ASTV ผู้จัดการรายวัน - “มาร์ค” ยันเด้ง “พัชรวาท” ตามกฎหมาย ส่วนที่ยังนัดประชุม ก.ต.ช. เพื่อเลือก ผบ.ตร.คนไม่ไม่ได้ เนื่องจากยังมีปัญหาทางเทคนิค อ้างติดวันหยุด ตรวจสอบไม่ได้ “สุเทพ” ลาออกจาก ก.ต.ช.หรือไม่ ด้าน ครส.จี้รัฐบาลปฏิรูปตำรวจ โดยประกาศเป็นวาระแห่งชาติ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” เมื่อเช้าวานนี้ (13 ก.ย.) ถึงข่าวคราวในเรื่องของความขัดแย้งในการตั้ง ผบ.ตร.คนใหม่ว่า การทำงานทุกอย่างเป็นไปตามปกติ และขอเรียนว่าการตัดสินใจทุกครั้ง ต้องยึดในเรื่องของกรอบกฎหมาย และความเป็นไปได้ในการบริหาร
ทั้งนี้ ที่ได้มีคำสั่งในส่วนของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ก็สืบเนื่องมาจากการชี้มูลของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายโต้แย้งกันขึ้น ขณะนี้ก็มีคดีขึ้นไปที่ศาลปกครองว่า ท่านต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการฟ้องร้อง และปัญหาว่า คำสั่งต่างๆ จะมีสถานะอย่างไรทางกฎหมาย ตนจึงได้มีการพิจารณาและเห็นตามความเหมาะสมในทางการบริหาร ก็มีคำสั่งเข้ามาก็เท่านั้นเอง
“ส่วนการที่ท่านจะตัดสินใจลาออกนั้น ผมก็ต้องดำเนินการตามระเบียบของราชการ ซึ่งในระเบียบของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปเท่านั้นเอง และทุกอย่างผมก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายอภิสิทธิ์ยังกล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) เพื่อเลือกหรือให้ความเห็นชอบบุคคลที่ตนเสนอชื่อให้เป็น ผบ.ตร.คนใหม่ ก็มีการเสนอข่าว มีการวิเคราะห์ มีการคาดคะเนไปต่างๆ นานา ขอเรียนว่า ครั้งที่แล้วอย่างที่เรียนก็เป็นปัญหาที่ว่า มันมีข้อมูลของคณะกรรมการบางท่าน ซึ่งได้รับก่อนเข้าประชุมเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง และข้อมูลไม่ตรงกัน และตนก็รอเวลาที่จะพยายามปรับความเข้าใจและข้อมูลต่างๆ ให้เกิดความเรียบร้อย ไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่ง และตอนนี้ก็ยังไม่ได้มีการนัดหมายว่าจะมีการประชุม ก.ต.ช.เมื่อไร แต่ตนก็เชื่อว่า ทุกอย่างเมื่ออธิบายกันด้วยเหตุด้วยผล ปรับข้อมูลให้ตรงกัน ก็จะสามารถดำเนินการไปได้อย่างเรียบร้อย
ยังเช็กไม่ได้ “สุเทพ” ลาออกหรือไม่
ต่อมานายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ ถึงเหตุผลที่ไม่สามารถเรียกประชุม ก.ต.ช.ได้ว่า มีเรื่องที่ต้องตรวจสอบทางเทคนิคอยู่ ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่มีข่าว พล.ต.อ.สุเทพ ธรรมรักษ์ ลาออกจากการเป็นกรรมการ ก.ต.ช. นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า กำลังตรวจสอบอยู่ เมื่อถามว่าตรวจสอบหลายวันแล้วยังไม่ได้ความอีกหรือ มีข่าวตั้งแต่วันศุกร์ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ติดเสาร์-อาทิตย์
เมื่อถามว่าการประชุม ก.ต.ช.ตอบให้ชัดเจนได้หรือไม่ว่าจะประชุมก่อนหรือหลังเดินทางไปอเมริกา นายอภิสิทธิ์ ปฏิเสธที่จะตอบคำถามดังกล่าว พร้อมรีบเดินหนีออกจากวงผู้สื่อข่าวทันที
หนุนปฏิรูป ตร.เป็นวาระแห่งชาติ
นายเมธา มาศขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) กล่าวว่า ครส.กังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหากระบวนการยุติธรรม จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล และทุกภาคส่วน ร่วมกันปฏิรูปตำรวจ โดยประกาศเป็นวาระแห่งชาติ
ครส.ยังเรียกร้องให้นายกฯ เดินหน้าปฏิรูปตำรวจ และเลือก ผบ.ตร.คนใหม่ โดยเปิดให้แสดงวิสัยทัศน์ ด้านสิทธิมนุษยชน จัดตั้งคณะทำงานติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ประพฤติมิชอบ
ส่วนกรณีการคุกคามมุ่งร้ายต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็ควรให้มีการสอบสวนอย่างเร่งด่วน เพื่อนำคนผิดมาลงโทษ โดยการสอบสวนจะต้องไม่มีการช่วยเหลือ และเลือกปฏิบัติ
นอกจากนี้ ขอเรียกร้องให้ นายกฯ และรักษาการผบ.ตร. สั่งพักราชการเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง พัวพันกับคดีสิทธิมนุษยชน ตามที่อัยการฟ้องคดีอาญา และศาลรับฟ้อง เช่น กรณีการฆ่าแขวนคอ นายเกียรติศักดิ์ ถิตบุญครอง ที่ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ตกเป็นผู้ต้องหา 6 นาย และเสนอให้มีการสั่งพักราชการ หรือให้มีการย้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตกเป็นผู้ต้องหาออกนอกพื้นที่ และให้มีการคุ้มครองพยานอย่างเต็มที่
รวมทั้งเรียกร้องให้ ป.ป.ช.เร่งดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี พล.ต.ท.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผู้ช่วย ผบ.ตร. กับพวก ในฐานะเป็นพนักงานสอบสวน สืบสวน คดีอาญาได้ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง และทำร้ายร่างกายผู้ต้องหาในคดีปล้นอาวุธปืน ซึ่งนำมาสู่การอุ้มทนายสมชาย นีละไพจิตร ด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” เมื่อเช้าวานนี้ (13 ก.ย.) ถึงข่าวคราวในเรื่องของความขัดแย้งในการตั้ง ผบ.ตร.คนใหม่ว่า การทำงานทุกอย่างเป็นไปตามปกติ และขอเรียนว่าการตัดสินใจทุกครั้ง ต้องยึดในเรื่องของกรอบกฎหมาย และความเป็นไปได้ในการบริหาร
ทั้งนี้ ที่ได้มีคำสั่งในส่วนของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ก็สืบเนื่องมาจากการชี้มูลของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายโต้แย้งกันขึ้น ขณะนี้ก็มีคดีขึ้นไปที่ศาลปกครองว่า ท่านต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการฟ้องร้อง และปัญหาว่า คำสั่งต่างๆ จะมีสถานะอย่างไรทางกฎหมาย ตนจึงได้มีการพิจารณาและเห็นตามความเหมาะสมในทางการบริหาร ก็มีคำสั่งเข้ามาก็เท่านั้นเอง
“ส่วนการที่ท่านจะตัดสินใจลาออกนั้น ผมก็ต้องดำเนินการตามระเบียบของราชการ ซึ่งในระเบียบของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปเท่านั้นเอง และทุกอย่างผมก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายอภิสิทธิ์ยังกล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) เพื่อเลือกหรือให้ความเห็นชอบบุคคลที่ตนเสนอชื่อให้เป็น ผบ.ตร.คนใหม่ ก็มีการเสนอข่าว มีการวิเคราะห์ มีการคาดคะเนไปต่างๆ นานา ขอเรียนว่า ครั้งที่แล้วอย่างที่เรียนก็เป็นปัญหาที่ว่า มันมีข้อมูลของคณะกรรมการบางท่าน ซึ่งได้รับก่อนเข้าประชุมเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง และข้อมูลไม่ตรงกัน และตนก็รอเวลาที่จะพยายามปรับความเข้าใจและข้อมูลต่างๆ ให้เกิดความเรียบร้อย ไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่ง และตอนนี้ก็ยังไม่ได้มีการนัดหมายว่าจะมีการประชุม ก.ต.ช.เมื่อไร แต่ตนก็เชื่อว่า ทุกอย่างเมื่ออธิบายกันด้วยเหตุด้วยผล ปรับข้อมูลให้ตรงกัน ก็จะสามารถดำเนินการไปได้อย่างเรียบร้อย
ยังเช็กไม่ได้ “สุเทพ” ลาออกหรือไม่
ต่อมานายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ ถึงเหตุผลที่ไม่สามารถเรียกประชุม ก.ต.ช.ได้ว่า มีเรื่องที่ต้องตรวจสอบทางเทคนิคอยู่ ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่มีข่าว พล.ต.อ.สุเทพ ธรรมรักษ์ ลาออกจากการเป็นกรรมการ ก.ต.ช. นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า กำลังตรวจสอบอยู่ เมื่อถามว่าตรวจสอบหลายวันแล้วยังไม่ได้ความอีกหรือ มีข่าวตั้งแต่วันศุกร์ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ติดเสาร์-อาทิตย์
เมื่อถามว่าการประชุม ก.ต.ช.ตอบให้ชัดเจนได้หรือไม่ว่าจะประชุมก่อนหรือหลังเดินทางไปอเมริกา นายอภิสิทธิ์ ปฏิเสธที่จะตอบคำถามดังกล่าว พร้อมรีบเดินหนีออกจากวงผู้สื่อข่าวทันที
หนุนปฏิรูป ตร.เป็นวาระแห่งชาติ
นายเมธา มาศขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) กล่าวว่า ครส.กังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหากระบวนการยุติธรรม จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล และทุกภาคส่วน ร่วมกันปฏิรูปตำรวจ โดยประกาศเป็นวาระแห่งชาติ
ครส.ยังเรียกร้องให้นายกฯ เดินหน้าปฏิรูปตำรวจ และเลือก ผบ.ตร.คนใหม่ โดยเปิดให้แสดงวิสัยทัศน์ ด้านสิทธิมนุษยชน จัดตั้งคณะทำงานติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ประพฤติมิชอบ
ส่วนกรณีการคุกคามมุ่งร้ายต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็ควรให้มีการสอบสวนอย่างเร่งด่วน เพื่อนำคนผิดมาลงโทษ โดยการสอบสวนจะต้องไม่มีการช่วยเหลือ และเลือกปฏิบัติ
นอกจากนี้ ขอเรียกร้องให้ นายกฯ และรักษาการผบ.ตร. สั่งพักราชการเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง พัวพันกับคดีสิทธิมนุษยชน ตามที่อัยการฟ้องคดีอาญา และศาลรับฟ้อง เช่น กรณีการฆ่าแขวนคอ นายเกียรติศักดิ์ ถิตบุญครอง ที่ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ตกเป็นผู้ต้องหา 6 นาย และเสนอให้มีการสั่งพักราชการ หรือให้มีการย้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตกเป็นผู้ต้องหาออกนอกพื้นที่ และให้มีการคุ้มครองพยานอย่างเต็มที่
รวมทั้งเรียกร้องให้ ป.ป.ช.เร่งดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี พล.ต.ท.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผู้ช่วย ผบ.ตร. กับพวก ในฐานะเป็นพนักงานสอบสวน สืบสวน คดีอาญาได้ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง และทำร้ายร่างกายผู้ต้องหาในคดีปล้นอาวุธปืน ซึ่งนำมาสู่การอุ้มทนายสมชาย นีละไพจิตร ด้วย