การเลือกตั้งทั่วไปของญี่ปุ่นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟ แจแปน (ดีพีเจ) มีชัยชนะเหนือพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (แอลดีพี) ผู้ซึ่งได้ปกครองญี่ปุ่นอย่างแทบจะต่อเนื่องไม่เว้นวรรคเลยตลอด 6 ทศวรรษมานี้ นี่คือสัญญาณล่าสุดของการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารยิ่งที่กำลังบังเกิดขึ้นในเอเชีย
ยุคสมัยหลายสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการครองความเป็นเอกและอำนาจทางการเมืองในอาณาบริเวณแถบนี้ของญี่ปุ่นเป็นหลักหมายนั้น กำลังจบสิ้นลงอย่างแท้จริงแล้ว และยุคสมัยในอดีตไกลโพ้นไปกว่านั้น ซึ่งมีการครอบงำภูมิภาคแถบนี้ของจีนเป็นสัญลักษณ์ ก็กำลังหวนกลับคืนมาแล้ว
เป็นเวลาประมาณ 150 ปีนับตั้งแต่ "การปฏิรูปเมจิ" ญี่ปุ่นสามารถอ้างได้ว่าตนคือนักเรียนชาวเอเชียคนที่ยอดเยี่ยมที่สุดของพวกมหาอำนาจตะวันตก ญี่ปุ่นเอาชนะจีนที่กำลังทรุดโทรมในช่วงทศวรรษ 1880 โดยเข้ายึดเอาเกาหลีและไต้หวันมาจากปักกิ่ง ต่อมาก็สามารถบดขยี้รัสเซียที่กำลังอับเฉาในปี 1905 และเข้ายึดที่มั่นในแมนจูเรีย ญี่ปุ่นยังเลือกข้างได้ถูกต้องในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยช่วยขับไล่พวกเยอรมันออกจากดินแดนตะวันออกไกล ความสำเร็จทั้งหมดเหล่านี้กระตุ้นให้ญี่ปุ่นเกิดความกระหายหิวมากขึ้น กระทั่งมีอำนาจเหนือสมอง ทำให้ญี่ปุ่นคิดว่าตนเองสามารถที่จะขับไล่คนผิวขาวทั้งหมดให้ออกไปจากเอเชีย แล้วแทนที่อาณานิคมของพวกตะวันตกด้วยการปกครองของญี่ปุ่นเอง และกระทั่งเข้าพิชิตจีนที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่เกรียงไกร
ทว่ามันกลับกลายเป็นฝันร้าย กระนั้นก็ตาม แม้กระทั่งการพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ยังไม่สามารถที่จะหยุดยั้งนักเรียนผู้นี้ ซึ่งได้หันมาใช้วิธีลอกเลียนแบบแถมทำได้ดีกว่าครูชาวอเมริกันเสียอีก อย่างไรก็ดี ในที่สุดญี่ปุ่นก็ต้องหยุดยั้งลงในช่วงปลายทศวรรษ 1980 เมื่ออเมริกันได้รับชัยชนะในทั้ง 2 แนวรบ นั่นคือมีชัยเหนือการคุกคามทางด้านเทคโนโลยีและทางด้านการเงินจากโตเกียว อีกทั้งชนะสหภาพโซเวียตซึ่งล่มสลายลงภายหลังมีชีวิตยืนยงมาได้ 7 ทศวรรษ
มันเป็นการหยุดชะงักงันอย่างฉับพลันสำหรับญี่ปุ่น แต่ในเวลานั้นมันยังดูเหมือนกับเป็นเพียงเรื่องชั่วคราว ญี่ปุ่นทำท่าว่าจะสามารถกลับคืนมาได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในปี 1989 สหภาพโซเวียตก็เช่นกัน ทำท่าเหมือนพร้อมที่จะผลิใบใหม่และเริ่มต้นใหม่อีกคำรบหนึ่ง เมื่อยอมปล่อยให้ประเทศยุโรปตะวันออกทั้งหมดหลุดออกจากอุ้งเล็บของตน แล้วเข้าสู่อ้อมกอดของโลกตะวันตก ขณะที่จีนตอนนั้นกลับอยู่ในสภาพตรงกันข้าม จากการดำเนินการปราบปรามพวกนักศึกษาเรียกร้องประชาธิปไตยที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 ทำให้จีนดูเหมือนกลับเป็นพวกที่พยายามหมุนนาฬิกากลับไปยังอดีต และทำท่าจะกลายเป็น "คนป่วยแห่งเอเชีย" อีกครั้ง
แต่แล้วทุกสิ่งทุกอย่างกลับปรากฏออกมาแตกต่างไปจากที่คิดๆ กัน เวลาผ่านพ้นไป 20 ปี ฐานะโดยเปรียบเทียบของประเทศเหล่านี้มีความแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง ในเวลา 1 ถึง 2 ปีต่อจากนี้ จีนน่าที่จะกลายเป็นเศรษฐกิจแห่งแรกของเอเชียในรอบ 100 ปีที่สามารถแซงหน้าสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)ได้มากกว่าญี่ปุ่น
เมื่อมองกันในด้านยุทธศาสตร์แล้ว เวลานี้ญี่ปุ่นกำลังเผชิญหน้าการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงยิ่ง เป็นเวลาหลายทศวรรษมาแล้ว ที่ญี่ปุ่นทำตัวเป็นป้อมปราการของอเมริกาในเอเชีย และได้รับอภิสิทธิ์ในการเข้าถึงวอชิงตัน เวลานี้ด้วยการก้าวผงาดขึ้นมาของจีน ญี่ปุ่นอาจจะต้องเล่นบทเป็นพระรองในความสัมพันธ์ทวิภาคีแบบใหม่นี้ ทั้งนี้ พรรคดีพีเจก็ดูเหมือนจะกำลังจัดวางจุดยืนของญี่ปุ่นให้ดิบดียิ่งขึ้นทั้งสำหรับการเมืองใหม่ในระดับภูมิภาค และแรงขับดันสู่ตลาดใหม่ โดยที่พรรคได้ให้สัญญาที่จะสร้างสายสัมพันธ์อันดียิ่งขึ้นกับพวกประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย และจีนจะเป็นเป้าหมายสำคัญก่อนประเทศอื่นๆ
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทั้งในแนวรบทางการเมืองและแนวรบทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นกำลังเสาะแสวงหาอนาคตอย่างใหม่ที่อาจจะเอื้ออำนวยสีสันอย่างใหม่ให้แก่สายสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน ญี่ปุ่นไม่น่าที่จะขัดขวางสายสัมพันธ์ใหม่ระหว่างสหรัฐฯ-จีนนี้ เนื่องจากสามารถที่จะได้ประโยชน์จากทั้งสองประเทศที่อยู่กันคนละฟากฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิก
จังหวะเวลาในขณะนี้ก็เหมาะสมยิ่ง เมื่อ 60 ปีก่อน การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเคยเป็นสิ่งที่ตัดสินชะตากรรมของญี่ปุ่นมาแล้ว กล่าวคือ อเมริกาในเอเชียตอนนั้นสูญเสียจีน พันธมิตรเก่าของตนถูกลดระดับเหลือเพียงแค่ไต้หวัน ดังนั้นอเมริกาจึงต้องฟื้นฟูบูรณะญี่ปุ่นขึ้นมาใหม่ให้แข็งแรง เพื่อต้านทานภัยคุกคามทางยุทธศาสตร์ของเหมาเจ๋อตง เวลานี้ที่เงาของเหมาก็กำลังจางหายไป และเศรษฐกิจของจีนทำท่าจะสามารถกลายเป็นหัวรถจักรฉุดลากให้เกิดความเจริญเติบโตขึ้นในอนาคต และเป็นประตูทางออกจากวิกฤตทางการเงินระดับโลกในปัจจุบัน ญี่ปุ่นจึงควรก้าวขึ้นมาไม่ใช่ในฐานะเป็นทางเลือกเอเชียอีกทางหนึ่งนอกเหนือจากจีน หากแต่ในฐานะที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างสหรัฐฯกับจีน
บรรดาผู้เล่นในฉากแห่งการเมืองใหม่และเศรษฐกิจใหม่เหล่านี้ ไม่ได้มีผลประโยชน์อะไรที่จะทำให้ต้องการขับไล่สหรัฐฯออกไปจากเวทีเอเชีย พวกเขาทั้งหมดน่าจะตระหนักด้วยซ้ำว่าในอนาคตอันไม่ไกลเกินไปนัก สหรัฐฯยังสามารถะทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกันให้เกิดสันติภาพในภูมิภาค เหมือนดังที่สหรัฐฯได้เคยให้สัญญาที่จะสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และดังนั้นจึงสามารถที่จะป้องกันการแข่งขันด้านอาวุธในภูมิภาคได้
(เก็บความและตัดตอนจากเรื่อง A rising sun sets โดย Francesco Sisci บรรณาธิการด้านเอเชีย ของหนังสือพิมพ์ ลา สตัมปา แห่งอิตาลี)
ยุคสมัยหลายสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการครองความเป็นเอกและอำนาจทางการเมืองในอาณาบริเวณแถบนี้ของญี่ปุ่นเป็นหลักหมายนั้น กำลังจบสิ้นลงอย่างแท้จริงแล้ว และยุคสมัยในอดีตไกลโพ้นไปกว่านั้น ซึ่งมีการครอบงำภูมิภาคแถบนี้ของจีนเป็นสัญลักษณ์ ก็กำลังหวนกลับคืนมาแล้ว
เป็นเวลาประมาณ 150 ปีนับตั้งแต่ "การปฏิรูปเมจิ" ญี่ปุ่นสามารถอ้างได้ว่าตนคือนักเรียนชาวเอเชียคนที่ยอดเยี่ยมที่สุดของพวกมหาอำนาจตะวันตก ญี่ปุ่นเอาชนะจีนที่กำลังทรุดโทรมในช่วงทศวรรษ 1880 โดยเข้ายึดเอาเกาหลีและไต้หวันมาจากปักกิ่ง ต่อมาก็สามารถบดขยี้รัสเซียที่กำลังอับเฉาในปี 1905 และเข้ายึดที่มั่นในแมนจูเรีย ญี่ปุ่นยังเลือกข้างได้ถูกต้องในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยช่วยขับไล่พวกเยอรมันออกจากดินแดนตะวันออกไกล ความสำเร็จทั้งหมดเหล่านี้กระตุ้นให้ญี่ปุ่นเกิดความกระหายหิวมากขึ้น กระทั่งมีอำนาจเหนือสมอง ทำให้ญี่ปุ่นคิดว่าตนเองสามารถที่จะขับไล่คนผิวขาวทั้งหมดให้ออกไปจากเอเชีย แล้วแทนที่อาณานิคมของพวกตะวันตกด้วยการปกครองของญี่ปุ่นเอง และกระทั่งเข้าพิชิตจีนที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่เกรียงไกร
ทว่ามันกลับกลายเป็นฝันร้าย กระนั้นก็ตาม แม้กระทั่งการพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ยังไม่สามารถที่จะหยุดยั้งนักเรียนผู้นี้ ซึ่งได้หันมาใช้วิธีลอกเลียนแบบแถมทำได้ดีกว่าครูชาวอเมริกันเสียอีก อย่างไรก็ดี ในที่สุดญี่ปุ่นก็ต้องหยุดยั้งลงในช่วงปลายทศวรรษ 1980 เมื่ออเมริกันได้รับชัยชนะในทั้ง 2 แนวรบ นั่นคือมีชัยเหนือการคุกคามทางด้านเทคโนโลยีและทางด้านการเงินจากโตเกียว อีกทั้งชนะสหภาพโซเวียตซึ่งล่มสลายลงภายหลังมีชีวิตยืนยงมาได้ 7 ทศวรรษ
มันเป็นการหยุดชะงักงันอย่างฉับพลันสำหรับญี่ปุ่น แต่ในเวลานั้นมันยังดูเหมือนกับเป็นเพียงเรื่องชั่วคราว ญี่ปุ่นทำท่าว่าจะสามารถกลับคืนมาได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในปี 1989 สหภาพโซเวียตก็เช่นกัน ทำท่าเหมือนพร้อมที่จะผลิใบใหม่และเริ่มต้นใหม่อีกคำรบหนึ่ง เมื่อยอมปล่อยให้ประเทศยุโรปตะวันออกทั้งหมดหลุดออกจากอุ้งเล็บของตน แล้วเข้าสู่อ้อมกอดของโลกตะวันตก ขณะที่จีนตอนนั้นกลับอยู่ในสภาพตรงกันข้าม จากการดำเนินการปราบปรามพวกนักศึกษาเรียกร้องประชาธิปไตยที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 ทำให้จีนดูเหมือนกลับเป็นพวกที่พยายามหมุนนาฬิกากลับไปยังอดีต และทำท่าจะกลายเป็น "คนป่วยแห่งเอเชีย" อีกครั้ง
แต่แล้วทุกสิ่งทุกอย่างกลับปรากฏออกมาแตกต่างไปจากที่คิดๆ กัน เวลาผ่านพ้นไป 20 ปี ฐานะโดยเปรียบเทียบของประเทศเหล่านี้มีความแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง ในเวลา 1 ถึง 2 ปีต่อจากนี้ จีนน่าที่จะกลายเป็นเศรษฐกิจแห่งแรกของเอเชียในรอบ 100 ปีที่สามารถแซงหน้าสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)ได้มากกว่าญี่ปุ่น
เมื่อมองกันในด้านยุทธศาสตร์แล้ว เวลานี้ญี่ปุ่นกำลังเผชิญหน้าการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงยิ่ง เป็นเวลาหลายทศวรรษมาแล้ว ที่ญี่ปุ่นทำตัวเป็นป้อมปราการของอเมริกาในเอเชีย และได้รับอภิสิทธิ์ในการเข้าถึงวอชิงตัน เวลานี้ด้วยการก้าวผงาดขึ้นมาของจีน ญี่ปุ่นอาจจะต้องเล่นบทเป็นพระรองในความสัมพันธ์ทวิภาคีแบบใหม่นี้ ทั้งนี้ พรรคดีพีเจก็ดูเหมือนจะกำลังจัดวางจุดยืนของญี่ปุ่นให้ดิบดียิ่งขึ้นทั้งสำหรับการเมืองใหม่ในระดับภูมิภาค และแรงขับดันสู่ตลาดใหม่ โดยที่พรรคได้ให้สัญญาที่จะสร้างสายสัมพันธ์อันดียิ่งขึ้นกับพวกประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย และจีนจะเป็นเป้าหมายสำคัญก่อนประเทศอื่นๆ
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทั้งในแนวรบทางการเมืองและแนวรบทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นกำลังเสาะแสวงหาอนาคตอย่างใหม่ที่อาจจะเอื้ออำนวยสีสันอย่างใหม่ให้แก่สายสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน ญี่ปุ่นไม่น่าที่จะขัดขวางสายสัมพันธ์ใหม่ระหว่างสหรัฐฯ-จีนนี้ เนื่องจากสามารถที่จะได้ประโยชน์จากทั้งสองประเทศที่อยู่กันคนละฟากฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิก
จังหวะเวลาในขณะนี้ก็เหมาะสมยิ่ง เมื่อ 60 ปีก่อน การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเคยเป็นสิ่งที่ตัดสินชะตากรรมของญี่ปุ่นมาแล้ว กล่าวคือ อเมริกาในเอเชียตอนนั้นสูญเสียจีน พันธมิตรเก่าของตนถูกลดระดับเหลือเพียงแค่ไต้หวัน ดังนั้นอเมริกาจึงต้องฟื้นฟูบูรณะญี่ปุ่นขึ้นมาใหม่ให้แข็งแรง เพื่อต้านทานภัยคุกคามทางยุทธศาสตร์ของเหมาเจ๋อตง เวลานี้ที่เงาของเหมาก็กำลังจางหายไป และเศรษฐกิจของจีนทำท่าจะสามารถกลายเป็นหัวรถจักรฉุดลากให้เกิดความเจริญเติบโตขึ้นในอนาคต และเป็นประตูทางออกจากวิกฤตทางการเงินระดับโลกในปัจจุบัน ญี่ปุ่นจึงควรก้าวขึ้นมาไม่ใช่ในฐานะเป็นทางเลือกเอเชียอีกทางหนึ่งนอกเหนือจากจีน หากแต่ในฐานะที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างสหรัฐฯกับจีน
บรรดาผู้เล่นในฉากแห่งการเมืองใหม่และเศรษฐกิจใหม่เหล่านี้ ไม่ได้มีผลประโยชน์อะไรที่จะทำให้ต้องการขับไล่สหรัฐฯออกไปจากเวทีเอเชีย พวกเขาทั้งหมดน่าจะตระหนักด้วยซ้ำว่าในอนาคตอันไม่ไกลเกินไปนัก สหรัฐฯยังสามารถะทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกันให้เกิดสันติภาพในภูมิภาค เหมือนดังที่สหรัฐฯได้เคยให้สัญญาที่จะสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และดังนั้นจึงสามารถที่จะป้องกันการแข่งขันด้านอาวุธในภูมิภาคได้
(เก็บความและตัดตอนจากเรื่อง A rising sun sets โดย Francesco Sisci บรรณาธิการด้านเอเชีย ของหนังสือพิมพ์ ลา สตัมปา แห่งอิตาลี)