ASTVผู้จัดการรายวัน - บล.บัวหลวง ชี้ หลัง ก.ล.ต.ยืนยันใช้ค่าคอมมิชชันขั้นบันไดแบบเดิม จะทำให้ภาพรวมรายได้ธุรกิจโบรก-เกอร์หด 10-15% โดยเฉพาะโบรกฯ ที่มีฐานลูกค้ารายใหญ่จะลดลงถึง 25-30% อีกทั้งส่งผล ให้นักลงทุนปรับพฤติกรรมการเทรด หรือยกเลิกบัญชีที่มีอยู่หลายแห่ง ยืนยัน บล.ทุกแห่ง เห็นพ้องแบบใหม่ และไม่ได้ร้องขอให้เลื่อน เปิดเสรี ด้าน 'พิเชษฐ' เล็งกระตุ้นลูกค้าลงทุน ผ่านบริษัทมากขึ้น โดยการหันไปให้คำแนะนำ การลงทุน 'เอ็กซ์คลูซีฟเวลท์' ฟุ้ง 8 เดือนสร้าง ผลตอบแทนสูงถึง 23%
นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการ ผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง จำกัด (มหาชน) หรือ BLS เปิดเผยว่า ส่วนตัว มองว่าจากการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดให้คิดอัตราค่าธรรมเนียมการซื้อขาย ขั้นบันไดเดิมนั้น จะส่งผลกระทบทำให้ภาพรวม รายได้ของ บล.จะลดลงเฉลี่ย 10-15% จากค่าคอมมิชชันปัจจุบันที่ 0.25% ของมูลค่าการ ซื้อขาย แต่หาก บล.ใดมีฐานลูกค้าเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่มีการซื้อขายต่อวัน 20 ล้านบาท จะทำให้รายได้ลดลง 25-30% ส่วน บล.ที่มีฐานลูกค้ารายย่อยที่มีการซื้อขายต่อวัน 1-2 ล้านบาทจะทำให้รายได้ลดลง 5-10%
นอกจากนี้ เรื่องดังกล่าวจะทำให้นักลงทุน ที่มีการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นกับโบรกเกอร์หลายรายนั้นอาจมีการหันมาเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์รายเดียว แต่ก็จะมีนักลงทุนบางส่วนที่ต้องการได้ข้อมูลการซื้อขายที่หลากหลายนั้นก็จะยังคงเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์หลายรายอยู่ แต่จะมีการหันมาเทรดกับโบรกเกอร์รายเดียวต่อวัน จากเดิมที่กระจายการเทรดกับหลายโบรกเกอร์ เช่น จากเดิมเทรดกับโบรกเกอร์ 2 แห่ง แห่ง ละ 3 ล้านบาทต่อวัน เปลี่ยนมาเทรดกับโบรก-เกอร์รายเดียวภายใน 1 วัน หรือเปลี่ยนเป็นบล.ละ 1 สัปดาห์
'เรื่องการปรับค่าคอมมิชชันขั้นบันไดใหม่นั้น ที่ประชุมของสมาคมโบรกเกอร์ สมาชิกทุกแห่งมีมติเอกฉันท์ให้มีการปรับใหม่ ไม่มี บล.รายใดคัดค้านเลย ซึ่งเราไม่ได้ต้องการให้มีการเลื่อนเปิดเสรี แต่ขอให้มีการปรับ ค่าคอมมิชชันขั้นบันไดให้มีความเหมาะสมเท่านั้น ซึ่งการใช้ค่าคอมมิชชันขั้นบันได ตามประกาศเดิมนั้นจะทำให้โบรกเกอร์ลดลงแน่นอน แต่จะลดลงเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับฐาน ลูกค้าของ บล.แต่ละแห่ง หากใครมีฐานลูกค้ารายใหญ่ที่เทรดต่อวัน 20 ล้านบาทก็จะลดลงมากกว่า บล.ที่มีฐานลูกค้ารายย่อย' นายพิเชษฐ กล่าว
สำหรับการที่ ก.ล.ต.หนุนให้โบรกเกอร์มีการหารายได้จากธุรกิจอื่นๆ มากขึ้นโดยลดการ พึ่งพาค่าคอมมิชชันนั้น ที่ผ่านมาโบรกเกอร์ ทุกแห่งมีการปรับตัว เช่น การทำธุรกิจอนุพันธ์ ฯลฯ นั้นรายได้ยังไม่มากนัก เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นและจะต้องมีการลงทุนเพิ่ม ซึ่งกว่าที่โบรกเกอร์จะมีรายได้และกำไรที่ดีจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปีกว่าจะทำรายได้กลับบริษัท และทางโบรกเกอร์ไม่ได้ขอให้มีการเลื่อนเปิดเสรี แต่ขอให้มีการปรับค่าคอมมิชชันขั้นบันไดให้เหมาะสมกับภาวะตลาดเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ บล.บัวหลวงนั้นยืนยันว่าได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวไม่มากนัก เพราะบริษัทมีฐานลูกค้ารายใหญ่ที่มีมูลค่าการซื้อขาย 20 ล้านบาทต่อวันไม่มากนัก ซึ่งฐานลูกค้าของบริษัทส่วนใหญ่จะมีการเทรดอัตราค่าคอมมิชชันขั้นบันไดที่ 1 และ 2 ที่มีการ เทรดไม่เกิน 1 ล้านบาท และมากกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท
นายพิเชษฐกล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทได้มีการให้บริการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนในรูปแบบ 'เอ็กซ์คลูซีฟเวลท์ แก่ลูกค้าในลักษณะแนะนำการลงทุนและการจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อ ที่จะให้ได้ผลตอบแทนที่ดี ซึ่งจากการที่บริษัทมีการแนะนำลูกค้าในการจัดพอร์ตในสัดส่วน ลงทุนในหุ้น 39% ลงทุนในตั๋วเงินคลัง 18% พันธบัตรระยะกลาง 3-4 ปี 10% พันธบัตรระยะยาว 7-10 ปี 4% ลงทุนหุ้นกู้เอกชนที่มีอันดับเครดิต BBB+ ขึ้นไป 9% ทองคำ 7% สินค้าโภคภัณฑ์ 6% และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ 5% ซึ่งจากการจัดพอร์ตดังกล่าวทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนช่วง 8 เดือน (1 ม.ค.-31 ส.ค.) อยู่ที่ 23%
โดยจากการให้คำปรึกษาในการจัดพอร์ต การลงทุนนั้นขณะนี้มีนักลงทุนบุคคล และบริษัทนิติบุคคลให้ความสนใจเข้ามาปรึกษากับ ทางบริษัทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทาง บล.บัวหลวงจะร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นผู้ถือ หุ้นใหญ่ของบริษัท ในการแนะนำลูกค้าให้ บล.บัวหลวงมากขึ้น และผ่านมาทางบริษัทได้ มีการให้คำแนะนำเจ้าหน้าที่ของธนาคารในการแนะนำสินค้าการลงทุนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารไปแนะนำลูกค้าของธนาคารกรุงเทพ ซึ่งจะทำให้บริษัทมีฐานลูกค้ามากขึ้นในการ เข้ามาลงทุน และทำให้บริษัทมีรายได้เข้ามาชดเชยรายได้ค่าคอมมิชชันที่ลดลงในอนาคต ที่จะมีการใช้ค่าคอมมิชชันขั้นบันได
'การให้บริการเอ็กซ์คลูซีฟเวลท์แก่ ลูกค้าเป็นเพียงการให้คำแนะนำเท่านั้นไม่ได้บริหารเงินให้กับลูกค้า แต่บริษัทจะได้รายได้จากการที่ลูกค้ามีการเทรดผ่าน บล.เท่านั้น' นายพิเชษฐ กล่าว
นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการ ผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง จำกัด (มหาชน) หรือ BLS เปิดเผยว่า ส่วนตัว มองว่าจากการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดให้คิดอัตราค่าธรรมเนียมการซื้อขาย ขั้นบันไดเดิมนั้น จะส่งผลกระทบทำให้ภาพรวม รายได้ของ บล.จะลดลงเฉลี่ย 10-15% จากค่าคอมมิชชันปัจจุบันที่ 0.25% ของมูลค่าการ ซื้อขาย แต่หาก บล.ใดมีฐานลูกค้าเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่มีการซื้อขายต่อวัน 20 ล้านบาท จะทำให้รายได้ลดลง 25-30% ส่วน บล.ที่มีฐานลูกค้ารายย่อยที่มีการซื้อขายต่อวัน 1-2 ล้านบาทจะทำให้รายได้ลดลง 5-10%
นอกจากนี้ เรื่องดังกล่าวจะทำให้นักลงทุน ที่มีการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นกับโบรกเกอร์หลายรายนั้นอาจมีการหันมาเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์รายเดียว แต่ก็จะมีนักลงทุนบางส่วนที่ต้องการได้ข้อมูลการซื้อขายที่หลากหลายนั้นก็จะยังคงเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์หลายรายอยู่ แต่จะมีการหันมาเทรดกับโบรกเกอร์รายเดียวต่อวัน จากเดิมที่กระจายการเทรดกับหลายโบรกเกอร์ เช่น จากเดิมเทรดกับโบรกเกอร์ 2 แห่ง แห่ง ละ 3 ล้านบาทต่อวัน เปลี่ยนมาเทรดกับโบรก-เกอร์รายเดียวภายใน 1 วัน หรือเปลี่ยนเป็นบล.ละ 1 สัปดาห์
'เรื่องการปรับค่าคอมมิชชันขั้นบันไดใหม่นั้น ที่ประชุมของสมาคมโบรกเกอร์ สมาชิกทุกแห่งมีมติเอกฉันท์ให้มีการปรับใหม่ ไม่มี บล.รายใดคัดค้านเลย ซึ่งเราไม่ได้ต้องการให้มีการเลื่อนเปิดเสรี แต่ขอให้มีการปรับ ค่าคอมมิชชันขั้นบันไดให้มีความเหมาะสมเท่านั้น ซึ่งการใช้ค่าคอมมิชชันขั้นบันได ตามประกาศเดิมนั้นจะทำให้โบรกเกอร์ลดลงแน่นอน แต่จะลดลงเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับฐาน ลูกค้าของ บล.แต่ละแห่ง หากใครมีฐานลูกค้ารายใหญ่ที่เทรดต่อวัน 20 ล้านบาทก็จะลดลงมากกว่า บล.ที่มีฐานลูกค้ารายย่อย' นายพิเชษฐ กล่าว
สำหรับการที่ ก.ล.ต.หนุนให้โบรกเกอร์มีการหารายได้จากธุรกิจอื่นๆ มากขึ้นโดยลดการ พึ่งพาค่าคอมมิชชันนั้น ที่ผ่านมาโบรกเกอร์ ทุกแห่งมีการปรับตัว เช่น การทำธุรกิจอนุพันธ์ ฯลฯ นั้นรายได้ยังไม่มากนัก เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นและจะต้องมีการลงทุนเพิ่ม ซึ่งกว่าที่โบรกเกอร์จะมีรายได้และกำไรที่ดีจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปีกว่าจะทำรายได้กลับบริษัท และทางโบรกเกอร์ไม่ได้ขอให้มีการเลื่อนเปิดเสรี แต่ขอให้มีการปรับค่าคอมมิชชันขั้นบันไดให้เหมาะสมกับภาวะตลาดเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ บล.บัวหลวงนั้นยืนยันว่าได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวไม่มากนัก เพราะบริษัทมีฐานลูกค้ารายใหญ่ที่มีมูลค่าการซื้อขาย 20 ล้านบาทต่อวันไม่มากนัก ซึ่งฐานลูกค้าของบริษัทส่วนใหญ่จะมีการเทรดอัตราค่าคอมมิชชันขั้นบันไดที่ 1 และ 2 ที่มีการ เทรดไม่เกิน 1 ล้านบาท และมากกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท
นายพิเชษฐกล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทได้มีการให้บริการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนในรูปแบบ 'เอ็กซ์คลูซีฟเวลท์ แก่ลูกค้าในลักษณะแนะนำการลงทุนและการจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อ ที่จะให้ได้ผลตอบแทนที่ดี ซึ่งจากการที่บริษัทมีการแนะนำลูกค้าในการจัดพอร์ตในสัดส่วน ลงทุนในหุ้น 39% ลงทุนในตั๋วเงินคลัง 18% พันธบัตรระยะกลาง 3-4 ปี 10% พันธบัตรระยะยาว 7-10 ปี 4% ลงทุนหุ้นกู้เอกชนที่มีอันดับเครดิต BBB+ ขึ้นไป 9% ทองคำ 7% สินค้าโภคภัณฑ์ 6% และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ 5% ซึ่งจากการจัดพอร์ตดังกล่าวทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนช่วง 8 เดือน (1 ม.ค.-31 ส.ค.) อยู่ที่ 23%
โดยจากการให้คำปรึกษาในการจัดพอร์ต การลงทุนนั้นขณะนี้มีนักลงทุนบุคคล และบริษัทนิติบุคคลให้ความสนใจเข้ามาปรึกษากับ ทางบริษัทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทาง บล.บัวหลวงจะร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นผู้ถือ หุ้นใหญ่ของบริษัท ในการแนะนำลูกค้าให้ บล.บัวหลวงมากขึ้น และผ่านมาทางบริษัทได้ มีการให้คำแนะนำเจ้าหน้าที่ของธนาคารในการแนะนำสินค้าการลงทุนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารไปแนะนำลูกค้าของธนาคารกรุงเทพ ซึ่งจะทำให้บริษัทมีฐานลูกค้ามากขึ้นในการ เข้ามาลงทุน และทำให้บริษัทมีรายได้เข้ามาชดเชยรายได้ค่าคอมมิชชันที่ลดลงในอนาคต ที่จะมีการใช้ค่าคอมมิชชันขั้นบันได
'การให้บริการเอ็กซ์คลูซีฟเวลท์แก่ ลูกค้าเป็นเพียงการให้คำแนะนำเท่านั้นไม่ได้บริหารเงินให้กับลูกค้า แต่บริษัทจะได้รายได้จากการที่ลูกค้ามีการเทรดผ่าน บล.เท่านั้น' นายพิเชษฐ กล่าว