นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงหลังการประชุมคณะกรรมการ กกต. วานนี้ (15 ก.ย.)ว่าที่ประชุม กกต.ได้พิจารณา ผลการสืบสวนของ กรรมการไต่สวนกรณีนายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ ส.ส. ปราจีนบุรี เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวลาอออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และลาออกจาก ส.ส. แต่ไม่ได้ยื่นใบลาออกตามที่ประกาศ ใโดยที่ประชุมเสียงข้างมาก เห็นตามความเห็นของคณะกรรมการไต่สวนเสียงข้างน้อยว่า สมาชิกภาพความเป็น ส.ส. ของนายเกียรติกร สิ้นสุดลงแล้วตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (3) ตามหลักฐานที่ปรากฏคือซีดีการแถลงข่าวลาออกจากการเป็น ส.ส. ที่ห้องแถลงข่าวของรัฐสภา และหนังสือพิมพ์ที่นำเสนอข่าวของนายเกียรติกร โดย กกต. ได้ดูอย่างละเอียดรวมทั้งถอดเทปการแถลงข่าวด้วย
ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไป กกต.จะส่งเรื่องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเสนอ ดำเนินการตามมาตรา 91 วรรคท้ายที่กำหนดว่า ให้กรณีที่กกต.เห็นว่าสมาชิกภาพ ของ ส.ส หรือส.ว.คนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตาม มาตรา 106 ( 3) ให้ส่งเรื่องนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกและให้ประธานสภานั้นส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย
นายสุทธิพล กล่าวว่า ทั้งนี้คณะกรรมไต่สวนได้พยายามที่จะติดต่อให้ นายเกียรติกรมาชี้แจง แต่ไม่สามารถติดต่อได้ และ จากการตรวจสอบพบว่า การลาออกของ ส.ส. นั้น สภาฯยังไม่มีระเบียบที่กำหนดรูปแบบชัดเจน มีเพียงระเบียบการลาประชุมเท่านั้น อีกทั้ง รัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (3) ก็ไม่ได้ระบุชัดว่า ต้องลาออกด้วยวิธีใด คณะกรรมการไต่สวนจึงได้นำความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อปี 2525 ที่วินิจฉัยปัญหาการลาออกของรัฐมนตรีว่า ว่า การลาออกจะสมบูรณ์เมื่อมีการแสดงเจตนาด้วยวาจา และนายกรัฐมนตรีรับทราบมาเทียบเคียงเพื่อให้กกต.พิจารณาจนนำมาสู่การมีมติดังกล่าว
ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไป กกต.จะส่งเรื่องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเสนอ ดำเนินการตามมาตรา 91 วรรคท้ายที่กำหนดว่า ให้กรณีที่กกต.เห็นว่าสมาชิกภาพ ของ ส.ส หรือส.ว.คนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตาม มาตรา 106 ( 3) ให้ส่งเรื่องนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกและให้ประธานสภานั้นส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย
นายสุทธิพล กล่าวว่า ทั้งนี้คณะกรรมไต่สวนได้พยายามที่จะติดต่อให้ นายเกียรติกรมาชี้แจง แต่ไม่สามารถติดต่อได้ และ จากการตรวจสอบพบว่า การลาออกของ ส.ส. นั้น สภาฯยังไม่มีระเบียบที่กำหนดรูปแบบชัดเจน มีเพียงระเบียบการลาประชุมเท่านั้น อีกทั้ง รัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (3) ก็ไม่ได้ระบุชัดว่า ต้องลาออกด้วยวิธีใด คณะกรรมการไต่สวนจึงได้นำความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อปี 2525 ที่วินิจฉัยปัญหาการลาออกของรัฐมนตรีว่า ว่า การลาออกจะสมบูรณ์เมื่อมีการแสดงเจตนาด้วยวาจา และนายกรัฐมนตรีรับทราบมาเทียบเคียงเพื่อให้กกต.พิจารณาจนนำมาสู่การมีมติดังกล่าว