ในวันที่ 16 ก.ย. ที่จะถึงนี้จะมีการเปิดสภาฯ เพื่ออภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติเกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของคณะกรรมการปรองดองฯ โดยมุ่งแสวงหาแนวทางให้เกิดความสามัคคีในชาติ ส่วนว่าประชุมกันแล้วจะพบลู่ทางแห่งการปรองดองหรือว่าทำให้เกิดการแตกความสามัคคีกันมากขึ้นนั้น เป็นเรื่องของเนื้อหาสาระและวิธีการที่ได้อภิปรายกันในวันนั้น
แต่ที่พอจะคาดการณ์ได้ล่วงหน้าก็คงหนีไม่พ้นการปะทะคารมกันระหว่าง ส.ส.ต่างขั้ว และยึดติดอยู่กับกลุ่มคนต่างสีที่แบ่งแยกผู้คนในสังคมมาตั้งแต่ปลายปี 2548 คือกลุ่มคนเสื้อแดงที่นิยมทักษิณ และกลุ่มคนเสื้อเหลืองที่ต่อต้านทักษิณ และเนื้อหาหรือประเด็นที่จะเป็นเหตุให้ ส.ส.สองกลุ่มลุกขึ้นมาปะทะคารมกันนั้น คงไม่หนีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเอื้ออำนวยให้กลุ่มของตนเองพ้นผิด และการปกป้องมิให้มีการกระทำเช่นนั้น
ใครหรือ ส.ส.กลุ่มไหนที่จะเดินเกมปะทะคารมในทำนองดังกล่าวข้างต้น และปะทะกันแล้วประชาชนได้อะไร และเสียอะไร?
เกี่ยวกับเรื่องนี้ จะมองเห็นได้ชัดเจนก็ต่อเมื่อได้มองย้อนหลังไปดูเหตุการณ์ที่ผ่านมาใน 3 ประเด็นดังต่อไปนี้
1. กลุ่มที่นิยมชมชอบระบอบทักษิณ ด้วยเห็นว่าเป็น ส.ส.ที่แก้ไขปัญหาของประเทศในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจ ส.ส.กลุ่มนี้คงจะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถูกศาลตัดสินให้เว้นวรรคทางการเมืองได้รับการนิรโทษกรรม และกลับมาสู่การเลือกตั้งได้ และกลุ่มนี้มีทั้งที่เป็นคนนิยมชมชอบระบอบทักษิณในภาพรวม และมีทั้งกลุ่มคนที่นิยมชมชอบระบอบทักษิณแต่ไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมอันเป็นปัจเจกบุคคลของทักษิณในกรณีทุจริตและหนีคุก เช่น กลุ่มเพื่อนเนวินที่ยึดเนวินเป็นที่ตั้ง ในประเด็นที่ว่าถ้าถูกศาลตัดสินจำคุกในวันที่ 21 ก.ย. ก็จะไม่หนีไปไหน แต่ยินดีจะรับโทษ เป็นต้น
2. กลุ่มที่ไม่นิยมชมชอบในระบอบทักษิณ และต่อต้านพฤติกรรมทุจริต คอร์รัปชันอันเป็นการส่วนบุคคลของทักษิณ และรัฐมนตรีบางคนในยุคนั้น
แต่คนกลุ่มนี้อาจเห็นด้วยถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นอื่นที่เห็นว่าไม่เป็นประชาธิปไตยหรือเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของผู้บริหารประเทศ เช่น มาตรา 190 เป็นต้น ส.ส.กลุ่มนี้จะเป็น ส.ส.ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เป็นส่วนใหญ่
3. ส.ส.ที่ไม่อยู่ในข่ายของข้อ 1 และข้อ 2 แต่ต้องการจะแก้รัฐธรรมนูญ โดยมุ่งจะให้คนในสังคมเลิกขัดแย้งกัน และหันหน้ามาสามัคคีกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยออกกฎหมายนิรโทษกรรมทั้งกลุ่มเสื้อแดง และเสื้อเหลือง และในบางคนหรือบางกลุ่มอาจต้องการให้เกิดความปรองดองจนเกินเลยไป ถึงการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่อดีตนายกฯ ทักษิณในทุกกรณี และ ส.ส.กลุ่มที่ 3 นี้อาจมีอยู่เกือบทุกพรรคมากบ้างน้อยบ้าง หรืออย่างน้อยมีอยู่ในพรรคภูมิใจไทยที่เสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ดังที่ได้ยื่นต่อสภาฯ ไปแล้ว
ไม่ว่าในวันที่ 16 ก.ย. จะมีการปะทะคารมกันหรือไม่มากน้อยเพียงไรตามที่ได้คาดการณ์ไว้ การประชุมในครั้งนี้ถึงจะไม่ลงมติก็พอจะนำมาประเมินได้ว่า ส.ส.คนไหนและสังกัดพรรคใดคิดอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และซุกซ่อนเจตนาอะไรไว้เบื้องหลังในการเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ และนี่เองคือประโยชน์ที่รัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้ ส่วนว่าเมื่อทราบแนวทางแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะกำหนดกลยุทธ์อย่างไรในการแก้หรือไม่แก้ประเด็นใดหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะแกนนำสามารถกำหนดเกมได้เองโดยไม่ยากนัก และเกมที่ว่านี้มีได้หลายรูปแบบนับตั้งแต่เกมซื้อเวลาเพื่อให้เป็นรัฐบาลให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ไปจนถึงเกมไม่แก้โดยใช้การทำประชามติเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้และไม่แก้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ถ้าดูเหตุการณ์ทางการเมืองในขณะนี้แล้วพอจะอนุมานได้ว่าเกมการเปิดสภาฯ ในครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์มีแต่ได้กับได้ แต่พรรคอื่นที่ร่วมรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคภูมิใจไทยอาจมีทั้งได้และเสีย
ส่วนที่จะได้ก็คือ ได้มีโอกาสทำแนวร่วมกับ ส.ส.กลุ่มที่นิยมชมชอบระบอบทักษิณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคเพื่อไทย เป็นการหาทางเลือกทางการเมืองไว้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปด้วยการต่อรองกับพรรคเพื่อไทย ถ้าจะให้อยู่ที่เดิม และในขณะเดียวกัน ต่อรองกับพรรคเพื่อไทยถ้าจะให้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย
ส่วนที่เสีย ถ้าบังเอิญในการแสวงหาแนวร่วมทางการเมืองตามประเด็นแรกเกิดอาการล้ำเส้นถึงขั้นโจมตีพรรคประชาธิปัตย์ หรือแม้กระทั่งนโยบายที่พรรคของตนเองดำเนินการภายใต้การกำกับของนายกฯ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะทำให้เกิดอาการบาดหมางกับพรรคประชาธิปัตย์ ดังที่เคยเกิดขึ้นในกรณีของการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน ที่บางคนจากพรรคได้พูดว่าอยู่ร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ด้วยความจำใจ เป็นต้น
ส่วนพรรคที่เสียอย่างเดียวโดยไม่ได้อะไรก็คือ พรรคเพื่อไทย เพราะจะต้องแสดงจุดยืนในการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมให้ทักษิณ และต้องตามมาด้วยการแก้กฎหมาย มาตรา 237 เพื่อปลดล็อกทางการเมืองให้แก่ผู้ที่ถูกเว้นวรรคทางการเมือง จนทำให้ประชาชนเห็นธาตุแท้ในการเป็น ส.ส.ที่ทำเพื่อตนเอง และพรรคพวกจนลืมนึกถึงจริยธรรมทางการเมือง
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการคาดการณ์ว่าจะเกิดปัญหาปะทะคารมกันในวันที่ 16 กันยายน
แต่ถ้าบังเอิญการคาดการณ์ที่ว่านี้ผิดไป และบรรยากาศในสภาฯ เรียบร้อยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น และเคยกระทบกระทั่งกันมาก่อน ก็จะเป็นการเปิดทางให้พรรคประชาธิปัตย์เสนอแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญในบางมาตราที่ ส.ส.ส่วนใหญ่เห็นด้วย เช่น การแบ่งเขตการเลือกตั้ง และวิธีการเลือกตั้ง เป็นต้น
ไม่ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น ทางพรรคประชาธิปัตย์คงมีแผนจะอยู่เป็นรัฐบาลไว้แล้วอย่างแยบยล และถ้าคาดการณ์ไม่ผิดคงจะมีการยุบสภาฯ ก่อนกำหนดแน่นอน เพียงแต่จะเมื่อใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
1. เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด
2. ภาพลักษณ์ของพรรคประชาธิปัตย์เป็นบวกในสายตาประชาชน
3. คู่แข่งทางการเมืองอ่อนแอไม่อยู่ในฐานะได้เปรียบ
แต่ที่พอจะคาดการณ์ได้ล่วงหน้าก็คงหนีไม่พ้นการปะทะคารมกันระหว่าง ส.ส.ต่างขั้ว และยึดติดอยู่กับกลุ่มคนต่างสีที่แบ่งแยกผู้คนในสังคมมาตั้งแต่ปลายปี 2548 คือกลุ่มคนเสื้อแดงที่นิยมทักษิณ และกลุ่มคนเสื้อเหลืองที่ต่อต้านทักษิณ และเนื้อหาหรือประเด็นที่จะเป็นเหตุให้ ส.ส.สองกลุ่มลุกขึ้นมาปะทะคารมกันนั้น คงไม่หนีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเอื้ออำนวยให้กลุ่มของตนเองพ้นผิด และการปกป้องมิให้มีการกระทำเช่นนั้น
ใครหรือ ส.ส.กลุ่มไหนที่จะเดินเกมปะทะคารมในทำนองดังกล่าวข้างต้น และปะทะกันแล้วประชาชนได้อะไร และเสียอะไร?
เกี่ยวกับเรื่องนี้ จะมองเห็นได้ชัดเจนก็ต่อเมื่อได้มองย้อนหลังไปดูเหตุการณ์ที่ผ่านมาใน 3 ประเด็นดังต่อไปนี้
1. กลุ่มที่นิยมชมชอบระบอบทักษิณ ด้วยเห็นว่าเป็น ส.ส.ที่แก้ไขปัญหาของประเทศในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจ ส.ส.กลุ่มนี้คงจะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถูกศาลตัดสินให้เว้นวรรคทางการเมืองได้รับการนิรโทษกรรม และกลับมาสู่การเลือกตั้งได้ และกลุ่มนี้มีทั้งที่เป็นคนนิยมชมชอบระบอบทักษิณในภาพรวม และมีทั้งกลุ่มคนที่นิยมชมชอบระบอบทักษิณแต่ไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมอันเป็นปัจเจกบุคคลของทักษิณในกรณีทุจริตและหนีคุก เช่น กลุ่มเพื่อนเนวินที่ยึดเนวินเป็นที่ตั้ง ในประเด็นที่ว่าถ้าถูกศาลตัดสินจำคุกในวันที่ 21 ก.ย. ก็จะไม่หนีไปไหน แต่ยินดีจะรับโทษ เป็นต้น
2. กลุ่มที่ไม่นิยมชมชอบในระบอบทักษิณ และต่อต้านพฤติกรรมทุจริต คอร์รัปชันอันเป็นการส่วนบุคคลของทักษิณ และรัฐมนตรีบางคนในยุคนั้น
แต่คนกลุ่มนี้อาจเห็นด้วยถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นอื่นที่เห็นว่าไม่เป็นประชาธิปไตยหรือเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของผู้บริหารประเทศ เช่น มาตรา 190 เป็นต้น ส.ส.กลุ่มนี้จะเป็น ส.ส.ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เป็นส่วนใหญ่
3. ส.ส.ที่ไม่อยู่ในข่ายของข้อ 1 และข้อ 2 แต่ต้องการจะแก้รัฐธรรมนูญ โดยมุ่งจะให้คนในสังคมเลิกขัดแย้งกัน และหันหน้ามาสามัคคีกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยออกกฎหมายนิรโทษกรรมทั้งกลุ่มเสื้อแดง และเสื้อเหลือง และในบางคนหรือบางกลุ่มอาจต้องการให้เกิดความปรองดองจนเกินเลยไป ถึงการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่อดีตนายกฯ ทักษิณในทุกกรณี และ ส.ส.กลุ่มที่ 3 นี้อาจมีอยู่เกือบทุกพรรคมากบ้างน้อยบ้าง หรืออย่างน้อยมีอยู่ในพรรคภูมิใจไทยที่เสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ดังที่ได้ยื่นต่อสภาฯ ไปแล้ว
ไม่ว่าในวันที่ 16 ก.ย. จะมีการปะทะคารมกันหรือไม่มากน้อยเพียงไรตามที่ได้คาดการณ์ไว้ การประชุมในครั้งนี้ถึงจะไม่ลงมติก็พอจะนำมาประเมินได้ว่า ส.ส.คนไหนและสังกัดพรรคใดคิดอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และซุกซ่อนเจตนาอะไรไว้เบื้องหลังในการเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ และนี่เองคือประโยชน์ที่รัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้ ส่วนว่าเมื่อทราบแนวทางแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะกำหนดกลยุทธ์อย่างไรในการแก้หรือไม่แก้ประเด็นใดหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะแกนนำสามารถกำหนดเกมได้เองโดยไม่ยากนัก และเกมที่ว่านี้มีได้หลายรูปแบบนับตั้งแต่เกมซื้อเวลาเพื่อให้เป็นรัฐบาลให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ไปจนถึงเกมไม่แก้โดยใช้การทำประชามติเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้และไม่แก้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ถ้าดูเหตุการณ์ทางการเมืองในขณะนี้แล้วพอจะอนุมานได้ว่าเกมการเปิดสภาฯ ในครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์มีแต่ได้กับได้ แต่พรรคอื่นที่ร่วมรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคภูมิใจไทยอาจมีทั้งได้และเสีย
ส่วนที่จะได้ก็คือ ได้มีโอกาสทำแนวร่วมกับ ส.ส.กลุ่มที่นิยมชมชอบระบอบทักษิณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคเพื่อไทย เป็นการหาทางเลือกทางการเมืองไว้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปด้วยการต่อรองกับพรรคเพื่อไทย ถ้าจะให้อยู่ที่เดิม และในขณะเดียวกัน ต่อรองกับพรรคเพื่อไทยถ้าจะให้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย
ส่วนที่เสีย ถ้าบังเอิญในการแสวงหาแนวร่วมทางการเมืองตามประเด็นแรกเกิดอาการล้ำเส้นถึงขั้นโจมตีพรรคประชาธิปัตย์ หรือแม้กระทั่งนโยบายที่พรรคของตนเองดำเนินการภายใต้การกำกับของนายกฯ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะทำให้เกิดอาการบาดหมางกับพรรคประชาธิปัตย์ ดังที่เคยเกิดขึ้นในกรณีของการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน ที่บางคนจากพรรคได้พูดว่าอยู่ร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ด้วยความจำใจ เป็นต้น
ส่วนพรรคที่เสียอย่างเดียวโดยไม่ได้อะไรก็คือ พรรคเพื่อไทย เพราะจะต้องแสดงจุดยืนในการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมให้ทักษิณ และต้องตามมาด้วยการแก้กฎหมาย มาตรา 237 เพื่อปลดล็อกทางการเมืองให้แก่ผู้ที่ถูกเว้นวรรคทางการเมือง จนทำให้ประชาชนเห็นธาตุแท้ในการเป็น ส.ส.ที่ทำเพื่อตนเอง และพรรคพวกจนลืมนึกถึงจริยธรรมทางการเมือง
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการคาดการณ์ว่าจะเกิดปัญหาปะทะคารมกันในวันที่ 16 กันยายน
แต่ถ้าบังเอิญการคาดการณ์ที่ว่านี้ผิดไป และบรรยากาศในสภาฯ เรียบร้อยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น และเคยกระทบกระทั่งกันมาก่อน ก็จะเป็นการเปิดทางให้พรรคประชาธิปัตย์เสนอแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญในบางมาตราที่ ส.ส.ส่วนใหญ่เห็นด้วย เช่น การแบ่งเขตการเลือกตั้ง และวิธีการเลือกตั้ง เป็นต้น
ไม่ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น ทางพรรคประชาธิปัตย์คงมีแผนจะอยู่เป็นรัฐบาลไว้แล้วอย่างแยบยล และถ้าคาดการณ์ไม่ผิดคงจะมีการยุบสภาฯ ก่อนกำหนดแน่นอน เพียงแต่จะเมื่อใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
1. เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด
2. ภาพลักษณ์ของพรรคประชาธิปัตย์เป็นบวกในสายตาประชาชน
3. คู่แข่งทางการเมืองอ่อนแอไม่อยู่ในฐานะได้เปรียบ