารณาถึงภารกิจหลักของธนาคารก็พบว่าไม่มีความชัดเจน ในส่วนที่เป็นบทบาทธนาคารพาณิชย์ก็ต้องเข้าไปแข่งขัน ขณะเดียวกันก็มีส่วนที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ทำให้การแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ ซึ่งคลังกำลังดูอยู่ว่าธนาคารกรุงไทยควรมีบทบาทของตนเองที่ชัดเจนอย่างไร เพื่อให้ธนาคารเดินหน้าไปได้อย่างถูกต้อง
“กรุงไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยต้องหาเอกลักษณ์ให้ตัวเอง เพราะหากให้คิดตอนนี้ว่ากรุงไทยเด่นอย่างไรก็หาคำตอบไม่ได้ ไม่เหมือนสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น เช่น ธนาคารออมสินที่ดูแลรากหญ้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่เน้นดูแลเกษตรกร หรือธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ช่วยให้คนมีบ้าน ดังนั้น ถึงเวลาที่ธนาคารกรุงไทยต้องตอบโจทย์ว่าจะธนาคารจะตอบสนองควมต้องการใด”นายกรณ์ กล่าว
สำหรับที่ผ่านมาแม้นายอภิศักดิ์ จะเป็นประธานสมาคมธนาคารไทยแต่ไม่สามารถกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เดินหน้านโยบายสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะการลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อลดส่วนต่างดอกเบี้ยกู้และฝาก รวมถึงเร่งปล่อยสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น นายกรณ์ กล่าวว่า ตนเข้าใจดีว่าทำได้ยาก ซึ่งน่าเห็นใจ เพราะแม้เป็นประธานสมาคมธนาคารแต่หน้าที่ในฐานะประธานก็เพียงมีการประชุมเดือนละครั้งเท่านั้น
ทั้งนี้ โครงสร้างผู้ถือหุ้นของธนาคารกรุงไทย ปัจจุบันกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ถือหุ้นใหญ่อยู่ 55% ขณะที่กองทุนฟื้นฟูฯ จะยุติบทบาทในปีหน้า โดยคลังจะเข้าไปรับโอนหุ้นดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น หากคลังจะกำหนดบทบาทให้กรุงไทย ก็จำเป็นต้องให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยรับทราบว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่คิดอย่างไร และจะเดินหน้าธนาคารต่อไปอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
กรุงไทยปล่อยกู้ไมโครไฟแนนซ์
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการ บมจ.ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธนาคารได้ให้ความสำคัญการปล่อยกู้ในส่วนของไมโครไฟแนนซ์ โดยมีฝ่ายงานธนาคารชุมชนทำหน้าที่ดูแลโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนรายย่อยได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินในภาคประชาชน
“ธนาคารชุมชนได้ปล่อยกู้ผ่านกองทุนหมู่บ้าน เพื่อให้กู้ต่อกับสมาชิกในหมู่บ้าน โดยขณะนี้ปล่อยกู้ให้กับกองทุนหมู่บ้านในระดับ AAA ไปแล้วจำนวน 709 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมากองทุนหมู่บ้านที่ธนาคารปล่อยกู้เป็นกองทุนหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็งและมีการจัดการที่เป็นระบบ ทำให้เกิดหนี้เสียน้อยมาก โดยมีหนี้เสียเพียง 1.15% เท่านั้น ในส่วนของสินค้า OTOP ธนาคารมีโครงการสนับสนุนสินเชื่อ โดยได้ปล่อยกู้ไปแล้วเป็นวงเงิน 60 ล้านบาท และให้ลูกค้านำสินค้า OTOP มาจำหน่ายที่สาขาอีกด้วย”
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธนาคารได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยเฉพาะในกลุ่มไมโครไฟแนนซ์ ด้วยการเปิดจุดบริการในลักษณะ Convenience Counter หรือเคาน์เตอร์แสนสะดวก โดยได้นำ Software ในระบบฝากถอนเงินและ Payment ไปติดตั้งให้กับตัวแทนบริการของธนาคาร ซึ่งเป็นพันธมิตรกับธนาคาร เช่น กองทุนหมู่บ้าน สหกรณ์ ซึ่งธนาคารได้ขออนุญาตไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อขอเปิดจุดบริการจำนวน 23 จุด ได้รับอนุมัติ 19 จุด และได้เปิดให้บริการไปแล้ว 14 จุด
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า จากการหารือกับนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)KTB ที่ผ่านมาเพื่อกำหนดบทบาทของธนาคารกรุงไทยที่กระทรวงการคลังเห็นว่ายังเป็นปัญหาสำคัญของธนาคาร เนื่องจากผลการดำเนินงานต่างๆ ยังทำได้ไม่ดี ทั้งในส่วนที่เป็นบทบาทที่ต้องแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ หรือในส่วนที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นเครื่องมือของรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ซึ่งหากพิจารณาถึงภารกิจหลักของธนาคารก็พบว่าไม่มีความชัดเจน ในส่วนที่เป็นบทบาทธนาคารพาณิชย์ก็ต้องเข้าไปแข่งขัน ขณะเดียวกันก็มีส่วนที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ทำให้การแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ ซึ่งคลังกำลังดูอยู่ว่าธนาคารกรุงไทยควรมีบทบาทของตนเองที่ชัดเจนอย่างไร เพื่อให้ธนาคารเดินหน้าไปได้อย่างถูกต้อง
“กรุงไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยต้องหาเอกลักษณ์ให้ตัวเอง เพราะหากให้คิดตอนนี้ว่ากรุงไทยเด่นอย่างไรก็หาคำตอบไม่ได้ ไม่เหมือนสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น เช่น ธนาคารออมสินที่ดูแลรากหญ้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่เน้นดูแลเกษตรกร หรือธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ช่วยให้คนมีบ้าน ดังนั้น ถึงเวลาที่ธนาคารกรุงไทยต้องตอบโจทย์ว่าจะธนาคารจะตอบสนองควมต้องการใด”นายกรณ์ กล่าว
สำหรับที่ผ่านมาแม้นายอภิศักดิ์ จะเป็นประธานสมาคมธนาคารไทยแต่ไม่สามารถกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เดินหน้านโยบายสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะการลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อลดส่วนต่างดอกเบี้ยกู้และฝาก รวมถึงเร่งปล่อยสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น นายกรณ์ กล่าวว่า ตนเข้าใจดีว่าทำได้ยาก ซึ่งน่าเห็นใจ เพราะแม้เป็นประธานสมาคมธนาคารแต่หน้าที่ในฐานะประธานก็เพียงมีการประชุมเดือนละครั้งเท่านั้น
ทั้งนี้ โครงสร้างผู้ถือหุ้นของธนาคารกรุงไทย ปัจจุบันกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ถือหุ้นใหญ่อยู่ 55% ขณะที่กองทุนฟื้นฟูฯ จะยุติบทบาทในปีหน้า โดยคลังจะเข้าไปรับโอนหุ้นดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น หากคลังจะกำหนดบทบาทให้กรุงไทย ก็จำเป็นต้องให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยรับทราบว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่คิดอย่างไร และจะเดินหน้าธนาคารต่อไปอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
กรุงไทยปล่อยกู้ไมโครไฟแนนซ์
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการ บมจ.ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธนาคารได้ให้ความสำคัญการปล่อยกู้ในส่วนของไมโครไฟแนนซ์ โดยมีฝ่ายงานธนาคารชุมชนทำหน้าที่ดูแลโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนรายย่อยได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินในภาคประชาชน
“ธนาคารชุมชนได้ปล่อยกู้ผ่านกองทุนหมู่บ้าน เพื่อให้กู้ต่อกับสมาชิกในหมู่บ้าน โดยขณะนี้ปล่อยกู้ให้กับกองทุนหมู่บ้านในระดับ AAA ไปแล้วจำนวน 709 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมากองทุนหมู่บ้านที่ธนาคารปล่อยกู้เป็นกองทุนหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็งและมีการจัดการที่เป็นระบบ ทำให้เกิดหนี้เสียน้อยมาก โดยมีหนี้เสียเพียง 1.15% เท่านั้น ในส่วนของสินค้า OTOP ธนาคารมีโครงการสนับสนุนสินเชื่อ โดยได้ปล่อยกู้ไปแล้วเป็นวงเงิน 60 ล้านบาท และให้ลูกค้านำสินค้า OTOP มาจำหน่ายที่สาขาอีกด้วย”
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธนาคารได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยเฉพาะในกลุ่มไมโครไฟแนนซ์ ด้วยการเปิดจุดบริการในลักษณะ Convenience Counter หรือเคาน์เตอร์แสนสะดวก โดยได้นำ Software ในระบบฝากถอนเงินและ Payment ไปติดตั้งให้กับตัวแทนบริการของธนาคาร ซึ่งเป็นพันธมิตรกับธนาคาร เช่น กองทุนหมู่บ้าน สหกรณ์ ซึ่งธนาคารได้ขออนุญาตไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อขอเปิดจุดบริการจำนวน 23 จุด ได้รับอนุมัติ 19 จุด และได้เปิดให้บริการไปแล้ว 14 จุด